400 likes | 510 Views
ละครพาฉันสู่ฝันไกล...จากดินสู่ดาว. Drama bringing me to further dreams: From earth to the star. Rajanagarindra Institute of Child Development Ministry of Mental health . ความเป็นมาของโครงการ. โครงการละครบำบัดสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. ความเป็นมาของโครงการ. โครงการละครบำบัด
E N D
ละครพาฉันสู่ฝันไกล...จากดินสู่ดาวละครพาฉันสู่ฝันไกล...จากดินสู่ดาว Drama bringing me to further dreams: From earth to the star. Rajanagarindra Institute of Child Development Ministry of Mental health
โครงการละครบำบัดสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์โครงการละครบำบัดสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ความเป็นมาของโครงการ โครงการละครบำบัด เป็นโครงการนำร่องและพัฒนาการใช้ละคร/ การแสดงมาเป็นสื่อในการบำบัดรักษา นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพทักษะทางสังคมและอาชีพระยะยาว โดยจัดทำเพื่อพัฒนาศักยภาพในกลุ่ม เด็กพิเศษและบุคคลกลุ่มพิเศษ ผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ผู้มีข้อจำกัดทางการเคลื่อนไหว นำไปสู่การพัฒนาการใช้ชีวิตในสังคมและการพัฒนาอาชีพ
โครงการละครบำบัดครั้งแรกโครงการละครบำบัดครั้งแรก สถาบันฯได้เริ่มโครงการละครบำบัดตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โดยความร่วมมือจาก Interact Center โดย Mrs. Jeanne Calvitผู้กำกับการแสดง St. Olaf College โดย Prof. Dr. Michael & Ann LemmingProf. มูลนิธิบ้านสมานใจ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ชมรมโกลบอลแคมปัส ชมรมเปี่ยมด้วยรัก โรงเรียนกาวิละอนุกูล
โครงการละครบำบัดครั้งแรก(ต่อ 2) มีผู้เข้าร่วมจำนวน 14 คน มีการฝึกซ้อมและแสดงรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง มีการแสดงโชว์ชื่อชุด We are all clown; พวกเราทุกคนล้วนเป็นตัวตลก ในวันที่ 12 มีนาคม 2553 การแสดงนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ 30 นาที
โครงการละครบำบัดครั้งแรก (ต่อ 3) ผลจากการจัดกิจกรรมละครบำบัดในครั้งแรก พบว่า ละครสามารถพัฒนาทักษะชีวิตของบุคคลพิเศษได้ บุคคลพิเศษมีความภาคภูมิใจในตัวเอง กล้าแสดงออกมากขึ้น นักแสดงรู้สึกได้รับการยอมรับจากสังคม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมยังพบว่า บุคคลพิเศษมีความผูกพันกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักรอคอยมากขึ้น
ความเป็นมาของโครงการ โครงการละครบำบัดในปีต่อมา โครงการละครบำบัดของสถาบันฯได้พัฒนาต่อมา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ได้รับ ความร่วมมือจาก Interact Center โดย Mrs. Jeanne Calvitผู้กำกับการแสดง Mr. Todd Peterson นักดนตรี Ms. Natali Wilson ผู้กำกับเวที รวมถึง Mr. Mike Brindley & Matt Dahlstromนักแสดงดาวน์ซินโดรม และ St. Olaf College ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยบุคคลออทิสติก บุคคลดาวน์ซินโดรม บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และผู้พิการทางการเคลื่อนไหวจำนวน 21 คน และมีอาสาสมัครบุคคลทั่วไปจำนวน 6 คน
ความเป็นมาของโครงการ โครงการละครบำบัดในปีต่อมา โดยใช้เวลาในการฝึกซ้อม 6 สัปดาห์รวมทั้งสิ้น 28 ครั้ง รวมถึง มีการจัดการแสดงครั้งใหญ่ โดยใช้ชื่อว่า Searching for Sanook; ละครเพลงแสวงหาความสนุก มีการแสดงทั้งสิ้น 3 รอบ ๆละ 40 นาที ในวันที่ 4 และ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554
โครงการละครบำบัดในปีต่อมา (ต่อ 2) พบว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มละครบำบัด นักแสดงมีการพัฒนาทักษะทางสังคมที่ดีขึ้นและจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลกลุ่มบุคคลพิเศษพบว่า -นักแสดงมีการพัฒนาตนเองในทางที่ดีขึ้นในด้านความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย -มีการตระหนักในบทบาทการแสดงเสมือนมีอาชีพนักแสดง -มีความตรงต่อเวลาและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีขึ้น
ขั้นตอนการดำเนินงานการจัดกิจกรรมสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ร่วมกับ Interact Center
กระบวนการประสานองค์กรที่เกี่ยวข้องกระบวนการประสานองค์กรที่เกี่ยวข้อง การประชุมเตรียมการ การกำหนดแผนการซ้อม การกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบ การยืนยันการวินิจฉัย กำหนดการคัดเลือกนักแสดง
กระบวนการการฝึกบุคคลพิเศษร่วมกับผู้ร่วมกิจกรรมกระบวนการการฝึกบุคคลพิเศษร่วมกับผู้ร่วมกิจกรรม กระบวนการคัดเลือกนักแสดง กระบวนการฝึกซ้อมระยะ 6 สัปดาห์ กระบวนการแสดงต่อสาธารณชน สรุปผลการจัดงานและการแสดง
การซ้อมกิจกรรมละครบำบัดใน 6 สัปดาห์
การฝึกซ้อมสัปดาห์ที่ 1 สร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้ฝึกซ้อมกับนักแสดงและระหว่างนักแสดงด้วยกัน สร้างความมั่นใจและให้ทุกคนมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งในการซ้อมการแสดง ใช้กิจกรรมที่เน้น ความสนุกสนาน สร้างความคุ้นเคย กิจกรรมเต้นประกอบเพลงท่าซ้ำ ๆ จำเนื้อร้องง่าย ๆ
กิจกรรมการซ้อมในสัปดาห์ที่ 1 • Warm up • การเคลื่อนไหวแบบส่องกระจก (Mirror Technique) • การเคลื่อนไหวแบบรำเทียน Candle Dance) • การเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสัตว์ (Copycat) • การฝึกเปล่งเสียงและร้องเพลง (Voice training) • ประพันธ์เพลงและซ้อมร้องเพลง ขี้หมา
สิงที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 1 นักแสดงคุ้นเคย รู้จักกันมากขึ้น นักแสดงอยากมีส่วนร่วมในการแสดง อยากมีบทบาทในการซ้อม นักแสดงได้เรียนรู้การฝึกเปล่งเสียงจากการวอร์มเสียง นักแสดงร้องเพลงได้และภูมิใจที่มีการแสดงเตรียมพร้อม สำหรับไว้โชว์ 1 ชุด
การฝึกซ้อมสัปดาห์ที่ 2 การซ้อมเน้นการผ่อนคลายเพื่อไม่ให้นักแสดงเครียดกับการซ้อมมาก ยังมีการใช้เกมส์เพื่อเรียกความสนใจ นักแสดงเริ่มรู้จักกัน มีปฎิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น เน้นให้นักแสดงกล้าแสดงออกและกล้าที่จะเล่าความใฝ่ฝันแก่ผู้อื่น
กิจกรรมการซ้อมในสัปดาห์ที่ 2 • Warm up • การฝึกเปล่งเสียงและร้องเพลง (Voice training) • ประพันธ์เพลงและซ้อมร้องเพลง เก่งไม่พอ (down beat) • ประพันธ์เพลงและซ้อมร้องเพลง ตะกายดาว (mountain song)
สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 2 นักแสดงมีการสื่อสารกันมากขึ้นนำเรื่องราวที่บ้านและ บรรยากาศการซ้อมมาคุยกัน นักแสดงได้การแสดงพร้อมโชว์ 3 ชุด ได้ข้อคิดในการประพันธ์เพลงที่น่าสนใจของคนในท้องถิ่น; การแต่งเพลง 2 ภาษาที่ดี ต้องสามารถเชื่อมวัฒนธรรมทั้ง 2 ภาษา เพื่อให้ผู้ชมหรือผู้แสดงทั้ง 2 วัฒนธรรมได้เข้าใจสาระของวัฒนธรรมหรือสิ่งที่นักแสดงต้องการสื่อ
การฝึกซ้อมสัปดาห์ที่ 3 เป็นสัปดาห์ที่แสดงต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งเป็นการแสดงหรือทบทวนในสิ่งที่ได้ฝึกซ้อมมา (rehearsal) ซึ่งเป็นการสร้างภาวะความเครียดและความรับผิดชอบเล็กน้อย แก่ผู้แสดง นักแสดงมีความเป็นระเบียบมากขึ้น ทุกคนมีความเป็นนักแสดงมากขึ้น
สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 3 นักแสดงได้มีโอกาสขึ้นเวทีจริงได้ทบทวนสิ่งที่ได้ซ้อมอย่างจริงจัง ทุกคนมีระเบียบวินัยมากขึ้นหลังจากได้แสดงโชว์บนเวที นักแสดงมีการพัฒนาที่ดีขึ้น มีการสบตา มีระเบียบวินัย มีการรอคอยที่ดีขึ้น มีความรับผิดชอบในการซ้อมบทบาทที่ตนได้รับ มีการซ้อมได้การแสดงทั้งหมด 4 ชุดการแสดงหลัก มีการวางตัวนักแสดงหลักในแต่ละการแสดง ผู้กำกับเริ่มเข้มงวดมากขึ้น
กิจกรรมการซ้อมในสัปดาห์ที่ 3 • ทดสอบการแสดงที่หน้าโรงพยาบาล (rehearsal) • การฝึกเปล่งเสียงและร้องเพลง (Voice training) • เทคนิคหุ่นเชิด (Puppet and puppetry technique)
การฝึกซ้อมสัปดาห์ที่ 4 ผู้กำกับใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรมไทยทั้งอาหารการกิน เสื้อผ้า การแสดงต่าง ๆ มาประกอบการแสดงเพื่อนำเสนอความแตกต่างทางวัฒนธรรมและจุดเด่นของวัฒนธรรมไทย มีการวางตัวหลักในการแสดง และมีการซ้อมการเข้าฉากย่อยเป็นระบบมากขึ้น
กิจกรรมการซ้อมในสัปดาห์ที่ 4 • ฉากร้านอาหาร (Thai restaurant scene) • ฉากการนวดไทย (Thai massage scene) • เพลง Mr Wonderful • ประพันธ์เพลงและซ้อมร้อง เพลง ไร้ตัวตน (Invisible song) • ประพันธ์เพลงและซ้อมร้อง เพลง พี่แจ้ว • การใช้ token economy
สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 4 ได้การแสดงทั้งหมด 7 ชุดหลัก มีการใช้กระบวนการ token economy ซึ่งเป็นกระบวนหนึ่งในการรักษาทางจิตวิทยา ทำให้ทุกคนตั้งใจมาซ้อม นักแสดงมีความรับผิดชอบมากขึ้นเสมือนได้เป็นนักแสดง ทุกคนมีบทบาทการแสดงเพราะทุกคนได้มีโอกาสสำรวจความสามารถตนเองร่วมกับทีมงานและมีโอกาสแสดงศักยภาพได้ตามความสามารถสูงสุด
การฝึกซ้อมสัปดาห์ที่ 5 ผู้กำกับเน้น; การฝึกให้จำบท จำตำแหน่งและการออกฉากให้เป็นอัตโนมัติ เน้นการฝึกการรอคอยระหว่างการเปลี่ยนฉาก เน้นนักแสดงมีระเบียบวินัย การเข้าแถวและการมองหน้าผู้ชมมากขึ้น
กิจกรรมการซ้อมในสัปดาห์ที่ 5 • ทบทวนการแสดงทั้ง 9 ชุด • วางตำแหน่งบนเวที • ซ้อมการเดินเข้าออกฉาก • การร้องเพลงร่วมกับนักแสดงบุคคลทั่วไปต่างชาติ
สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 5 มีซ้อมการแสดงครบทุกการแสดง ร่วมกับอาสาสมัครชาวต่างชาติมาร่วมด้วยแต่ยังไม่ได้รวมฉากเข้าด้วยกันเป็นเรื่องราวทั้งหมด การซ้อมเป็นลักษณะซ้อมต่อเนื่องเพื่อผูกติดเรื่องราว ประมาณ 2 – 3 ชุด เข้าด้วยกัน แต่ยังมองภาพรวมไม่ออก ลดการช่วยเหลือ การชี้แนะในการซ้อมลง นักแสดงมีระเบียบมากขึ้น ไม่ค่อยคุยกัน เสียงดังหรือเล่นกันทุกคนตั้งใจและ พยายามรอคอย
การฝึกซ้อมสัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์นี้ซ้อมที่สถานที่ที่จะแสดงจริง ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นการซ้อมการแสดงกับเวทีจริง การเข้าออกฉากและลำดับ นักแสดงและทีมงานมีความเครียดและกังวลกับการแสดง การซ้อมเป็นลักษณะซ้อมต่อเนื่องเพื่อผูกติดเรื่องราวการแสดงทุกชุด เข้าด้วยกันเป็นภาพรวม
กิจกรรมการซ้อมในสัปดาห์ที่ 6 • ทบทวนการแสดงทั้ง 9 ชุด • ซ้อมการเข้าออกฉากกับเวทีจริง • วางตำแหน่งบนเวที • ซ้อมการแสดงบนเวทีจริงและจับเวลา
สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 6 มีการรวมฉากเข้าด้วยกันเป็นเรื่องราวทั้งหมด นักแสดงสามารถจำลำดับการเข้าออกฉาก จำบทการแสดงได้ดีและแสดงได้เป็นอัตโนมัติ นักแสดงมีระเบียบมากขึ้น ไม่ค่อยคุยกันเสียงดังหรือเล่นกันทุกคนตั้งใจและพยายามรอคอย ทุกคนเสมือนมีอาชีพเป็นนักแสดง
เทคนิคที่ผู้กำกับใช้ในการฝึกซ้อมการแสดงเทคนิคที่ผู้กำกับใช้ในการฝึกซ้อมการแสดง Mirror Technique Puppet and puppetry Candle Dance Copycat Improvisation Role Play React to Stimulus
Mirror Technique การเคลื่อนไหวเสมือนส่องกระจก ประกอบไปด้วยต้นแบบการเคลื่อนไหวและผู้เลียนแบบการเคลื่อนไหว
Puppet and puppetry เทคนิคการซ้อมโดยให้ผู้ซ้อมเคลื่อนไหวเสมือนไร้กระดูกเป็นหุ่นเชิด (puppet)และจะเคลื่อนไหวได้เมือมีผู้เชิดหุ่น (puppetry) มาเนรมิตการเคลื่อนไหว
Candle Dance การฝึกการเคลื่อนไหวเสมือนมีเทียนหรือวัตถุอยู่ในมือ โดยใช้ข้อมือประคองเคลื่อนไหวแขนและลำตัวไม่ให้วัตถุหล่น
Improvisation การแสดงดนตรีหรือเพลงประกอบให้เข้ากับเนื้อหาสาระได้อย่างเหมาะสมทันทีทันใดโดยไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า
รู้จักนักแสดงเบื้องหน้า เบื้องหลังการแสดง
สรุปโครงการและแลกเปลี่ยนประสพการณ์สรุปโครงการและแลกเปลี่ยนประสพการณ์