80 likes | 519 Views
พระบรมมหาราชวัง. สมากชิก ในกลุ่ม. นาย ไก รวิชญ์ เรืองพงศ์พันธุ์ เลขที่ 2 ม.4/1 นาย ณัฐ วัตร โสภามาตร เลขที่ 3 ม.4/1 นาย ตรีเทพ หุ ตะเศรณี เลขที่ 4 ม.4/1 นาย วัชระ เนกษ์ สถิต เลขที่ 27 ม.4/1.
E N D
สมากชิกในกลุ่ม • นาย ไกรวิชญ์ เรืองพงศ์พันธุ์ เลขที่ 2 ม.4/1 • นาย ณัฐวัตร โสภามาตร เลขที่ 3 ม.4/1 • นาย ตรีเทพ หุตะเศรณี เลขที่ 4 ม.4/1 • นาย วัชระ เนกษ์สถิต เลขที่ 27 ม.4/1
พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชวังหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา การก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังหลวง สร้างในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของชาวจีน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่คือที่สำเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2325 หลังพระราชพิธียกหลักเมือง 1 วัน และมีการเฉลิมพระราชมนเฑียรในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 แต่ขณะนั้นพระราชมนเฑียรสร้างด้วยเครื่องไม้ และสร้างเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง ใน พ.ศ. 2326 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมนเทียรและเสาระเนียดจากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ และสร้างประตูรายรอบพระบรมมหาราชวัง สร้างพระมหาปราสาท และพระราชมนเทียร ตลอดจนสร้างพระอารามในพระบรมมหาราชวัง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เมื่อสร้างพระราชนิเวศน์มนเฑียรเป็นการถาวรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามแบบแผนราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2328 พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชวังหลวง
พระบรมมหาราชวัง แผนผังของพระบรมมหาราชวัง ได้ยึดถือแบบของพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ สร้างชิดแม่น้ำ หันหน้าไปทางทิศเหนือให้แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ข้างซ้ายของพระบรมมหาราชวัง ให้กำแพงเมืองด้านข้างแม่น้ำเป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก และให้วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระอารามในมหาราชวัง แบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ภายในพระบรมมหาราชวังแบ่งเป็น 3 เขต คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก ตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีถึงประตูพิมานไชยศรี (ไม่นับอาณาเขตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) และบริเวณรอบนอกกำแพงชั้นในของพระบรมมหาราชวัง เขตพระราชฐานชั้นกลาง นับตั้งแต่ประตูพิมานไชยศรีถึงประตูสนามราชกิจ เขตพระราชฐานชั้นใน นับตั้งแต่ประตูสนามราชกิจ ไปจดเต๊งด้านทิศใต้ พระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวังได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขตและบูรณปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติให้เรียกพระราชวังหลวงว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นคือ ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “บรม” สำหรับฝ่ายวังหลวง และ “บวร” สำหรับฝ่ายวังหน้า พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าจึงเรียกว่า “พระบวรราชวัง” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังหลวงก็ยังคงใช้ว่า พระบรมมหาราชวัง มาจนกระทั่งปัจจุบัน
พระบรมมหาราชวังได้ใช้เป็นที่ประทับและศูนย์กลางการปกครองของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์มาตลอด จนถึงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประทับเพียงครั้งคราว ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวังเป็นการถาวรอีก ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับบ้างเป็นครั้งคราว เช่นเวลาซ่อมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หรือเวลามีการพระราชพิธี เป็นต้น พระบรมมหาราชวังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตามพระราชประเพณี, เป็นที่รับแขกเมือง และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งเป็นที่ตั้งพระบรมศพและพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ส่วนบริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอกได้ใช้เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ เช่น สำนักพระราชวัง, สำนักราชเลขาธิการ และราชบัณฑิตยสถาน และเขตพระราชฐานชั้นในก็มิได้เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายฝ่ายในอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นที่ทำการและที่พำนักของข้าราชการสำนักพระราชวัง ฝ่ายพระราชฐานชั้นในบางส่วนซึ่งล้วนเป็นสตรีทั้งสิ้น พระบรมมหาราชวัง
แผนผังในพระบนมหาราชวังแผนผังในพระบนมหาราชวัง 1.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 2.อาคารสำนักพระราชวัง 3.สำนักราชเลขาธิการ 4.ศาลาลูกขุนใน 5.ศาลาสหทัยสมาคม 6.พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 7.ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ 8.พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 9.พระที่นั่งไพศาลทักษิณ 10.พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน 11.พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ 12.พระที่นั่งราชฤดี 13.พระที่นั่งสนามจันทร์ 14.หอศาสตราคม 15.หอพระสุราลัยพิมาน 16.หอพระธาตุมณเฑียร 17.พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 18.พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ 19.พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ 20.พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร 21.พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 22.พระที่นั่งพิมานรัตยา 23.พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท 24.พระที่นั่งราชกรัณยสภา 25.ศาลาเปลื้องเครื่อง 26.เขาไกรลาสจำลอง 27.สวนศิวาลัย 28.พระที่นั่งบรมพิมาน 29.พระที่นั่งมหิศรปราสาท 30.พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท 31.พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ 32.พระพุทธรัตนสถาน 33.พระที่นั่งไชยชุมพล 34.พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทเขตพระราชฐานชั้นใน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87 • http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87 เอกสารอ้างอิง เข้าหาข้อมูลเมื่อ วันที่ 26 สิงหา 2555 เข้าหาข้อมูลเมื่อ วันที่ 26 สิงหา 2555