330 likes | 928 Views
บทที่ 2 (แนวคิดก่อนเศรษฐกิจแบบคลาสสิก). อ. นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล. นักปราชญ์ชาวกรีก ยุคก่อน ค.ศ. นักปรัชญากรีกที่ นำเสนอหลักการของสังคมได้แก่ ซอคราติส (Socrates) ลัทธิซีนิกส์ (Cynics) ลัทธิเอพิคิว เรียน (Epicureanism) ลัทธิสตอยอิกส์ (Stoicism) กลุ่มซอฟิสต์ (Sophists)
E N D
บทที่ 2 (แนวคิดก่อนเศรษฐกิจแบบคลาสสิก) อ. นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล
นักปราชญ์ชาวกรีก ยุคก่อน ค.ศ. • นักปรัชญากรีกที่ นำเสนอหลักการของสังคมได้แก่ • ซอคราติส (Socrates) • ลัทธิซีนิกส์ (Cynics) • ลัทธิเอพิคิว เรียน (Epicureanism) • ลัทธิสตอยอิกส์ (Stoicism) • กลุ่มซอฟิสต์ (Sophists) • ลัทธิสเคบติกส์ (Skepticism)
ซอคราติส (Socrates) 473 – 399 BC. • มนุษย์ไม่เท่า เทียมกันด้านความเฉลียวฉลาดและความสามารถในการปกครอง • ลัทธิซีนิกส์ (Cynics) ก่อน 300 BC. • ไม่ควรนำฐานะทางเศรษฐกิจมาแบ่งชั้นชนทางสังคม • ลัทธิเอพิคิว เรียน (Epicureanism) ก่อน 300 BC. • เป็นปรัชญาประโยชน์นิยม ไม่เน้นจุดหมาย ด้านคุณธรรม แต่สอนในเรื่องว่าทำอย่างไรมนุษย์ถึงจะมีความสุข ลัทธิเอพิคิวเรียน ปฏิเสธเรื่องความยุติธรรม กฎหมายและสถาบันทางสังคม แต่หากมีสิ่งเหล่านี้ต้องเอื้อ ประโยชน์ต่อปัจเจกชน กฎกติกาบัญญัติขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพและความเป็นระเบียบ ของสังคม เพราะสังคมไร้ระเบียบสับสนวุ่นวาย ปัจเจกชนยอมรับกฎกติกาเหล่านี้ เพราะผลประโยชน์แห่งตน
ลัทธิสตอยอิกส์ (Stoicism) ก่อน 400 BC. • ปรัชญาที่เป็นผลพวงของยุคเฮเลน แนวคิดเรื่องความเสมอภาค(equalitanianism) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารี (humanitarianism) และสันติภาพ (pacificism) • กลุ่มซอฟิสต์ (Sophists) ก่อน 400 BC. • “เราแต่ละคนเป็นมาตรวัดของ ทุกสิ่งที่เป็นอยู่ และที่ไม่ได้เป็นอยู่ แต่มีความแตกต่างอย่างยิ่งใหญ่ระหว่างคน หนึ่งกับอีกคนหนึ่งในการมองสิ่งที่เป็นอยู่และไม่ได้เป็นอยู่ เพราะสิ่งที่เป็นอยู่และ ปรากฏแก่สายตาคนหนึ่ง มีความแตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ที่ปรากฏแก่สายตาของ อีกคนหนึ่ง “ • เป็นที่มาของ ทฤษฎีมูลค่าความรู้สึก (subjective theory of value) • ลัทธิสเคบติกส์ (Skepticism) ก่อน 200 BC. • มโนสำนึกจึงไป ตัดสินอะไรไม่ได้ทั้งนั้น ให้อยู่นิ่งเฉยแล้วจะมีความสุข การตั้งคำถามเพื่อค้นหาความจริง เป็นสิ่งที่ไร้สาระ อย่าไปกังวลกับสิ่งดีหรือเลว แล้วจิตจะสงบ นี่คือความพึงพอใจสูงสุดที่ มนุษย์แสวงหา
นักคิดคนสำคัญ • เพลโต (Plato) 427 – 347 BC. - เป็นนักปรัชญา เขียนหนังสือเรื่อง รัฐในอุดมคติ(Republic) เกี่ยวกับหลักการบริหารรัฐ “แนวคิดของเพลโต เป็นไปตามระบบคอมมิวนิตส์” และThe Statesman - การแบ่งงานกันทำ (division of labour) - นำมาสู่การแบ่งชนชั้นในสังคมตามความสามารถ - สื่อกลางการแลกเปลี่ยน (เงินตรา)
นักคิดคนสำคัญ • อริสโตเติล (Aristotle) 384 – 322 BC. - เป็นนักปรัชญา ลูกศิษย์ของเพลโต และอาจารย์ของ พระเจ้าอเล็กชานเดอร์มหาราช - อธิบายความมั่งคั่ง 2 ประเภท ได้แก่ ความมั่งคั่งที่แท้จริง , ความมั่งคั่งที่ต้องแสวงหา - เงินแสดงถึงความมั่งคั่งที่ต้องแสวงหา - มูลค่า แยกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ มูลค่าการใช้ (value in use) มูลค่าการแลกเปลี่ยน (value in exchange)
- ราคายุติธรรม คือราคาที่ไม่มีการขูดรีด การขูดรีดได้แก่ การคิดกำไรมากเกิดควร - ดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่งของการขูดรีด
นักคิดคนสำคัญ • เซโน ฟอง (Xenophon) 427 – 355 BC. - นักปรัชญาชาวกรีก เป็นศิษย์ของโซเครติสร่วมกับเพลโต - ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการทหาร - หนังสือเรื่อง Cyropaedia - การเพิ่ม ขนาดส่วนเกินทางเศรษฐกิจจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความชำนาญงาน (skill) การ จัดระเบียบ (order) และการแบ่งงานหรือหน้าที่กันทำ (division of labour) - ถ้ามีจานอาหารจำนวนมากตั้งอยู่ต่อหน้า คนหนึ่ง ในไม่ช้าเขาจะรู้สึกเบื่ออาหาร หรือทำให้ความพอใจในการบริโภคอาหาร ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับกฎการลดน้อยถอยลง (law of diminishing return)
นักคิดคนสำคัญ • เซโน ฟอง (Xenophon) 427 – 355 BC. - ของสิ่งเดียวกัน บางครั้งก็ทำให้เกิดความมั่ง คั่ง (wealth) ได้ บางครั้งก็ไม่เกิดความมั่งคั่ง เพราะบางสิ่งอยู่กับคนบางคนจะไม่มี ประโยชน์ แต่อยู่กับคนบางคนมีประโยชน - กำไรคือความมั่งคั่ง
สภาพเศรษฐกิจ สังคมและการปกครอง ช่วงก่อน ศตวรรษที่ 15 สภาพเศรษฐกิจ • ด้านการผลิต ได้แก่ ภาคการเกษตรกรรม (ระบบแมนเนอร์) และภาคอุตสาหกรรม • ด้านการค้า หรือพาณิชย์ ได้แก่ การค้าและการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชน และแดนใกล้ การตั้งราคาสินค้า • การออมหรือการสะสมความมั่งคั่ง (สะสมทรัพย์) สภาพสังคม ศาสนามีบทบาทต่อพัฒนาการของสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ความเชื่อ) สภาพการปกครอง ระบบเทวราช และระบบศักดินา(Feudalism) มีระบบชนชั้น กษัตริย์เปลี่ยนเสมือนสมมุติเทพ
ระบบแมนเนอร์ (Manners) • แมนเนอร์ หมายถึง บ้านหรือคฤหาสน์ที่พักอาศัยของขุนนอง • ลักษณะทั่วไปของแมนเนอร์ เป็นชุมชนเกษตรกรรมคล้ายกับหมู่บ้านแต่ผู้ปกครองเป็นเจ้าของการผลิตทั้งหมด • โครงสร้างแมนเนอร์ ชนชั้นประชาชน ปศุสัตว์ และพื้นที่การเพาะปลูก • ชนชั้นในแมนเนอร์ แก่ ชนชั้นขุนนาง ไพร่(วิเลนส์, คอนทาร์) ทาส และอื่นๆ • การเพาะปลูกในแมนเนอร์ ระบบนา 2 ทุ่ง(two-field system) ระบบนา 3 ทุ่ง (three-field system)
ความเสื่อมสะลายของแมนเนอร์ความเสื่อมสะลายของแมนเนอร์ • การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร • ความเฟื้องฟูของการค้า • โรคระบาด (กาฬโรค :Black Death) • การเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น • การเกษตรกรเพื่อการตลาด (เพื่อการพาณิชย์) • การล้อมรั้วที่ดิน • การเคลื่อนย้ายของประชากร
คำถาม • ระบบศักดินาของไทยและยุโรป ต่างกันอย่างไร • ระบบศักดินากับระบบแมนเนอร์ ต่างกันอย่างไร
นักคิดคนสำคัญ • โทมัส อกิเนส์ (Thomas Aquinas) ค.ศ. 1227-1274 - เป็นพระในศาสนาคริสต์ ชาวอิตาเลียน - อธิบายถึงหลักการจัดการทางเศรษฐกิจที่ต้องมีหลักศีลธรรมจรรยา - การแสวงหาความมั่งคั่งเป็นสิ่งที่น่าชิงชัง เป็นสิ่งที่เลวร้าย - มูลค่าในแง่ของราคาสินค้าที่ยุติธรรม(just price) คือ มูลค่าของสินค้าหนึ่งเท่ากับมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยน และยังขึ้นกับสภาพของท้องถิ่น เวลา ความเสี่ยงในการเสื่อหาย และการขนส่ง ซึ่งในที่สุดราคาสินค้าที่ยุติธรรมจะเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงของสินค้าหรือก็คือต้นทุนการผลิตหรือก็คือค่าจ้างแรงงาน (Labour Cost) - ดังนั้นราคาที่ยุติธรรม(just price)จะเท่ากับค่าจ้างแรงงานที่ยุติธรรม(just wage) - ค่าจ้างแรงงานที่ยุติธรรม คือ ค่าจ้างแรงงานตามความเหมาะสม ซึ่งจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบพาณิชนิยม (หรือทุนนิยม) • กระบวนการกลายสภาพ - การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ของประชาชน - การเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตภาคเกษตรกรรม สู่การค้า - การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตขนาดใหญ่เป็นอุตสาหกรรม - การขยายอำนาจการผลิต และการค้า (สมาคมช่างฝีมือ) • ประเทศที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา (ฮอร์นแลนด์) อังกฤษ และฝรั่งเศส
แนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบพาณิชนิยม(Mercantilism)แนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบพาณิชนิยม(Mercantilism) • ช่วงปลายศตวรรษที่ 15 – ต้นศตวรรษที่ 16 • มุ่งเน้นความมั่งคั่ง โดยทองคำและเงินคือเครื่องแสดงถึงความมั่งคั่ง • เกิดการปฏิวัติพาณิชยกรรม (commercial revolution) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ศิลปวิทยาการ การปฏิรูปศาสนา การต่อสู่ทางการปกครอง ชาตินิยม การค้นพบดินแดนใหม่ การเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ การค้นพบโลหะมีค่า และความต้องการสะสมความมั่งคั่ง
สาระสำคัญของแนวคิดพาณิชนิยมสาระสำคัญของแนวคิดพาณิชนิยม • ปรารถนาความมั่งคั่ง • ส่งเสริมชาตินิยม(มีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง) พยายามให้ได้ดุลการค้า • นำเข้าวัตถุดิบราคาถูก โดยยกเว้นภาษี • การล่าอาณานิคม เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ • รัฐบาลมีความเข็มแข็ง ควบคุมธุรกิจ • สนับสนุนความมั่งคั่งของประเทศ (ในระหว่างนี้ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในประเทศทวีปยุโรป โดยประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก)
นักคิดคนสำคัญ • โทมัส มุน (Thomas Mun) - เป็นชาวอังกฤษ พ่อค้า กรรมการบริษัท อินเดียตะวันออก - การค้าระหว่างประเทศจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งของประเทศ โดยควรผลิตสินค้า(ภาคเกษตรกรรม)เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ จะนำความมั่งคั่งสู่ประเทศ - ไม่ควรมีการจำกัดปริมาณการส่งออก เพื่อรักษาดุลการค้า - นำเข้าสินค้าปฐมภูมิ ที่มีราคาต่ำ จะทำให้ประเทศมีความได้เปรียบดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ(Balance of International Payment) - ไม่ควรมีการส่งออกเงินละทองคำไปต่างประเทศ - การค้าระหว่างประเทศ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้มากขึ้นด้วยการเก็บภาษี
นักคิดคนสำคัญ • เซอร์ โจซาย ไชล์ด - ดุลการค้าระห่วงประเทศมีความยุ่งยากและไม่แน่นอน - ความใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
นักคิดคนสำคัญ • จอง บาติสส์ โคล์แบต์ - อุตสาหกรรม และการค้า จะทำให้ฝรั่งเศสมีอำนาจและพึ่งพาตนเองได้ - ให้ขยายเมืองขึ้นหรือล่าอาณานิคม
อันตวน เดอ มองเครติน(Antoine de Montchretien: 1576 – 1621) • เป็นชาวฝรั่งเศส แต่สนใจลัทธิพาณิชนิยม • ตำหนิ ประเทศฝรั่งเศสที่เปิดประเทศรับสินค้าเข้าจากประเทศอื่นโดยง่าย • ความมั่งคั่งไม่ใช่เกิดจากเงินตราอย่างเดียว แต่เกิดจากสินค้าที่ใช้ในการยังชีพ • รัฐควรมีหน้าที่ในการส่งเสริมการผลิตในประเทศเพื่อให้มีสินค้าไว้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ
เอดเวิด มิสเซสเดล(Edward Misselden: 1608 – 1654) • เป็นสมาชิกบริษัท Merchant Adventurs คู่แข่งที่สำคัญของบริษัท อินเดีย ตะวันออก ของอังกฤษ • การนำทองคำออกนอกประเทศจะเป็นผลทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ • อัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นเครื่องชี้ถึงสภาวะของตลาด กล่าวคือ ถ้าค่าเงินแพงขึ้น จะซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ถูกลง
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจากลัทธิพาณิชนิยมทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจากลัทธิพาณิชนิยม • ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (Trade Theory) • ทฤษฎีเงินและทองคำ (Bullion Theory) • ทฤษฎีมูลค่า (Value Theory) • นโยบายบริหารเศรษฐกิจของรัฐ
การเสื่อมสลายของแนวคิดพาณิชนิยมการเสื่อมสลายของแนวคิดพาณิชนิยม • การเคลื่อนไหวของปริมาณทองคำ ที่ส่งผลต่อดุลการค้าระหว่างประเทศ • อดัม สมิท (Adam Smith) ปฏิเสธการเฝ้าดูดุลการค้าเกินดุล และเห็นว่าการค้าระหว่างประเทศควรเป็นการพึ่งพิงกัน โดยพิจารณาตามศักยภาพของประเทศ
แนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบธรรมชาตินิยม หรือ ลัทธิฟิซิโอแครต์(Physiocrate) • เน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยปล่อยให้เศรษฐกิจดำเนินกิจกรรมตามใจชอบ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินไปตามตารางเศรษฐกิจ (ของนายแพทย์ฟรองซัว เกส์เน : Francois Quesney) • รัฐบาลควรมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโดยควรทำกิจกรรมเศรษฐกิจที่ตลาดไม่สามารถทำได้เอง • ความมั่งคั่ง ไม่ได้ขึ้นกับปริมาณเงินที่ประเทศสะสมไว้เพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยวัตถุดิบ และสินค้าที่ประเทศผลิตได้ ในรูปของส่วนเกิน(produit net) • ที่ดินเป็นสิ่งเดียวที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง • ช่างฝีมือ นักการอุตสาหกรรม อยู่ในฐานของผู้เปลี่ยนรูปวัตถุดิบ • ตัวกลางสินค้า ได้แก่ ทนายความ แพทย์ ฯลฯ ไม่ได้ก่อให้เกิดการผลิต
แพทย์ฟรองซัว เกส์เน : Francois Quesney • หนังสือเรื่อง Quesney • แพทย์ประจำพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 • รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซงให้กฎธรรมชาติปรับตัวเพื่อให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู • อธิบายการไหลเวียนของความมั่งคั่ง (circular flow) หรือ ผังเศรษฐกิจ (Tableau Economique) • เป็นที่มาของลัทธิเสรีนิยม(Laissez faire)
ตารางเศรษฐกิจ (Economy Table) แบ่งเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นที่ 1 ก่อให้เกิดการผลิต (Productive class) ชนชั้นที่ 2 ไม่ได้ก่อให้เกิดการผลิต (Unproductive class) ชนชั้นที่ 3 เจ้าของปัจจัยการผลิต (Proprietary class)
2 ล้าน $ 2 ล้าน $ 1 ล้าน $ 2 ล้าน $ 1 ล้าน $ การไหลเวียน (Circular flow) ก่อให้เกิดการผลิต (Productive class) ไม่ได้ก่อให้เกิดการผลิต (Unproductive class) เจ้าของปัจจัยการผลิต (Proprietary class) 5 ล้าน $ 1 ล้าน $