280 likes | 604 Views
หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ. “ องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ” นางสาวฐานิดา เมนะเศวต หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. หัวข้อการบรรยาย. ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
E N D
หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐหลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ “องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน” นางสาวฐานิดา เมนะเศวต หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
หัวข้อการบรรยาย • ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ • กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • กลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ • บทบาทของไทยด้านสิทธิมนุษยชน • Human Rights Council • Universal Periodic Review
1.ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ1.ประเด็นสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ • หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการจัดตั้งสหประชาชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1945 • สิทธิมนุษยชนเปนหนึ่งในสามเสาหลักของสหประชาชาติ ได้แก่ สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และ สิทธิมนุษยชน • สหประชาชาติมีบทบาทในการสนับสนุนประเทศตาง ๆ ใหมีขีดความสามารถในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น รวมทั้งเป็นเวที ในการเจรจาจัดตั้งกลไก และจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศที่สำคัญ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights-UDHR) ซึ่งได้รับการรับรองในที่ประชุม UNGA ในปี ค.ศ. 1948 ถือเป็นเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก
กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ-CERD • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง-ICCPR และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม-ICESCR • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรี ในทุกรูปแบบ –CEDAW และพิธีสารเลือกรับ • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก-CRC และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ
กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี-CAT และ พิธีสารเลือกรับ • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ -CRPD • อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ –CED 9. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว-MWC
คณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ (Treaty Body) • แต่งตั้งประจำทุกอนุสัญญา • พิจารณารายงานประเทศ • จัดทำ general comments (ความเห็นทั่วไป) เพื่อตีความ ข้อบทต่าง ๆ • รับข้อร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือจากรัฐภาคีอื่น
กลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคกลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค กลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council – กลไกหลักด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ)
กลไกอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อาทิ • กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) • UN Women • UNHCR • OHCHR • UNDP • UNESCO • General Assembly • Security Council
กลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค อาทิ กลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคยุโรป อเมริกา แอฟริกา • กลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน • คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights – AICHR) • คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของสตรีและเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children – ACWC)
กลไกภายในประเทศที่กำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชนกลไกภายในประเทศที่กำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชน • หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ • กลไกทางนิติบัญญัติ • ภาคประชาสังคม
ช่องทางในการหยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับไทยช่องทางในการหยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับไทย • ผู้เสนอรายงานพิเศษตามกลไกสหประชาชาติ • ข้อร้องเรียนและการเยือนของผู้เสนอรายงานพิเศษ • กลไกของ HRC • องค์การระหว่างประเทศ • ภาคประชาสังคม • สื่อ • องค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการสิทธิฯ
ประเด็นปัญหา • การบูรณาการของหน่วยงานไทย/ การทำงานแบบแยกส่วน • การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน • การปรับทัศนคติจากการมองในแง่ความมั่นคงเพียงอย่างเดียว แต่อ้างอิงหลักการ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนมากขึ้น • การปรับทัศนคติของประชาชน ให้มองว่าเป็นสิทธิ ไม่ใช่การกุศล • ความแตกต่างทางมุมมอง ทัศนคติของประชาคมระหว่างประเทศ
2. บทบาทของไทยด้านสิทธิมนุษยชน • ไทยมีบทบาทสำคัญในกลไกด้านสิทธิมนุษยชน • การดำเนินการของไทยมีผลใน 2 ระดับ คือ ในระดับระหว่างประเทศ และระดับภายในประเทศ
ระดับระหว่างประเทศ: ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) • ระดับภายในประเทศ - ตามพันธกรณีที่มีอยู่ - ตามกรอบการดำเนิน งานของไทย
ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) • HRC เป็นกลไกหลักของสหประชาชาติที่มุ่งผลักดัน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลกโดยเป็น เวทีในการหารือประเด็นสิทธิมนุษยชนใหม่ ๆ และดูแล ติดตามประเด็นที่มีอยู่แล้ว รวมถึงสถานการณ์เร่งด่วน • HRC มีสมาชิก 47 ประเทศ • ไทยเป็นสมาชิก HRC ระหว่างกลางปี 2553 – ปลายปี 2556 และจะสมัครเป็นสมาชิกต่อ ระหว่างต้นปี 2558- ปลายปี 2560
ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) ผลดีในระดับประเทศ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในภาคส่วนต่างๆ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ผลดีในระดับระหว่างประเทศบทบาทของไทยที่สำคัญเพิ่มขึ้นในเวที สิทธิมนุษยชน เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อหาจุดร่วมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศก็จะใช้โอกาสนี้ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศ กลุ่มมุสลิมด้วย
รายงานสิทธิมนุษยชนของไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) • กระบวนการ UPR กำหนดให้ทุกประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ต้องจัดทำรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน • รายงาน UPR เป็นรายงานภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ของประเทศในทุกด้าน ซึ่ง กต. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมในการจัดทำรายงาน • คณะผู้แทนไทยได้นำเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะทำงาน UPR สมัยที่ 12 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ณ นครเจนีวา
ข้อเสนอแนะภายใต้กลไก (UPR) • ไทยได้รับข้อเสนอแนะทั้งหมด 172 ข้อ • ไทยสามารถให้การรับรองข้อเสนอแนะได้จำนวน 134 ข้อ • ไทยควรจะต้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่รับรอง และต้องแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้ประชาคมระหว่างประเทศทราบในปี 2559 • ไทยได้ประกาศที่จะรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะในปี 2557
การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • การปรับปรุงกฎหมายสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ • การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและแผนสิทธิมนุษยชน • การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม • การเชิญกลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ เยือนไทย • การส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออก • การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม
การส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม • การคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิง • ปัญหาการค้ามนุษย์ • การแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • การอำนวยความยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม • กระบวนการปรองดอง • การติดตามผลของกระบวนการ UPR
คำมั่นของประเทศไทย 1. เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 2. ถอนข้อสงวนต่อข้อ 16 ของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) และถอนถ้อยแถลงตีความต่อข้อ 6 และข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และข้อ 18 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) 3. ปรับกฎหมายให้สอดคล้องกับตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน 4. ประกาศเชื้อเชิญในหลักการ (standing invitation) ต่อกลไกพิเศษของ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ
5. เร่งปรับปรุงระบบยุติธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการบังคับใช้กฎหมาย 6. พัฒนาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน และเพิ่มความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบแรงงานทั้งระบบ 7. ส่งเสริมสิทธิด้านการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสและเด็กชายขอบ 8. เสริมสร้างความเข้มแข็งของการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การดำเนินการต่อไป • สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ให้การรับรองจำนวน 134 ข้อ รวมทั้งคำมั่นที่ไทยให้ไว้จำนวน 8 ข้อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม • การจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศ และติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR เพื่อเป็นกลไกติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นระบบ
ไทยต้องรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ทราบในปี 2559 • ไทยจะรายงานความคืบหน้าโดยสมัครใจให้ HRC ทราบในช่วงครึ่งเทอม ในปี 2557
สรุป • ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องภายในประเทศ • สิทธิมนุษยชนถูกใช้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่าง ๆ • การดำเนินงานภายในประเทศ รวมทั้งการชี้แจงทำความเข้าใจ กับประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งในกรอบพหุภาคี และทวิภาคี มีความสำคัญ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะประเทศที่มีความรับผิดชอบ และยึดมั่นในมาตรฐานและหลักการด้านสิทธิมนุษยชนอันเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ