1 / 8

วิหารลักซอร์ ไอยคุปต์แห่งลุ่มน้ำไนล์

วิหารลักซอร์ ไอยคุปต์แห่งลุ่มน้ำไนล์. จัดทำโดย. 1 น . ส . กรรณิการ์ ชินภูเขียว เลขที่ 16 2 น . ส . ณัฐสุดา เขตหนองบัว เลขที่ 22 3 น . ส . รัตนาวดี วงค์ประสงค์ เลขที่ 27 4 น . ส . ศศิธร สินพร เลขที่ 28

lolita
Download Presentation

วิหารลักซอร์ ไอยคุปต์แห่งลุ่มน้ำไนล์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิหารลักซอร์ ไอยคุปต์แห่งลุ่มน้ำไนล์

  2. จัดทำโดย 1 น.ส.กรรณิการ์ ชินภูเขียว เลขที่ 16 2 น.ส. ณัฐสุดา เขตหนองบัว เลขที่ 22 3 น.ส.รัตนาวดี วงค์ประสงค์ เลขที่ 27 4 น.ส.ศศิธร สินพร เลขที่ 28 5 น.ส.อินทิรา เขียวโสภา เลขที่ 36 6 น.ส. ใจแก้ว บุญปัญญา เลขที่ 44 ชั้น ม.5/1 โรงเรียนฝางวิทยายน

  3. วิหารลักซอร์ (luxor temple) วิหารลักซอร์ สร้างโดยฟาโรห์ อเมโนฟิส ที่3 พระองค์ทรงสร้างวิหารแห่งนี้พร้อมกับการบูรณะต่อเติมวิหารคาร์นักไปด้วย หากนับวิหารถึงปัจจุบันจะมีอายุรวม 3,400 ปี วิหารได้รับการปฏิสังขรณ์สานต่อจากฟาโรห์องค์ต่อมาหลายพระองค์ แต่ที่เด่นที่สุดจนวิหารแห่งนี้ดูสมบูรณ์แบบสวยงามนั้นเป็นฝีมือของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่นี่เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองเพื่อการพักผ่อนของเทพอะมอนราและครอบครัวคือเทวีมัตและเทพคอนส์หรือคอนชู 

  4. วิหารแห่งนี้ยังถูกจัดให้เป็นสถานที่เพื่อทำพิธีบูชาเทพเจ้าในช่วงเทศกาลโอเป็ต (Opet Festival ) โดยเฉพาะด้านหน้าวิหารถูกประดับด้วยสฟิงซ์ ( Sphinx ) หน้าคนสองข้างทาง เรียกว่า Court of Nectanebo I ซึ่งก็คือทางเดินที่อยู่ระหว่างเสาโอเบลิสก์ ( Obelisk ) กับ ทางเดินสฟิงซ์นั่นเอง โดยสฟิงซ์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ลำดับที่ 30 โดยฟาโรห์Nectanebo I แต่สร้างถนนตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรใหม่ (New Kingdom) วิหารลักซอร์ตั้งอยู่ทางใต้ของวิหารคาร์นัค โดยแต่เดิมในอดีตนั้นเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อถึงวิหารคาร์นัคด้วยถนนแคบ ๆ ระยะทางห่างจากคาร์นัคราว 2.5-3 กิโลเมตรเส้นสีน้ำเงินเป็นทางเดินสฟิงซ์ที่ผ่านวิหารของเทพคอนซูซึ่งจะไปสิ้นสุดที่สระน้ำด้านหน้าวิหาร แต่ว่าทางเดินสฟิงซ์ที่ใช้ในพิธีโอเป็ตนั้นจะเดินตามเส้นสีแดงที่จากวิหารลักซอร์โดยจะไปหักมุมที่ Temple of Mutและตรงเข้าสู่วิหาร Karnakตามแกนเหนือ-ใต้

  5. เสาโอเบสิสก์ ( Obelisk ) ที่ตั้งโดดเด่น 1 ต้นอยู่ทางด้านหน้าของตัววิหาร ดูเหมือนจะเป็นสัญลักษณ์ควบคู่กับวิหารแห่งนี้ ความหมายของเสานี้คือ ชีวิต ความสว่าง และความรุ่งโรจน์ ปกติแล้วจะนิยมวางเสานี้ไว้เป็นคู่  เสาโอเบลิกส์คาดว่าเดิมมาจากความเชื่อเรื่องการกำเนิดของโลกแบบหนึ่งของอียิปต์ที่ว่าเดิมโลกเต็มไปด้วยความวุ่นวายต่อมาก็มีเนินดินกำเนิดขึ้นจากความวุ่นวายนั้น ชาวอียิปต์เรียกมันว่า "เบนเบน" เสาโอเบลิกส์ปรากฏครั้งแรกในรูปของวิหารสุริยะ

  6. ประตูทางเข้าสู่วิหารมีรูปสลักลอยตัวของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ประทับนั่งทั้งสองข้าง ส่วนด้านชิดกำแพงวิหารด้านหน้าเป็นรูปสลักประทับท่ายืนตั้งอยู่หักล้มไปแล้ว 3 รูป เหลือยืนอยู่เพียงรูปเดียว หน้ากำแพงถูกแกะสลักร่องลึก ด้านซ้ายมือ คือส่วนหัวของรูปฟาโรห์รามเสสที่ 2 วางอยู่กับพื้น กำแพงด้านหน้าสูง 24 เมตรขนาดเล็กกว่าวิหารคาร์นัค ด้านหลังกำแพงเป็นห้อง Great Court ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 มีห้องบูชาเทพอะมอนราและครอบครัวทางด้านขวา บริเวณนี้ถูกประดับด้วยเสาคู่เรียงรายรอบ ทรงมัดดอกบัวหัวเสาเป็นทรงบัวตูม ประตูทางเข้าวิหาร เสาคู่ทรงดอกบัวตูม

  7. เดิมทีบริเวณนี้ถูกทิ้งร้างและมีดินทรายทับถมมานานหลายศตวรรษ ผู้คนไม่ได้ให้ความสำคัญ จึงมีชาวมุสลิมเข้ามาอยู่อาศัยหุงหาอาหารก่อไฟในห้องหับของวิหาร ก่อให้เกิดเขม่าดำบนเพดานของวิหาร ต่อมาได้มีการสร้างมัสยิดทับอยู่ด้านบนด้วยความไม่รู้ว่าข้างล่างคือเขตวิหาร จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1885 จึงได้มีการเคลื่อนย้ายคนออกไป แต่มัสยิดนั้นย้ายไม่ได้จนถึงถึงปัจจุบันนี้

  8. …จบการนำเสนอ… Thank you

More Related