1.1k likes | 1.43k Views
การประเมินหลักสูตร. ปีการศึกษา ๒๕๕๗. Program assessment. WHY WHAT WHEN HOW WHO. ความจำเป็นและวัตถุประสงค์. 1) คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศที่มีแนวโน้มแตกต่างกันมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคมโดยรวมของประเทศในระยะยาว
E N D
การประเมินหลักสูตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗
Program assessment • WHY • WHAT • WHEN • HOW • WHO
ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ 1) คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศที่มีแนวโน้มแตกต่างกันมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคมโดยรวมของประเทศในระยะยาว 2) ความท้าทายของโลกาภิวัตน์ต่อการอุดมศึกษา ทั้งในประเด็นการบริการการศึกษาข้ามพรมแดน และการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบัณฑิต การประกอบอาชีพของบัณฑิตในอนาคต อันเป็นผลจากการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเด็นต้องการการรับประกันของคุณภาพการศึกษา 3) สถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน
ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ 4) สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (public information) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป 5) สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม(participation) มีความโปร่งใส (transparency) และมีความรับผิดชอบซึ่งตรวจสอบได้ (accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล 6) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทาหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ 7) มาตรฐานการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 เป็นกลไกกำกับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับหน่วยงาน 8) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา 9) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม
ประโยชน์ในการดำเนินการประกันคุณภาพในแต่ละระดับ ระดับหลักสูตร 1. สร้างความมั่นใจต่อสังคมในคุณภาพบัณฑิตของทุกสถาบัน 2. ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษาที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง - ผู้เรียนมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (TQF) - ผู้เรียนมีงานทำ – ป.ตรี 3. นำมาประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า 1. กำกับ ติดตาม สนับสนุน การดำเนินงานและการพัฒนาหลักสูตร 2. นำมาเป็นข้อมูลชี้ผลการบริหารจัดการหลักสูตรให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และผลการประเมินหลักสูตรโดยภาพรวม 3. กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนการบริหารจัดการของคณะวิชา 4. สนับสนุนการประเมินระดับสถาบัน 5. รองรับการติดตามตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 3 ปีตามกฎกระทรวงฯ
ระดับสถาบัน 1) กำกับ ติดตาม สนับสนุน การดำเนินการ และการพัฒนาคณะ 2) นำมาเป็นข้อมูลชี้ผลการบริหารจัดการระดับคณะและภาพรวม ของสถาบัน 3) กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามพันธกิจของ สถาบันอุดมศึกษาและการบริหารจัดการ 4) รองรับการติดตามตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา อย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 3 ปีตามกฎกระทรวงฯ
รายละเอียดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรรายละเอียดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน คำอธิบายตัวบ่งชี้ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548
หมายเหตุ • อาจารย์ประจำสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เป็นหลักสูตร พหุวิทยาการ ได้อีก 1 หลักสูตร โดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว • อาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิต สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโทในสาขาเดียวกันได้อีก 1 หลักสูตร (หนังสือเวียนที่ ศธ 0506(2)/ว 569 ลงวันที่ 18 เมษายน 2549 • กรณีหลักสูตรที่มีแขนงวิชา/กลุ่มวิชา กำหนดให้ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ครบทุกแขนงวิชา/กลุ่มวิชาของหลักสูตร โดยมีคุณวุฒิครอบคลุมแขนงวิชา/กลุ่มวิชาที่เปิดสอน (หนังสือเวียนที่ ศธ 0506(4)/ว254 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2557)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
หมายเหตุ • ในกรณีอาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา โดยอนุโลมตามข้อ 17 ของเกณฑ์ฯ ดังนี้ “ให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกเป็นอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรระดับปริญญาโทได้ แม้จะยังไม่มีผลงานวิจัยหลังจากสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่เริ่มสอน จะต้องมีผลงานวิจัยจึงจะสามารถเป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาเอก และเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้” (หนังสือเวียนที่ ศธ 0506(4)/867 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2555)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
วิทยานิพนธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ การจดทะเบียนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร สามารถทดแทนการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการได้ โดยพิจารณาจากปีที่ได้รับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ไม่ใช่ปีที่ขอจด ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
หมายเหตุ • เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548 ข้อ 10 กำหนดว่า อาจารย์ประจำ 1 คนเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ได้ไม่เกิน 5 คน หากหลักสูตรใดมีอาจารย์ประจำที่มีศักยภาพพร้อมที่จะดูแลนักศึกษาได้มากกว่า 5 คน ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 คน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ตัวบ่งชี้มาตรฐาน (ต่อ)
ตัวบ่งชี้พัฒนา จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในวารสาร ระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร 1.6 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุ บำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี) 1.7 การบริหารหลักสูตร 1.8 การประเมินผลผู้เรียน 1.9 การดูแล ช่วยเหลือและสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้พัฒนา จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ 1.10 ระดับคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก ประเมินจากผู้ใช้ บัณฑิต) 1.11 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี 1.12 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับ การตีพิมพ์เผยแพร่ 1.13 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับ การตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ชนิดตัวบ่งชี้ ปัจจัยนำเข้า เกณฑ์การประเมินแปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 หลักสูตรระดับปริญญาตรี ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่ กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป หลักสูตรระดับปริญญาโทค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่ กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป หลักสูตรระดับปริญญาเอก ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่ กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100 ขึ้นไป
จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้งหมด ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ที่ได้คะแนนเต็ม 5 X 5 X 100 สูตรการคำนวณ : 1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีวุฒิปริญญาเอก ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก = 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ =
หมายเหตุ • คุณวุฒิปริญญาเอกพิจารณาจากระดับคุณวุฒิที่ได้รับหรือเทียบเท่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการกรณีที่มีการปรับวุฒิการศึกษาให้มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาภายในรอบปีการศึกษานั้นทั้งนี้ อาจใช้คุณวุฒิอื่นแทนคุณวุฒิปริญญาเอกได้สำหรับกรณีที่บางสาขาวิชาชีพมีคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสมกว่าทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ชนิดของตัวบ่งชี้ปัจจัยนำเข้า • เกณฑ์การประเมิน: แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 • หลักสูตรระดับปริญญาตรี ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์รวมกันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป • หลักสูตรระดับปริญญาโท ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์รวมกันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 80 ขึ้นไป • หลักสูตรระดับปริญญาเอก ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์รวมกันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100 ขึ้นไป
จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้งหมด X 100 ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการการ ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่ กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 X 5 สูตรการคำนวณ : 1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ = 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ =
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ปัจจัยนำเข้า เกณฑ์การประเมิน : กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 30 = 5 กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ร้อยละ 30 = 5 กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 20 = 5 • รอพิจารณา ปรับตาม ป.ตรี โท เอก ???????????
X 100 สูตรคำนวณ 1. คำนวณร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตรตามสูตร ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้งหมด 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 X 5
*องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับ การอ้างอิงในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ หลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ปัจจัยนำเข้า เกณฑ์การประเมิน -กลุ่มสาขาวิชวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 2.5 = 5 คะแนน -กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 3.0 = 5 คะแนน -กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.25 = 5 คะแนน
สูตรในการคำนวณจำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อบทความทั้งหมด = จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิง จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร แปลงค่าที่คำนวณได้เทียบกับคะแนนเต็ม 5คะแนนที่ได้ = X 5
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (เฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี) ชนิดของตัวบ่งชี้กระบวนการ เกณฑ์มาตรฐาน • การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ในระหว่างอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน และการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในระหว่างการเรียนโดยปรากฏอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7 หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน) • การนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ โดยปรากฏอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3 หรือ มคอ.4) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการทางวิชาการ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน • การนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัย โดยปรากฏอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) ยกเว้นวิชาวิธีวิจัย และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน • การสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนหรือการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรากฏอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน • การพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนหรือกลยุทธ์การสอนของอาจารย์ในทุกรายวิชาโดยเฉพาะรายวิชาที่มีผลการประเมินต่ำกว่า 3.51 โดยปรากฏอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การบริหารหลักสูตร ชนิดตัวบ่งชี้ กระบวนการ เกณฑ์การประเมิน • การควบคุมระบบการรับนักศึกษา • การควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน ที่สร้างเสริมการประกอบอาชีพ ที่ส่งเสริมทักษะการได้รับการจ้างงาน • การวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา(ปริญญาตรี โท เอก) และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ /สาระนิพนธ์(ปริญญาโท เอก) • การจัดเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ • การควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน • การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ • การติดตามคุณภาพการผลิตบัณฑิต • การควบคุมกำกับการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.8การประเมินผู้เรียน ชนิดตัวบ่งชี้ กระบวนการ เกณฑ์การประเมิน • การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง • การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้เกรดการเรียนรู้ • การใช้ประโยชน์จากการประเมิน • สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 การดูแลช่วยเหลือและสนับสนุนนักศึกษา ชนิดตัวบ่งชี้ กระบวนการ เกณฑ์การประเมิน : • การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเรียน • กระบวนการให้คำปรึกษาทางการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิทยานิพนธ์ • การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์สาระนิพนธ์ของนักศึกษา • การสร้างโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสากล (บัณฑิตศึกษา)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.10คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ชนิดของตัวบ่งชี้ผลผลิต สูตรคำนวณ เกณฑ์การประเมินใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินบัณฑิต (คะแนนเต็ม 5 ) ** จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.11ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ชนิดของตัวบ่งชี้ผลผลิต เกณฑ์การประเมินโดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปีเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100 1. คำนวณร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ตามสูตร การคำนวณค่าร้อยละนี้ไม่นำบัณฑิตที่ประสงค์จะศึกษาต่อ รับการเกณฑ์ทหารและการบรรพชามาพิจารณา 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน1 ปี x 5 100 หมายเหตุ จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จ การศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.12 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ชนิดของตัวบ่งชี้ผลผลิต
*องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย
ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททั้งหมด ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา 40 X 5 X 100 เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต่อนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป 1. คำนวณร้อยละของผลงานรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต่อของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 หมายเหตุ: 1. ผลงานวิจัยที่มีชื่อนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันและนับในตัวบ่งชี้นี้แล้ว จะไม่นำไปนับในตัวบ่งชี้ผลงานทางวิชาการ ของอาจารย์ 2. ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาให้นับผลงานทุกชิ้นที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในปีการประเมินนั้น ๆ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.13ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ชนิดของตัวบ่งชี้ผลผลิต • การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และเมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
*องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย
ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก • จำนวนนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทั้งหมด ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา 80 X 5 X 100 เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต่อนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ80 ขึ้นไป • 1.คำนวณร้อยละของผลงานรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต่อของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 หมายเหตุ: 1. ผลงานวิจัยที่มีชื่อนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันและนับในตัวบ่งชี้นี้แล้ว จะไม่นำไปนับในตัวบ่งชี้ผลงานทางวิชาการ ของอาจารย์ 2. ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาให้นับผลงานทุกชิ้นที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในปีการประเมินนั้น ๆ