220 likes | 425 Views
ข้อมูล สารสนเทศ. สาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี. ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4. ครูผู้สอน นางสาว วารุณี บำรุงสวัสดิ์. โรงเรียนอนุบาล นครพนม. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. สาระสำคัญ. ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่ หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่นักเรียน
E N D
ข้อมูลสารสนเทศ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครูผู้สอน นางสาววารุณี บำรุงสวัสดิ์ โรงเรียนอนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
สาระสำคัญ ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่ หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่นักเรียน สนใจข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด หากแบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูลจะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิ ชนิดของข้อมูลคือลักษณะทางกายภาพ เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลสัญญาณต่าง ๆ สารสนเทศ คือการนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถเผยเผยแพร่ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ • 1. บอกความหมายของข้อมูล การประมวลผลและสารสนเทศได้ • 2. บอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ • 3. บอกขั้นตอนการประมวลผลที่ทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้ • 4. อธิบายคุณสมบัติที่ดีของข้อมูลได้ • 5. ตระหนักในความสำคัญของข้อมูล สารสนเทศและการประมวลผลข้อมูล • 6. วิเคราะห์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำไปใช้ได้อย่างมีจิตสำนึก
แบบทดสอบก่อนเรียน 1. ข้อใดคือความหมายสารสนเทศ(Information)? ก. ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของ ข. ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลดิบ ค. ข้อมูลต่างๆที่การประมวลผลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ง. ข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือข้อมูลดิบ
แบบทดสอบก่อนเรียน 2. ข้อใดคือขั้นตอนการประมวลข้อมูล ? ก. เก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล รายงานผล ข. รวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ค. แยกประเภทข้อมูล ประมวลผล ง. เตรียมข้อมูล ประมวลผล นำเสนอข้อมูล
แบบทดสอบก่อนเรียน 3.ข้อใดต่อไปนี้คือข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถเข้าได้ ? ก. ตัวเลขตัว อักษร ข. เสียง ภาพ ค. ภาพเคลื่อนไหว ง. ถูกทุกข้อ
แบบทดสอบก่อนเรียน 4.ข้อใด คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของโครงข้อมูล? ก. บิต(BIT) ข. ไบต์(Byte) ค. ไฟล์(Files) ง. ฟิลด์(Filed)
ข้อมูล ความหมาย ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว
ข้อมูล ประเภทของข้อมูล ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ 1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น จำนวนเงินเดือนราคาสินค้า 2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่
ข้อมูล ประเภทของข้อมูล 3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด 4. ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆ เมื่อนำมาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น เช่น ภาพถ่ายภาพลายเส้น 5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ
ข้อมูล โครงสร้างของข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีขนาดต่างกัน ดังนี้ 1. บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ได้แก่เลข 0 และ เลข 1 2. ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,1…9, A, B,…Z ซึ่ง 1 ไบต์ จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว 3. ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อสกุล เป็นต้น
ข้อมูล โครงสร้างของข้อมูล 4. เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายฟิลด์และมีความสัมพันธ์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง 5. แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ ( Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็นเรื่องเดียวกันเช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ป.4/1 จำนวน 50 คน ทุกคนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของนักเรียนจำนวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล 6. ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องมารวมกัน
ข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดการกับข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา แล้วประมวลผลข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ให้อยู่ในลักษณะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือเป็นสารสนเทศนั่นเอง ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล มีขั้นตอนการประมวลผล 3 ขั้นตอน คือ การรวบรวมข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล
ข้อมูล แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล การรวบรวมข้อมูล(Input Data) ประมวลผลข้อมูล(Processing Data) นำเสนอข้อมูล(Output Data)
ข้อมูล คุณสมบัติที่ดีข้องข้อมูล 1. ความถูกต้องหากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำและอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ 2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบันการได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ 3. ความสมบูรณ์ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฎิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์
ข้อมูล คุณสมบัติที่ดีของข้อมูล 4. ความชัดเจนและกะทัดรัดการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ 5. ความสอดคล้องความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
ศัพท์ควรรู้ DATA อ่านว่า ดาต้า หมายถึง ข้อมูล INFORMATION อ่านว่า อิน-ฟอ-เม-ชั่น หมายถึง สารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน 1. ข้อใดคือความหมายสารสนเทศ(Information)? ก. ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของ ข. ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลดิบ ค. ข้อมูลต่างๆที่การประมวลผลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ง. ข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือข้อมูลดิบ
แบบทดสอบหลังเรียน 2. ข้อใดคือขั้นตอนการประมวลข้อมูล ? ก. เก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล รายงานผล ข. รวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ค. แยกประเภทข้อมูล ประมวลผล ง. เตรียมข้อมูล ประมวลผล นำเสนอข้อมูล
แบบทดสอบหลังเรียน 3.ข้อใดต่อไปนี้คือข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถเข้าได้ ? ก. ตัวเลขตัว อักษร ข. เสียง ภาพ ค. ภาพเคลื่อนไหว ง. ถูกทุกข้อ
แบบทดสอบหลังเรียน 4.ข้อใด คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของโครงข้อมูล? ก. บิต(BIT) ข. ไบต์(Byte) ค. ไฟล์(Files) ง. ฟิลด์(Filed)
ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาววารุณี บำรุงสวัสดิ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียน อนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โทรศัพท์08-85188159 e-Mail magicools@hotmail.com