330 likes | 568 Views
หัวข้อที่ 2 เศรษฐศาสตร์ประชากร. หัวข้อที่ 2.4 การย้ายถิ่น เวลาที่ใช้ 2.5 คาบ วัตถุประสงค์ เข้าใจทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้ายการย้ายถิ่น ทราบแบบแผน และผลกระทบของการย้ายถิ่น เอกสารอ้างอิง มัทนา พนานิรามัย เอกสารประคำบรรยาย วิชา ศ 472 บทที่ 3. เกริ่นนำ
E N D
หัวข้อที่ 2 เศรษฐศาสตร์ประชากร • หัวข้อที่ 2.4 การย้ายถิ่น • เวลาที่ใช้ 2.5 คาบ • วัตถุประสงค์ • เข้าใจทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้ายการย้ายถิ่น • ทราบแบบแผน และผลกระทบของการย้ายถิ่น • เอกสารอ้างอิง มัทนา พนานิรามัย เอกสารประคำบรรยาย วิชา ศ 472 บทที่ 3 Chaiyuth Punyasavatsut EC370
เกริ่นนำ • การย้ายถิ่น หมายถึง การย้ายที่อยู่ประจำของคนจากท้องที่หนึ่งไปยังอีกท้องที่หนึ่ง อาจเป็นการย้ายแบบถาวร หรือการย้ายแบบชั่วคราวก็ได้ • การย้ายถิ่นมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางประชากร เศรษฐกิจและสังคมของทั้งท้องที่ซึ่งมีการย้ายถิ่นเข้าและย้ายถิ่นออกอย่างมาก • อัตราการย้ายถิ่นยังไม่เท่ากันสำหรับประชากรในแต่ละกลุ่มอายุ เพศ การศึกษา และอาชีพ จึงมีผลต่อโครงสร้างประชากร • การย้ายถิ่นมีหลายลักษณะ จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ • การย้ายถิ่นภายในประเทศ (internal migration) • การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (international migration) Chaiyuth Punyasavatsut EC370
การย้ายถิ่นภายในประเทศกระแสหลักกระแสหนึ่ง คือ การย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง ซึ่งเกิดขึ้นในเกือบทุก ๆ ประเทศระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม • การย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวของเมือง • ความเป็นเมืองนั้นมักจะถูกกำหนดจากระดับโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนความหนาแน่นของประชากร • ประเทศไทยใช้ระดับโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และความหนาแน่นของประชากรเป็นเกณฑ์ในการประกาศให้ท้องที่ใดเป็นเขตเทศบาล หรือเขตสุขาภิบาลไทยนิยมให้เขตเทศบาลและเขตสุขาภิบาลเป็นเมือง ส่วนท้องที่ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาลและนอกเขตสุขาภิบาลเป็นชนบท Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ตัวจักรสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองด้วยการย้ายถิ่น คือความแตกต่างของตลาดแรงงานในเมืองและชนบท • การย้ายถิ่นส่วนใหญ่เป็นการย้ายด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ • การย้ายถิ่นและการเปลี่ยนแปลงของเมืองระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรม • การเติบโตของเมือง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ลักษณะหนึ่งที่เปลี่ยนตามคือเมืองจะเติบโตอย่างรวดเร็ว • เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตในยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนา และเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาในสมัยปัจจุบันด้วย • อัตราเพิ่มของประชากรเมืองที่สูงมากนี้ย่อมมิใช่เป็นผลของการเพิ่มตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นผลของการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ลักษณะของผู้ย้ายถิ่น พบว่าผู้ที่มีอัตราการย้ายถิ่นที่สูง คือ วัยรุ่นก่อนอายุ 20 จนกระทั่งถึงอายุต้น 30 รูปที่ 3.1 อัตราการย้ายถิ่นตามอายุ อัตราการย้ายถิ่น อายุ 5 15 25 35 Chaiyuth Punyasavatsut EC370
วิลเลี่ยมสัน (Williamson, 1985) ได้ใช้ข้อมูลของหลาย ๆ ประเทศสร้างแบบแผนการย้ายถิ่นตามอายุ ดังปรากฏในรูปที่ 3.1 จากรูปพบว่าหลังอายุ 15 อัตราการย้ายถิ่นจะเพิ่มขึ้นเร็วมาก อัตราการย้ายถิ่นจะสูงที่สุดระหว่างอายุ 20-25 หลังจากนั้นอัตราการย้ายถิ่นจะค่อย ๆ ลดลง สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี จะมีอัตราการย้ายถิ่นที่สูงเช่นกัน ส่วนใหญ่การย้ายถิ่นของเด็กเหล่านี้จะเป็นการย้ายถิ่นตามพ่อแม่นั่นเอง • การย้ายถิ่นมิได้เกิดเท่ากันในทุก ๆ กลุ่มอายุ หากแต่จะมีความหนาแน่นเฉพาะในบางกลุ่มอายุเท่านั้น • นอกจากนี้ การย้ายถิ่นเปลี่ยนแปลงตามการศึกษา ผู้ที่ย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองมักจะเป็นผู้ที่มีการศึกษาดีกว่าคนทั่วไปในชนบท การย้ายถิ่นในลักษณะนี้เรียกว่า การไหลของสมอง (brain drain) • การย้ายถิ่นที่มีความหนาแน่นพิเศษในกลุ่มวัยรุ่นและหนุ่มสาวที่มีการศึกษาดี ทำให้สังคมเมืองเป็นสังคมของคนหนุ่มสาวที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ในขณะที่สังคมชนบทเป็นสังคมของเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่ำกว่า อาจทำให้ช่องว่างระหว่างเมืองและชนบทเพิ่มขึ้น • การย้ายถิ่นและความเป็นเมืองในประเทศไทย • ผลจากสำมะโนประชากรก่อนปี 2523พบว่า ประชากรไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่ในชนบท อัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยของประชากรในเมืองระหว่างปี 2513-2523 คือร้อยละ 5.2 ต่อปี ในขณะที่อัตราเพิ่มของประชากรในชนบทคิดเป็นร้อยละ 2.1 ต่อปี • การที่ประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นเร็วนั้นเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ • ประการแรก การเพิ่มตามธรรมชาติอันเกิดจากอัตราการเกิดที่สูงกว่าอัตราการตาย • ประการที่สอง เกิดจากการย้ายถิ่นเข้าสุทธิของประชากรจากชนบทสู่เมือง • ประการที่สาม เกิดจากการประกาศให้ท้องที่บางแห่งซึ่งแต่เดิมจัดว่าอยู่นอกเขตเทศบาลให้เป็นในเขตเทศบาล • แบบแผนการย้ายถิ่นระหว่างเขตเมืองและชนบทระหว่างปี 2508-2513 และ 2518-2523 พบว่าร้อยละของผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มลดลง จาก 11.6 % เป็น 7.4% Chaiyuth Punyasavatsut EC370
สาเหตุของการลดลงที่สำคัญเกิดจากการลดลงของผู้ย้ายถิ่นระหว่างชนบทสู่ชนบท ซึ่งเป็นกระแสการย้ายถิ่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ การย้ายถิ่นจากชนบทสู่ชนบทนั้นมักเป็นการย้ายเพื่อแสวงหาแหล่งเพาะปลูกใหม่ • การย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในด้านจำนวนและร้อยละของผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด การย้ายถิ่นกระแสนี้มีผลกระทบต่อเมืองเป็นอย่างมาก • การย้ายถิ่นระหว่างเมืองและเมือง และจากเมืองสู่ชนบทเป็นกระแสการย้ายถิ่นที่ค่อนข้างใหญ่ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทในประเทศไทยอย่างมาก • เหตุผลของการย้ายนั้นพบว่า การย้ายถิ่นส่วนใหญ่ ย้ายด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เป็นการย้ายถิ่นเพื่อหางานทำ หรือย้ายเนื่องจากการโอนตำแหน่งหน้าที่การงาน การย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาและการติดตามครอบครัวก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่ยังน้อยกว่าเหตุผลประการแรก Chaiyuth Punyasavatsut EC370
แนวคิดว่าด้วยการย้ายถิ่นแนวคิดว่าด้วยการย้ายถิ่น มีนักวิชาการหลายสาขาซึ่งให้ความสนใจในปัญหาการย้ายถิ่น เช่น นักสังคมศาสตร์ นักประชากรศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ แต่เดิมนักสังคมศาสตร์เป็นผู้ที่สนใจในปัญหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้คนย้ายถิ่นมาก่อนนักเศรษฐศาสตร์ ต่อมานักเศรษฐศาสตร์เริ่มสนใจในปัญหาการย้ายถิ่นโดยเน้นที่ปัจจัยและผลกระทบของการย้ายถิ่น นักภูมิศาสตร์นั้น การศึกษาส่วนใหญ่เน้นในเรื่องแบบแผน(pattern)ของการย้ายถิ่นในเชิงภูมิศาสตร์ กฎการย้ายถิ่นที่สำคัญของนักภูมิศาสตร์คือ กฎว่าด้วยแรงถ่วง (gravity law) Chaiyuth Punyasavatsut EC370
1. แนวคิดการย้ายถิ่นเนื่องจากปัจจัยผลักและปัจจัยดึง • ราเวนสไตน์ นักสังคมศาสตร์ยุคแรก อธิบายตัวกำหนดการย้ายถิ่นของมนุษย์ พบว่คนเราจะย้ายถิ่นจากที่ซึ่งเขามีโอกาสน้อยกว่าไปยังที่ซึ่งเขามีโอกาสมากกว่าดังนี้ • คนเราจะเลือกย้ายไปที่ใกล้ก่อนที่ไกล • การย้ายถิ่นจะกระทำอย่างมีขั้นตอน • การย้ายถิ่นทุก ๆ กระแสจะมีกระแสย้อนกลับ • ชาวชนบทมีแนวโน้มของการย้ายถิ่นมากกว่าชาวเมือง • ลี นักสังคมศาสตร์ อธิบายแบบแผนของการย้ายถิ่นอย่างมีระบบมากขึ้น ได้ • รวบรวมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ย้ายถิ่นออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในท้องที่ต้นทาง • ปัจจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในท้องที่ปลายทาง Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ค. อุปสรรคซึ่งขัดขวางการย้ายถิ่น • ง. ปัจจัยส่วนตัวของผู้ที่คิดจะย้ายถิ่น • ลี จำแนกปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้นทางและปลายทางออกเป็นปัจจัยในเชิงบวก ศูนย์ และลบ • ปัจจัยบวกได้แก่สิ่งทั้งหลายซึ่งดึงดูดให้ผู้ตัดสินใจคงอยู่ในถิ่นเดิม(pulled factors) ปัจจัยลบ หมายถึง ปัจจัยทั้งหลายซึ่งผลักให้เขาออกไปจากถิ่นเดิม (pushed factors) ปัจจัยที่เป็นศูนย์ หมายถึง ปัจจัยซึ่งไม่มีผลทั้งในทางบวกหรือลบ • การที่ปัจจัยหนึ่ง ๆ จะเป็น บวก ลบ หรือศูนย์นั้นย่อมต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละบุคคลด้วย คนเราจะย้ายถิ่นหรือไม่นั้นย่อมจะพยายามเปรียบเทียบปัจจัยที่เป็นบวก และลบ ที่ต้นทางและปลายทาง • นอกจากนั้น ผู้ย้ายถิ่นยังต้องคำนึงถึงอุปสรรคของการย้ายถิ่นด้วย ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จนกระทั่งกฎหมายจำกัดการย้ายถิ่น เป็นต้น Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ลี ได้ตั้งข้อสมมุติฐาน เกี่ยวกับการย้ายถิ่นเป็น 3 เรื่อง ดังนี้ • ปริมาณการย้ายถิ่น ผันแปรตามความแตกต่างระหว่างท้องที่ต่าง ๆ และตามความแตกต่างของผู้ที่อาศัยในท้องที่เหล่านั้น และจะผันแปรผกผันกันอุปสรรคของการย้ายถิ่น และหากไม่มีข้อจำกัดใด ๆ แล้วปริมาณการย้ายถิ่นจะเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา • กระแสการย้ายถิ่น จะมีกระแสไหลกลับอันเนื่องมาจากผู้ย้ายถิ่นพบว่าปัจจัย ต่าง ๆ ที่ปลายทางมิได้เป็นไปตามที่ตนคาดหมายไว้ • ลักษณะของผู้ย้ายถิ่น ผู้ตอบสนองต่อปัจจัยดึงดูดที่ปลายทางนั้นมักเป็นผู้ที่มีการศึกษาดี มีความทะเยอทะยาน มีสุขภาพดีกว่าบุคคลเฉลี่ยในสังคมต้นทาง Chaiyuth Punyasavatsut EC370
2 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการย้ายถิ่น แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มองการย้ายถิ่นเป็นกระบวนการปรับตัวของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยแรงงานจะย้ายจากกิจกรรมซึ่งผลผลิตหน่วยสุดท้ายของแรงงานต่ำไปสู่กิจกรรมซึ่งผลผลิตต่อแรงงานหน่วยสุดท้าสูงขึ้น โดยผู้ที่ริเริ่มศึกษาการย้ายถิ่นในแนวนี้คือ เลวิส (Lewis, 1954)เฟ และ รานิส(Fei and Ramis, 1964) 2.1 ทฤษฎีการย้ายถิ่นของ เลวิส เฟ และรานิส สมมติว่าระบบเศรษฐกิจมีการผลิตเพียง 2 ภาค คือ ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม เป้าหมายของทฤษฎีคือการให้คำอธิบายเหตุผลของการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม หรือการย้ายถิ่นของคนจากชนบทสู่เมืองนั่นเอง เริ่มด้วยการสมมุติว่ามีแรงงานในภาคเกษตรกรรมอย่างเหลือเฟือ จนกระทั่งผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงาน(marginal productivity of labor)=0 Chaiyuth Punyasavatsut EC370
กระบวนการย้ายถิ่นจะเริ่มขึ้นเมื่อเกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม การลงทุนนี้จะสร้างอุปสงค์ของแรงงานขึ้น สมมุตว่านักอุตสาหกรรมเป็นผู้ซื้อแรงงานในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ดังนั้นนักอุตสาหกรรมมีเส้นอุปสงค์ของแรงงานตามเส้นมูลค่าของผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงาน ค่าจ้างในภาคอุตสาหกรรมจะถูกกำหนดด้วยเส้นอุปสงค์ของแรงงาน และอุปทานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้ อุปทานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสามารถแบ่งตามลักษณะของเส้นอุปทานออกเป็น 3 ช่วง ในช่วงแรก ขณะที่อุปทานของแรงงานในภาคเกษตรยังมีเหลือเฟือ (ช่วงที่ผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงานในภาคเกษตรกรรมเท่ากับศูนย์) อุปทานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะมีลักษณะความยืดหยุ่นแบบอนันต์(perfectly elastic supply)ที่ระดับอัตราค่าจ้างพอยังชีพ Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ช่วงที่ 2 แรงงานที่เหลืออยู่ในภาคเกษตรกรรมเริ่มลดลงเป็นเหตุให้ผลิตภาพแรงงานส่วนเพิ่มมีค่าเป็นบวก แต่ยังต่ำกว่าอัตราค่าจ้างที่ระดับพอยังชีพ ในช่วงนี้ การเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคเกษตรจะมีผลทำให้ปริมาณผลผลิตในภาคเกษตรลดลง ช่วงที่ 3 แรงงานที่เหลืออยู่ในภาคเกษตรกรรมลดต่ำลงอีก ดังนั้นผลิตภาพแรงงานเพิ่มสูงขึ้นจนมีค่าสูงกว่าอัตราค่าจ้างระดับพอยังชีพ การเคลื่อนย้ายแรงงานแต่ละหน่วยออกจากภาคการเกษตรมีผลทำให้ปริมาณผลผลิตในภาคการเกษตรลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาเปรียบเทียบของสินค้าเกษตรต่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อการลดลงของแรงงานในภาคการเกษตร สรุป แนวคิดนี้ได้เชื่อมโยงปัญหาแรงงานส่วนเกินในภาคเกษตรกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมและการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเดียวกัน ค่าจ้างแรงงานจะเพิ่มสูงกว่าระดับพอยังชีพได้ เมื่อแรงงานส่วนเกินในภาคเกษตรกรรมถูกดูดซับเข้ามาในภาคอุตสาหกรรมจนหมดแล้วเท่านั้น Chaiyuth Punyasavatsut EC370
แนวคิดนี้สามารถอธิบายปรากฏการณ์การไหลทะลักของแรงงานจากชนบทสู่เมืองได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องให้วิจารณ์ ดังนี้ 1. ตัวจักรสำคัญที่ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง คือ การว่างงานแอบแฝงที่มีอยู่ในชนบทควบคู่กับการขยายความต้องการแรงงานในเมือง 2. ตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง คือ ข้อสมมติที่ว่าผลกำไรในภาคอุตสาหกรรมถูกนำกลับไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ดังนั้นอุปสงค์ของแรงงานในภาคการเกษตรจึงไม่เพิ่ม แต่จะไปเพิ่มในเมืองเท่านั้น 3. ตามแนวคิดที่เสนอมานี้ ค่าจ้างแรงงานของภาคอุตสาหกรรมจะอยู่เพียงระดับพอยังชีพ แม้ภายหลังค่าจ้างที่เป็นตัวเงินอาจสูงขึ้นแต่ค่าจ้างที่แท้จริงในรูปของผลผลิตทางภาคการเกษตรที่แลกได้ก็จะเหมือนเดิม Chaiyuth Punyasavatsut EC370
2.2 แนวคิดของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ เริ่มจากบทความของ จาสตัด (L.Sjaastad)ปี ค.ศ. 1962 ทฤษฎีนี้มองการตัดสินใจเรื่องการย้ายถิ่นโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการตัดสินใจเพื่อการลงทุนในเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ หรือในด้านวัตถุ กล่าวคือ คนเราจะย้ายถิ่นหรือไม่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ตลอดชีวิตการย้ายถิ่นเป็นเช่นใดเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนตลอดชีวิตของการย้ายถิ่น จาสตัด ได้จำแนกผลประโยชน์และต้นทุนส่วนบุคคลของการย้ายถิ่นไว้ดังนี้ คือ ผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน คือ รายได้ส่วนเพิ่มถ้ามีการย้ายถิ่น คิดจากผลต่างของกระแสรายได้ก่อนและหลังการย้ายถิ่น แล้วทอนค่าผลต่างนั้นมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน(present value) Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน หมายถึง ผลพลอยได้อื่น ๆ อันเนื่องมาจาการย้ายถิ่น แต่ผลพลอยได้ดังกล่าวไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าออกมาได้ เช่น ความสะดวกสบายของถิ่นที่อยู่ใหม่ในการซื้อบริการด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ ต้นทุนส่วนบุคคลก็สามารถจำแนกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ต้นทุนที่เป็นตัวเงินและต้นทุนทีไม่เป็นตัวเงิน ต้นทุนที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพระหว่างการเดินทาง ต้นทุนที่ไม่เป็นตัวเงินได้แก่ ค่าเสียโอกาสของเวลาระหว่างการเดินทาง และต้นทุนทางจิตใจอื่น ๆ เช่น การต้องจากครอบครัวและคนรัก เป็นต้น กำหนดให้ B คือ ผลประโยชน์ทีไม่เป็นตัวเงิน C1 คือ ต้นทุนที่เป็นตัวเงิน C2 คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสระหว่างการเดินทาง C3 คือ ต้นทุนทางจิตใจ Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ดังนั้น ผลประโยชน์รวม คือ TB = (Mi -Ii)/(1+r)i+B • โดย Mi คือรายได้หลังย้าย Ii คือรายได้หลังย้าย • ส่วนต้นทุนรวม คือ TC = C1+C2+C3 • การย้ายถิ่นจะเกิดขึ้นเมื่อ TB > TC มิฉะนั้น การย้ายถิ่นก็จะไม่เกิดขึ้น • ทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายวิธีการตัดสินใจของบุคคลเรื่องการยายถิ่นแล้วยังสามารถใช้ศึกษาประโยชน์ของการย้ายถิ่นในแง่ของสังคมได้อีกด้วย ในกรณีเช่นนี้ ต้นทุนและผลประโยชน์ต้องคิดจากแง่ของสังคม Chaiyuth Punyasavatsut EC370
2.3 แนวคิดการย้ายถิ่นของ โทราโค (Torado) โทราโด นำแนวคิดเรื่องค่าคาดประมาณรายได้ (expected income) มาใช้แทนรายได้ในการคำนวณผลประโยชน์ของการย้ายถิ่น กล่าวคือ ในกระบวนการตัดสินใจว่าจะย้ายถิ่นหรือไม่นั้น ผู้ตัดสินใจจะใช้ค่าคาดประมาณของผลประโยชน์จากการย้ายถิ่นมาประกอบการตัดสินใจ โดยค่าคาดประมาณนั้นจะขึ้นอยู่กับรายได้ที่จะได้รับถ้ามีงานทำ และความน่าจะเป็นของการมีงานทำ Chaiyuth Punyasavatsut EC370
แนวคิดของโทราโดนี้ คอร์เด้น และฟินเลย์ (Corden and Findley,1975) ได้เสนอคำอธิบายจากรูปอย่างชัดเจนดังนี้ อัตราค่าจ้างในเมือง อัตราค่าจ้างในชนบท m a q Wm z Wa q a m La Lm Chaiyuth Punyasavatsut EC370 แรงงานในเมือง แรงงานในชนบท
OaOm คือแรงงานในระบบเศรษฐกิจ กำหนดให้ ค่าจ้างในเมืองสำหรับแรงงานในระบบคงที่ Wm ส่วนค่าจ้างแรงงานในเมืองสำหรับแรงงานนอกระบบ =0 aaคืออุปสงค์แรงงานในภาคเกษตร mmคือ อุปสงค์แรงงานในภาคอุตสหากรรม ค่าจ้างที่คาดหมาย = ค่าจ้างในระบบ x โอกาสได้งาน = Wm Lm / (Lu + Lm) โดย Lm คือระดับการจ้างงานในระบบ Lu คือการจ้างงานนอกระบบ และการว่างงานในเมือง เส้น qq คือเส้นอุปสงค์งานในระบบ หรือความต้องการย้ายถิ่น Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ที่ดุลยภาพ z ค่าจ้างเท่ากับ ค่าที่คาดไว้ ซึ่งอยู่ต่ำกว่า Wm LaOm คือ กำลังแรงงานในเมือง LaLm คือ งานนอกระบบและการว่างงาน = Lu LmOm คือ ระดับการจ้างงานในระบบ จากรูป หาก Wm ยังสูงกว่า Wa แม้ว่าการย้ายถิ่นจะมีต่อไป การที่ชาวชนบทยอมว่างงานในเมืองและทำงานนอกระบบ ทำให้ค่าแรงในชนบทสูงขึ้น จุดที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้ คือ สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น การมีภาคทางการและนอกทางการ การมีค่าจ้างในภาคทางการที่ไม่สามารถปรับลดได้ และการสามารถอธิบายการเกิดการว่างงานในเมือง Chaiyuth Punyasavatsut EC370
สรุป มีหลายปัจจัยซึ่งก่อให้เกิดกระแสการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง และการเติบโตของความเป็นเมือง ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ อัตราเพิ่มของประชากรที่รวดเร็วในชนบท ผนวกกับข้อจำกัดในทรัพยากรที่ดินและทุนในภาคเกษตรกรรม ทำให้เกิดการว่างงานแอบแฝงขึ้นในชนบท ซึ่งกดดันให้ชาวชนบทต้องย้ายถิ่น ทุนต่าง ๆ ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศก็มักไปลงในภาคอุตสาหกรรมมากกว่า ก่อให้เกิดความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ความไม่เท่าเทียมของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในเมือง ก็เสริมให้เกิดการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองมากยิ่งขึ้น การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นและการเติบโตของเมืองต้องนำข้อจำกัดของเมืองมาประกอบการพิจารณาด้วย Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ผลกระทบของการย้ายถิ่น การย้ายถิ่นอย่างอิสระเป็นผลดีต่อสังคมโดยรวม ทำให้สวัสดิภาพของแรงงานทั้งที่ต้นทางและปลายทางสูงขึ้น x y z Om Oa L ประโยชน์ของการย้ายถิ่นต่อสังคม Chaiyuth Punyasavatsut EC370
อย่างไรก็ตาม สวัสดิภาพของแรงงานมิอาจวัดได้ด้วยส่วนเกินที่สังคมได้รับจากการใช้แรงงานเท่านั้น จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบของการย้ายถิ่นในมิติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ผลกระทบจำแนกเป็นผลกระทบของเศรษฐกิจส่วนบุคคลและผลกระทบในระดับมหภาคดังนี้ • ผลกระทบส่วนบุคคล ซึ่งหมายถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ย้ายถิ่นหรือครอบครัวของผู้ย้ายถิ่นโดยตรง แม้ว่าการย้ายทำให้รายได้ลดลง แต่การส่งเงินกลับก็พอที่จะชดเชยได้ แต่อาจเกิดปัญหาครอบตรัวแตกแยก • ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม • ผลกระทบในเรื่องการจ้างงานและอัตราค่าจ้าง การพิจารณาจะแยกเป็นผลที่เกิดในท้องที่ต้นทางและปลายทาง Chaiyuth Punyasavatsut EC370
การย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะลดอุปทานแรงงานที่ต้นทาง แต่อุปสงค์ในสินค้าและบริการของคนที่ยังอยู่มักไม่ลดลงมากเท่า ดังนั้นอุปสงค์ของแรงงานจึงไม่ลดลง ทำให้ค่าจ้างในที่ต้นทางหรือชนบทสูงขึ้น • ผลกระทบต่อเทคนิคการผลิต การโยกย้ายแรงงานระหว่างเมืองและชนบทอาจมีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการผลิตทั้งในเมืองและในชนบทตามระดับความขาดแคลนของแรงงาน • การย้ายถิ่นก่อให้เกิดการโยกย้ายแรงงาน ทุน และข้อมูลข่าวสารซึ่งล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเทคนิคการผลิต • การย้ายถิ่นมักนำไปสู่การเคลื่อนย้ายรายได้และเงินทุนสู่ชนบทโดยผ่านเงินที่ผู้ย้ายถิ่นส่งกลับไปให้ครอบครัวด้วย บางส่วนนำไปใช้ในการลงทุนและเป็นส่วนน้อย • ผู้ที่เคยมาทำงานในเมืองและย้ายกลับไปชนบทหรือผู้ที่ยังติดต่อกับครอบครัวในชนบทอย่างใกล้ชิดมักเป็นตัวกลางนำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ กลับไปด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้มีการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ผลกระทบต่อการผลิตในเมืองที่เด่นชัดคือ ทำให้อุตสาหกรรมในเมืองไม่ต้องใช้เทคนิคการผลิตที่มีสัดส่วนของทุนมากเกินไป (less capital intensive)เพราะการย้ายถิ่นของคนจากชนบทย่อมมีส่วนทำให้แรงงานหาง่ายขึ้นและราคาถูก • ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในเมืองและชนบท การย้ายเข้ามักเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาจราจร ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาความขาดแคลนโรงเรียน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นที่มาของนโยบายที่พยายามจำกัดจำนวนผู้ย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง • ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ เช่นการย้ายถิ่นมักมีส่วนในการลดภาวะเจริญพันธุ์ ด้วยสาเหตุหลายประการ เนื่องจากแต่งงานช้าลง และมีการใช้วัฒนธรรมเมืองในการคุมกำเนิด Chaiyuth Punyasavatsut EC370
ผลต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการยากที่จะกล่าวถึงผลต่อการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม แต่ถ้าจะกล่าวถึงผลการพัฒนาเป็นท้องที่ ๆ ไปแล้ว จะเห็นว่าโดยทั่วไปการย้ายถิ่นทำให้ช่องว่างระหว่างชนบทและเมืองมากขึ้น Chaiyuth Punyasavatsut EC370
3.5.2 นโยบายการย้ายถิ่นในประเทศไทยและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ไทยมีปัญหาการย้ายถิ่นและความเป็นเมืองเช่นเดียวกับปัญหาที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีปัญหามากมาย ตั้งแต่ปัญหาการว่างงาน ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาจราจร ความไม่มีระเบียบต่าง ๆ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหามลภาวะ เป็นต้น ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 รัฐบาลเริ่มมีนโยบายอย่างเด่นชัดที่จะพยายามสกัดกั้นการย้ายถิ่นเข้าสู่กรุงเทพฯ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กรุงเทพฯ โตเร็วเกินไป โครงการตามแผนฯ 4 ซึ่งมีวัตถุประสงค์อย่างเด่นชัดเพื่อลดการย้ายเข้ากรุงเทพฯ ประเทศไทยมีโครงการพอสรุปได้ดังนี้ Chaiyuth Punyasavatsut EC370
โครงการพัฒนาชนบท • โครงการกระจายความเจริญของเมืองไปยังจุดต่าง ๆ ในประเทศ (decentralization) เพื่อกระจายความเจริญไปยังเมืองต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค • สำหรับโครงการย่อยซึ่งอยู่ภายใต้การพัฒนาชนบท ประกอบด้วย • 1. การปฏิรูปที่ดิน • 2. การส่งเสริมการให้สินเชื่อแก่ชาวนา • 3. การขยายพื้นที่เพาะปลูกด้วยวิธีชลประทาน • 4. ส่งเสริมวิธีเพาะปลูกซึ่งต้องใช้แรงงานมาก (multicropping) • 5. การขยายบริการพื้นฐานไปยังชนบทอย่างทั่วถึง • 6. การสร้างงานนอกภาคเกษตรในชนบท Chaiyuth Punyasavatsut EC370
โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งได้ริเริ่มในแผนฯ 4 ได้ถูกนำมาบรรจุในแผน 5 ด้วย แต่ได้เพิ่มความพยายามที่จะพัฒนาเมืองรอง เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเมืองหลัก นโยบายในแผนที่ 6 และ 7 นั้น ดูจะไม่แตกต่างไปจากเดิมมากมายนัก แต่เน้นที่การพัฒนาเฉพาะพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกและพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพื่อให้พื้นที่เหล่านี้เป็นแหล่งสร้างงานที่จะดึงดูดผู้ย้ายถิ่นแทนการเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งมีปัญหาด้านโครงสร้างจนไม่สามารถรองรับผู้ย้ายถิ่นเพิ่มได้อีกต่อไป การศึกษาผลของการสร้างงานในชนบทต่อการย้ายถิ่น พบว่ามีผลในทางลดการย้ายถิ่นค่อนข้างน้อย แต่จากความพยายามดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาถึง 4 แผน และปัญหาในกรุงเทพฯ ซึ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ๆ ทำให้พบว่าการย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพฯ เริ่มชะลอตัวลงและเริ่มมีกระแสการย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ มากขึ้น Chaiyuth Punyasavatsut EC370