1 / 18

เทคนิค กระบวนการ และวิธีการจัดทำโครงการ

เทคนิค กระบวนการ และวิธีการจัดทำโครงการ. นายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

louis
Download Presentation

เทคนิค กระบวนการ และวิธีการจัดทำโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิค กระบวนการ และวิธีการจัดทำโครงการ นายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการของจังหวัดเพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด(พ.ศ. 2553-56) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2555 ของจังหวัดนนทบุรี 8 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

  2. ประเด็นนำเสนอ 1 สรุปผลการพิจารณาที่ผ่านมา แนวทางปรับปรุง 2

  3. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ปี 2554 ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณ จ./ กจ. ลักษณะโครงการที่ไม่ให้เสนอเป็นคำของบประมาณ จ./ กจ. • เป็นโครงการที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1. มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดซื้อครุภัณฑ์ และขุดลอกคลอง* 2. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้านอาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา) 3. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย 4. เป็นโครงการที่เน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งในระดับจุลภาคหรือระดับชุมชนย่อย 5. เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของส่วนราชการ หรือ อปท. อยู่แล้ว 6. เป็นโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 • การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์(Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า OTOP และการพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร • การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/พื้นที่พิเศษ • อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล * มติ ก.น.จ. วันที่ 19 พ.ย. 52 * กรณีที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดใดจะจัดทำโครงการเกี่ยวกับถนนและการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการนั้นจะต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์และมีสัดส่วนที่เหมาะสม www.nesdb.go.th

  4. การพิจารณาคุณภาพแผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัดปี 2554 • มีโครงการทุกแหล่งงบประมาณ (จังหวัด กระทรวง/กรม / ท้องถิ่น / เอกชน) • สอดคล้องตอบสนองกลยุทธ์ • สอดคล้องหลักเกณฑ์พิจารณาโครงการของ กนจ. - มีข้อมูลเพียงพอสำหรับทำความเข้าใจสภาพพื้นฐานทั่วไปของจังหวัด • เสนอข้อมูลศก. สังคม ทรัพยากรฯ และ สวล. ในเชิงวิเคราะห์ศักยภาพและความรุนแรงของปัญหา • ทำ SWOTAnalysis สอดคล้องกับข้อมูลที่เสนอ • สรุปปัญหาและความต้องการประชาชนจากประชาคมที่สะท้อนปัญหาเชิงพื้นที่ แผนงาน/โครงการ ข้อมูลสภาพทั่วไป • สอดคล้องเป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ • แสดงแนวทางการดำเนินงานชัดเจนเพื่อกำหนดแผนงานโครงการ การวิเคราะห์สภาวการณ์ และศักยภาพ กลยุทธ์ องค์ประกอบแผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมาย • สะท้อนการบรรลุเป้าประสงค์ได้ชัดเจน • มีค่าเป้าหมายแสดงความก้าวหน้าจากปัจจุบัน วิสัยทัศน์ • สอดคล้องกับข้อมูลและเป็นไปได้ • มีจุดเน้นชัดเจนสอดคล้องกับลักษณะของจังหวัด ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ • สนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ • สื่อทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน • สอดคล้องนโยบายรัฐบาล แผนฯชาติ และกรอบยุทธศาสตร์ภาค • สอดคล้อง สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ • ชัดเจนเป็นรูปธรรม www.nesdb.go.th

  5. สรุปคุณภาพแผนพัฒนากลุ่มจว./จว.ปีงบประมาณ 2554 ข้อมูลสภาพทั่วไป ยังมีน้อย เป็นข้อมูลกว้างๆ ไม่เชื่อมโยงกับมิติการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัด การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน มีลักษณะเป็นข้อความเชิงความเห็นทั่วไปและขาดข้อมูลสนับสนุน วิสัยทัศน์บางจังหวัดมีลักษณะกว้างเกินไปและครอบคลุมมาก บางจังหวัดกระชับสั้นเกินไปจนไม่ให้ความหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ ส่วนใหญ่ยังเป็นข้อความที่มีความหมายกว้างเกินไป ไม่สะท้อนมิติการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้อย่างชัดเจน ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย บางตัวชี้วัดไม่ครอบคลุมและไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าประสงค์ที่จะวัด บางตัวชี้วัดอิงปัจจัยภายนอกที่ไม่อยู่ในวิสัยการควบคุมของจังหวัด เช่น GPP และมูลค่าการส่งออก กลยุทธ์ ส่วนใหญ่มีความหมายกว้างและไม่ได้แสดงแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน แผนงานและโครงการ ส่วนใหญ่ตอบสนองแนวทางการพัฒนา แต่ยังขาดการบูรณาการงบประมาณระหว่างกระทรวง / กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน 5 www.nesdb.go.th

  6. สรุปคุณภาพโครงการปีงบประมาณ 2554 โครงการไม่ตอบสนองวิสัยทัศน์ หรือยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด โครงการขาดการบูรณาการกิจกรรมในแนวตั้งเพื่อให้ผลที่ได้รับเกิดความยั่งยืน และโครงการขาดการบูรณาการกิจกรรมระหว่างหน่วยงานทำให้มีลักษณะแยกส่วนตามบทบาทภารกิจของตนเองทำให้มี impact ต่ำและขาดการหนุนเสริมเชิงกิจกรรม ข้อเสนอโครงการไม่มีความชัดเจน ขาดหลักการเหตุผลความจำเป็น องค์ประกอบโครงการ/กิจกรรมไม่ได้ระบุรายละเอียดการดำเนินงาน โครงการขนาดเล็กค่อนข้างมาก ซึ่งไม่สามารถสร้างผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ให้กับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในภาพรวมได้ เนื้อหาโครงการสะท้อนการขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ตั้งแต่ขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน จนถึงขั้นตอนของการจัดทำโครงการร่วมกัน www.nesdb.go.th

  7. ประเด็นนำเสนอ 1 สรุปผลการพิจารณาที่ผ่านมา แนวทางปรับปรุง 2

  8. ตัวอย่าง.........Framework: กระบวนการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด....................... กิจกรรมร่วม วิทยากรดำเนินการ Outputs แบ่ง 4 กลุ่มย่อย (เกษตร, การท่องเที่ยว, สังคม/คุณภาพชีวิต, ความมั่นคง วิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของ ปชช.ใน จังหวัด ประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ขั้นตอนที่ 1 สมาชิกกลุ่มเตรียมข้อมูล ฝ่ายเลขาฯ จัดทำเอกสาร Identify target group/value proposition /(SWOT) วิสัยทัศน์/ประเด็นยุทธศาสตร์/กลยุทธ์หลัก ขั้นตอนที่ 2 เช้า-วิเคราะห์บ่าย-สังเคราะห์/ริเริ่ม ฝ่ายเลขาฯ จัดทำเอกสาร สมาชิกกลุ่มเตรียมข้อมูล ช่วยกันคิดแผนงาน/โครงการ (ร่าง) แผนพัฒนาจังหวัด........... 4 ปี (2554-2557) เช้า-บ่าย วิเคราะห์ข้อเสนอบ่าย-สรุป กิจกรรม/งบฯ ขั้นตอนที่ 3

  9. กรอบการทบทวน... วิสัยทัศน์ แยกให้ออกระหว่าง Ultimate objective กับ Strategic objective ที่ต้องการให้เกิดในช่วง 4 ปีข้างหน้า วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หลัก1 Project ideas 1,2,3,4,5,… Project ideas 1,2,3,4,5,… กลยุทธ์หลัก2 Project ideas 1,2,3,4,5,… กลยุทธ์หลัก3

  10. สรุปลักษณะข้อเสนอโครงการที่เข้าตากรรมการ...สรุปลักษณะข้อเสนอโครงการที่เข้าตากรรมการ... • มีกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการ/นโยบาย/ยุทธศาสตร์ (Effectiveness principle) • เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Efficiency principle) • หน่วยงานรับผิดชอบมีความพร้อมในการดำเนินงาน (Readiness principle) • มีการแก้ปัญหาแบบบูรณาการเพื่อทำให้เกิด impact และความยั่งยืน (Integration and Synergy) • ข้อเสนอมีรายละเอียด ข้อมูลประกอบ ครบถ้วนชัดเจน (Format compliance)

  11. และอาจช่วยท่านแก้ปัญหาแบบนี้ ! • มีจำนวนโครงการเสนอมามากมาย ต้องคัดออก • รู้สึกว่าข้อเสนอโครงการไม่ค่อยจะถูกใจแต่ไม่รู้จะพูดแย้งอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับ • มีเวลา และงบประมาณน้อยไม่สามารถทำ project feasibility study ได้ตามที่ควร แต่ต้องให้ความเห็น และตัดสินใจ • ต้องเสนอความเห็นในที่ประชุมโดยเร็วเกี่ยวกับความเหมาะสมของ กลยุทธ/แผนงาน/โครงการ/มาตรการ/ หรือข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาบางประการ

  12. หลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการหลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ 1/6 วัตถุประสงค์: เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่มีข้อเสนอให้ต้องพิจารณาตัดสินใจบนข้อจำกัด • เพื่อการพิจารณาข้อเสนอโครงการ หรือการจัดสรรงบประมาณ ที่รวดเร็ว • เพื่อให้การพิจารณา ของเจ้าหน้าที่ภายใต้ข้อจำกัดของข้อมูล และเวลายังคงเป็นไปตามหลักวิชาการ มีความกระชับในประเด็น และง่ายแก่เจ้าหน้าที่ในการตั้งคำถาม

  13. หลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการหลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ 2/6 • หลักประสิทธิผล (Effectiveness Principle) • หลักประสิทธิภาพ (Efficiency Principle) • หลักความพร้อมขององค์กรในการนำไปปฏิบัติ (Readiness Principle)

  14. หลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการหลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ 3/6 I-OO Logical linkage 1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness Principle) หลักนี้เป็นหลักประการแรกที่ต้องคำนึงถึง ประเด็นคำถามสำคัญในการวิเคราะห์ คือ การตอบคำถาม ที่ว่า “โครงการ/แผนงาน” นั้น จะนำไปสู่ “วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย” ที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ Input 1 Output1 Outcome1 ProjectManagement and Its Activities Input 2 Output2 Outcome2 Input 3 Output3 Outcome3 O-O-Dr Logical linkage Output-Outcome-Desired result กับ นโยบาย/กรอบยุทธศาสตร์/ภาพรวมของแผนงานใหญ่ กิจกรรมที่จะทำจะนำไปสู่ Output/Outcome ที่ต้องการ หรือกำหนดไว้เป็นวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งความเป็นเอกภาพ หรือซ้ำซ้อนของกิจกรรมภายในโครงการ

  15. หลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการหลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ 4/6 2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency Principle) หลักนี้ จะเป็นการตอบคำถามที่ว่า โครงการ/แผนงาน นั้น มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าหรือไม่ รวมทั้งเป็นไปตามข้อกำหนดในการดำเนินงานที่จำเป็นจะต้องมี เช่น การมีส่วนร่วมของ Stakeholder บางกลุ่ม เป็นต้น Results Resources Input 1 Output1 Outcome1 ProjectManagement and Its Activities Input 2 Output2 Outcome2 Input 3 Output3 Outcome3 Efficiency = Results/Resources, or Outputs/Inputs

  16. หลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการหลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ 5/6 3. หลักความพร้อมขององค์กรในการนำไปปฏิบัติ (Readiness Principle) หลักนี้ หมายถึงการพิจารณาว่า หน่วยงาน/องค์กร ที่จะนำโครงการ/แผนงานไปปฏิบัตินั้น มีความพร้อมและชัดเจนในการเตรียมงานเพียงใด เพื่อตอบคำถามว่า แล้วมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะทำให้เกิดผลตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่ Input 1 Output1 Outcome1 ProjectManagement and Its Activities Input 2 Output2 Outcome2 Input 3 Output3 Outcome3

  17. หลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการหลักการตั้งคำถามอย่างง่ายเพื่อการวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ 6/6 โดยสรุป ในการวิเคราะห์แต่ละครั้ง จะมุ่งเพื่อตอบคำถามว่า โครงการนั้น จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการหรือไม่ หากใช่ แล้วคุ้มค่าที่จะดำเนินการหรือเปล่า หากคุ้มค่า หรือยอมรับว่าต้องขาดทุนบ้าง แต่จำเป็นต้องทำ ก็ดูว่า แล้วหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ มีความพร้อม/ความสามารถ และมีความตั้งใจที่จะดำเนินการ ให้ได้ผลสำเร็จตามแผนมากน้อยเพียงใด

  18. suriyon@nesdb.go.th ขอบคุณ

More Related