1 / 6

สังคห วัตถุ 4

สังคห วัตถุ 4. สังคห วัตถุ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลหรือหลักธรรมที่เป็นเครื่องประสานสร้างสรรค์สามัคคีให้เกิดในหมู่สมาชิกชาวพุทธ ถือว่า หลักสังคห วัตถุ 4 นี้ เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีอยู่ 4 ประการ คือ. 1. ทาน.

louvain
Download Presentation

สังคห วัตถุ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลหรือหลักธรรมที่เป็นเครื่องประสานสร้างสรรค์สามัคคีให้เกิดในหมู่สมาชิกชาวพุทธถือว่าหลักสังคหวัตถุ 4 นี้เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีอยู่ 4 ประการ คือ

  2. 1.ทาน • ทาน ได้แก่การให้รวมถึงการเอื้อเฟื้อ • เผื่อแผ่การเสียสละแบ่งปัน การช่วยเหลือกัน • ด้วยสิ่งของเครื่องใช้ และการให้คำแนะนำ • สั่งสอน ตักเตือน เช่น เมื่อเพื่อนทำการบ้าน • ไม่ได้ เราก็เข้าไปแนะนำวิธีทำให้เพื่อน หรือ • เมื่อเห็นว่าเพื่อนทำตัวไม่ดี ผิดกฎระเบียบ • ของโรงเรียนก็เข้าไปแนะนำ เตือนสติ • พระพุทธศาสนาแบ่งทาน • ออกเป็น 3 ประการ คือ • 1) วัตถุทาน หรือ อามิสทาน • ได้แก่ การให้สิ่งของเครื่องใช้ • 2) ธรรมทานได้แก ่ การให้ • คำแนะนำสั่งสอน ตักเตือน • 3) อภัยทาน ได้แก่ การให้อภัย • การไม่อาฆาตพยาบาท

  3. 2.ปิยวาจา • ปิยวาจา ได้แก่ การพูดจาไพเราะ • อ่อนหวาน พูดมีหางเสียง ผู้ชายมีครับ มีผม • ผู้หญิงมีค่ะ มีดิฉัน นอกจากนั้นปิยวาจา • ยังหมายถึง การพูดประสานความสามัคคี • ในหมู่คณะ พูดหวังประโยชน์ให้เกิดขึ้น • แก่สังคมโดยส่วนรวม เช่น การพูดให้กำลังใจ • เพื่อน พูดปลอบเพื่อน หรือพูดชักจูงเพื่อน • ไปในทางที่ดี หลีกหนีอบายมุข เป็นต้น

  4. 3.อัตถจริยา • อัตถจริยา ได้แก่ การทำตน • ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และส่วนรวม คือ • การขวนขวายช่วยเหลือกิจการ การบำเพ็ญ • สาธารณะประโยชน์ เช่น อยู่บ้านก็ทำตน • ให้เป็นลูกที่ดีด้วยการช่วยงานบ้าน แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ปัด กวาด เช็ด ถู ล้างจาน • เลี้ยงน้อง อยู่โรงเรียนก็ทำตัวเป็นนักเรียนที่ดีเป็นลูกศิษย์ที่ดี คอยช่วยเหลือครู • ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของโรงเรียน ช่วยครูดูแลรับน้องอนุบาลเพื่อพาขึ้นห้องเรียน เป็นต้น

  5. 4.สมานัตตา • สมานัตตา ได้แก่ การประพฤติ • ปฏิบัติตนเหมาะสมกับหน้าที่ของตนเอง • เช่น ประพฤติตนเหมาะสมกับการเป็นลูก • ของพ่อแม่ เป็นศิษย์ของครูอาจารย์ พบครู • ที่ไหนก็เข้าไปทักทายแสดงความเคารพ • อยู่ที่ไหนก็นำคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู • อาจารย์มาประพฤติปฏิบัติ หรือแต่ก่อนเป็น • คนโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือเผื่อแผ่แบ่งปันอย่างไร ปัจจุบันก็ยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ • หรือแต่ก่อนเป็นคนพูดไพเราะอ่อนหวานอย่างไรปัจจุบันก็เป็นคนพูดไพเราะ • อ่อนหวานแบบนั้นอยู่ คนที่ปฏิบัติได้อย่างนี้ถือว่าเป็นคน เสมอต้นเสมอปลาย

  6. สังคหวัตถุ 4 นอกจากเป็นเรื่องของสังคมสงเคราะห์แล้ว เรายังถือว่า • เป็นคาถามหาเสน่ห์อีกด้วยดังนั้นใครต้องการเป็นคนมีเสน่ห์มีคนรักคนหลง • ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมเรื่องสังคหวัตถุ 4 นี้ โดยสรุปเป็นคำเพื่อจำง่ายๆ • ว่า “โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ผู้คน เสมอต้นเสมอปลาย” • คุณประโยชน์ของสังคหวัตถุ 4 • 1. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้เราทำความชั่ว • 2. เมื่อประสบความเดือดร้อน ย่อมได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น • 3. ผู้อื่นให้ความเชื่อถือไว้วางใจ • 4. เป็นที่รักใคร่ยกย่องนับถือของคนทั่วไป • 5. เป็นบุคคลที่ใครอยากคบค้าสมาคมด้วย • 6. เข้าสมาคมกับผู้อื่นได้ง่าย • 7. ทำให้หมู่คณะมีความสามัคคียิ่งขึ้น

More Related