1 / 43

เอกสารประกอบการเรียน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เอกสารประกอบการเรียน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ผู้สอน : วินัย ปุริเกษม. ระบบเครือข่าย. Communication การสื่อสารข้อมูลเป็นการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากต้นทางไปยังปลายทางผ่านอุปกรณ์เชื่อมโยง ( Channel ) ซึ่งอาจเป็นสายเคเบิลหรืออุปกรณ์ไร้สาย.

lottie
Download Presentation

เอกสารประกอบการเรียน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการเรียนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเอกสารประกอบการเรียนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้สอน : วินัย ปุริเกษม

  2. ระบบเครือข่าย Communication การสื่อสารข้อมูลเป็นการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากต้นทางไปยังปลายทางผ่านอุปกรณ์เชื่อมโยง (Channel) ซึ่งอาจเป็นสายเคเบิลหรืออุปกรณ์ไร้สาย • คอมพิวเตอร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านการสื่อสารระหว่างกันได้ เช่นเดียวกันกับเครื่องมืออื่นเช่น โทรศัพท์ มือถือ เพจเจอร์ เป็นต้น • เราสามารถนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อสามารถใช้สื่อสารระหว่างกันได้ และยังได้รับประโยชน์อีกมากมาย

  3. มีอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเครือข่าย Network ระบบ LAN (Local Area Network)ระบบ LAN (Local Area Network) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ มีเครื่อง Server เป็นเครื่องแม่ข่าย มีเครื่องลูกข่ายที่เรียกว่า Workstation/Client มีอุปกรณ์ Network สำหรับเชื่อมต่อ เช่น HUB, Switch, Router มีสายสัญญาณสำหรับเชื่อมโยง เช่น UTP Coaxial Fiber Optic

  4. ระบบเครือข่าย LAN ตัวอย่าง LAN (Local Area Network)ประโยชน์คือ Shared Peripheral Devices การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น การใช้เครื่องพิมพ์, scanner ร่วมกัน แทนที่จะต้องซื้ออุปกรณ์หลายๆตัว

  5. ระบบเครือข่าย MAN MAN (Metropolitan Area Network) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจจะเป็นการนำเอา LAN มาเชื่อมต่อกันในระยะกลาง ครอบคลุมพื้นที่ ในอำเภอ หรือในจังหวัดเดียวกัน MAN

  6. ระบบเครือข่าย WAN Wan (Wide Area Network) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจจะเป็นการนำเอา LAN หรือ MAN มาเชื่อมต่อกัน ครอบคลุมพื้นที่ในระยะไกลเช่น ประเทศเดียวกัน

  7. ระบบเครือข่าย Intranet • เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้กันเป็นการภายในของแต่ละองค์กร • ข้อสำคัญที่ทำให้อินทราเน็ตต่างจากอินเทอร์เน็ตคือ กลุ่มผู้ใช้เครือข่ายอินทราเน็ตมักจะเป็นคนภายในองค์กร หรือกลุ่มคนที่จำกัด มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่กันคนจากภายนอกเข้ามาในระบบ ส่วนอินเทอร์เน็ตไม่จำกัดกลุ่มคนที่ใช้งาน ขอเพียงจ่ายค่าบริการ หรือมีช่องทางการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบก็สามารถใช้งานได้

  8. ระบบเครือข่าย Intermet เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นการนำเอา LAN MAN หรือ WAN มาเชื่อมต่อกันครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกจึงเป็นระบบเครือข่าย (Network) ที่ใหญ่ที่สุด internet หากแยกศัพท์มาได้ 2 คำ คือ คำว่า Inter และ net ซึ่ง Inter หมายถึง ระหว่าง คำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย มารวมกัน จะได้ “ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ” เป็นระบบเครือข่ายมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่และมีข้อมูลทุกด้าน สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทั่วโลก

  9. ใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ต?ใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ต? • ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว การกำหนดมาตรฐานใหม่ๆ นั้น ผู้ที่ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domainname ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

  10. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย • อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://www.psu.ac.th) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย (http://www.unimelb.edu.au) • เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร

  11. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ)อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ) • ธันวาคม ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร (http://www.thaisarn.net.th)และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  12. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย กำเนิด ISP • ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP (Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

  13. ISP คือ ? • บริษัทธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ของศูนย์คอมพิวเตอร์ใด • ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินตามระบบ อาจจะเป็นรายเดือนหรือรายปี • Internet Thailand เป็น ISP แห่งแรกที่เป็นบริษัทเอกชน • ISP บริษัทเอกชนอื่นๆ CS Internet Loxinfo InfoNew Samart Cybernet

  14. จะใช้ Internet ได้อย่างไร ? ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของศูนย์ให้บริการ ต่อกับ HOST โดยตรงหรือต่อแบบ LAN WAN ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เชื่อมต่อกับ ISP โดยใช้ MODEM ผ่านสายโทรศัพท์บ้าน เชื่อมต่อกับ ISP โดยผ่านระบบ ADSL VDSL หรือ ISDN เชื่อมต่อกับ ISP โดยผ่านระบบดาวเทียม เช่น IP star

  15. จะใช้ Internet ได้อย่างไร ? (ต่อ) • USER NAME เมื่อสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการ Internet (ISP) จะได้รับ Username (หรือ User-ID หรือ login-name) และ Password ทุกครั้งที่ติดต่อกับ ISP จะต้องป้อน Username และ Password Username จะเป็นส่วนหนึ่งของ Internet Address ที่ใช้ติดต่อกับเครื่องอื่น

  16. มีอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต Host Computer ในเครือข่ายจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้  บริการที่เรียกว่า Server หรือ HostComputer  ในอินเทอร์เน็ตมี Host เชื่อมต่อมากมาย  แต่ละ Host จะให้บริการต่างๆ แก่ลูกข่ายสมาชิกตามวัตถุประสงค์  แต่ละ Host เป็นแหล่งข้อมูลมากมายให้ศึกษาค้นคว้า

  17. มีอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเครือข่าย จะมีการเชื่อมต่อกันด้วยสายส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น สายทองแดง สาย Coaxial สายไฟเบอร์ออปติก ระบบ ATM มีการเชื่อมต่อสัญญาณแบบไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น วงจรสื่อสารผ่าน ดาวเทียม วงจรสื่อสารผ่านไมโครเวฟ ความเร็วรับส่งข้อมูลมีตั้งแต่ 24 Kbps.64 Kbps. ถึง 2 Mbps., จนถึงGbps.

  18. การเชื่อมต่อเพื่อใช้ Internet ด้วย Modem • ตัวอย่างการเชื่อมต่อด้วยโมเด็ม Modem: เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าโทรศัพท์ หน้าที่ คือแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณนาลอก ในการส่งข้อมูล (Modulation) และแปลงสัญญาณนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลในการรับข้อมูล (Demodulation) Modem ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็น Fax Modem ซึ่งหมายความว่าเราสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาแทน Fax ได้

  19. การเชื่อมต่อเพื่อใช้ Internet ด้วย ISDN ISDN:Integrated Services Digital Network เป็นระบบการส่งผ่านข้อมูลดิจิตอล

  20. Internet PSTN การเชื่อมต่อเพื่อใช้ Internet ด้วย ADSL ADSL connection ISP splitter ADSL modem

  21. Internet การเชื่อมต่อเพื่อใช้ Internet ด้วย IP Star • Satellite (configuration) Downstream Upstream ISP Satellite interface/ transceiver

  22. มาตรฐานการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมาตรฐานการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต • พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานการเชื่อมโยง ติดต่อกันในระบบเครือข่าย Internet เป็นแบบเดียวกันถึงปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้ จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform สามารถสื่อสารกันได้ถูกต้อง (Protocal คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล ให้สามารถ ส่งผ่านไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง)

  23. รูปแบบ IP Address หมายเลขประจำเครื่อง 32 bit Network Host 28=256 (0-255) 8 bit 8 bit 8 bit 8 bit ตัวอย่าง 202 . 28 . 79 . 211 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ๆละ 8 Bit รวม 32 Bit ในแต่ละส่วนจะคั้นด้วยจุด (Dot) เครื่องที่ต่อเข้ากับระบบต้องมีหมายเลข IPเครื่องที่ต่อบนเครือข่ายมีได้ถึง 4 พันล้าน

  24. DNS (Domain name System) • เป็นเทคนิคการการเปลี่ยนหมายเลข IP ที่เป็นตัวเลขให้เป็นชื่อแทน • ตัวอย่าง DNS เช่น DNS = chanthaburi.buu.ac.th หมายเลข IP = 202.28.79.211 • รูปแบบ DNS เช่น ชื่อโฮสด์คอมพิวเตอร์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น.ชื่อโดเมนย่อย.ชื่อโดเมนระดับบน

  25. Domain name ระดับบน ชื่อโดเมนระดับบนแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเภทองค์กรในอเมริกา เช่น .com (commercial) กลุ่มองค์กรเอกชน .edu (education) สถาบันการศึกษา .gov (governmental) องค์กรของรัฐ .mil (millitary) กลุ่มองค์กรทหาร .net (network service) องค์กรบริหารเครือข่ายและ .org (non-commercial) กลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  26. Domain name ระดับบน (2) ชื่อโดเมนระดับบนประเภทที่ 2 ชื่อโดเมนระดับบนที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ เช่น .au: ออสเตรเลีย .ca: แคนาดา .dk: เดนมาร์ค .ru: รัสเซีย .it: อิตาลี .jp: ญี่ปุ่น .th: ไทย .tw: ไต้หวัน .in: อินเดีย .uk: อังกฤษ .fr: ฝรั่งเศส .us: สหรัฐ

  27. URL : Uniform Resource Locator โปรโตคอล://ชื่อโฮสต์.ชื่อโดเมน/ชื่อไฟล์ • โปรโตคอล http ใช้กับบริการ www ftp ใช้กับบริการ FTP • ชื่อ Host คือชื่อเครื่องที่ให้บริการ (Server) • ชื่อ Domain เป็นชื่อที่ใช้แทน IP Address • ชื่อ File เป็นระบุชื่อและตำแหน่งไฟล์

  28. ตัวอย่าง URL • http://www.janburi.buu.ac.th • http://www.kapook.com • http://www.glo.or.th • http://www.cs.net • ftp://ftp.buu.ac.th

  29. ประโยชน์อินเตอร์เน็ต • ด้านการศึกษา เป็นแหล่งสำหรับค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เช่น งานวิชาการ วารสาร งานวิจัย http://www.tc.cornell, http://www.iee.or.uk, http://www.ieee.com โปรแกรมงานการศึกษา เช่น http://www.yahoo.com http://www.nectec.or.th • ด้านการรับส่งข่าวสาร • เป็นแหล่งรับ-ส่งข่าวสารได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms แฟ้มข้อมูล รูปภาพ รวมทั้งเสียง

  30. ประโยชน์อินเตอร์เน็ต • ด้านธุรกิจการค้า เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจสะดวกทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น e-commerce ซื้อขายสินค้าผ่านคอมฯ ด้วยบัตรเครดิต • ด้านบริการ เช่น บริการและสนับสนุนลูกค้า ถามตอบปัญหา • ด้านบันเทิง เช่นการพักผ่อนอ่านวารสาร ดูหนัง ฟังเพลง

  31. มีบริการอะไรในอินเตอร์เน็ตบ้างมีบริการอะไรในอินเตอร์เน็ตบ้าง บริการ www • ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) พัฒนา HTTP (HyperText Transfer Protocol) ทำให้เกิดบริการ WWW (World Wide Web) ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้ • การเข้าไปยัง web site เพื่อหาข้อมูล จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสะดวกและเร็วกว่าการไปที่ห้องสมุด ปัจจุบันมีเว็บให้บริการสืบค้นเหมือนตู้บัตรรายการ

  32. อะไรเป็นอะไรใน www (1) • ภาษา HTML (Hyper Text Markup Lauguage) • เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เขียนเพื่อนำเสนอข้อมูลบน Web • เป็นภาษาที่เขียนง่ายเพราะมีเครื่องมือช่วยมาก • ทำ Link เชื่อมโยงได้ง่าย • สามารถเสนอข้อมูลแบบ Multimedia

  33. อะไรเป็นอะไรใน www (2) • Home page • หมายถึงเอกสารหน้าแรกของ web page แต่ละเรื่อง (เหมือนปกหนังสือ) • อาจมีรายละเอียดว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องใด • อาจมีเมนูหรือหัวข้อต่าง ๆ ให้เลือก (เหมือนสารบัญ)

  34. อะไรเป็นอะไรใน www (3) web page • หมายถึงเอกสารที่เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML • ข้อมูลแต่ละเรื่องอาจจะประกอบด้วย web page หลายหน้า • เอกสารข้อมูลแต่ละหน้า อาจมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง

  35. อะไรเป็นอะไรใน www (4) Web site • เป็นที่เก็บ web page อาจเรียกว่า web server หรือ web site • เป็นตัวเครื่องที่เก็บข้อมูลที่เป็น web page ขององค์กรและต่ออยู่ในระบบ internet เพื่อให้บริการ • มักจะตั้งชื่อเป็นชื่อขององค์กร เช่น วิทยาเขต จันทบุรี จะชื่อว่า janburi.buu.ac.th

  36. จะใช้บริการ WWWได้อย่างไร • Web Browser คือโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องของ User เว็บเพจที่สร้างขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว จะต้องอาศัยโปรแกรมแสดงผล จอภาพ เรียกว่า Web Browser ปัจจุบันมีผู้ผลิตโปรแกรมเบราเซอร์ ออกมาเผยแพร่ และจำหน่ายหลายราย เช่น Netscape Navigator, Netscape Communicator หรือ Microsoft Explorer ตลอดจน Mosaic, Lynx, MacWeb, Cello, Opera

  37. บริการ e-mail • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail หรือ Electronic mail) • ใช้รับ-ส่งจดหมายโดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) หรือสาย LAN ในองค์กร • สามารถส่งภาพหรือเสียงได้ • เป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

  38. จะใช้บริการ E-mail ได้อย่างไร • การติดต่อต้องมี e-mail address เช่น vinaichi@buu.ac.th • ต้องมีโปรแกรมสำหรับรับ-ส่ง e-mail เช่น • Pine, mail • Eudora, E-mail connection • MS internet mail

  39. Web-based e-mail • web-based e-mail คือ บริการให้ผู้ใช้สามารถอ่าน e-mail จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อาจมีผู้ใช้หลายคน เช่น ในห้องปฏิบัติการหรือร้าน internet ได้สะดวก โดยใช้ Browser เช่น IE, Netscape, Neoplanet หรือ Opera • ทุกอย่างถูกเก็บที่ Mail server เว็บที่ให้บริการ เช่น hotmail.com, yahoo.com, Lampang.net, chaiyo.com, thaimail.com หรือ thaiall.com • ปัญหาของบริการนี้ คือ จำกัดขนาดของ e-mail จึงต้องอ่านและลบ e-mail เสมอ

  40. จะใช้บริการ web-based e-mail อย่างไร • ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ web-based e-mail ที่ให้บริการ เช่น www.yahoo.com, www.hotmail.com, www.thaimail.com • หลังจากลงทะเบียนจะได้ -Username และ password สำหรับ login เข้าใช้งาน -เข้าเว็บที่สมัครเป็นสมาชิกและใช้งาน

  41. Search Engines เครื่องมือค้นหา • ในโลก Internet มีแหล่งข้อมูลมากมาย ในการที่จะเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ จะต้องรู้ชื่อของ website แหล่งข้อมูลที่เราต้องการ • กรณีที่เราไม่รู้ชื่อ web ทำอย่างไร ? ใช้ search Engines ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่ามีเว็บไซต์เว็บใดมีข้อมูลตามคำสืบค้น (keyword) ที่ระบุ เช่น http://www.google.com http://www.search.com http://www.yahoo.com http://www.siamguru.com http://www.infoseek.com http://www.lycos.com

  42. ตัวอย่างการสืบค้นข้อมูลตัวอย่างการสืบค้นข้อมูล • ต้องการหามหาวิทยาลัยบูรพา • เปิด http://www.google.com แล้วพิมพ์คำว่ามหาวิทยาลัยบูรพาในช่องว่าง แล้วกดปุ่ม Search จะพบชื่อเว็บและคำอธิบายข้อมูล

  43. มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต • ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น • ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น • ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น • ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร • ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ • ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ • ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ • ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน • ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน • ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

More Related