1 / 41

แนวคิดพื้นฐานทางระบาดวิทยา ( Basic epidemiological concepts)

แนวคิดพื้นฐานทางระบาดวิทยา ( Basic epidemiological concepts). ระบาดวิทยา คือ อะไร. ระบาดวิทยา ( Epidemiology) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบ ( discipline) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาความถี่ ( frequency) การแพร่กระจาย ( distribution )

Download Presentation

แนวคิดพื้นฐานทางระบาดวิทยา ( Basic epidemiological concepts)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดพื้นฐานทางระบาดวิทยา(Basic epidemiological concepts)

  2. ระบาดวิทยา คือ อะไร ระบาดวิทยา (Epidemiology) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบ (discipline) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาความถี่ (frequency) การแพร่กระจาย (distribution) ของสุขภาพ(health) และโรค (disease) ในประชากร (populations) และหาปัจจัยเสี่ยง (risk factors) เพื่อป้องกันและควบคุมโรค(prevention and control)

  3. ระบาดวิทยาในพื้นที่(Field Epidemiology) “กิจกรรมการสอบสวนโรค จะต้องเริ่มต้นดำเนินการในพื้นที่ ไม่ใช่ในห้องปฏิบัติการ”

  4. การกระจายของโรคเชิงพื้นที่การกระจายของโรคเชิงพื้นที่ แผนภาพแบบจุด แสดงการกระจายของผู้ป่วยโรคอหิวาต์ ในกรุงลอนดอน ในปี ค.ศ.1854

  5. วิวัฒนาการของระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์วิวัฒนาการของระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ • ยุคที่ 1 พ.ศ.2450 • ป้องกันปัญหาสุขภาพโดยการควบคุมโรคในระดับพื้นที่ • ยุคที่ 2 พ.ศ.2490 • การรักษาสัตว์รายตัวและการจัดการสุขภาพสัตว์เบื้องต้น • ยุคที่ 3 พ.ศ.2508 • การรักษาสุขภาพและประสิทธิภาพการผลิตของฝูงสัตว์ • ยุคที่ 4 พ.ศ.2533 • บูรณาการการจัดการสุขภาพ ผลผลิตและแผนงานของฟาร์มเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุด

  6. ขอบเขตของระบาดวิทยา การกระจายของโรคในประชากร ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดและการกระจายของโรค ประชากรเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงหรือการพลวัตรของโรค ภาวะที่เป็นโรคและไม่ใช่โรค โรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ การป้องกันและควบคุมโรค

  7. การประยุกต์ใช้หลักการและเทคนิคทางระบาดวิทยาการประยุกต์ใช้หลักการและเทคนิคทางระบาดวิทยา สืบหาแหล่งของโรคที่ทราบสาเหตุหรือสามารถระบุสิ่งก่อโรคได้ สอบสวนและควบคุมโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ หรือยังไม่สามารถระบุสิ่งก่อโรคได้ ศึกษาลักษณะทั่วไปของโรคได้ วางแผนการเฝ้าระวังและควบคุมโรค ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของมาตรการควบคุมโรคต่างๆ วิเคราะห์การตัดสินใจทางคลินิก ( evidence-based medicine)

  8. องค์ประกอบการศึกษาทางระบาดวิทยาองค์ประกอบการศึกษาทางระบาดวิทยา • การศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงคุณภาพ ( quanlitative investigation ) • การศึกษาลักษณะทั่วไปของโรค • การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยก่อโรค • การศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงปริมาณ ( quantitative investigation ) • การสำรวจ • การเฝ้าระวังโรค • การศึกษาทางระบาดวิทยา • การสร้างแบบจำลอง • การควบคุมโรค

  9. ลักษณะการศึกษาทางระบาดวิทยาลักษณะการศึกษาทางระบาดวิทยา ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (descriptive epidemiology) ระบาดวิทยาเชิงสังเคราะห์ (analytical epidemiology) การทดลองทางระบาดวิทยา (experimental epidemiology) การศึกษาทฤษฎีทางระบาดวิทยา (theoretical epidemiology)

  10. ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา(Descriptive Epidemiology) • อธิบายว่ามีเหตุการณ์อะไร(what) เกิดขึ้น • อธิบายว่ามีใคร(who) ที่เกี่ยวข้องทั้งสัตว์และคน • อธิบายว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อใด(when) • อธิบายว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน(where) ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำของคนและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

  11. ประโยชน์ของระบาดวิทยาเชิงพรรณนา(Uses of Descriptive Epidemiology) • การค้นหาสัตว์ป่วยรายตัว (Detection of individual cases) • การค้นหาการระบาดของโรค (Detection of outbreaks) • วัดความเสียหายที่เกิดจากโรค (Measuring the impact of disease) • เข้าใจธรรมชาติของโรค (Understand the nature of a disease)

  12. ประโยชน์ของระบาดวิทยาเชิงพรรณนา(Uses of Descriptive Epidemiology) • เข้าใจทางในการแพร่โรคและการกระจายของโรค (Understand the way that disease spreads and distributed) • สามารถสร้างสมมุติฐานและมีแนวคิดในการวิจัยในอนาคต(Generate hypotheses and ideas for further research) • สามารถประเมินมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค(Evaluation of prevention and control measures) • สนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่วางแผนในด้านสุขภาพสัตว์(Support planning activities for animal health programs)

  13. ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์(Analytical Epidemiology) • วิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับว่าเกิดขึ้นอย่างไร (how) เพื่อที่จะปรับนโยบายและการดำเนินการต่อไป • ประเมินข้อมูลที่เก็บรวบรวมเพื่อที่จะระบุว่าทำไม(why) เหตุการณ์จึงเกิดขึ้นตามลำดับเพื่อที่จะป้องกันและควบคุมโรค

  14. ระบาดวิทยากับงานสัตวแพทย์ระบาดวิทยากับงานสัตวแพทย์ การบริการสุขภาพสัตว์รายตัว การจัดการสุขภาพฝูงสัตว์ งานสัตวแพทย์สาธารณสุข

  15. การวัดทางระบาดวิทยา • การวัดขนาดของโรค หรือการวัดความถี่ของโรค (measurement of frequency) • เช่น โรค ketosis เกิดขึ้นกับโคนมพันธุ์ขาวดำ มากน้อยเพียงใด • การวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับโรค (measurement of association) • เช่น โรค ketosis มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความอ้วนอย่างไร • การวัดผลกระทบของปัจจัยที่ศึกษาต่อการเกิดโรค (measurement of effect) • เช่น การไม่เลี้ยงวัวให้อ้วน จะช่วยลดปัญหา ketosis ได้มากเท่าใด

  16. การวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับโรคการวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับโรค แต้มต่อของการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในสัตว์ป่วย (Odds)=13/1(a/c) แต้มต่อของการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในสัตว์ป่วย(Odds)=26/15(b/d) อัตราส่วนแต้มต่อของการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในสัตว์ป่วย(OR)=(a/c)/(b/d)=(a*d)/(b*c)=(13*15)/(26*1)=7.5

  17. การวัดทางระบาดวิทยา • การนับจำนวน (count) • การนับจำนวนสัตว์ป่วยหรือตาย • สัดส่วน (proportion) • การทดสอบโรค TB ในโคนม จำนวน 200 ตัว พบเป็นโรค จำนวน 40 ตัว สัดส่วนการเป็นโรคคือ 40/200 = 0.2 • อัตราส่วน (ratio) • มีลูกสัตว์ตายคลอด 3 ตัว และลูกสัตว์ที่คลอดแล้วมีชีวิต 120 ตัว ดังนั้นอัตราส่วนคือ 3:120=0.025:1 • อัตรา (rate)

  18. การวัดทางระบาดวิทยาที่มักนำไปใช้ในทางปฏิบัติบ่อยๆมีดังนี้การวัดทางระบาดวิทยาที่มักนำไปใช้ในทางปฏิบัติบ่อยๆมีดังนี้ • การวัดความชุกของโรค ( Prevalence) • เจาะเลือดม้าตรวจ EIA จำนวน 75 ตัว เป็นโรค 23 ตัว ดังนั้นความชุกคือ 23/75=0.307 • อัตราการป่วยระลอกแรก (attack rate) • ในการระบาดของ BSE พบว่าโค 400 ตัว เกิดโรคขึ้น 60 ตัว ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ (60*100)/400=15% • สัดส่วนการตายเนื่องจากโรค (case fatality rate) • เป็นการวัดความรุนแรงของโรค เช่น สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 100 ตัว ตายระหว่างกักดูอาการ 100 ตัว ดังนั้นอัตราการตายเนื่องจากโรคคือ 100/100=1

  19. ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา(Epidemiological Triad) • ตัวก่อโรค(agent) • เจ้าบ้านหรือตัวสัตว์(host) • สิ่งแวดล้อม(environment)

  20. ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา(Epidemiological Triad) • ความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อโรค ตัวสัตว์และสิ่งแวดล้อม เหมือนกับการเล่นไม้กระดกที่มีสิ่งก่อโรคและตัวสัตว์ เป็นน้ำหนักอยู่สองข้างและมีสิ่งแวดล้อมเป็นจุดกึ่งกลาง (fulcrum) สิ่งก่อโรค (agent) ตัวสัตว์ (host) สิ่งแวดล้อม (environment)

  21. ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา(Epidemiological Triad) โดยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสาม จำแนกเป็น 2 แบบ • 1.ภาวะที่มีความสมดุลระหว่างปัจจัยสามประการจะไม่มีโรคเกิดขึ้นในฝูงสัตว์(stage of equilibrium) • 2.ภาวะที่ไม่มีความสมดุลระหว่างปัจจัยสามประการจะพบโรคเกิดขึ้นในฝูงสัตว์(stage of unequilibrium)

  22. ตัวสัตว์ สิ่งก่อโรค จุดกึ่งกลาง จุดกึ่งกลาง สิ่งก่อโรค ตัวสัตว์ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม ภาวะที่ไม่มีความสมดุลระหว่างปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (stage of unequilibrium)

  23. ตัวก่อโรค(agent) ตัวก่อโรค (agent) หมายถึง ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ซึ่งถ้าพบในปริมาณที่มากเกินไปหรือไม่สมดุลอาจส่งผลให้เกิดโรคได้

  24. ปัจจัยของสิ่งก่อโรคกับการเกิดและการแพร่กระจายของโรคปัจจัยของสิ่งก่อโรคกับการเกิดและการแพร่กระจายของโรค ความสามารถในการเจริญในร่างกายสัตว์ (infectivity) ความสามารถในการติดต่อ (infectiousness) ความสามารถในการก่อโรค (pathogenicity) ความรุนแรงของการติดเชื้อ (virulence) ชนิดของสัตว์ที่สามารถเจริญได้ (host range) ความสามารถในการอยู่รอดนอกตัวสัตว์ (viability)

  25. ตัวสัตว์หรือเจ้าบ้าน(host)ตัวสัตว์หรือเจ้าบ้าน(host) เจ้าบ้าน หมายถึง ตัวสัตว์หรือโฮสท์ ที่ยอมให้ปรสิตอาศัย อยู่ได้ชั่วคราวหรือตลอดไปก็ได้ ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสู้กับเชื้อโรค ที่เข้าสู่ร่างกาย และอาจมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้

  26. ปัจจัยของตัวสัตว์กับการเกิดและการแพร่กระจายของโรคปัจจัยของตัวสัตว์กับการเกิดและการแพร่กระจายของโรค ลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์ อายุของสัตว์ เพศของสัตว์ ชนิดและพันธุ์ของสัตว์ สภาวะทางโภชนาการของสัตว์ สภาวะทางสรีระวิทยาของสัตว์ สภาวะภูมิต้านทานของสัตว์

  27. สิ่งแวดล้อม(environment) สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวสัตว์หรือ เจ้าบ้าน ซึ่งมีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ เช่น สภาพพื้นที่ อากาศ น้ำ อาหาร เชื้อโรค แมลง การจัดการและมนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ใน ระบบการผลิตเข้มข้น (intensive production system)

  28. การประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยสามทางระบาดวิทยาในการป้องกันและควบคุมโรคการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยสามทางระบาดวิทยาในการป้องกันและควบคุมโรค • การส่งเสริมสุขภาพเจ้าบ้าน เช่น การให้อาหารที่มีความสมดุล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และการจัดการด้านสุขศาสตร์ที่เหมาะสม เป็นต้น • ควบคุมและกำจัดสิ่งที่ทำให้เกิดโรค เช่น การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วและทำการรักษาทันที การค้นหาและควบคุมพาหะ และแหล่งรังโรค • ควบคุมและกำจัดสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมร่วมกับการเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น การกำจัดสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย และแหล่งรังโรค เป็นต้น

  29. รูปแบบการเกิดโรคในประชากรรูปแบบการเกิดโรคในประชากร • โรคที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว (sporadic disease) • โรคประจำถิ่น (endemic disease) • โรคระบาด (epidemic disease) • การระบาดระยะสั้น (point epidemic หรือ common source epidemic) • การระบาดแบบต่อเนื่อง (propagative epidemic)

  30. การติดเชื้อและการเกิดโรคการติดเชื้อและการเกิดโรค • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ • มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ (sub-clinical disease) • Disease screening • Iceberg phenomenon • มีการแสดงอาการป่วยอย่างชัดเจน (clinical disease)

  31. ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็ง จำนวนสัตว์ป่วยที่พบมักน้อยกว่าที่เกิดจริง จำนวนสัตว์ป่วยที่รายงาน สัตว์ป่วยที่ไม่มีรายงาน

  32. การแพร่กระจายของโรค • ต้องมีความเข้าใจในวงจรชีวิตของเชื้อโรค • ห่วงโซ่การติดต่อ (transmission chain) • วิธีการติดต่อของเชื้อ (transmission) • การคงอยู่ของเชื้อ (maintenance) • สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอยู่รอดและการติดต่อของเชื้อ

  33. ห่วงโซ่การติดต่อ (transmission chain) สัตว์ที่ติดเชื้อ การออกจากตัวสัตว์ที่ติดเชื้อ การติดพาหะนำโรคหรือแหล่งโรค วิธีการติดต่อไปยังสัตว์ตัวใหม่ วิธีการเข้าสู่สัตว์ตัวใหม่ สัตว์ที่ไวต่อโรค

  34. วิธีการติดต่อของเชื้อ (transmission) • การติดต่อตามแนวราบ (horizontal transmission) • Direct • indirect • การติดต่อตามแนวดิ่ง (vertical transmission) • Transovarial • transtadial

  35. บทบาทของระบาดวิทยาในพื้นที่บทบาทของระบาดวิทยาในพื้นที่ • ระบาดวิทยาในพื้นที่เป็นสิ่งที่ท้าทาย และจะต้องค้นหาสาเหตุเร่งด่วน ประเมินสถานการณ์ นโยบายและเหตุฉุกเฉิน • เริ่มต้นด้วยข้อจำกัด ไม่มีข้อมูล โดยเฉพาะเมื่อพบกับโรค ที่เกิดใหม่

  36. บทบาทของระบาดวิทยาในพื้นที่บทบาทของระบาดวิทยาในพื้นที่ • จะต้องประยุกต์ใช้การวิจัยในพื้นที่โดยไม่สามารถควบคุมธรรมชาติที่เกี่ยวข้องได้ • จะต้องประเมินโรค สถานการณ์การระบาด และประเมินมาตรการที่ใช้

  37. คำถามที่ควรจะคิด • ปัญหาของโรคใหญ่แค่ไหน? คำตอบ จะต้องวินิจฉัยกรณีปัญหาและมีการเฝ้าระวังโรค • สถานการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไรและอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น? คำตอบ จะต้องสอบสวนและวิเคราะห์โรคเบื้องต้น • สามารถทำอะไรที่ดีกว่าการป้องกันและควบคุมโรคในอนาคต? คำตอบ จะต้องหาปัจจัยเสี่ยงและวิเคราะห์แนวโน้มของโรค

  38. คุณสมบัติของนักระบาดวิทยาที่ดีมีอะไรบ้าง(ระดมความคิด 5 นาที นำเสนอ 3 นาที)

  39. คุณสมบัติของนักระบาดวิทยาในพื้นที่ • อยากรู้อยากเห็น • สนุกสนานกับความท้าทายในการทำงานเป็นทีมภายใต้สภาวะต่างๆ • เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ตาแหลมคม • เป็นผู้ฟังที่ดี • มีทักษะในการปฏิบัติงาน • มีปฏิภาณไหวพริบ

  40. คุณสมบัติของนักระบาดวิทยาในพื้นที่ • มีความตั้งใจ • เป็นนักแก้ปัญหา • สามารถวิเคราะห์ สามารถลำดับเหตุการณ์และบอกเรื่องราวโดยใช้ข้อมูล • มีแรงบันดาลใจที่จะป้องกันปัญหาต่างๆ • สนุกสนานในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

More Related