1 / 52

กลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมการบริการ

กลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมการบริการ. Source : ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา ( 2552). ผลิตภัณฑ์ใหม่ : การตลาดและการพัฒนา . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 1. ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์ / การบริการใหม่. การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning)

lorna
Download Presentation

กลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมการบริการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมการบริการกลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมการบริการ Source: ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา (2552). ผลิตภัณฑ์ใหม่: การตลาดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

  2. 1.ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่1.ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ • การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) มีความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ ดังนี้ 1.1. เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการบริหารงานของหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic business unit-SBU)และของบริษัทโดยส่วนรวม เพราะแผนกลยุทธ์ทำให้เกิดจุดมุ่งเน้น (Focus) ที่ชัดเจนสำหรับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่

  3. ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ • 1.2. ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์/การบริการใหม่ทำงานในลักษณะทีมงานได้อย่างประสานสอดคล้องกันมากขึ้น

  4. ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ • 1.3. ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์/การบริการใหม่ทำงานได้อย่างมีอิสระมากขึ้น รวมทั้งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีด้วย เพราะการวางแผนกลยุทธ์จะมีการกำหนดเป้าหมายร่วมของทีมงานรวมรวมทั้งมีการแบ่งงานและความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

  5. ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ต่อการพัฒนาผลิภัณฑ์/การบริการใหม่ • 1.4. การเขียนจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/ บริการใหม่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของแผนกลยุทธ์ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ มองเห็นโอกาสทางการตลาด เป้าหมาย และกลยุทธ์ได้อย่างชัดเจนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการมีแผน “อยู่ในสมอง”

  6. 2.องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์2.องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ • โดยทั่วไปกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 2.1. การกำหนดเป้าหมาย (Goal Setting) ประกอบด้วยสองขั้นตอน • การกำหนดภารกิจหลัก (หรือพันธกิจ) ของกิจการ (Mission Statement) • การกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัท (Corporate Objective)

  7. องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ • 2.2 การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation review) • การตรวจสอบทางการตลาด (Marketing audit) • การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคทางการตลาด (SWOT analysis) • การตั้งสมมติฐาน (Assumption)

  8. องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ • 2.3 การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation) • วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing objectives and Strategies) • การคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Estimate expected results) • ระบุแผนงานและส่วนประสมการตลาด (Identify alternative plans and Mixs)

  9. องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ • 2.4 การจัดสรรทรัพยากรและติดตามผล (Resource allocation and Monitoring) • การกำหนดงบประมาณ • รายละเอียดแผนปฏิบัติการในปีแรก

  10. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.1 บทสรุปผู้บริหาร (Executive summary) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการสรุปประเด็นต่างๆ ที่สำคัญและเป็นเป้าหมายของแผนการตลาดที่นำเสนอ ความยาวของเนื้อที่ส่วนนี้ไม่เกิน 2-3 หน้า • 3.2 สารบัญ (Table of content) เป็นการระบุหัวข้อต่างๆ ในแผนการตลาดจะปรากฏที่หน้าใด

  11. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด (Situation analysis) ส่วนนี้เป็นการสรุปถึงข้อมูลและแนวโน้มที่สำคัญทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ของกิจการที่ต้องการนำเสนอ ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อยดังนี้

  12. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • สถานการณ์ที่เกี่ยวกับตลาด (Market Situation) ได้แก่ • ลูกค้า ผู้ใช้/บริโภคคนสุดท้าย • พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า • คู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม • กลยุทธ์และสถานการณ์การแข่งขันปัจจุบัน • ส่วนแบ่งการตลาด ยอดขาย กำไร และ งบประมาณ

  13. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทที่จะนำเสนอ ได้แก่ • ลักษณะและคุณสมบัติที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์/การบริการของคู่แข่ง • ผลการทดสอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่

  14. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.4. โอกาสและปัญหา (Opportunity and Program) • โอกาสทางการตลาดที่มีความเป็นไปได้สำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ของกิจการ • ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่างๆ ที่ควรคำนึงถึงในการจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของกิจการ

  15. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.5 กลยุทธ์และโปรแกรมทางการตลาด (Marketing strategy and Program) • เป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการตลาดโดยระบุเป็นเชิงปริมาณและคุณภาพ • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ส่วนตลาด และตำแหน่งทางการตลาด • กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด • กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด

  16. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.6. แผนปฏิบัติงาน (Action plan) • ระบุกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ที่จะดำเนินการในปีแรก และงบประมาณที่ต้องใช้ของแต่ละกิจกรรม • การแบ่งโครงสร้างการทำงาน บทบาท ความรับผิดชอบ รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ภายนอกบริษัทด้วย • ตารางปฏิบัติงานในรอบ 1 ปี

  17. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.7 แผนการเงิน (Financial plan) • การพยากรณ์ยอดขาย ค่าใช้จ่าย และกำไรที่คาดว่าบริษัทจะได้รับในระยะเวลา 1-3 ปี ข้างหน้า ตามกลยุทธ์และโปรแกรมทางการตลาดที่นำเสนอมาข้างต้น

  18. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.8 การควบคุม (Control) • ระบุว่าจะใช้วิธีการใดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานว่าบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนการตลาดหรือไม่ • ระบุว่าจะมีวีธีการหรือมาตรการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ถ้าหากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

  19. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.9 แผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน (Contingency plan) • ระบุว่าถ้ามีเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น และส่งผลเสียต่อการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดที่กล่าวถึงในแผนฯ จะมีมาตรการอะไรมารองรับหรือแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าว

  20. 3. การจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • 3.10 ภาคผนวก (Appendices) • ข้อมูลประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนการตลาด ที่ไม่ใช่เนื้อหาหลักของแผน

  21. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ความเป็นมา (Background) กล่าวถึงสาระสำคัญที่ได้มาจากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจปัจจุบัน และอธิบายถึงแรงผลักดันต่างๆ ที่สำคัญซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กิจการจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ ประยุกต์จาก Product Innovation Charter-PIC

  22. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้น (Area of Focus/Arena) • เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ที่มุ่งเน้นในการพัฒนา ขอบเขตดังกล่าวจะได้มาจากการวิเคราะห์จุดแข็ง ของบริษัทในปัจจัยด้านเทคโนโลยี และด้านการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

  23. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ปัจจัยคู่ ( Dual-Drive) • เป็นการกำหนดทั้งปัจจัยทางเทคโนโลยี และปัจจัยด้านการตลาดผสมผสานกัน ซึ่งจะช่วยให้ขอบเขตดังกล่าวมีความชัดเจนมากกว่าการกำหนดขอบเขตโดยใช้ปัจจัยด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

  24. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ปัจจัยทางการตลาด (Market Drivers) • การใช้ปัจจัยทางการตลาดเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ ควรจะมาจากความต้องการ หรือปัญหาของกลุ่มลูกค้า (Customer group) หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (end-use) เป็นหลัก

  25. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • อาจวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) เช่น ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ เช่น คนโสด มีครอบครัวแล้ว ปัจจัยด้านจิตวิทยา เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิต บุคลิกภาพ ค่านิยม ทัศนคติ ปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ เช่น อัตราการใช้ เป็นต้น สำหรับธุรกิจบริการ ลูกค้าถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในฐานะ เป็น “ผู้ร่วมผลิตบริการ” (co-producer) การกำหนดขอบเขตแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่โดยใช้ปัจจัยด้านการตลาดโดยพิจารณาจากกลุ่มลูกค้าแบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

  26. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ส่วนการกำหนดขอบเขตแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยอาศัยปัจจัยด้านการตลาด โดยพิจารณาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ขึ้นสุดท้าย น่าจะเป็นประโยชน์กับธุรกิจหลายประเภทเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬา และนันทนาการเป็นต้น ตัวอย่างเช่น การมุ่งเน้นขอบเขตไปที่กีฬากอล์ฟ เราอาจจะผลิตอุปกรณ์แบบใหม่สำหรับการเล่นกอล์ฟ ที่พักสำหรับคนเล่นกอล์ฟ โปรแกรมการท่องเที่ยวที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ชอบเล่นกอล์ฟ โดยเฉพาะ เป็นต้น

  27. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ (Goals/Objective) • “เป้าหมาย” คือ สิ่งที่ต้องการโดยทั่วไปในระยะยาว • “วัตถุประสงค์” หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้สำเร็จโดยเฉพาะเจาะจงและในระยะสั้น • โดยทั่วไปผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่มักจะทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการเนื่องจากลักษณะของงานในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการเปลี่ยน

  28. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • เป้าหมายและวัตถุประสงค์มี 3 ประเภท คือ • กำไร (Profit) มักจะกล่าวถึงขอบเขตของผลิตภัณฑ์/บริการที่มุ่งเน้นโดยใช้รูปแบบการเขียนที่อธิบายถึงกำไรรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง • การเติบโต (Growth) โดยทั่วไปมักจะนิยมควบคุมอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ • สถานะของตลาด (Market status) โดยทั่วไปนิยมเขียนว่า “เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด”

  29. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ข้อชี้แนะ (Guideline) • บริษัทต่างๆ มักจะมีการระบุถึงส่วนข้อชี้แนะนี้ไว้ในส่วนสุดท้ายของแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ แต่เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยใดที่ให้ข้อสรุปถึงรูปแบบการเขียนในส่วนข้อชี้แนะที่ถูกต้องหรือที่ควรจะเป็น ดังนั้น การเขียนเนื้อหาในส่วนสุดท้ายนี้จึงยังเป็นการลองผิดลองถูกค่อนข้างมาก

  30. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • โดยทั่วไปส่วนข้อชี้แนะมักกล่าวถึงประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ • ระดับของความเป็นนวัตกรรม (Degree of Innovativeness) • ระดับความมากน้อยของความเป็นนวัตกรรมอาจจะแตกต่างกันไปในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และโครงการ เช่น “เป็นผลิตภัณฑ์/บริการใหม่รายแรกที่วางตลาด จนถึง “ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ”

  31. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ ระยะเวลาในการเข้าสู่ตลาด (Timing) แบ่งเป็น 4 กรณี คือ 1) รายแรกที่นำเข้าสู่ตลาด (First) 2) รายที่สองที่นำเข้าสู่ตลาด (Quick second) 3) รอดูสถานการณ์สักระยะหนึ่ง (Slower) 4) เข้าสู่ตลาดทีหลัง (Late)

  32. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • การเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรกเป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ง่าย ถ้าตลาดยังไม่พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ในขณะนั้น • การเป็นรายที่สองที่รีบเข้าสู่ตลาดตามรายแรกอย่างรวดเร็วก็อาจนำความสำเร็จมาสู่กิจการได้ ถ้ากิจการมีความพร้อมและความสามารถในการแข่งข้นมากกว่าคู่แข่ง • การรอดูสถานการณ์สักระยะหนึ่ง ก็เพื่อศึกษา หรือเรียนรู้ข้อผิดพลาดของรายแรก และใช้เวลาแก้ไขปรับปรุงก่อนเข้าสู่ตลาด • ส่วนบริษัทที่เลือกการเข้าสู่ตลาดทีหลัง อาจต้องเลือกวิธีการแข่งขันด้วยราคาเป็นหลัก

  33. 4. แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ข้อชี้แนะในประเด็นอื่นๆ (Miscellaneous guidelines) • ในการเขียนส่วนนี้ไม่มีรูปแบบหรือข้อกำหนดที่ชัดเจน แน่นอน ตายตัว จึงขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์/ บริการใหม่ แต่ละโครงการหรือแต่ละบริษัทเป็นสำคัญ เช่น บางบริษัทอาจจะระบุว่าให้หลีกเลี่ยงโครงการที่มีค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดที่สูงเกินไป อีกบริษัทหนึ่งอาจจะระบุให้ทุกชิ้นส่วนที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

  34. 5.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่กับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท5.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่กับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท • อาจพิจารณาจากประเด็นต่างๆ ดังนี้ เพียงหนึ่งหรือหลายประเด็นก็ได้ • เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goals) เช่น เพื่อต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือเพื่อต้องการขยายฐานลูกค้าใหม่ • ประเภทของโครงการ (Project type) เช่น เป็นโครงการวิจัยพื้นฐาน เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิต • ความคุ้นเคยของตลาด (Market familiarity) เช่น เป็นตลาดเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นการขยายตลาดเดิมออกไป หรือเป็นการสร้างตลาดใหม่

  35. 5.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่กับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท5.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่กับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท • ความคุ้นเคยด้านเทคโนโลยี (Technology familiarity) เช่น เป็นการใช้เทคโนโลยีเดิมที่สามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์/บริการ อื่นๆ ที่มีอยู่แล้วได้ เป็นการพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือเป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด • ความยากง่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ (Ease of development)

  36. 5.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่กับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท5.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์/บริการใหม่กับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท • ตลาดทางภูมิศาสตร์ (Geographical market) เช่น ตลาดเป้าหมายตั้งอยู่ใกล้หรือไกลจากเรามากเพียงใด เช่น สหรัฐอเมริกา จีน หรือ เวียดนาม • ระดับความเสี่ยงของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ เช่น โครงการที่มีความเสี่ยงสูงกับโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำ (High risk versus low risk project)

  37. ตัวอย่างคำถามที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ตัวอย่างคำถามที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • เราเป็นใครและทำอะไร • เราเป็นบริษัทที่ให้บริการปรึกษาแนะนำแบบมืออาชีพเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ • เราช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ • ใครเป็นลูกค้าของเรา • ธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม • ธุรกิจที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

  38. ตัวอย่างคำถามที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ตัวอย่างคำถามที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของลูกค้าเป็นอย่างไร • ธุรกิจขนาดใหญ่ • ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม • ลักษณะทางด้านพฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างไร • มักให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของบริษัท • มักจะมีการเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่มีผู้แนะนำเป็นหลัก • มีความอ่อนไหวต่อราคาน้อย • เราจะเข้าสู่ตลาดเมื่อใด • เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเรามีความพร้อมแล้ว

  39. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • การสร้างสรรค์แนวคิดและ ความรู้ใหม่ๆ และการคิดเชิงบวก (Positive Thinking) • การสร้าสรรค์แนวคิดและความรู้ใหม่ (New idea generation and new knowledge)หมายถึง กระบวนการของการพัฒนาการบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาที่มาของแนวความคิดใหม่ๆ • การสร้างสรรค์แนวคิดและความรู้ใหม่ๆ จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ • การพัฒนาการบริการใหม่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ • ธุรกิจอาจต้องค้นหาแนวความคิดใหม่ๆ จากหลายแหล่ง เช่น พนักงาน ผู้จัดการ ลูกค้า supplier และ ที่ปรึกษาธุรกิจ

  40. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) การคิดเชิงบวก ไม่ใช่เป็นเพียงการมองโลกในแง่ดีเพียง อย่างเดียวแต่จะต้องแสวงหาโอกาสจากบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันด้วย ไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นเราต้องฝึกคิดว่ามีอะไรที่เป็นประโยชน์กับเราบ้าง เช่น ถ้าเราตกงานเราก็คิดว่าเป็นโอกาส ที่ดีที่เราจะได้มีเวลาพัฒนาตัวเองแบบเต็มเวลา ถ้าเราอกหักก็คิดเสียว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้เปิดโอกาสให้ กับคนดีๆอีกหลายคนเข้ามาในชีวิตของเรา

  41. การบูรณาการความรู้ กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • การบูรณาการความรู้ (Knowledge integration) • เป็นกระบวนการที่บริษัทได้รวมเอาความรู้ที่หลากหลายโดยบูรณาการความรู้จากการทำงานที่ที่แตกต่างกันภายในบริษัทเพื่อสร้างความรู้ใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ • หรือ การบูรณาการความรู้เป็นการผสมผสานกันของความรู้ภายนอก และความรู้ภายใน โดยการบูรณาการการสื่อสารและระบบการสื่อสารต่างๆ • การบูรณาการความรู้ในบริษัทจะช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม และศักยภาพในการแข่งขัน (Ju,Li and Lee, 2006)

  42. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • การมีจิตในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการบริการ (Service innovation mindset) • การมีจิตในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการบริการ หมายถึง ทัศนคติของบริษัทที่เกี่ยวการบริการใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้ทุกคนในบริษัทมีสปิริตและเชื่อในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อพบโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ • หรือ ความเชื่อของบริษัทในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการเพื่อให้ได้รับโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ และการเจริญเติบโตของบริษัท

  43. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • การมีจิตในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการบริการ เป็นแนวทางใหม่ที่เป็นกลยุทธ์ของธุรกิจ ผู้บริหารจำเป็นต้องเชื่อว่า นวัตกรรมสามารถเพิ่มรายได้ ความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงาน และความสามารถในการแข่งขันระดับโลก ซึ่งนำมาซึ่งศักยภาพในการเติบโตของบริษัท โดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการใหม่

  44. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • การตื่นตัวกับโอกาสใหม่ๆ • องค์กรที่ตื่นตัวจะขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่คาดไม่ถึงอย่างมีประสิทธิภาพ มีโอกาสและมีกิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด, รวมถึงโอกาสทางการตลาดและความต้องการของลูกค้า . (ที่มา, Cheshire Henbury, 2000) Source: Freewill Solutions Company Limited.29 th CDEF Floor, Lumpini Tower 1168/86-88 Rama IV Road Tungmahamek Sathorn Bangkok 10120 Thailand

  45. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • ในทางตรงกันข้าม หากบริษัท สามารถเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจจะมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและมีชีวิตรอดในอนาคตอย่างไม่น่าเชื่อในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเช่นนี้ หลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้หลักในช่วงวิกฤติและใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ ที่จะตื่นตัวทางธุรกิจ ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยังสามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้ถือหุ้น เพราะฉะนั้น บริษัทที่ต้องการประสบความสำเร็จจึงจะต้องแข่งกับความเร็ว

  46. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • แนวคิดในการปรับปรุงธุรกิจให้ตื่นตัว • ธุรกิจเชิงลึก: ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยความเข้าใจและยอมรับความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ความเข้าใจนี้ บริษัทสมารถใช้กระบวนการและเครื่องมือที่ในการบริหารจัดการระดับบนกับตัวชี้วัดที่สำคัญทางธุรกิจ ในประเด็นนี้การจัดการไม่ใช่แค่เพียงแต่การกระทำให้รวดเร็วเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ บริษัท มีความหวังโดยการตอบสนองกลยุทธ์เชิงรุกต่อเหตุการณ์ในอนาคต เครื่องมืออาจรวมถึงคลังข้อมูล การจัดการบริหารพนักงานและสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอื่นๆ

  47. ยั่งยืน, ยั่งยืนและยังคงยั่งยืน – กระบวนการและโครงสร้างองค์กรมักมีแนวโน้มซับซ้อนมากขึ้นตามกาลเวลา ขณะที่ บริษัทเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่มีความซับซ้อนมากเช่นกัน ดังนั้น บริษัท ต้องหมั่นทบทวนอย่างต่อเนื่องและกระบวนการง่ายต่อโครงสร้างองค์กร, กรอบนโยบายและการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  48. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • ระบบ IT มีความยืดหยุ่น -- ระบบไอทีปรับตัวขึ้นสูงจนจะล้นตลาด มีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นทุกวันพอๆ กันกับการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือบริการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Service Oriented Architecture (SOA) และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปมาตรฐานเช่น SAP หรือ Oracle ช่วยเอื้อประโยชน์ในระบบไอทีที่มีต่อการดำเนินธุรกิจได้

  49. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • ความผูกพันของพนักงาน – บุคลากรเป็นสัดส่วนหลักขององค์กร ในองค์กรที่ตื่นตัว กระบวนการที่ดีที่สุดและระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีเลิศไม่สามารถทดแทนพนักงานที่ทำงานด้วยความกระตือรือร้น บุคคลเหล่านี้ทำงานด้วยความเต็มใจเพื่อองค์กร และสำหรับบริษัทใด ไม่มีคนทำงาน, องค์กรนั้นก็จะเติบโตช้าและไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้นำจะต้องมุ่งเน้นการลดแหล่งที่พนักงานที่มุ่งมั่นที่จะไปออกไปสู่ความสำเร็จ การสำรวจความผูกพันและกลุ่มตัวอย่างเป็นเครื่องมือที่ดีในการระบุความผูกพันมากน้อยของพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวป้องกันการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

  50. กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่กลยุทธ์ในการพัฒนาการบริการใหม่ • นวัตกรรมทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้และเอื้อประโยชน์ต่อช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ บริษัทต้องมีผลิตภัณฑ์และการบริการที่แหวกแนว รวมถึงกระบวนการทำงานภายในองค์กร โดยไม่ต้องรอความคิดของ CEO แต่เพียงอย่างเดียว หรือรอเลียนแบบคู่แข่งเท่านั้น นวัตกรรมต้องมาจากภายในบริษัท เป็นแรงขับเคลื่อนองค์กร โดยการสร้างนวัตกรรมทางวัฒนธรรม สร้างรายได้ หรือมีแนวคิดลดภาระค่าใช้จ่าย เป็นสำคัญ คอยมองหาช่องทาง และโอกาสทางความคิดอย่างอิสระ ได้ข้อมูลลื่นไหลอย่างไม่ติดขัด คิดเป็นลำดับขั้นตอน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่คนผู้ซึ่งพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และกล้าคิดกล้าทำ ไม่เกรงกลัวต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

More Related