1 / 18

ตัวแปรในการวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย. ตัวแปร (Variables) หมายถึง คุณสมบัติ หรือคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ซึ่งอาจเป็นสิ่งของที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เพศ สามารถแปรได้เป็น หญิง หรือ ชาย อายุ สามารถแปรได้เป็น จำนวนปีของอายุ

lovie
Download Presentation

ตัวแปรในการวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตัวแปรในการวิจัย

  2. ตัวแปร (Variables) หมายถึง คุณสมบัติ หรือคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ซึ่งอาจเป็นสิ่งของที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เพศ สามารถแปรได้เป็น หญิง หรือ ชาย อายุ สามารถแปรได้เป็น จำนวนปีของอายุ ความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาล สามารถแปรได้เป็น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือ เฉยๆ

  3. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สามารถแปรได้เป็น เลือกเพราะนโยบายพรรค เลือกเพราะผู้สมัคร เลือกเพราะหัวคะแนน หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถแปรได้เป็น มีส่วนร่วมมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด หรือไม่มีมีส่วนร่วม เป็นต้น คุณสมบัติของสิ่งใดก็ตาม ถ้าเป็นได้อย่างเดียวคุณสมบัตินั้นก็ไม่เป็นตัวแปร เช่น ถ้าคุณเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลเหมือนกันหมด ความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาลก็ไม่เป็นตัวแปร เป็นต้น

  4. ประเภทของตัวแปร 1. พิจารณาจากคุณสมบัติตัวแปร แบ่งออกเป็น 2 แบบ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเลขที่สามารถวัดความแตกต่างๆ ของคุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ได้แน่นอน เช่น ตัวแปรเกี่ยวกับ รายได้ รายจ่าย อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ระยะทาง เป็นต้น 12. ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative Variables) เป็นตัวแปรที่ไม่สามารถวัดความแตกต่างของคุณลักษณะที่มีอยู่ได้แน่นอน เช่น ตัวแปรเกี่ยวกับ เพศ สถานภาพการสมรส เขตที่อยู่อาศัย เป็นต้น

  5. 2. พิจารณาจากลักษณะด้านความหมายที่ใช้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ 2.1 ตัวแปรแนวความคิด (Conceptual Variables) เป็นตัวแปรที่มีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ตัวแปรเกี่ยวกับ ทัศนคติ ความเชื่อในศาสนา ความสนใจ ความเห็น เป็นต้น 2.2 ตัวแปรปฏิบัติการ (Operational Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดความหมายและขอบเขตเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติสามารถทำการวัด หรือตรวจสอบได้ ตัวแปรปฏิบัติการอาจจะพัฒนาจากตัวแปรแนวความคิดต่างๆ เช่น ความเชื่อในศาสนาหมายถึงการปฏิบัติตามคำสั่งสอน ความเคร่งครัดในการทำพิธีกรรม ความถี่ในการเข้าร่วมพิธีกรรมเป็นต้น

  6. 3. พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกิดขึ้น แบ่งออกได้เป็นหลายแบบด้วยกันที่สำคัญ ได้แก่ 3.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดให้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆ (โดยเฉพาะตัวแปรตาม) เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลงจะทำให้ตัวแปรอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ตัวแปรอิสระอาจเรียกว่าเป็นตัวแปรเหตุ ตัวแปรต้นก็ได้ เพราะตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน โดยทั่วไปตัวแปรอิสระจะมีความถาวรมากกว่าตัวแปรตาม เช่น สถานภาพการสมรสกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว สถานภาพการสมรสเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าความคิดเห็น สถานภาพการสมรสจึงมีสถานภาพเป็นตัวแปรอิสระ

  7. 3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) อาจเรียกว่าเป็น “ตัวแปรผล” ตัวแปรตามเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยคาดหวังว่าจะเกิดผลในลักษณะเช่นไร โดยพิจารณาความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระที่กล่าวมาแล้ว เมื่อตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนตัวแปรตามก็จะเกิดขึ้นภายหลัง เช่น อายุกับการย้ายถิ่น ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากเพราะผู้วิจัยจะต้องพยายามกำหนดความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองประเภทนี้ให้ครบถ้วนและชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลให้ครบถ้วน

  8. 3.3 ตัวแปรแทรก (Intervening Variables)เป็นตัวแปรที่อยู่ในระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์นั้นชัดเจนขึ้น เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการมีบุตร ซึ่งหากพิจารณาให้ดีจะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการมีบุตรนั้น จะมีตัวแปรเกี่ยวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย X I Y (ตัวแปรแทรก) วิธีการคุมกำเนิด (ตัวแปรอิสระ) การศึกษา (ตัวแปรตาม) การมีบุตร

  9. 3.4 ตัวแปรมาก่อน (Antecedent Variables) เป็นตัวแปรที่อยู่นอกความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม แต่จะมีอิทธิพลต่อตัวแปรอิสระที่จะส่งผลถึงการมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามได้ A X Y (ตัวแปรมาก่อน) อาชีพของบิดา (ตัวแปรอิสระ) การที่นักศึกษาเข้าเรียน (ตัวแปรตาม) ความสนใจทางการเมือง

  10. 3.5 ตัวแปรกด (Suppressor variables) เป็นตัวแปรที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามไม่เกิดขึ้นทั้งที่ควรจะมีความสัมพันธ์กัน ต่อเมื่อได้ควบคุมตัวแปรกดไว้แล้วจะพบว่ามีความสัมพันธ์เกิดขึ้น เช่น อายุการย้ายถิ่นที่น่าจะมีความสัมพันธ์กัน (ตัวแปรมากด) เขตที่อยู่อาศัย S Y X (ตัวแปรอิสระ) อายุ (ตัวแปรตาม) การย้ายถิ่น

  11. 3.6 ตัวแปรบิดเบือน (Distorter Variables) เป็นตัวแปรที่ทำ ให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามกล่าวคือ แทนที่จะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับเปลี่ยนไปมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ เช่น อายุกับการยอมรับนวัตกรรมที่พบกันโดยทั่วไปว่าผู้ที่มีอายุมากมักจะรับนวัตกรรมได้ช้า แต่เมื่อนำระดับการศึกษาเข้ามาพิจารณาประกอบหรือใช้เป็นตัวควบคุมกลับพบว่ายิ่งมีอายุมากยิ่งรับนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ระดับการศึกษาจะเป็นตัวแปรบิดเบือน

  12. (ตัวแปรบิดเบือน) ระดับการศึกษา D + X Y - (ตัวแปรอิสระ) อายุ (ตัวแปรตาม) การยอมรับนวัตกรรม

  13. 3.7 ตัวแปรประกอบ (Component Variables) คือตัวแปรที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชั้นทางสังคมกับทัศนคติต่อการทำงาน ชั้นทางสังคมเป็นตัวแปรอิสระที่จะมีตัวแปรองค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาร่วมกัน เช่น อาชีพ ระดับการศึกษาของพ่อแม่ รายได้ หรือชาติพันธ์ เป็นต้น

  14. 3.8 ตัวแปรเกินหรือตัวแปรซ้อน (Extraneous Variables) เป็นตัวแปรที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์กันทั้งๆ ที่อาจจะไม่มีความสัมพันธ์กันในเบื้องต้น (ตัวแปรอิสระ) X E Y (ตัวแปรภายนอก) (ตัวแปรตาม)

  15. ประเภทความสัมพันธ์ของตัวแปรประเภทความสัมพันธ์ของตัวแปร 1. ความสัมพันธ์แบบไม่สมมาตร (Asymmetrical Relationship) 2. ความสัมพันธ์แบบสมมาตร (Symmetrical Relationship) 3. ความสัมพันธ์แบบตอบโต้ (Reciprocal Relationship)

  16. 1. ความสัมพันธ์แบบไม่สมมาตร เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผล (Casual Relationship) คือจะมีตัวแปรตัวหนึ่งหรือมากกว่าที่มีสถานภาพเป็นตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุที่จะมีอิทธิพล หรือผลต่อตัวแปรอื่นที่มีสถานภาพเป็นตัวแปรตาม หรือตัวแปรผล เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มมีผลต่อการบรรลุสู่เป้าหมายที่กลุ่มตั้งไว้

  17. 2. ความสัมพันธ์แบบสมมาตร เป็นความสัมพันธ์ที่บอกได้ว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร แต่ระบุไม่ได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรเหตุตัวแปรใดผล เช่น ความสามารถในการเล่นบาสเกตบอล และวอลเลย์บอลที่สัมพันธ์กันแต่บอกไม่ได้ว่าความสามารถในการเล่นกีฬาชนิดใดเป็นตัวแปรเหตุและชนิดใดเป็นตัวแปรผล รวมทั้งไม่สามารถกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย

  18. 3.ความสัมพันธ์แบบตอบโต้ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ตอบโต้ซึ่งกันและกัน สถานภาพของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจะสลับสถานภาพกันในแต่ละช่วงเวลา เช่น ปัญหาของคนในชนบทที่มีตัวแปรที่สำคัญอยู่ 3 ตัว คือ ความไม่รู้ ความยากจนและความเจ็บป่วย ที่เราพบว่าความสัมพันธ์ในเชิงตอบโต้กัน เช่น ความไม่รู้นำสู่ไปความยากจน หรือ ความยากจนนำไปสู่ความเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยนำไปสู่ความยากจน เป็นต้น

More Related