1 / 30

แนวทางการให้การศึกษาเซนต์คาเบรียล

แนวทางการให้การศึกษาเซนต์คาเบรียล. โดยภราดา หลุยส์โบวิโน 2004. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล. พินัยกรรมของมงฟอร์ต (27 เมย. 1716)/ ช่วงนั้นมีภราดา 4 คนบริหารโรงเรียนการกุศล (ที่เร็นน์ มงฟอร์ตเยี่ยมคนยากจนในโรงพยาบาล) สังคายนาเตร็นโตเน้นการสอนคำสอนเพื่อต่อสู้กับลัทธิคัลวินและลูเธอร์

lonna
Download Presentation

แนวทางการให้การศึกษาเซนต์คาเบรียล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการให้การศึกษาเซนต์คาเบรียลแนวทางการให้การศึกษาเซนต์คาเบรียล โดยภราดา หลุยส์โบวิโน 2004

  2. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • พินัยกรรมของมงฟอร์ต (27 เมย. 1716)/ ช่วงนั้นมีภราดา 4 คนบริหารโรงเรียนการกุศล • (ที่เร็นน์ มงฟอร์ตเยี่ยมคนยากจนในโรงพยาบาล) • สังคายนาเตร็นโตเน้นการสอนคำสอนเพื่อต่อสู้กับลัทธิคัลวินและลูเธอร์ • มีการให้ความสนใจโรงเรียนการกุศลมาก การให้การศึกษาคือการประกาศพระราชัยของพระเจ้า

  3. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • การศึกษาในหมู่บ้านด้อยคุณภาพ • ห้องเรียนบางทีก็เป็นที่วัด โรงรถ บ้านครู บ้านเช่า • ครูบางทีก็เป็นคนจัดวัด สัปเหร่อ นักขับร้อง สอนเป็นงานอดิเรกเท่านั้น • การศึกษาในเมือง • ครูงกเงิน • เด็กจนถูกปฏิเสธ • การแก้ปัญหา ตั้งโรงเรียนการกุศล • พระสงฆ์ตั้งโรงเรียน ฆราวาสสนับสนุนการเงิน • แต่ขาดครูที่มีคุณภาพ

  4. ผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศลผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศล • ชารล์เดมียา (1637-1689) • ให้การศึกษาแก่เยาวชนลียองส์ที่เตร็ดเตร่ เอาแต่ดื่มและลักขโมย • ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเยาวชนเหล่านี้ ดีกว่าการให้ทานไปวันๆ มีแต่ได้กับได้ • 1) ปวงชนปลอดภัย 2) ใช้จ่ายน้อยกว่า 3) ให้ศักดิ์ศรีแก่คนจน (เยาวชน)

  5. ผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศลผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศล • ให้การศึกษาแต่เนิ่นๆ ทั้งหมด 8 ปี มีความทัดเทียมกันทั้งสองเพศ • ฝึกครูที่มีคุณภาพ • ใช้บ้านเณรฝึกพระสงฆ์และฆราวาส สอนเด็กๆ • ตั้งคณะซิสเตอร์เซนต์ชารล์เพื่อดูแลนักเรียนหญิง • มีคณะบริหารเพื่อจัดการโรงเรียน ดูแลครูและติดตามนักเรียน

  6. ผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศลผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศล • นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน • มีหัวหน้านักเรียนรับผิดชอบนักเรียนอื่น 10 คน • มีพระสงฆ์ดูแลฝ่ายจิต (อนุศาสนจารย์) • มีผู้เยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อเด็กขาดเรียน • มีนายทะเบียน นำเด็กหนีเรียน เด็กกำพร้า เด็กยากจนมาเข้าเรียน • มีครูผู้ช่วยดูแลเรื่องการอ่านเขียน • มีคนกวาดถนน พนักงานธุรการ

  7. ผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศลผู้ริเริ่มโรงเรียนการกุศล • น.ยอห์นแบบติส เดอะลาซาล (1651-1719) • มีการศึกษาสูง ถูกขอให้มาช่วยบริหารโรงเรียนที่เร็มส์ • เห็นความจำเป็นที่ต้องมีครูคุณภาพ เลยฝึกชายหนุ่มขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นภราดาลาซาล ได้ตั้งบ้านเณรเพื่อฝึกครูสำหรับชนบท • ได้บริหารโรงเรียนที่แซงซุลพิส • ได้เขียนหนังสือมากมาย

  8. น.ยอห์นแบบติส เดอะลาซาล (1651-1719) • แนวทางการบริหารโรงเรียนการกุศลของท่าน • นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ • สอนภาษาแม่ (ฝรั่งเศส) เน้นภาษาลาตินน้อย • ให้การศึกษาเพื่อไปทำมาหากินและเพื่อชีวิต • ทุกคนได้สิทธิ์ในการเรียนศิลป์ในการเขียน • มีการฝึกฝนครูแบบบูรณากาล (ทุกด้าน) • การให้การศึกษาเป็นวิธีการหนึ่งที่ดีที่สุดในการประกาศข่าวดี • ภราดาถือชีวิตกลุ่ม การอยู่ประจำที่และความนบนอบ ต้องมีภราดาอย่างน้อย 3 คนต่อโรงเรียน

  9. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • คงเรียนรู้จากยอห์นแบบติส ตอนอยู่แซงซุลพิส • สังฆราชพอยพ์ซึ่งคุ้นเคยกับ ชารล์เดมียา ขอให้มองฟอร์ตมาช่วยบริหารโรงเรียนสำหรับเด็กยากจน • ณ ลาโรแชล (1711-15) ได้มีการตั้งโรงเรียนเพื่อต่อสู้กับพวกโปรแตสตันท์ที่บริหารโรงเรียนเช่นกัน พระสังฆราชชังฟลูเห็นชอบ

  10. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • การจัดห้องเรียนแบบอัฒจรรย์ โต๊ะครูอยู่ตรงกลาง ม้านั่งเซราฟิมสูงหน่อยสำหรับนักเรียนที่เรียนเก่งและได้รับศีลมหาสนิทแล้ว มีม้านั่งอีก 4 ตัวถัดไปตามชื่อเทวดาบนสวรรค์ นักเรียนนั่งตามอายุและความสามารถในการเรียน • ปี 1714 โรงเรียนมีแค่ 3 ชั้น ภราดาหลุยส์ ณ ลาโรแชลเป็นครูคนหนึ่งในจำนวน 3 คน • ปี 1715 เปิดโรงเรียนเพื่อนักเรียนหญิง ซิสเตอร์คณะปัญญาญาณดูแล

  11. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • เป้าหมายของโรงเรียน:ฝึกฝนเยาวชนให้ครบครันโดยการกุศลอย่างเดียว เพื่อพระสิริโรจนาของพระเป็นเจ้า ความรอดของวิญญาณและความครบครันของแต่ละคน การกุศลอย่างเดียว: การขอทางตรงหรือทางอ้อมจากเด็กหรือผู้ปกครองของเด็ก ในรูปเงินหรือสิ่งของ เป็นความผิดใหญ่มหันต์ (มงฟอร์ตได้ทดลองกับคณะซิสเตอร์ว่าจะทำจริงหรือเปล่า แต่ซิสเตอร์ก็ไม่เพลี่ยงพล้ำ)

  12. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • การสอนและการมุ่งถึงความครบครัน • เรียน 5 วัน: 8.00-10.30; 14.00-16.30 ใช้เวลาเรียนอ่านเขียนและเลข 3 ชม. (การเรียน) ใช้เวลา 2 ชม. ในการสวดภาวนา เรียนศาสนา ร่วมมิซซา (ตอนเช้า) และสวดสายประคำ (ตอนเย็น) นี่คือการทำให้ครบครัน

  13. รูปแบบจากโรงเรียนซิสเตอร์ (DW) • วินัยและความเงียบ • เดินเข้าห้องเรียนเป็นคู่ในความเงียบสงบเสงี่ยม (8.00 น.) • จุ่มน้ำเสกแล้วกล่าว “ขอบพระคุณพระเจ้า” เดินไปยังที่ประจำ คุกเข่าประนมมือ • สวดเช้า วอนขอพระจิตเจ้า (ใช้เพลง) • แล้วยืน (ตามสัญญาณแรก) แล้วคำนับพระเยซูเจ้าและพระแม่ (สัญญาณสอง) แล้วนั่งลง (สัญญาณสาม) • ทำสำคัญกางเขน สวดบทแสดงความเชื่อ ความวางใจและความรัก บทแสดงความทุกข์ ถวายวันนั้นให้พระเยซูเจ้า และขออารักขเทวทูตให้ช่วย

  14. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • กรังเด (Grandet):นักเรียนทุกคนใช้บทเรียนเล่มเดียวกัน อ่านบทเดียวกันพร้อมๆกัน เด็กเก่งช่วยแก้เด็กอ่อน • โคลริวิแอร์ (Clorivière):มงฟอร์ตเมื่อว่างจะเยี่ยมโรงเรียนกุศลเหล่านี้ เพื่อฝึกอบรมทั้งครูและนักเรียนตามวิสัยทัศน์ของท่าน ในไม่ช้าชาวบ้าน ผู้พบเห็นก็ชมเด็กๆ แทนที่สาปแช่ง

  15. มงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศลมงฟอร์ตและโรงเรียนการกุศล • ธรรมนูญที่มอบให้แก่คณะสงฆ์มงฟอร์ต • “เป็นการยากที่สุดที่จะพบครูสอนคำสอนที่สมบูรณ์แบบ ยากกว่านักเทศน์ฝีปากเอก” • “ให้นักเรียนท่องจำบทเรียนด้วยคำถามคำตอบที่สั้นชัดเจน ดึงดูดความสนใจของนักเรียนด้วยนิทานสั้นๆ ชมและให้รางวัล ถามหลายๆ คน ปลูกฝังบทเรียนในใจเด็กด้วยคำภาวนาและคำชักจูงที่เร้าใจ”

  16. คพ.คาเบรียลเดแอส์ (1767-1841) • มาจากครอบครัวยากจน เป็นผู้รณรงค์ที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ได้รับบวชเป็นสงฆ์ในเกาะเยอร์ซี ประเทศอังกฤษ • ปี 1821 ช่วยให้ธรรมนูญของคณะซิสเตอร์และสงฆ์ได้รับการอนุมัติ และมงฟอร์ตได้เป็นบุญราศี • 21 ธันวาคม 1841 หกวันก่อนจากไป ได้มอบโครงการสำหรับคนตาบอดต่อหน้าคณะซิสเตอร์ 300 คน • เห็นความจำเป็นที่ต้องมีโรงเรียนเพื่อต่อต้านพิษร้ายของปฏิวัติฝรั่งเศส • ด้วยความช่วยเหลือของคณะลาซาล มีการฝึกครูเพื่อชนบท แต่ไม่ยึดกฎต้องมี 3 คน

  17. โรงเรียนสำหรับคนหูหนวกโรงเรียนสำหรับคนหูหนวก • ท่านได้มอบเด็กหญิง 2-3 คนให้คณะซิสเตอร์เซนต์ยอนห์อื้ดส์ แต่หลังจากนั้นได้ขอให้คุณดือเลร์ (Duler) ฆราวาสหญิงดูแล เธอเป็นคนมีการศึกษาจากปารีส ต่อจากเธอก็มอบงานนี้ให้คณะซิสเตอร์ปัญญาญาณ งานสอนคนหูหนวกนี้ได้รับการเห็นชอบจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 • คุณฮัมฟรี (ฆราวาสชาย) สัตบุรุษวัดโอเร (Auray)เป็นผู้ดูแลเด็กหูหนวกชาย ต่อไปก็มอบหมายให้คณะภราดาปี 1842 • ปี 1828 คาดว่าอาจตายในไม่ช้า ได้มอบหมายให้ภ.ออกันตีนดูแลเด็กหูหนวกใบ้ • ปี 1841 พินัยกรรม: “ข้าพเจ้าขอร้องเป็นพิเศษคำภาวนาเพื่อนักเรียนทุกคนโดยเฉพาะเด็กหูหนวกใบ้”

  18. โรงเรียนสำหรับคนหูหนวกโรงเรียนสำหรับคนหูหนวก • ภราดาค้นคว้าเกี่ยวกับการสอน พิมพ์เผยแพร่ ประเมิน เดินทางทั้งในและนอกประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ • ภราดาเป็นผู้นำในการสอนเด็นหูหนวกทั้งในเนื้อหาและวิธีการสอน • ภ.อเล็กซิส (1850) ได้เขียนตำราการใช้มือและนิ้วในการสื่อสาร • ภ.เอ็นเซล็ม(Anselme 1849) ตำราการสอนฝรั่งเศสแก่เด็กหูหนวกใบ้ • ภ.เบอร์นาร์ด (Bernard 1852-53) เขียนตำราการออกเสียงโดยการใช้เครื่องหมายใกล้ปาก ประสพผลสำเร็จ

  19. โรงเรียนสำหรับคนหูหนวกโรงเรียนสำหรับคนหูหนวก • 14 สค -10 กย 1845 มีการประชุมสภาที่ลูดอง (Ludon)ภ.สิบคนร่วมด้วย ประเมินตำราของภ.เบอร์นาร์ด นำเสนอจิตวิทยาการสอนที่เรียบง่าย และการฝึกครูสอนเด็หูหนวก • สภามิลาน (1880) ภราดา 10 คนร่วมประชุมออกความคิดเห็น • การศึกษาเพื่อคนตาบอดเริ่มที่ลิล (Lille 1843) ทั้งภราดาและซิสเตอร์ถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญ

  20. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • ภ.ซีเมออนมีคำขวัญว่า “สันติและความรัก” เน้าชีวิตกลุ่มแบบครอบครัว นำไปใช้ในหอพัก ให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เน้นวินัย เอาใจใส่ทุกมิติ ครูเสมือนเพื่อนและพ่อ/แม่ ร่วมเล่นเกมส์ บันเทิง กิจกรรม: กีฬา ละคร ดนตรี (คณะเยซูอิตก็จัดเช่นกัน) • ตำราเขียนลายมือโดยภ.ฟรังซัว เรยีส (1845) มีการมอบถวายให้เจ้าชายนโปเลียนที่สามหนึ่งชุด ตำรานี้เป็นที่นิยมมากจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สอง • ภราดาเป็นคนมองไกลทันยุคทันสมัย

  21. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • ภ.ยูยีนมารี (1823-83) เน้นการฝึกภราดาเข็มข้น “ภ.คนใดไม่รู้จักเลือกหนังสือ เลือกอ่าน หรือไม่ตัดใจเพื่อจะได้ทุ่มเทต่อการศึกษาที่เข็มข้นพิเศษ ซึ่งการเรียนการสอนเรียกร้อง ไม่เหมาะสำหรับชีวิตนักบวช” • ไม่มีคำว่าแก่เกินเรียน “บางคนอาจบอกว่าการศึกษาทำให้เสียกระแสเรียก แต่ข้าฯขอบอกว่าอวิชชาที่จงใจ ทายาทของความเกียจคร้านนำไปยังการเสียกระแสเรียกมากกว่านั้นเสียอีก” (น.เยโรมเรียนภาษาฮีบรูเมื่ออายุ 60)

  22. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • มีความพยายามเปิดบ้านในโตรอนโต อัลจีเรีย อาร์เย็นตีนา ไซ่ง่อน • 1900 เปิดบ้านที่กาบอง ภ.กุลเย็นต้องรอถึง 17 ปี • 1901 ประเทศไทย (ภ.มาร์ตินแห่งตูร์ ท่านมีความตั้งใจอยากช่วยเหลือเด็กๆ ที่ถูกทอดทิ้ง) • ธรรมนูญของสงฆ์มงฟอร์ต 1713: “สมาชิกต้องไม่มีสัมภาระหนักเพื่อจะได้คล่องแคล่วเยี่ยงน.เปาโล วินเซนต์แฟเรีย ฟรันซิสเซเวีย ไปยังทุกแห่งที่พระเป็นเจ้าทรงเรียก ไม่ว่าใกล้หรือไกล”

  23. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • การเอาใจใส่คนยากจน • ฝรั่งเศส: มีการช่วยเหลือเดนที่ด้อยในการเรียน • อัฟริกากลาง อินเดีย ไฮติ: ศูนย์สำหรับเด็กข้างถนน • บราซิลมีศูนย์เด็กจากครอบครัวที่แยกกัน อายุ 7-17 เสมอภาคทางเพศ วิชาปรกติเรียนนอกศูนย์ มีการฝึกอาชีพ มีกิจกรรมร่วมกัน พึ่งเงินบริจาค (Providence)และรายได้จากงานที่ผลิต • ในอินเดีย ไฮติและประเทศอื่นๆ ก็มีศูนย์เช่นนี้

  24. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • บ้านเด็กกำพร้า • บ้านเยาวชน (Boys’ Towns)ในมาเลเซียมีหญิงด้วย • งานพัฒนาและสังคมสงเคราะห์ในอินเดีย • บิฮาร์: การพัฒนาหมู่บ้าน ชนเผ่าน้อย (1974) • ไฮเดราบัด: มี PIN (1990) ต่อสู้เพื่อสิทธิของคนชั้นต่ำ • LEAP การศึกษาเพื่อช่วยปลดปล่อยและโครงงาน 1994

  25. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • การเอาใจใส่ผู้พิการหลากประเภท (หูหนวกตาบอด) • คณะภราดาและซิสเตอร์ได้ดูแลคนหูหนวกมานาน ปี 1965 ภราดา 94 อุทิศตนเพื่องานนี้ • โรงเรียนสำหรับคนหูหนวกตาบอด: สเปน (1961) อินเดีย (1962) คองโกบรัซซาวิล (1971) บูตาเร รวันดา (1973) คินชาซา (1989 ศูนย์ฝึกครู) ศูนย์ Kikwit (1991) • เรื่องของซิสเตอร์และภราดา (ดูหน้า 9)

  26. ธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดาธรรมประเพณีการเรียนการสอนของคณะภราดา • ความเชี่ยวชาญของคณะภราดา • ตำราการสอนคนหูหนวกตาบอดได้รับเหรีญทองปี 1900 • ร่วมทำงานกับองค์กรคนตาบอดหูหนวกฝรั่งเศส FISAF • ภ.ฮีแลร์ แต่งตำราภาษาไทย ดรุณศึกษา • ภ.แบร์นาดินชาวเบลเยี่ยม แต่งตำราเพื่อโรงเรียนในประเทศคองโก (RDC) • ภ.มอริสแต่งหนังสือ The Pedagogy of the African Teacher and Our Beautiful Profession • เซเนกัล ภ.แต่งตำราหลักไวยากรณ์และการอ่าน

  27. ฆราวาสร่วมบริหาร • ประเทศฝรั่งเศส • พยายามรู้จักเด็ก • นักเรียนศูนย์การเรียนรู้การสอน • ภราดาเดินเคียงข้างฆราวาสในการบริหาร • ต้อนรับเด็กยากจน • ปลูกฝังความเป็นหนึ่งเดียวและการแบ่งปัน • ส่งเสริมจิตตารมณ์ครอบครัว • สนับสนุนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ • โครงงานอภิบาลด้วยจิตตารมณ์มงฟอร์ต

  28. บทสรุป • เอาใจใส่คนจน พิการหลากประเภท • การศึกษาการกุศล • การฝึกอบรมทั้งครบ • ภราดาและครูที่มีประสิทธิภาพ ก้าวทันโลก • เด็กเป็นศูนย์กลาง • เด็กสอนเด็ก • ร่วมมือกับฆราวาส • ติดต่อกับราชการ ผู้มีอำนาจบารมี • ร่วมมือกับคณะอื่นๆ

  29. คำสอนพระศาสนจักร • สาสน์พระสันตะปาปายอห์นปอลที่สอง: เน้นที่เด็กเพราะขาดการศึกษา เจ็บป่วย ขาดอาหาร ต้องเป็นทหาร แรงงานเด็กทำงานในสถานที่เสี่ยงต่อชีวิต (มหาพรต 2003: ZE04032801) • พระคาร์ดินัล คริสเตียน วิกกาน ตูมิ: อาณานิคมยังมีอยู่ในอัฟริกาเพราะว่าอำนาจต่างชาติไม่ปล่อยให้การศึกษาที่แท้จริงเกิดขึ้น (ZE03112622) • สมณสาสน์ GravissimumEducationis

  30. เทิดเกียรติ์มงฟอร์ต • วันฉลองในปฏิทินสากล (20 กค 1996) • สมณสาสน์ “มารดาพระผู้ไถ่” (Redemptoris Mater) 48: พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เน้นการถวายตนทั้งครบแด่พระเยซูเจ้าโดยทางพระแม่ของมงฟอร์ต • ย.ป. 2 เสด็จเยี่ยมหลุมศพมงฟอร์ต 19 กย 1996 กล่าวสดุดีมงฟอร์ต ย้ำเอกลักษณ์สำคัญของมงฟอร์ต • ฉลองครบรอบ 50 ปีขอบการแต่งตั้งเป็นนักบุญ (21 มิย 1997) • ฉลองครบรอบ 160 ปีของการพบหนังสือการถวายตนทั้งครบแด่พระเยซูเจ้าโดยทางพระแม่ (8 ธค 2003)

More Related