1 / 11

ปาฏิหาริย์แห่งการสวดมนต์ สมชาย สมานวงศ์ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

ปาฏิหาริย์แห่งการสวดมนต์ สมชาย สมานวงศ์ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน.

lori
Download Presentation

ปาฏิหาริย์แห่งการสวดมนต์ สมชาย สมานวงศ์ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปาฏิหาริย์แห่งการสวดมนต์สมชาย สมานวงศ์ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

  2. ปัจจุบันนี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่นิยมสวดมนต์ทั้งที่บ้าน ที่วัด ที่โรงเรียน ที่ทำงาน และในรถ บางคนมีศรัทธาช่วยกันเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกตามที่ต่าง ๆ เพราะมีประสบการณ์และพบปาฏิหาริย์ทางใจจากการสวดมนต์เป็นประจำหาก ใครได้เคยไปนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลที่อินเดีย โดยเฉพาะที่พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะเห็นภาพของชาวพุทธ ทั้งชาวทิเบต อินเดีย ไทย จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ชาวตะวันตก พากันสวดมนต์ด้วยภาษาของตน ดังกึกก้องไปทั่วบริเวณ แม้ว่าจะสวดคนละภาษาก็จริง ถึงอย่างนั้นเสียงก็ดังกังวานไปทั่ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า ไม่มีใครบ่นว่าหนวกหู หรือเกิดความไม่พอใจจากเสียงรบกวนกัน แตะละคณะเมื่อมาถึงก็สวดด้วยภาษาของตน เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากพลังแห่งความศรัทธา เป็นเสียงที่มีพลังความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดปีติขนลุกโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดบรรยากาศอันอิ่มบุญ และสุขใจอย่างบอกไม่ถูก หรือแม้ขณะกำลังนั่งรถเดินทางไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญ ชาวพุทธก็นิยมสวดมนต์ในรถไปด้วย เพื่อเป็นพุทธานุสสติในการไปเยือนถิ่นอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนพุทธภูมิ ที่สำคัญคือ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วย

  3. การ “ สวด ”เป็นกิริยาการท่องที่เป็นทำนองเป็นจังหวะ ส่วน “ มนต์ ”คือคำสอน ของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงเป็นการสรรเสริญคุณ และทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแน่นอนว่าย่อมได้ความสบายใจเกิดขึ้นด้วย ในขณะกำลังสวดมนต์ เราก็น้อมใจตามบทสวด พิจารณาความหมายเข้าใจธรรมะในบทสวด ใจย่อมเกิดความปีติปราโมทย์ เมื่อเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเกิดความสุข เมื่อมีความสุขทางใจ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นอาสวะกิเลสที่ยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมได้บรรลุธรรมอันวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นหนทางความหลุดพ้นดังที่พระ พุทธเจ้าตรัสไว้ในวิมุตติสูตรว่า “ การฟังธรรม การแสดงธรรม การสวดสาธยายมนต์ การตรึกตรองใคร่ครวญธรรม และสมาธิภาวนา ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นสาเหตุแห่งความหลุดพ้น ”การสวดหรือการ สาธยายด้วยวาจา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการสาธยายด้วยใจ คือทำให้ใจได้ชำนาญคล่องปาก การสาธยายด้วยใจย่อมเป็นปัจจัยแห่งการแทงตลอด การสวดมนต์ภาวนา เป็นการเจริญอานาปานสติควบคู่ไปด้วย เป็นการฝึกลมหายใจให้ยาวและลึก ช่วยให้ได้รับพลัง หรือออกซิเจนเวลาหายใจเข้า ขณะที่สวดเปล่งเสียงออก เป็นการขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมลพิษออกจากตัว ยิ่งสวดได้นานและเป็นจังหวะเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถขับมลพิษออกไปได้มากเท่านั้น เรียกว่า เป็นการออกกำลังภายใน และช่วยให้จิตใจแน่วแน่มั่นคงมีความสงบสุข

  4. จึงมีคำกล่าวว่า “ สวดมนต์เป็นยาทา ”คือทาแล้วก็ทะลุถึงใจเลยทีเดียว “ ภาวนาเป็นยากิน”หมายถึง การทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ใจสะอาดบริสุทธิ์ หยุดนิ่งเป็นอาหารใจที่ดีที่สุด ดีกว่าการสวดมนต์ เพราะเมื่อใจสงบ หยุดนิ่ง ก็เกิดการเห็นและเข้าใจธรรมะได้ลึกซึ้ง เปรียบเสมือน “ ยากิน ”ซึ่งสามารถแก้ปวดได้ดีกว่ายาทาอย่างไรก็ตาม ทั้งการสวดมนต์และการเจริญภาวนา ก็ควรทำทั้งสองอย่าง และควรทำเป็นประจำทุกวัน เหมือนการรับประทานอาหาร อย่างน้อยก็ ๑ ครั้งก่อนเข้านอน เพราะจะได้หลับไปด้วยใจอันสงบ ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่น สบายใจ มีความคิดปลอดโปร่ง เบิกบานใจอนึ่ง การสวดมนต์ย่อมเป็นการฝึกให้เราพูดแต่ความดี เมื่อเราสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ย่อมเป็นการพูดแต่ความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราทำเป็นประจำ เราเองก็จะได้รับแต่สิ่งดี ๆ มาอยู่ในใจ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

  5. ก่อนสวด มนต์ที่บ้าน ที่วัด ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน หรือว่าในการเจริญพระพุทธมนต์ตามงาน ต่าง ๆ นิยมสวดบทชุมนุมเทวดา ที่เริ่มต้นด้วยคำว่า “ ผะริตวานะเมตตัง สะเมตตา ภะทันตา...”หรือในสวดมนต์ ๑๒ ตำนานจะเริ่มด้วยคำว่า“ สะมันตา จักกะวาเฬสุ..” เป็น ต้นไป เป็นบทสวดเพื่ออัญเชิญเทวดาที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ทั้งเทวดาที่สถิตอยู่ที่ยอดภูเขา ในอากาศ ในวิมานก็ดี หรือภุมมเทวดาก็ดี รวมทั้งยักษ์ คนธรรพ์ และนาคที่อยู่ในน้ำและบนบก ให้มาประชุมกัน เพื่อฟังธรรมหรือฟังการสวดมนต์ เพราะเวลาอันพิเศษเช่นนี้ เป็นเวลาที่เทวดาทั้งหลายจะได้มีโอกาสฟังธรรม และสั่งสมบุญบารมีให้กับตัวเองยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะเทวดาทั้งหลายก็ต้องการทำบุญ เพื่อจะได้อยู่ในสวรรค์นาน ๆ ไม่มีใครอยากลงมาเกิดเป็นมนุษย์ พบความทุกข์ยากลำบากอีก แม้ กระทั่งก่อนสวดมนต์ใกล้จะจบ เราก็สวดส่งเทวดา เรียกว่า “ เทวะตาอุยโยชะนะคาถา “ซึ่งเริ่มต้นด้วยคำว่า “ ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา..” หรือบางครั้งตัดไปสวดเฉพาะท่อนสุดท้ายว่า “ สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา...”เป็นต้นไป เป็นคาถาสวดเพื่อส่งเทวดากลับวิมาน หลังจากลงมาฟังเสียงสวดมนต์เป็นเวลาพอสมควรแล้ว เป็นธรรมเนียมว่า เมื่อเชิญมาแล้วต้องเชิญกลับไป มีความหมายเพื่อเป็นการแผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หายทุกข์โศกโรค ภัย จากนั้นจะเป็นการแนะนำเทวดาให้อนุโมทนาบุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญมา ซึ่งก็รวมถึงบุญกุศลอันเกิดจากการสวดมนต์ของเราด้วย เพื่อเทวดาจะได้อานิสงส์ในบุญนั้น จากนั้นเป็นการแนะนำเทวดาให้มีความศรัทธาในการทำบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แล้วอัญเชิญเทวดากลับไปยังวิมานของตน และบทสุดท้ายเป็นการขออานุภาพของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย จงคุ้มครองรักษาผู้สวดและผู้ฟังทั้งหลายให้มีความสุข ปราศจากความทุกข์ใจ ปราศจากอันตรายทั้งปวง

  6. การสวดมนต์ หรือการ นำพระพุทธพจน์มาสวดสาธยาย จนเกิดอานุภาพในการต้านทาน ป้องกันอันตรายนั้น มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล บางพระสูตร พระพุทธองค์ทรงสวดเอง บางพระสูตรทรงแนะนำให้พระสงฆ์สาวกสวด บางพระสูตรเทวดาเป็นผู้นำมาแสดง เช่น มงคลสูตร ที่เริ่มต้นด้วยบทที่ว่า “ อะเสวะนา จะพาลานัง...” เป็นต้นไป เป็นบทสวดเกี่ยวกับมงคลชีวิต ๓๘ ประการ ซึ่งเป็นหมวดธรรมที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และหลักการปฏิบัติในทางพุทธศาสนา เรื่องมงคลชีวิตเป็นปัญหาโลกแตกมานาน เนื่องจากในสมัยนั้น มนุษย์ได้ตั้งปัญหาเสวนากันว่า “ อะไรเป็นมงคล “ แต่ก็ไม่มีใคร สามารถตอบปัญหานี้ได้ เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี ก่อให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว เพราะความเห็นไม่ลงรอยกัน ปัญหานี้มิได้ถกเถียงกันในหมู่ มมนุษย์เท่านั้น แม้เหล่าเทวดาก็ถกเถียงกัน จนหาข้อยุติไม่ได้ จึงพากันไปทูลถามพระอินทร์ ( ท้าวสักกะ ) ก็ไม่สามารถตอบได้ แต่ได้แนะนำให้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า หมู่เทวดาทั้งหลายจึงลงมติเห็นชอบด้วยเสียงส่วนใหญ่ ส่งเทพบุตรองค์หนึ่งเป็นตัวแทนลงมาถามปัญหานี้กับพระพุทธเจ้า

  7. ดึก สงัด ณ ราตรีหนึ่ง เทวดาได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยแสงสว่างรุ่งเรืองไปทั่ววัด ทูลถามปัญหามงคล พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “ การไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นมงคลอย่างสูงสุด “ เป็นมงคลข้อแรก จนถึง มงคลข้อสุดท้าย “ ผู้ที่โลกธรรม ( ลาภ-เสื่อมลาภ ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ ) กระทบแล้วไม่หวั่นไหว จิตใจไม่มีความยินดีและยินร้าย ปราศจากความเศร้าหมอง เป็นจิตถึงความสุขอันวิเศษ เป็นมงคลอันสูงสุด “ พระสูตรนี้เป็นพระสูตรหลักที่จะต้องสวดทุกครั้งในการสวดมนต์ที่บ้าน หรือในการเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีต่าง ๆ เป็นบทที่เจ้าภาพผู้เป็นประธานจะต้องจุดเทียนที่บาตรน้ำมนต์รัตน สูตร ปรากฏอยู่ในพระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ซึ่งเริ่มต้นสวดด้วยบทว่า “ ยังกิญจิ วิตตัง...” เป็นต้นไป เป็นบทสวดว่าด้วยอานุภาพพระรัตนตรัย สาเหตุเกิดจากเมืองเวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ซึ่งเคยเป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ แต่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง เกิดวิกฤตข้าวยากหมากแพง ฝนแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ( ทุพภิกขภัย ) เมื่อมีคนตายมาเผาแทบไม่ทัน กลายเป็นศพไร้ญาติ นอนกลาดเกลื่อนไปทั้งเมือง พวกอมนุษย์หรือภูตผีปีศาจได้กลิ่นซากศพ ก็พากันแห่เข้าสู่เมือง ทำอันตรายรบกวนชาวบ้าน ( อมนุสสภัย ) และเมื่อมีคนตายเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้เกิดโรคระบาดแพร่กระจายไปทั่ว ( โรคภัย ) เป็นเหตุให้ชาวบ้านได้รับความทุกข์เดือดร้อน แม้จะพากันรวมตัวไปประท้วงร้องทุกข์ต่อพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่สามารถแก้ไขได้ จึงคิดว่าน่าจะมีสาเหตุอย่างแน่นอน เพราะภัยทั้ง ๓ นี้ไม่เคยเกิดมา ๗ ชั่วอายุคนแล้ว คนเดียวที่แก้ไขได้คือ พระพุทธเจ้าเท่านั้น

  8. ขณะนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชาวบ้านจึงพากันส่งเจ้าลิจฉวีชื่อว่า มหาลิ และมหาอำมาตย์ไปนิมนต์พระพุทธเจ้า เพื่อขอพึ่งบุญบารมี พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า ชาวบ้านจะได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุมรรคเป็นอันมาก และภัยพิบัติทั้งหลายจะสงบลง จึงได้รับอาราธนาเสด็จไปพระ พุทธเจ้าทรงให้พระอานนท์เรียนเอารัตนสูตรน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นึกถึงพระพุทธคุณทั้งปวงของพระองค์ ตั้งแต่ปรารถนาพุทธภูมิเป็นต้นมา จนถึงการตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วสวดพระปริตรตลอดทั้งคืน ภัยพิบัติทั้งหลายก็สงบลงอย่างน่าอัศจรรย์ต่อมาภายหลัง ได้ กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ในปัจจุบัน เมื่อท่านสวดถึงบทว่า “ นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป “ ประธานสงฆ์จะดับ เทียนน้ำมนต์ โดยการจุ่มเทียนลงไปในบาตรน้ำมนต์ มีความหมายว่า ขอให้โรคภัยความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง จงดับสูญสลายหายไปเหมือนเทียนเล่มนี้บทสวดที่พุทธศาสนิกชนนิยม สวด เช่น คาถาพาหุง ว่าด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า และคาถาชินบัญชร ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นต้น บทสวดทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเราตั้งใจสวดด้วยจิตที่เป็นกุศลและมีสมาธิกับการสวด ย่อมก่อให้เกิดพลานุภาพในการป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ อย่างปาฏิหาริย์ ดังศาสตราจารย์ พิเศษ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ได้กรุณาสรุปประสบการณ์และผลดีไว้ใน หนังสือ “ พระพุทธมนต์ “ ฉบับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนี้

  9. ผลดีประการแรก ก็คือ ทำให้เกื้อกูลแก่สุขภาพร่างกาย ไม่ถึงกับเป็นยาบำรุงกำลัง แต่ผู้ที่สวดมนต์บ่อย ๆ เปล่งเสียงดัง ๆ เต็มที่อย่างถูกต้องตามฐานกรณ์ ( คือออกเสียงให้ถูกตามที่เกิดของเสียง หรือ “ เอ็กเซ่น ”ได้อย่างถูกต้อง ) ระบบการหายใจย่อมจะเป็นไปตามธรรมชาติ โลหิตสูบฉีดเป็นปกติในร่างกาย ขับส่วนเสียในร่างกายออก สร้างเสริมส่วนที่บกพร่องให้คงคืนและดีขึ้น ทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ดี เสียงที่เปล่งออกแต่ละ ครั้ง ตามฐานกรณ์ของคำที่ถูกต้อง จะสร้างความสั่นสะเทือนในร่างกายเรา ความสั่นสะเทือนนี้ไปกระตุ้นต่อมที่กำลังจะเสีย หรือเสื่อมแล้ว ให้คงคืนสภาพ ทำให้เอื้อต่อสุขภาพร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น สวดบ่อย ๆ อาจรักษาโรคบางอย่างให้หายได้ด้วยเรื่องระบบเสียงใดของอักขระใด เกี่ยวข้องกับต่อมใด มีผลงานวิจัยฝรั่งบอกว่า อักขระแต่ละตัวมันเกี่ยวข้องกับต่อมใดบ้าง เมื่อถูกกระตุ้นบ่อย ๆ ทำให้โรคที่จะเกิดเพราะต่อมนั้น ๆ เสีย ไม่เกิดอย่างไรบ้าง น่าสนใจยิ่ง ทำให้นึกถึงเด็ก เมื่อผู้ใหญ่ร้อง “ ฉี่ ๆ ๆ “ ก็จะปัสสาวะออกทันที ทั้งที่ไม่ปวด ทั้งนี้เพราะเสียง อี เอ ไอ เกี่ยวข้องกับระบบน้ำย่อย ดังนี้เป็นต้นถ้าเราสวดมนต์ที่มีเนื้อหาดีงามเป็นนิจศีล ดังพระสงฆ์สวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็น สุขภาพกายและสุขภาพจิตเราต้องดีแน่นอน และเสียงสวดมนต์นี้จะเป็น “ พลัง “ ที่คงอยู่ในตัวเรา ไม่ลบเลือนหายไปไหนมีเรื่องหนึ่งที่ได้ทราบมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระสังฆราช ( วาสน์ วาสนมหาเถร ) วัดราชบพิธฯ ทรงประชวรหนัก หมอต่อสายระโยงรยางค์ไปหมด ชีพจรและการเต้นของหัวใจนั้นผิดปกติมากอย่างน่าเป็นห่วง แต่พอถึงเวลาประมาณ ๕-๖ โมงเย็น ทุกอย่างกลับเป็นปกติ เป็นอย่างนี้ทุกวัน ไม่มีใครทราบว่าเพราะเหตุใด จนกระทั่งพระเลขานุการส่วนพระองค์ระลึกได้ว่า เวลานี้เป็นเวลาที่สมเด็จพระสังฆราชสวดมนต์ในพระอุโบสถทุกวัน

  10. ผลดีประการที่สอง คือ เป็นการสร้างสมาธิอย่างดี ไม่ต้องฝึกปฏิบัติสมาธิแบบอื่นก็ได้ เพียงสวดมนต์ดัง ๆ ทุกวันทุกคืนสม่ำเสมอเป็นนิจศีล ท่านจะอัศจรรย์ที่ได้พบว่าสมาธิของท่านดีวันดีคืนอย่างน่าประหลาด เมื่อจิตเป็นสมาธิจะทำงานอะไรก็ทำได้ดี และมีประสิทธิภาพผลดี ประการสุดท้าย คือ ถ้าเรารู้ความหมายของบทสวดด้วย จะทำให้เราเกิดศรัทธาปสาทะในพระรัตนตรัย และศีลธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น โปรดรำลึกว่า บทสวดมนต์ไม่มีพูดถึงเรื่องเลวร้าย ไม่สอนให้อิจฉาริษยาใคร สาปแช่งใคร ตรงกันข้าม กลับสอนให้แผ่เมตตาจิต ความรักความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย การสวดมนต์บ่อย ๆ จึงเป็นการ “ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น สะอาดขึ้น “ โดยไม่รู้ตัว นี่คือผลดีแห่งการสวดมนต์อย่างมีคุณค่าและความหมายในการสวด มนต์นั้นย่อมสงผลได้ไกลถึงความหลุดพ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา และเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ช่วยทำให้จิตใจสดชื่นเบิกบาน และมีอานุภาพในการป้องกันรักษาดังกล่าวมาแล้ว ผู้รู้ทั้งหลายในสมัยโบราณจึงได้ทำวัตรสวดมนต์สืบมามิได้ขาด ทำเป็นประจำทุกวัน ทุกเช้า-เย็น จนกลายเป็นความเคยชิน เรียกการกรทำนี้ว่า “ ทำวัตร “ฉะนั้น ชาวพุทธไทยจึงควรทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน ให้สวดด้วยใจที่แช่มชื่น เบิกบาน ด้วยความเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง การสวดมนต์อย่างนี้ จึงจะเรียกว่า เกิดประโยชน์และมีอานิสงส์อย่างแท้จริงเมื่อสวด มนต์เสร็จแล้ว ควรทำสมาธิต่อพอสมควรแก่เวลา หรือหากมีเวลามาก ควรเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เพื่อเพิ่มบุญกุศลให้แก่ตัวเองยิ่งขึ้นไป ทำให้ต่อเนื่อง ทั้งการสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ก่อนนอนทุกวัน เสร็จแล้วแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง และทั่วไป พร้อมกับเพิ่มบทสำคัญที่ท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ( นิยม ฐานิสสโร ) เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ใช้นำพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา และประชาชนทั่วไปเป็นประจำทุกวัน ว่าดังนี้

  11. “ อนึ่งขอให้ชาติไทย, พระพุทธศาสนา, พระมหากษัตริย์, จงยืนยงดำรงมั่น, เป็นหลักชัยของไทย, ปราศจากภัยพิบัติ, อุปัทวันตรายทั้งสิ้น ขอให้ประชาชน บนผืนแผ่นดินไทย ผู้สุจริตใจประกอบกิจ, จงอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากความอยู่ร้อนนอนทุกข์ จงมั่งมีศรีสุข พ้นจากความยากจนเข็ญใจ ปราศจากภัยพิบัติ อุปัทวันตรายทั้งปวงเทอญ ”ถ้าทำได้อย่างนี้ นับวันจะมีความเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนา จะมีอานุภาพมากมาย เป็นบุญวาสนาของผู้ได้เข้าใกล้ได้พบเห็นอีกด้วยเหตุนั้น การทำวัตรสวดมนต์จึงต้องทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเคารพทุกเช้าค่ำ และต้องทำอยู่ตลอดเวลา ทำให้อยู่ในใจเราเสมอ ทำให้รู้สึกว่าขาดการสวดมนต์ไม่ได้ จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน

More Related