480 likes | 1.11k Views
ความ ต้องการ ถือเงิน Money Demand. รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. ความต้องการถือเงิน (Money Demand). บทนี้เป็นการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการถือเงิน ที่แตกต่างกันของแต่ละสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่า Classical, Keynesian, Monetarist ฯลฯ
E N D
ความต้องการถือเงิน Money Demand รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา
ความต้องการถือเงิน (Money Demand) บทนี้เป็นการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการถือเงิน ที่แตกต่างกันของแต่ละสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่า Classical, Keynesian, Monetarist ฯลฯ โดยเป็นการนำเสนอทฤษฎีความต้องการถือเงินอย่างง่ายเท่านั้น
อุปสงค์ของการถือเงิน ทฤษฎีความต้องการถือเงินของคลาสิค Classical Theory of Money Demand ภายใต้ทฤษฎีปริมาณเงิน Quantity Theory of Money: ที่เน้นการถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยน จากเดิม MV = PY ที่นำไปสู่ Cambridge approach ที่ว่าMd = kPY สุดท้าย (M/P)d = kY, โดยที่kคือค่าคงที่ที่ใช้วัดขนาดของปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือเงินสำหรับรายได้ทุกๆ บาทที่มีอยู่ โดยค่า k จะมีเสถียรภาพในดุลยภาพ และที่สำคัญไม่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
อุปสงค์ของการถือเงิน ทฤษฎีความต้องการถือเงินของเคนส์ Keynesian Theory of Money Demand เป็นการสร้างความคิดเกี่ยวกับความต้องการถือเงินที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น โดยมีการกำหนดสมการความต้องการถือเงินที่ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย และระดับรายได้ที่ได้รับ: (M/P)d = L(i, Y) เน้นบทบาทของเงินที่เป็นแหล่งสะสมเก็บมูลค่า(store of value) ที่ต่อมาได้ถูกพัฒนาบทบาทของเงินให้มีความสำคัญมากขึ้น
ทฤษฎีความต้องการถือเงินของเคนส์ Keynesian Theory of Money Demand ความต้องการถือเงินของเคนส์ให้ความสำคัญของอัตราดอกเบี้ยกับการถือเงิน เพราหากการถือเงินขึ้นกับรายได้เพียงอย่างเดียวตาม classics แล้ว ขนาดรายได้จะถูกกำหนดจาก ปริมาณเงินเป็นสำคัญ (ตามความเชื่อของ Classics) การเปลี่ยนแปลงของ money stock เป็นผลให้ nominal income เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกันไปด้วย โดยที่ M = Md = kPY และ k จะมีค่าคงที่ทำให้นโยบายการคลังไม่มีผลต่อการกำหนดระดับรายได้
อุปสงค์ของการถือเงิน Portfolio Theories of Money Demand ต่อเนื่องจากความต้องการถือเงินของเคนส์ ทฤษฎีนี้เสนอว่าประชาชนถือเงินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการถือสินทรัพย์ portfolio of assets หลักเกณฑ์สำคัญคือเงินจะให้ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างจากสินทรัพย์อื่นๆโดยที่เงินจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนแบบ nominal ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ อาจให้ผลตอบแทนที่เป็นได้ทั้งแท้จริงและไม่แท้จริงหรือ nominal ทำให้มีความลึกซึ้งมากขึ้น เช่น (M/P)d = L(rs, rb, , W)
ทฤษฎีการถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยน Transactions Theories of Money Demand เน้นบทบาทของเงินเพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) โดยยอมรับว่าเงินเป็นสินทรัพย์หลัก (dominated asset) และไม่เหมือนสินทรัพย์อื่นๆ ที่ประชาชนต้องการถือเงินเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยการอธิบายวิธีการถือเงินแบบแคบ (narrow)ในรูปของเงินสดหรือเช็คเท่านั้น ทฤษฎีการถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยนช่วยอธิบายสมการการถือเงิน โดย สามารถพิจารณาได้จากแบบจำลองของ Baumol-Tobin Model ที่เป็น ทฤษฎีหลักในการอธิบายความต้องการถือเงิน
ทฤษฎีการถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยน Transactions Theories of Money Demand การถือเงินในกรณีนี้เพื่อเป็นการเชื่อมโยงระหว่างกระแสเงินรับกับ กระแสเงินจ่าย (bridge the gap of receipts and expenditures) รายได้เป็นตัวชี้วัดขนาดของการแลกเปลี่ยน ดังนั้น ขนาดของการถือเงินเพื่อ การแลกเปลี่ยนจึงอาจพิจารณาได้จากรายได้ โดยหากมีรายได้เพิ่มขึ้น (ลดลง) การถือเงินจะเพิ่มขึ้น (ลดลง) แต่เนื่องจากการถือเงินได้รับอิทธิพลจากอัตราดอกเบี้ย บุคคลทั่วไปจึง ต้องตัดสินใจขนาดการถือเงินที่เหมาะสมกับอัตราดอกเบี้ยด้วย
ข้อสังเกตุในการศึกษาความต้องการถือเงินข้อสังเกตุในการศึกษาความต้องการถือเงิน จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะพบว่าความหมายของการถือเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนจะแตกต่างตามสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ ว่าเป็นเพียงสินทรัพย์เพื่อสะสมมูลค่า (store of Value) เพื่อใช้ใน การแลกเปลี่ยน (M1) หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ คือสะสมความมั่งคั่ง (store of wealth) ซึ่งทำให้ความหมายของการถือเงินจะกว้างขึ้น เป็นM2, M3 ต้องอย่าลืมว่าการถือเงินนั้นไม่ได้มีเพียงครัวเรือนเท่านั้น แต่ยังมีภาครัฐ และภาคธุรกิจที่จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป ในวัตถุประสงค์ของการถือเงิน
Inventory-Theoretic Approach to Money Demand การถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยนถูกคิดเสมือนเป็น inventory ของเงิน ที่จะใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนโดยบุคคลทั่วไปหรือธุรกิจ ทฤษฎีนี้พัฒนา โดย William Baumolและ James Tobin สมมุติว่าบุคคลมีรายได้ (Y) เป็นเงินสดในเวลาที่ t = 0 หรือ ณ จุดเริ่มต้น เช่นมีรายได้เท่ากับ 1,200 บาท หากสมมุติว่าบุคคลนี้มีใช้จ่ายแบบมีแบบแผนที่ชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลง ตลอดระยะเวลาที่กำหนด และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา t = 1 จะไม่มีเงินสด ที่อยู่ในมือเหลือ
จากที่ต้นเวลามีเงินสดในมือ = Y เมื่อสิ้นสุดเวลามีเวินสดเหลือในมือ = 0 ดังนั้น เฉลี่ยมีเงินสดในมือตลอดระยะเวลา = Y/2 ถ้ามีเงินรายได้ 1200 บาท เงินสดที่ถือโดยเฉลี่ยคือ 600 บาท (1200/2) ซึ่งเท่ากับเงินที่มีอยู่ ณ จุดกลาง ของระยะเวลา ทั้งนี้เป็นตามข้อสมมุติที่มีแบบแผน ใช้จ่ายที่คงที่ตลอดระยะเวลาที่กำหนด ในรูปนี้แสดงการถือเงินโดยเฉลี่ยกับ ระดับรายได้ที่มี โดยรายได้มากขึ้น ค่าเฉลี่ยการถือเงินจะเพิ่มขึ้นด้วย M Y Y/2 1 เวลา t 0 1/2
Inventory-Theoretic Approach to Money Demand การถือเงินตามแนวคิดนี้ยังเสนอว่าขนาดของการถือเงินยังขึ้นกับต้นทุน ในการถือเงิน ซึ่งได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้รับ (foregone interest) เพราะเลือกถือเงินสดแทน รวมทั้งต้นทุนที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ระหว่างเงินและพันธบัตร ที่เรียกว่าค่านายหน้า (brokerage fees) เมื่อมีการนำทางเลือกในการถือพันธบัตรเข้ามาเกี่ยวข้อง บุคคลต้อง ตัดสินใจในการเลือกถือเงินหรือพันธบัตร ซึ่งการถือเงินหรือ พันธบัตรจะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ หากเลือกลงทุนครึ่งหนึ่งของรายได้ที่ได้ตอนต้นระยะเวลาในพันธบัตร แบบแผนการถือเงินจะเปลี่ยนไป
M Y ณ ตอนต้นเวลามีเงินสดในมือเพียงครึ่งเดียว = Y/2 เมื่อถึงจุดกลางต้องขายพันธบัตรทั้งหมด เพื่อได้เงินสดมีใช้จ่าย ทำให้เงินสดเพิ่มเป็น Y/2 อีกครั้ง ค่าเฉลี่ยการถือเงินสดในขณะนี้คือ (Y/2) / 2 = Y/4 Y/2 1 เวลา t 0 1/2 13
ดังนั้น กำไร (ผลตอบแทนจากการถือเงินสด) สามารถคำนวณได้จาก Pr (n=2) = r x (Y/4) - 2b โดย r = อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ b =brokerage fees n = จำนวนครั้งในการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดกับพันธบัตร
M Y ถ้าเลือกให้มีการแลกเปลี่ยน 3 ครั้ง Pr (n =3) = r x Y/(2x3) -3b Y/3 1 เวลา t 0 1/3 2/3 15
ต้นทุนการถือเงิน: อัตราดอกเบี้ยที่เสียไป forgone interest, ต้นทุนในการแลกเปลี่ยน และต้นทุนรวมจะขึ้นกับจำนวนเที่ยวที่เดินทาง N จะหาค่า N ที่ต่ำสุด (N*) ได้อย่างไร ต้นทุน ต้นทุนรวม = rY/(2N) + bN ต้นทุนการแลกเปลี่ยน (bN) อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้รับ (rY/(2N)) N* จำนวนครั้งการแลกเปลี่ยน นัยของแบบจำลองBaumol-Tobin model คือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในต้นทุนค่านายหน้า b (สมมุติว่าคงที่)จะมีผลต่อเปลี่ยนสมการการถือเงิน– นั่นคือจะเปลี่ยนความต้องการถือเงิน ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยและระดับรายได้นั้นๆ
ดังนั้น โดยทั่วไปแล้วการถือเงินและพันธบัตรโดยเฉลี่ยสามารถกำหนดได้จากจำนวนครั้งของการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดและพันธบัตรได้ตามสูตรต่อไปนี้ • โดย n = จำนวนครั้งการแลกเปลี่ยน • M = จำนวนเงินที่ถือโดยเฉลี่ย (average money holdings) • Y = ขนาดรายได้
การถือพันธบัตรโดยเฉลี่ย (B) • โดยที่ M + B = Y/2
รูปสมการทั่วไปของผลตอบแทนสุทธิ (net profits) คือ ค่านายหน้า อัตราดอกเบี้ย ค่าเฉลี่ยการถือพันธบัตร • โดยที่ Pr = กำไรที่ได้รับจากการถือพันธบัตร • r = อัตราดอกเบี้ย • b = ค่านายหน้าในการแลกเปลี่ยน • นั่นคือเทอมแรกของสมการแสดง ผลตอบแทนที่ได้รับทั้งหมด • เทอมที่สองคือต้นทุนที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยน
ขนาดของการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมขนาดของการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม • จำนวนครั้งของการแปลเปลี่ยนกำหนดจาก MC = MR ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดและพันธบัตร • จำนวนครั้งของการแลกเปลี่ยน n ช่วยกำหนดสัดส่วนการถือเงินสดและพันธบัตร ณ ระดับรายได้ที่มีอยู่ การเปลี่ยนจำนวนครั้งการแลกเปลี่ยนขึ้นกับปัจจัยอัตราดอกเบี้ย และค่านายหน้าของการแลกเปลี่ยน • นอกจากนี้ขนาดรายได้ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก คือ เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น การขึ้นเงินสดจะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย (ณ ค่า n ที่คงที่) แต่ค่า Y ที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ n เปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะ MR, MC ได้รับผลกระทบไปด้วย
ขนาดของการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมขนาดของการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม (MC, MR) MC (=b) MR n* # of bond market transactions
ผลของการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยผลของการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ทฤษฎี inventory theoretic approach เสนอว่า ความต้องการถือเงินและอัตราดอกเบี้ยจะมี ความสัมพันธ์ในเชิงลบ (ตรงข้ามกัน) (MC, MR) MC (=b0) MR(r1) MR(r0) n0* n1* # of bond market transactions
ผลของการเพิ่มค่านายหน้าผลของการเพิ่มค่านายหน้า ทฤษฎี inventory theoretic approach เสนอว่า ความต้องการถือเงินและต้นทุนการแลกเปลี่ยน (ค่านายหน้า) จะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก (MC, MR) MC (=b1) MC (=b0) MR n0* n1* # of bond market transactions
Y n การถือเงินภายใต้แบบจำลองการถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยน (Transaction model) m = M/P Y 2n time t3 T t1 t2 t4 t5
n-1 * Y n การถือพันธบัตรภายใต้แบบจำลองการถือเงินเพื่อการแลกเปลี่ยน (Transaction model) bonds time T t1 t2 t3 t4 t5
ข้อสรุปการถือเงินภายใต้ Inventory Theoretic Approach • Md = L (Y, r, b) • โดยที่ สัมพันธ์ทาง บวก กับระดับ รายได้ Y • สัมพันธ์ทาง บวก กับค่านายหน้า b • สัมพันธ์ทางลบ กับอัตราดอกเบี้ย r
การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์ • ความต้องการถือเงินที่ต้องเลือกระหว่างเงินสดและพันธบัตรที่ถูกกำหนดจากอัตราดอกเบี้ย โดยจะถือพันธบัตรทั้งหมด หากอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า “critical rate” r เพราะว่า r = Y/Pbทำให้ Pb= Y/r critical rate = rc M P W
ผลตอบแทนการถือพันธบัตรมาจากอัตราดอกเบี้ย + capital gain จากราคาพันธบัตรเปลี่ยนแปลง นั่นคือ การคาดการณ์ผลตอนแทนทั้งหมด = r + g; โดย g = (Y/re –Y/r) = r– 1 Y/r ดังนั้น yield จากการถือพันธบัตร เท่ากับ r + r/re -1 ณ critical rate rc re
r critical rate = rc M P W จากรูปสามารถเห็นได้ว่า หากอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า critical rate จะถือพันธบัตรทั้งหมดเพราะ capital gain ที่คาดว่าราคาพันธบัตรจะเพิ่มสูงขึ้น (ดอกเบี้ยจะลดลง) จะ outweighed ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ย ในทางตรงข้ามหากดอกเบี้ยต่ำกว่า critical rate จะถือเงินสดทั้งหมดไม่ถือ พันธบัตร เพราะคาดการณ์ว่าราคาพันธบัตรจะลดลง capital loss
การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์ • ผลคือทฤษฎีการถือเงินของเคนส์ไม่อาจอธิบายทำไมบุคคลจึงถือเงินสดและพันธบัตรพร้อมกันเพื่อเป็นที่สะสมมูลค่า Store of value ได้ จึงนำไปสู่การสร้างคำอธิบายตาม Portfolio diversification
การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์ • การถือเงินเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ และคาดการณ์การผันแปรตามการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยที่เข้าสู่ระดับ “ปกติ”* แต่การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยตามช่วงเวลาต่อมาทำให้ไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมการถือเงินของบุคคลได้ชัดเจน ทำให้มีการขยายการอธิบายตาม portfolio diversification ที่ถูกพัฒนาโดย James Tobin *ความหมายของ Keynes คือจะมีอัตราดอกเบี้ยที่คงที่หรือผันผวนการปรับตัวที่ช้าๆ ของดอกเบี้ยรอบๆ อัตราที่ “ปกติ” ซึ่งเป็นจริงในช่วงเวลาที่ Keynes พัฒนาความคิดนี้ขึ้นมา
การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์การโต้แย้งความต้องการถือเงินของเคนส์ • ทำให้ต้องมีการปรับปรุงแนวความคิดเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ Keynes ใหม่ • นั่นคือการยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงเวลา (overtime) • การปรับปรุงความคิดคือการนำความเสี่ยงมาช่วยในการอธิบายพฤติกรรมการถือเงินของบุคคลที่พัฒนาโดย Tobin
ความต้องการถือเงินกับความเสี่ยงความต้องการถือเงินกับความเสี่ยง • เป็นแนวคิดของ Tobin ที่พยายามอธิบายการถือเงินโดยไม่มี normal rate of interest ที่จะต้องปรับเข้าหา • ข้อสมมุติคือบุคคลเชื่อว่า capital gain และ capital lossมีโอกาสเกิดขึ้นเท่ากัน นั่นคือ expected capital gain มีค่าเท่ากับ ศูนย์ • ดังนั้นการคาดการณ์ (expected) ผลตอบแทนการถือพันธบัตรที่ดีที่สุดคือผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ความจริงอาจรวมผลจาก capital gain capital loss • ทุกๆ คนต้องเผชิญความเสี่ยงของ capital gain หรือ loss เพราะดอกเบี้ยไม่ได้ถูกกำหนดให้คงที่ ผลตอบแทนแท้จริงจึงไม่แน่นอน • การถือเงินสดจะไม่มีความเสี่ยง แต่ ผลตอบแทน (nominal return) เป็นศูนย์ ซึ่งน้อยกว่าพันธบัตร และไม่มี capital gain หรือ loss แต่ทุกๆ คนต้องถือเงินสดไว้ระดับหนึ่งเสมอ เพื่อป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ความต้องการถือเงินกับความเสี่ยงความต้องการถือเงินกับความเสี่ยง • การคาดการณ์ผลตอบแทนโดยรวมของการเลือกถือสินทรัพย์ (portfolio) จะสูงถ้าถือพันธบัตรทั้งหมด • แต่สมมุติว่าทุกๆ คนเป็นผู้ที่ไม่ชอบความเสี่ยง (risk averter) ที่ยอมเสียผลตอบแทนสูง แต่ได้รับความมั่นใจที่ความเสี่ยงลดน้อยลง • ความต้องการถือเงินจึงเป็นการถือสินทรัพย์เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง (risk aversion asset)
^ R T T T2 T1 U3 แสดง utility ที่เพิ่มขึ้น และcurve ที่ชันขึ้นเพราะ risk aversion ที่เพิ่มขึ้น แสดงการเป็น Risk averter) จากการโค้งของcurve U2 U1 C H E R* expected return (R) ขนาดความเสี่ยงของการถือสินทรัพย์ต่างๆ ในที่นี้คือพันธบัตร Slope = R/ 0 Risk * ^ Bonds (B) B* M* B Wh
^ R T T2 T1 U3 U2 ผลตอบแทนในที่นี้มาจาก อัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นกับจำนวน สัดส่วนพันธบัตรที่ถืออยู่ในมือ ขณะเดียวกันการถือพันธบัตรมากขึ้นจะได้รับความเสี่ยงมากขึ้นด้วย โดยมาจากความไม่แน่นอนของการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต และขนาดการถือพันธบัตร ถ้าถือเงินสดทั้งหมด จะอยู่ที่ 0 ไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ ความเสี่ยงเป็นศูนย์เช่นเดียวกัน U1 C H E R* expected return (R) 0 Risk Bonds (B) B* M* B Wh
^ R T T2 T1 แต่หากเพิ่มการถือพันธบัตรมากขึ้น การคาดการณ์ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (R) และมีความเสี่ยงมากขึ้นตามเส้นแกนนอน หากถือพันธบัตรทั้งหมดจะอยู่ที่ Whโดย ผลตอบแทนที่ได้รับคือ R และมีความเสี่ยง สูงสุด U3 U2 U1 C H E expected return (R) R* ^ 0 Risk ในรูปส่วนล่างแสดงสัดส่วนการเลือกถือเงินสดและพันธบัตร หากเลือกถือพันธบัตรที่ B* ขนาดการถือเงินสดคือระยะห่าง M* และมีความเสี่ยงลดน้อยลง Bonds (B) B* M* B Wh
ความต้องการถือเงินกับความเสี่ยงความต้องการถือเงินกับความเสี่ยง การหาขนาดการถือสินทรัพย์ทั้งสองที่เหมาะสมนั้น ต้องพิจารณาความพอใจ หรือ preferences ของบุคคลถ้าสมมุติว่าเป็น risk averter ที่ต้องการทั้งผลตอบ แทนที่สูงและหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต้องถูกชดเชยด้วยการคาดการณ์ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (high risk - high expected return) นั่นคือ U = U(R, ) โดย R ที่เพิ่มขึ้นทำให้ U เพิ่มขึ้น แต่ ที่เพิ่มทำให้ U ลดลง T T
^ R T T2 T1 การเพิ่ม (ลด) U เกิดจากการเพิ่ม (ลด) ผลตอบแทน และการลด (เพิ่ม) ความเสี่ยง U3 U2 U1 C H E expected return (R) R* ^ * 0 Risk การเคลื่อนไปสู่จุด H ทำให้ ผลตอบแทนที่ได้รับไม่ชดเชย ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (อาจพิจารณาได้จาก slope ของเส้น OC) Bonds (B) B* M* B Wh
จากรูปเส้น OC แสดงการเลือกระหว่างความเสี่ยงที่ได้รับกับการคาดการณ์ ผลตอบแทนที่จะได้รับ กรณีนี้ที่ Tobin เรียกความต้องการถือเงินนี้ว่า เป็นพฤติกรรมต่อความเสี่ยง (behavior toward risk) เพราะเป็นความพยายาม ลดความเสี่ยงถ้าถือพันธบัตรทั้งหมด (จุด H ซึ่งให้ความพอใจที่ต่ำกว่าที่ E) ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เมื่อเคลื่อนเกินจุด E ซึ่งพิจารณาได้จาก slope ของเส้น OC ที่หากมีความชันมากขึ้นหมายถึงการที่ไม่ อยากรับความเสี่ยงมากขึ้น
Tobin ได้ให้นัยว่าการถือเงินสดเป็นสินทรัพย์นั้นจะขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยเมื่อมีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทำให้ความสามารถการยอมรับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ดังเห็นได้จาก slope ของเส้น OC ชันมากขึ้น การถือเงินลดลงจาก M0 สู่ M2เป็นลำดับ ซึ่งภายใต้แนวคิดนี้จะสอดคล้องกับ Keynesian ที่การถือเงินจะมีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ย
U3 T C (r2) U2 G R2 U1 C (r1) F R1 C (r0) expected return (R) E R0 0 Risk ผลตอบแทนที่เพิ่มเหมือน การชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น Bonds (B) B0 B1 M0 B2 M1 M2 B Wh
นวัตกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ใกล้เงินนวัตกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ใกล้เงิน สินทรัพย์ใกล้เงินประกอบด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องคล้ายเงินสด เช่น การใช้เช็คที่สามารถใช้แทนเงินสด หรือบัตรเครดิต เป็นต้น สินทรัพย์ใกล้เงินทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพของความต้องการถือเงิน และอาจทำให้มีผลต่อ AD เพราะความต้องการถือเงินสดอาจลดลง เนื่องจากการ เปลี่ยนพฤติกรรมการถือเงินสดไปสู่รูปแบบอื่นๆของสินทรัพย์ จึงทำให้อาจต้องมี การเปลี่ยนนิยามของเงิน (money) ให้มีความครอบคลุมและรัดกุมมากกว่าเดิม
การบ้านครั้งที่ 3 จงเปรียบทฤษฎีการถือเงินของ Keynesian และของ Tobin ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร