220 likes | 372 Views
ขà¸à¸•้à¸à¸™à¸£à¸±à¸š. นายบุà¸à¸ˆà¸‡ วงศ์ไตรรัตน์ รัà¸à¸¡à¸™à¸•รีช่วยว่าà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸—รวงมหาดไทย. à¸à¸‡à¸„์à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาพื้นที่พิเศษเพื่à¸à¸à¸²à¸£à¸—่à¸à¸‡à¹€à¸—ี่ยวà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ (à¸à¸‡à¸„์à¸à¸²à¸£à¸¡à¸«à¸²à¸Šà¸™). วิสัยทัศน์. à¸à¸žà¸—. ประสานทุà¸à¸ าคีเพื่à¸à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸—่à¸à¸‡à¹€à¸—ี่ยวà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™. พันธà¸à¸´à¸ˆ.
E N D
ขอต้อนรับ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
วิสัยทัศน์ อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พันธกิจ • ประสานงานบริหารการท่องเที่ยวกับหน่วยงานระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น • ประสานการใช้อำนาจของหน่วยงานเพื่อบูรณาการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว • ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว • ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น • ส่งเสริมจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว • ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตท้องถิ่น
กระบวนการประกาศเขตพื้นที่พิเศษกระบวนการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ 1) หลักเกณฑ์การประกาศพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่น และทรงคุณค่าทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่ที่มีความล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 2) การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการพิจารณาการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ กรอกคะแนนลงในคู่มือการพิจาณาการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ หากคะแนนรวม ได้เกินร้อยละ 75 จึงดำเนินการเตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษต่อไป 3) การเตรียมการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ ด้วยการสำรวจสภาพพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกระดับ และการกำหนดขอบเขตพื้นที่พิเศษ กพท. พิจารณานำเสนอรองนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศเป็นเขตพื้นที่พิเศษ
สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 1. ประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3 แห่ง 1.1 พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (ประกาศพื้นที่พิเศษ 24 ก.ย. 47) 1.2 พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (ประกาศพื้นที่พิเศษ 11 มี.ค. 48) 1.3 พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (ประกาศพื้นที่พิเศษ 19 พ.ค. 52) 2. การเตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษแห่งใหม่ 2.1 พื้นที่ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน 2.2 พื้นที่อุทยานแห่งชาติสุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร 2.3 พื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดเลย 2.4 พื้นที่ท่องเที่ยวเมืองน่าน 2.5 พื้นที่เมืองสุราษฎร์ธานีและพื้นที่เชื่อมโยง 3. การท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน 4. การสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
6. การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 6.1 พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - จัดระบบกำจัดขยะ - การฟื้นฟูและอนุรักษ์ปะการัง - การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลน ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เฝ้าระวังสุขภาพและการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นมูลฐาน ส่งเสริมองค์ความรู้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ จัดทำแผนบูรณาการการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง
สนับสนุนการบริหารจัดเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยบนเกาะช้าง โดยเทศบาลเกาะช้างและ อบต.เกาะช้างใต้ การประเมินและตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ของโรงกำจัดขยะ จัดการศึกษาดูงานและฝึกอบรมการกำจัดขยะ • ส่งมอบโรงคัดแยกและกำจัดขยะมูลฝอยเกาะช้าง คืนให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อพิจารณาอนุญาตให้เทศบาลตำบลเกาะช้าง เข้าใช้พื้นที่และเครื่องจักร • GIZ ให้การสนับสนุน โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาให้คำแนะนำและฝึกอบรมในการคัดแยกขยะแก่ผู้บริหาร อปท. และเจ้าหน้าที่ รวมถึงประชาชนในพื้นที่โดยมี อพท. เป็นผู้ประสานงานในการจัดอบรม
ปี พ.ศ. 2552 นักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ จำนวน 911 คน เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนและปะการัง ผลการดำเนินโครงการ ปลูกต้นโกงกาง 13,000 ต้น จำนวน 32.5 ไร่ และได้มีการนำเสนอโครงการของโรงเรียน 13 โครงการ ซึ่ง อพท. ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว • พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ป้องกันภัยและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวโดยจัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อวางแผนปฏิบัติการป้องกันและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว • สร้างห้องสมุดแหล่งรวมความรู้เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยปรับปรุงที่ทำการ สพพ.1 ณ บริเวณน้ำตกธารมะยม เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำหรับการให้บริการแก่องค์กร บุคคลภายนอก นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน จำนวน 7 ศูนย์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนให้คงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถใช้พื้นที่ของศูนย์ฯ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้หรือจัดกิจกรรมภายในชุมชน
จัดฝึกอบรมเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการลดโลกร้อน (บ้านสลักคอก และบ้านสลักเพชร) โครงการความร่วมมือ อพท. และ GIZ • ฝึกอบรมผู้ประกอบการ เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้โครงการความร่วมมือ อพท. และ GIZ • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอผลการจัดทำฐานข้อมูลร่องรอยคาร์บอนและทดสอบตัวแบบการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ โครงการความร่วมมือ อพท. และ GIZ • จัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดทำโครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 โครงการ • จัดทำแผนบูรณาการการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง นำรายงานโครงการจัดทำแผนแม่บทฉบับเดิม มาพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละโครงการอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำแผนดังกล่าว อพท. ดำเนินการโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
6.2 พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี บริหารการพัฒนาเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับแนวการบริหารโดยเน้นประเด็นสำคัญดังนี้ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรป่าไม้และพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาเป็น Theme Park เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างภาพลักษณ์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นสมบัติของคนเชียงใหม่โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
เพิ่มรอบให้บริการ 1 รอบ Day Safari เริ่ม เวลา 11.00 น. เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในโซน Jaguar Trail, Lanna village และสามารถนั่งรถชมสัตว์ในโซน Predator Prowl, Savanna Safari ได้ในรอบปกติตั้งแต่เวลา 15.00 น. - 22.30 น • เพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น Behide the Zoo การเพิ่มสัตว์ใหม่ กิจกรรมให้อาหารสัตว์ เป็นต้น • ส่งเสริมให้องค์การธุรกิจจัดทำ CSR สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และกลุ่มบุคคล เข้ามาเรียนรู้ Nature Theme Park
6.3 พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง จัดทำแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง อพท. จัดทำแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง โดยกระบวนการการมีส่วนร่วม และได้รับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) แล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างบรรจุเป็นวาระเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ การอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวชุมชน จัดทำกรอบแผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กระบวนการการมีส่วนร่วม
7. พื้นที่เตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 7.1 พื้นที่เมืองหัวหินและพื้นที่เชื่อมโยง • อพท. ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษโดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ • กพท. ให้ความเห็นชอบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองหัวหิน - ชะอำ และพื้นที่เชื่อมโยงแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
7.2 พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร อพท. ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษโดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ กพท. ให้ความเห็นชอบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร แล้ว และ อพท. ได้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
7.3 พื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดเลย • จังหวัดเลยได้ประสานความร่วมมือกับ อพท. ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย • ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป • การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย จะเป็นปัจจัยการขับเคลื่อนที่สำคัญในการเสริมสร้างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลยให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในระยะยาว
7.3 พื้นที่ท่องเที่ยวเมืองน่าน • อพท. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจังหวัดน่าน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน • กพท. ได้ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 • ปัจจุบัน อพท. ประสานกับจังหวัดน่านเพื่อการแปลงแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ • ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการประกาศพื้นที่พิเศษเมืองน่านและพื้นที่เชื่อมโยง
8. การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน อพท. ได้ดำเนินการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนที่ต้องการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนให้สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดความยั่งยืนบนพื้นฐานของการเป็นชุมชน การอนุรักษ์วิถีชีวิตวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไปภายใต้การมีส่วนร่วมในการดำเนินการของชุมชนเอง โดยมีชุมชนเป้าหมาย 6 ชุมชนนำร่อง ได้แก่ - ชุมชนบ้านวอแก้ว อำเภอบ้านฉัตร จังหวัดลำปาง - ชุมชนบ้านท่าล้ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี - ชุมชนบ้านบางโรง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต - ชุมชนตำบลเกาะเกิด อำเภบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - ชุมชนบ้านห้วยสะพาน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี - ชุมชนอำเภอเวียงเก่า อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
9. การสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท. ได้สร้างเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพ 20 ชุมชน ในทุกภาคของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน โดย อพท. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจประสานความร่วมมือกับชุมชนทั้งหมด วันที่ 19 – 20 มกราคม 2554 อพท. ได้จัดงานมหกรรมท่องเที่ยวชุมชน “กลไกสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ณ สวนนงนุช จังหวัดชลบุรี โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เป็นประธานการเปิดงาน ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยชุมชนเครือข่ายที่ อพท. ให้การสนับสนุน 38 เครือข่าย จำนวนกว่า 700 คน
อพท. ประสานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (GIZ)เพื่อลดภาวะโลกร้อนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของชุมชนและท้องถิ่นด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอผลการจัดทำฐานข้อมูลร่องรอยคาร์บอนและทดสอบตัวแบบการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ ปี 2552 จัดฝึกอบรมเรื่อง การท่องเที่ยวโดยชุมชนและการลดโลกร้อน (บ้านสลักคอก และบ้านสลักเพชร) โครงการความร่วมมือ อพท. และ GTZ ร่วมกับสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) ร่วมจัดฝึกอบรมเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการลดโลกร้อน ฝึกอบรมผู้ประกอบการเรื่องการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเกิดกำไร (Profitable Resource Management)