1 / 33

แผนฯ(ประกอบสื่อ นวัตกรรม)

แผนฯ(ประกอบสื่อ นวัตกรรม).

liza
Download Presentation

แผนฯ(ประกอบสื่อ นวัตกรรม)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนฯ(ประกอบสื่อ นวัตกรรม) ๑. แผน คือเครื่องมือใช้สื่อ นวัตกรรม หนังสือเรียน แผนจึงคือลายแทงพาผู้เรียนเข้าไปสู่ขุมมหาสมบัติ เข้าสู่แหล่งเรียนรู้อย่างสนุก ตื่นเต้น... ๒. แผนประกอบสื่อ นวัตกรรม หนังสือเรียน คือฉลาก ใบกำกับการใช้ลายแทงเพื่อนำผู้เรียนไปสู่ขุมมหาสมบัติ..... ๓. ลักษณะของแผนที่ดี ๓.๑ มีสื่อทันสมัย เร้าใจ เป็นสื่อในท้องถิ่นได้ก็ดี ๓.๒ มีกิจกรรมหลากหลาย ตื่นเต้น เร้าใจ มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา ๓.๓ เน้นการกระทำของผู้เรียนเป็นสำคัญ ๓.๔ เน้นทักษะกระบวนการให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ คำตอบ สร้างองค์ความรู้และสรุปองค์ความด้วยตนเองได้ ๓.๕ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่ยั่งยืน.......

  2. ๔. ประโยชน์ของแผน(ประกอบสื่อ นวัตกรรมหนังสือเรียน) ๑. ทำให้มีการเตรียมพร้อมก่อนสอน/เรียน ๒. ทำให้ครูใช้สื่อ นวัตกรรมอย่างมีทิศทาง ให้คำตอบในการทำสอน/ใช้สื่อได้ ๓. เป็นเครื่องมือ ตัวชี้วัดแสดงความสามารถและผลงานของครู ๕. ขั้นตอนการจัดทำแผน(ประกอบสื่อ นวัตกรรม หนังสือเรียน) ๑. ศึกษาหลักสูตร ๒. กำหนด มฐ./ระบุตัวบ่งชี้ให้ชัดเจน ๓. จัดทำคำอธิบายรายวิชา ๔. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ๕.หาเทคนิค กลวิธีการสอน ๖. จัดทำสื่อประกอบเพิ่มเติม/แบบทดสอบ ๗.กำหนดโครงสร้างสำหรับ ๑ เรื่อง/นวัตกรรม ๘.จัดทำหน่วยการเรียนรู้ ๙.จัดทำกำหนดการจัดการเรียนรู้ ๑๐.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ๑๑.เขียนแผนการจัดการเรียนรู้

  3. หลักการออกแบบแผนฯ(ประกอบหนังสือ/สื่อนวัตกรรม)หลักการออกแบบแผนฯ(ประกอบหนังสือ/สื่อนวัตกรรม) ๑. หลักการนำไปใช้ ให้ถือประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ๒. หลักความสำเร็จ ให้ถือเอาความสำเร็จของการใช้สื่อ โดยคำนึงถึงความสำเร็จของเด็กเป็นสำคัญ... ๓. หลักการจัดการเรียนรู้ที่ถือเอาผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงธรรมชาติของผู้เรียน ๔. ควรใช้เทคนิคที่หลากหลาย ไม่ควรใช้เทคนิคเดียวตลอด ๕. ควรจัดการเรียนรู้ให้สนุก ตื่นเต้น เร้าใจ ๖. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ลงมือกระทำจริง ถือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง/ปลายทางอยู่ที่ผู้เรียน.....

  4. องค์ประกอบของแผนฯ(ประกอบหนังสือ/สื่อ นวัตกรรม) ๑. หัวแผน ประกอบด้วย -แผนฯที่เท่าไร -กลุ่มสาระอะไร -ใช้ประกอบเรื่องอะไร -ใช้เวลาเท่าไร -ใช้สอนวันที่เท่าไร เวลาไหน ๒. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

  5. ๒. ส่วนที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับหลักสูตร(ต่อ) -สาระอะไร -มาตราอะไร -ตัวบ่งชี้อะไร ๓. สาระสำคัญ ๔. จุดประสงค์ ๕. สาระการเรียนรู้(เนื้อหา) ๖. กระบวนการจัดการเรียนรู้(ใช้เทคนิคอะไร) ๗. สื่อ/แหล่งเรียนรู้

  6. ๘. การวัดผลและประเมินผล ๙. กิจกรรมเสนอแนะ -ผู้บริหาร -ผู้สอน ๑๐. บันทึกท้ายแผนฯ -ผู้สอน ๑๑. ภาคผนวก -สื่อ -ใบกิจกรรมเสริม -ใบงาน -แบบทดสอบ -เกม -เพลง -เอกสารอ้างอิง

  7. ตัวอย่างการเขียนคำอธิบายรายวิชาตัวอย่างการเขียนคำอธิบายรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ประกอบแบบฝึกการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ จำนวน ๑๒ ชั่วโมง .............................................. การอ่าน อ่านคำควบกล้ำ กลุ่มคำ ประโยคและเรื่องที่มีคำควบกล้ำได้ถูกต้อง เข้าใจความหมายของคำ กลุ่มคำ ประโยคและที่เป็นคำควบกล้ำ อ่านในใจและอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและร้อยกรองที่มีคำควบกล้ำ มีมารยาทในการอ่านและรักการอ่าน

  8. การเขียน การเขียนคำ กลุ่มคำ และประโยคที่มีคำควบกล้ำ นำคำควบกล้ำไปใช้ประโยคในการเขียนสื่อความในรูปแบบต่าง ๆ เห็นความสำคัญของการเขียนและมีมารยาทในการเขียน หลักภาษา สะกดคำ เขียนคำ กลุ่มคำและประโยคที่มีคำควบกล้ำถูกต้องตามความหมายของคำควบกล้ำและหลักเกณฑ์ของภาษา นำคำ กลุ่มคำควบกล้ำมาแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร วรรณคดี อ่านหนังสือส่งเสริมการอ่านทั้งบทร้อยแก้ว บทร้อยกรองที่มีคำควบกล้ำ ชื่นชมในการอ่านเรื่องที่มีคำควบกล้ำ มีนิสัยรักการอ่าน

  9. คำอธิบายรายวิชา ประกอบเรื่องอ่านเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง นิทานพื้นบ้าน จำนวนเวลา 4 ชั่วโมง .......................................................................................... การอ่าน อ่านในใจนิทานพื้นบ้านอีสานที่กำหนด เข้าใจความหมายของคำว่านิทาน สาระสำคัญของนิทาน ข้อคิดของนิทาน มีมารยาทในการอ่านและรักการอ่าน การเขียน การเขียนสื่อสาร เขียนแสดงความคิดเห็น เขียนตอบคำถาม เห็นความสำคัญของการเขียนและมีมารยาทในการเขียน หลักภาษา การเขียนคำ กลุ่มคำและประโยคเพื่อการสื่อสาร และเขียนแสดงความคิดเห็น

  10. วรรณคดี อ่านหนังสือนิทานพื้นบ้านอีสาน ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองที่มีเนื้อหาตามที่กำหนด ในนิทาน ชื่นชมในการอ่านนิทานพื้นบ้าน มีนิสัยรักการอ่าน

  11. คำชี้แจง ให้ท่านเขียนคำอธิบายรายวิชาเกี่ยวกับการสอนคิด ๑ เรื่อง คำอธิบายรายวิชา ประกอบเรื่อง................. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ .................. เรื่อง ....................... จำนวนเวลา....ชั่วโมง การอ่าน อ่านในใจ................ที่กำหนด เข้าใจความหมายของคำว่า......... สาระสำคัญของ........... ข้อคิดของ........... มีมารยาทในการอ่านและรักการอ่าน การเขียน การเขียน.......... เขียน............ เขียน..........ความสำคัญของการเขียนและมีมารยาท ในการเขียน

  12. หลักภาษา การ......................................................................................................................... วรรณคดี อ่าน...........................................................................................................................

  13. การเขียนสาระสำคัญ สาระสำคัญมีการเขียนได้หลายแนวแต่การเขียนที่สาระสำคัญสมบูรณ์สามารถบ่งบอกถึงเป้าหมายการเรียนรู้ หัวข้อเรื่องและแก่นของเนื้อหาต้องเขียนให้ครบ 3 ส่วนคือ 1. หลักการ คือแก่นของเนื้อหา หรือคำจำกัดความ หรือความหมาย(K) 2. เนื้อหาสาระ กระบวนการ คือชื่อหัวข้อเรื่องที่ใช้เรียน/สอน(P) 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือส่วนที่เป็นเป้าหมาย(A) ตัวอย่างที่ 1นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลานานการศึกษานิทานพื้นบ้านทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เห็นคุณค่าความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน ส่วนที่ขีดเส้นใต้ เป็นหลักการ ส่วนที่เป็นตัวหนา เป็นเนื้อหาสาระหรือเรื่องที่จะเรียน ส่วนที่เป็นตัวเอน เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์

  14. ตัวอย่างที่ 2สระเปลี่ยนรูปลดรูปเป็นสระที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีตัวสะกดการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูปทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน เกิดความรักในการอ่าน การเขียน และมีมารยาทในการอ่านและเขียน ตัวอย่างที่ 3ตัวสะกดไม่ตรงมาตราคือตัวสะกดอื่น ๆ ที่อ่านออกเสียงเหมือนตัวสะกดตรงมาตราการอ่านและเขียนตัวสะกดตรงมาตราทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะการอ่านการเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา เกิดความรัก ภูมิใจในภาษาไทยและมีมารยาทในการอ่าน และเขียน ตัวอย่างที่ 4อักษรนำ คือคำที่อ่านออกเสียงเหมือนมี ห นำ และคำที่มี ห นำโดยตรง การอ่านและเขียนคำที่อักษรนำทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะการอ่านและเขียน มีความรัก พอใจในภาษาไทย และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน

  15. ตัวอย่างที่ 5คำซ้อนเป็นคำที่สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มจำนวนคำในภาษาไทยสำหรับใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องคำซ้อนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสร้างคำซ้อน ตัวอย่างที่ 6พุทธจริยาหมายถึงแนวทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า การศึกษาเรื่องพุทธจริยาทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและประเภทของ พุทธจริยา ตัวอย่างที่ 7ความสำเร็จของการปั้นรูปขึ้นอยู่กับความรู้เกี่ยวกับหลักการปั้นและความพร้อมของ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปั้นการศึกษาเรื่องการปั้นรูปทำให้เกิดความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับหลักการปั้นรูป วัสดุที่ใช้ในการปั้นรูป อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปั้นรูป ตัวอย่างที่ 8การอ่านออกเสียงร้อยแก้วที่ถูกต้องตามหลักการอ่านมีความสำคัญต่อการคุณภาพ ของการอ่านการศึกษาเรื่องการอ่านออกเสียงร้อยแก้วทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการอ่านออกเสียงและสามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วถูกต้องตามหลักการอ่าน

  16. การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (Backward Design) เมื่อครูผู้สอนได้ศึกษาและมีความเข้าใจในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเบื้องต้นแล้วว่า เป้าหมายของชาตินั้นต้องการพัฒนาผู้เรียนอย่างไร และท่านเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้อะไร ต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในธรรมชาติของวิชานั้นๆ โดยทำการศึกษาลักษณะของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด แล้วนำมาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างถูกต้อง โดยทำความเข้าใจว่า มาตรฐานและตัวชี้วัดต้องการให้นักเรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ จึงจะทำให้ท่านสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อพานักเรียนให้ไปถึงเป้าหมายได้

  17. หน่วยการเรียนรู้ เป็นหัวใจของหลักสูตรอิงมาตรฐาน เพราะเป็นขั้นตอนที่ครูนำมาตรฐานสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน นักเรียนจะบรรลุ(ไปถึง) มาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้ ฉะนั้น หน่วยการเรียนรู้ จึงหมายถึง กลุ่มของสาระการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ที่มีลักษณะเดียวกันหรือสัมพันธ์กันนำมารวมกันเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยครูผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกตัวชี้วัดที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งมาตรฐานและตัวชี้วัด สาระ/เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป เพราะถ้าจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือองค์ความรู้จำนวนมากจะเป็นหน่วยที่ใหญ่ซึ่งทำให้ยุ่งยากต่อการจัดกิจกรรมและการประเมินผล แต่ถ้าเล็กเกินไปก็อาจทำให้นักเรียนไม่สามารถสร้างความคิดรวบยอดในการเรียนได้ และการตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ควรให้น่าสนใจ สื่อถึงเนื้อหา/เรื่องราวที่จะเรียนในหน่วยนั้น ๆ

  18. การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ที่ครูควรคำนึงและถามตัวเองให้ได้ เสมอ คือ 1. ทำการวางเป้าหมาย ในการเรียนรู้ของหน่วยเชื่อมโยงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดหรือไม่ 2. ได้กำหนดชิ้นงาน/ภารงาน รวมทั้ง การประเมินชิ้นงาน/ภารงาน ที่สะท้อนว่านักเรียนบรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัดหรือไม่ 3. ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สามารถนำพาให้นักเรียนทุกคนทำชิ้นงาน/ภารงานได้หรือไม่ และนักเรียนจะเกิดคุณภาพได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ดังนั้นการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพุทธศักราช 2551 จึงได้นำแนวคิด Backward Design มาใช้ ซึ่งเป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่นำเป้าหมายสุดท้ายของผู้เรียนมาเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ นั่นก็คือ มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัด แล้วนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐาน/ร่องรอยแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเอง จากแนวคิดของ Wiggins และ McTighe ได้แก้ปัญหาความไม่เชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรกับการประเมินผลของผู้เรียนว่า จะวัดและประเมินผลผู้เรียนอย่างไรจึงจะแสดงถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้ง(Enduring Understanding) ตามที่หลักสูตรกำหนดได้

  19. ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Enduring Understanding) ที่ Wiggins และ McTighe ได้เขียนไว้ว่าเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งแล้วจะสามารถทำในสิ่งต่อไปนี้ได้ มี 6 ด้าน* คือ 1. สามารถอธิบาย (Can explain) สามารถอธิบายเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์โดยใช้ข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการและด้วยเหตุและผล (Why and How) 2. สามารถแปลความ (Can interpret) โดยผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลได้ชัดเจนตรงประเด็น ชี้ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง 3. สามารถประยุกต์ใช้ (Can apply)โดยผู้เรียนสามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากที่เรียนมาได้อย่างมีทักษะ 4. สามารถมีมุมมองที่หลากหลาย (Can perspective) โดยผู้เรียนเป็นผู้ที่มีมุมมองที่มีความน่าเชื่อถือ พิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ความเป็นไปได้ ความแปลกใหม่ ความลึกซึ้งแจ่มชัด 5. สามารถเข้าใจผู้อื่น (Can empathize) โดยผู้เรียนเป็นผู้ที่เข้าใจผู้อื่น สนองตอบและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ที่มีความละเอียดอ่อนรู้สึกถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เกี่ยวข้อง 6. สามารถรู้จักตนเอง (Can self-knowledge) โดยผู้เรียนเป็นผู้เข้าใจแนวคิด ค่านิยม อคติ และจุดอ่อนของตนเอง สามารถปรับตัวและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างชาญฉลาด

  20. ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้ตามแนว Backward Design ขั้นที่ ๑ กำหนดสิ่งที่จะให้ผู้เรียนรู้หรือเป้าหมาย โดยกำหนดสิ่งต่อไปนี้ ๑.๑ กำหนดสาระและมาตรฐาน(สาระและมฐ.ที่เท่าไร เรื่องอะไร ๑.๒ กำหนดตัวชี้วัด(ตัวชี้วัดอะไรข้อที่เท่าไร) ๑.๓ กำหนดเป้าประสงค์/เป้าหมาย(จุดประสงค์) ท่านจะต้องวิเคราะห์หาคำสำคัญให้ได้ว่า หลักสูตร/สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบ ตัวชี้วัดกำหนดไว้ว่าผู้เรียนต้องรู้อะไร ทำอะไรได้ ที่ควรเป็นความเข้าใจคงทนที่ติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน(Enduring understandings) ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และกำหนดความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้นนี้ ท่านต้องพิจารณา พันธกิจ เป้าประสงค์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษา และพิจารณามาตรฐานการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ที่กำลังออกแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย

  21. ในขั้นนี้ มีวิธีการพิจารณาเพื่อการเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรอบความคิด 3 วง เป็นเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการจัดลำดับเนื้อหาสาระที่จะให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้ ดังแผนภูมิ ความรู้ที่จะให้ผู้เรียนคุ้นเคย (Worth being familiar with) ความรู้ที่จะให้ผู้เรียนคุ้นเคย (Worth being familiar with) สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ และต้องทำ (ความรู้ และทักษะที่สำคัญ) (Important to know and do) สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ และต้องทำ (ความรู้ และทักษะที่สำคัญ) (Important to know and do) ความเข้าใจที่คงทน ( “Enduring” understanding) ความเข้าใจที่คงทน (Enduring understanding)

  22. ในการจัดการเรียนรู้ 1 หน่วยการเรียนรู้นั้น ท่านควรจัดลำดับเนื้อหาสาระให้เป็น ลำดับอย่างเหมาะสม โดยอาจใช้กรอบความคิด 3 วงดังแผนภูมิ ในการพิจารณาการเตรียมการจัดการเรียนรู้เพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือวงกลมวงใหญ่แทนความรู้ที่จะให้ผู้เรียนคุ้นเคย เป็นสาระ/เรื่องที่จะให้ผู้เรียน อ่าน ศึกษา ค้นคว้าประกอบ หรือเพิ่มเติมด้วยตนเอง ตลอดการศึกษาหน่วยการเรียนรู้นี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหน่วยฯ ที่เรียนมากขึ้น วงกลมกลางแทนความรู้(ข้อเท็จจริง หรือความคิดรวบยอด หรือหลักการ) และทักษะสำคัญ(ทักษะกระบวนการวิธีการ หรือ ยุทธศาสตร์)ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ระหว่างเรียนในหน่วยฯ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ วงกลมในสุด เป็นความคิดหลักหรือหลักการที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้ ที่ต้องการให้เป็นความเข้าใจที่คงทนฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนเป็นเวลานานและยั่งยืน

  23. หลักการในการพิจารณากำหนดความเข้าใจที่คงทน(Enduring understanding) ของหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน มีเกณฑ์การพิจารณา 4 ข้อ คือ 1.1 เป็นความรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลาย 1.2 เป็นความรู้ที่เป็นหัวใจสำคัญของหน่วยที่เรียนโดยผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ และค้นพบหลักการ แนวคิดที่สำคัญนี้ด้วยตนเองจึงจะเป็นความรู้ที่คงทนและยั่งยืน 1.3 เป็นความรู้ที่อาจไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนหรือค่อนข้างจะเป็นนามธรรม เป็นความรู้ที่ผู้เรียนเข้าใจค่อนข้างยาก และมักจะเข้าใจผิด แต่ความรู้นี้เป็นหลักการแนวคิด/เรื่อง/ที่เป็นหัวใจของหน่วยการเรียนรู้ เช่น ในวิชาฟิสิกส์ กฎของแรง กฎของการเคลื่อนที่ แรงโน้มถ่วงของโลกมีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเข้าใจค่อนข้างยาก ครูผู้สอนต้องนำเรื่องดังกล่าว มาจัดกิจกรรม/ประสบการณ์การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้นที่ถูกต้องและชัดเจน

  24. 1.4 เป็นความรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในการศึกษา ค้นคว้าหาหลักการ/แนวคิด/เรื่อง/กระบวนการสำคัญนั้น และเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน จึงจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ ตั้งใจที่จะทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้ตลอดหน่วยการเรียนรู้ โดยไม่เกิดความเบื่อหน่าย ขั้นที่ 2 กำหนดหลักฐาน/ร่องอยที่แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง ที่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนและยอมรับได้ว่าผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ ในขั้นที่ 1 หลังจากได้เรียนรู้หน่วยฯ ที่กำหนดให้แล้ว คำถามสำหรับครูผู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องหาคำตอบให้ได้สำหรับขั้นตอนนี้ คือ ครูผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามมาตรฐาน หรือตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้? การแสดงออกของผู้เรียนควรมีลักษณะอย่างไร จึงจะยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามที่กำหนดไว้? ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องประเมินผลการเรียนรู้โดยการตรวจสอบการแสดงออกของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ ด้วย โดยมีชิ้นงาน(ผลงาน)และภาระงาน(การแสดงออก)เป็นที่ประจักษ์ด้วย

  25. วิธีการที่หลากหลาย ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ จะต้องสะสมตลอดหน่วยการเรียนรู้ จึงไม่ควรใช้วิธีการประเมินผลการเรียนรู้เพียงครั้งเดียวแล้วตัดสินเป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนใน 1 หน่วยการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ที่ดีเหมาะสมในแต่ละวงของกรอบความคิด 3 วง ดังแผนภูมิควรเป็นดังนี้ ความรู้ที่จะให้ผู้เรียนคุ้นเคย (Worth being familiar with) ประเมินด้วยการทดสอบ(ปรนัยเลือกตอบอัตนัย) สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ และต้องทำ (ความรู้ และทักษะที่สำคัญ) (Important to know and do) การสังเกตพฤติกรรม หรือ การทำโครงงาน หรือ การประเมินตามสภาพจริง ความเข้าใจที่คงทน ( “Enduring” understanding)

  26. จากแผนภูมิการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ตามลักษณะความรู้ ความเข้าใจจะเห็นได้ว่า ถ้าวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจที่คงทน(Enduringunderstanding) ของผู้เรียนวิธี ที่เหมาะสมที่สุดคือ การประเมินตามสภาพจริงส่วนความรู้ควรเป็นการทดสอบประเภทเขียน ตอบ เพื่อจะได้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่สำคัญอย่างแท้จริง การประเมิน เป็นการตัดสินว่าเมื่อผู้เรียนสร้างชิ้นงาน/ภาระงานในลักษณะที่เกิดจากการปฏิบัติกิจกรรมในขณะเรียนรู้ว่าชิ้นงาน/ภาระงานนั้นมีคุณภาพหรือไม่ การประเมินดังกล่าวจึงต้องใช้เกณฑ์ที่กำหนดตามธรรมชาติของงานที่ปฏิบัติจึงเรียกว่า เกณฑ์การประเมิน หรือ ระดับคุณภาพ (rubric) ซึ่งมีลักษณะดังนี้ ๑.มีเกณฑ์ประเมินที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ๒.อธิบายลักษณะชิ้นงานหรือภาระงานที่คาดหวังได้อย่างชัดเจน ๓.มีคำอธิบายคุณภาพชิ้นงานที่ชัดเจนและบ่งบอกคุณภาพงานในแต่ละระดับ

  27. ขั้นที่ 3 ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากที่ครูผู้สอนได้กำหนด “ความเข้าใจที่คงทน” และกำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะสำคัญ และมีความเข้าใจที่คงทนแล้ว ครูผู้สอนควรออกแบบการจัดการเรียนรู้ หรือจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนปฏิบัติ ดังนี้ 1. กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย ตามเป้าหมายที่กำหนด ที่สอดคล้องกับขั้นที่ 2 ที่กำหนดไว้ 2. กำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้(ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด และหลักการต่าง ๆ) และมีทักษะ ตามมาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้ 3. กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด

  28. 4. กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละชุดของกิจกรรมการเรียนรู้ 5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลจากการออกแบบการจัดการเรียนรู้มาจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอน ควรตรวจสอบหน่วยการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด โดยให้เพื่อนครูช่วยตรวจสอบให้ว่าแต่ละส่วนของหน่วยการจัดการเรียนรู้ที่กำหนด มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ จิตพิสัย และมีความเข้าใจที่คงทน(Enduring understanding) ตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดหรือไม่ ก่อนที่จะนำไปจัดการเรียนรู้จริงกับผู้เรียน

  29. การออกแบบเพื่อจัดทำแผนฯตามแนว Backward Design 1. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้/จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อผู้เรียน และสังคมและเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษาของผู้เรียน 2. กำหนดความเข้าใจที่คงทน(Enduring understanding) ของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นความรู้ความเข้าใจติดตัวผู้เรียนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นเวลานาน การเขียนความเข้าใจที่คงทนมีแนวการเขียน 2 ลักษณะ ได้แก่ 2.1 เขียนแบบความเรียง โดยอาจจะเขียนลักษณะดังต่อไปนี้ 2.1.1 เขียนลักษณะ “สรุปเป็นความคิดรวบยอด” เช่น ความพอเพียง ช่วยให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข 2.1.2 เขียนลักษณะ “กระบวนการ” เช่น การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างกว้างขวางหลายมิติ กำหนดทางเลือกในการแก้สาเหตุของปัญหาอย่างหลากหลาย เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  30. 2.1.3 เขียนลักษณะ “ความสัมพันธ์” เช่น วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีผลกระทบต่อ ระบบนิเวศในสายน้ำ 2.1.4 เขียนลักษณะ “สรุปเป็นหลักเกณฑ์ หลักการ” เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงของพืช 2.2 เขียนแบบคำถาม โดยเขียนลักษณะ “คำถามรวบยอด” เช่น แม่น้ำ ลำคลอง มีอิทธิพลต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร? 3. กำหนดความคิดรวบยอดย่อย(Concepts)ที่สำคัญที่จะให้ผู้เรียนได้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด ซึ่งแต่ละ Concept ที่กำหนดต้องสรรหาอย่างเหมาะสม จัดให้มีความเชื่อมโยง สอดคล้องกัน และส่งเสริมกันอย่างกลมกลืน อันส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหน่วยฯ ที่กำหนด

  31. 4. กำหนดความรู้ และทักษะเฉพาะวิชาที่เป็นความรู้(K) ทักษะ(P)เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept(จะมากน้อยเท่าไรจึงจะเพียงพอที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถสำหรับแต่ละ Concept แล้วแต่ผู้สอนจะพิจารณา) ซึ่งเมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนาทุก Concept แล้ว จะทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด 5. ตราจสอบความสอดคล้องของความรู้(K) และทักษะ(P)เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept กับ มาตรฐานการเรียนรู้(12 ปี)ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2554 และนำเฉพาะ Key word ในมาตรฐาน ที่สอดคล้องกับความรู้ และทักษะเฉพาะวิชา มาเขียนสำหรับแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ 6. กำหนดทักษะคร่อมวิชาที่ต้องใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เช่น กระบวนการกลุ่ม การวิเคราะห์ การเขียนรายงาน ฯลฯ ที่เป็นทักษะที่สามารถใช้ได้หลายวิชา หรือเป็นการยืมทักษะของวิชาอื่นมาใช้ เช่น การเขียน(ของวิชาภาษาไทย) การวิเคราะห์การรายงาน ฯลฯ

  32. 7. กำหนดจิตพิสัย(Disposition standards) ของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 8. กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด และอาจจะตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษา หรือไม่ก็ได้ แต่เป็นคุณลักษณะพึงประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน 9. กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามความเข้าใจที่คงทน จิตพิสัย(A) และทักษะคร่อมวิชาความรู้(K) และทักษะ(P) เฉพาะวิชาที่กำหนด โดยการออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมในแต่ละรายการที่กำหนด 10. จัดลำดับหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน (การประเมิน)ให้เป็นลำดับที่เหมาะสม เพื่อนำไปออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมการประเมินที่สามารถจัดรวมกันได้ ควรจัดไว้ด้วยกัน ในแต่ละลำดับ

  33. 11. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยนำการประเมินที่จัดลำดับไว้ มากำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงของแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม 12. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยนำการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ออกแบบไว้ในข้อ 11 มาจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเขียนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามความรู้ และทักษะเฉพาะที่กำหนดสำหรับความคิดรวบยอดย่อย(Concept)แต่ละ Concept 13. ตรวจสอบความเหมาะสมของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ(ครูสอนสาขาเดียวกัน) ตั้งแต่เริ่มกำหนดหน่วย จนถึงจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 14. นำผลการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

More Related