120 likes | 231 Views
นโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา. โดย รศ.นพ. กำจร ตติย ก วี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 14 พ.ย. 55. กรอบแผนระยะ ยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557-2565.
E N D
นโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษานโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา โดย รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 14 พ.ย. 55
กรอบแผนระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557-2565 เป้าหมาย : ยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวสำหรับงานที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัฒน์สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย โดยใช้กลไกของธรรมาภิบาล การเงิน การกำกับมาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการความหลากหลาย และเอกภาพเชิงระบบ
ปัจจัยภายในอุดมศึกษา 9 ประเด็น 1. รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น 2. การแก้ปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน 3. ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ 4. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5. การเงินอุดมศึกษา 6. การพัฒนาบุคลากรในอุดมศึกษา 7. เครือข่ายอุดมศึกษา 8. การพัฒนาอุดมศึกษาในเขตการพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9. การสร้างพื้นฐานการเรียนรู้
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่11 (ฉบับร่าง) ยุทธศาสตร์: การพัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์ กลยุทธ์ 1. เพิ่มจำนวนอาจารย์ให้เพียงพอ 2. พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ 3. พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย 4. ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์ 5. พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
แผนพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษาระยะยาว15 ปี (พ.ศ.2550-2564) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบบทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ที่เป็นอาจารย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาอาจารย์โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3การพัฒนาอาจารย์ประจำ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษาในมิติความเป็นผู้นำธรรมาภิบาลและการจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาอุดมศึกษาด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเอกชนและหน่วยงานอื่นๆ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาบุคลากรสาขาขาดแคลนและบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบการจ้างงาน และเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการและระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบบทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ที่เป็นอาจารย์ แนวการจัดสรรทุนการศึกษาและทุนพัฒนาอาจารย์ของ สกอ. ควรแบ่งโควตาระหว่างทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทุนทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ให้ชัดเจน เช่น 70: 30 หรือ 60:40 หรือ 50:50 และเกณฑ์การจัดสรรทุนบางประเภทอาจจะแตกต่างกันตามพันธกิจที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาอาจารย์โดยกลุ่ม มหาวิทยาลัยใหม่ การจัดสรรทุนพัฒนาอาจารย์ในสาขาที่สถาบันอุดมศึกษาต้องการและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเน้นในสาขาการศึกษาทั่วไป คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาษา ไอที วิชาพื้นฐานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และวิชาเฉพาะด้าน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาอาจารย์ประจำ 1. พัฒนาระบบหรือโครงสร้างเพื่อประเมินทักษะด้านการสอน 2. ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) 3. พัฒนาในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นถึงความเหมาะสมของทักษะต่างๆ ตั้งแต่ Early Career, Middle Career ไปถึงอาจารย์วิชาชีพ (Late Career)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากร อุดมศึกษาในมิติความเป็นผู้นำธรรมาภิบาลและการจัดการ (Leadership, Governance and Management-LGM) กำหนดให้มีภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาลและความสามารถด้านการบริหารจัดการเป็นสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอุดมศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาอุดมศึกษาด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเอกชนและหน่วยงานอื่นๆ - การพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ ทักษะเชิงอาชีพรวมทั้งการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยการสร้างความเชื่องโยงกับภาคธุรกิจเอกชนให้มีประสิทธิภาพ - ความร่วมมือกับภาคการผลิตและธุรกิจ วิจัยร่วมกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม - ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากร(mobility)ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาบุคลากรสาขาขาดแคลนและบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ - สร้างความเข้มแข็งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน - ผลิตบุคลากรในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีคุณภาพสูงและมีปริมาณเพียงพอ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบการจ้างงานและเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการและระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา - การกำหนดเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม