1 / 132

กลุ่มงานที่ปรึกษา กองคดีปกครองและคดีแพ่ง สำนักกฎหมายและคดี

กลุ่มงานที่ปรึกษา กองคดีปกครองและคดีแพ่ง สำนักกฎหมายและคดี. สวัสดีท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน 1. พ.ต.ท.เอก ขันติชนะบวรรอง ผกก.กลุ่มงานที่ปรึกษา คพ. 2. พ.ต.ต.หญิง มุทิตา สถานนท์ สว.กลุ่มงานที่ปรึกษา คพ. สำนักกฎหมายและคดี. ฝ่ายอำนวยการ. กองกฎหมาย. สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน. กองคดีอาญา.

Download Presentation

กลุ่มงานที่ปรึกษา กองคดีปกครองและคดีแพ่ง สำนักกฎหมายและคดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มงานที่ปรึกษา กองคดีปกครองและคดีแพ่ง สำนักกฎหมายและคดี

  2. สวัสดีท่านผู้มีเกียรติทุกท่านสวัสดีท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน 1. พ.ต.ท.เอก ขันติชนะบวรรอง ผกก.กลุ่มงานที่ปรึกษา คพ. 2. พ.ต.ต.หญิง มุทิตา สถานนท์ สว.กลุ่มงานที่ปรึกษา คพ.

  3. สำนักกฎหมายและคดี ฝ่ายอำนวยการ กองกฎหมาย สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน กองคดีอาญา กองคดีปกครองและคดีแพ่ง ส่วนตรวจสอบสำนวนคดีอุทธรณ์และฎีกา

  4. กองคดีปกครองและคดีแพ่งกองคดีปกครองและคดีแพ่ง ฝ่ายอำนวยการ กลุ่มงานคดีแพ่ง กลุ่มงานคดีปกครอง กลุ่มงานที่ปรึกษา

  5. ภาพรวมของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บททั่วไป : ขอบเขตการบังคับใช้ / หลักและข้อยกเว้น หมวด 1 คณะกรรมการวิปฏิบัติ หมวด 2 คำสั่งทางปกครอง ส่วนที่1 เจ้าหน้าที่ ส่วนที่2 คู่กรณี ส่วนที่3 การพิจารณา ส่วนที่4 รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง ส่วนที่5 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ส่วนที่6 การเพิกถอน คำสั่งทางปกครอง ส่วนที่7 การขอให้พิจารณาใหม่ ส่วนที่8 การบังคับทางปกครอง หมวด 3 ระยะเวลาและอายุความ หมวด 4 การแจ้ง หมวด 5 คณะกรรมการ บทเฉพาะกาล 11/9/2014 ส.วว./an 6

  6. ภาพรวม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ลักษณะคดีปกครอง ลักษณะสำคัญของวิธีพิจารณาคดีปกครอง องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีในศาลปกครอง การยื่นคำฟ้อง การจ่ายสำนวนคดี การตรวจคำฟ้อง การแสวงหาข้อเท็จจริง การสรุปสำนวน การจัดทำคำแถลงการณ์ การนั่งพิจารณาคดีและการแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดี การทำคำพิพากษาหรือคำสั่ง การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา 7

  7. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

  8. ภาพรวมของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ม. ๔ ความหมาย (เจ้าหน้าที่ และ หน่วยงานของรัฐ) ม. ๕ การกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ม. ๖ การกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกที่ไม่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ม. ๗ หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ มีสิทธิขอให้ศาลเรียกอีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาในคดีได้ ม. ๘ สิทธิไล่เบี้ยของหน่วยงาน (จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง) ม. ๙ อายุความใช้สิทธิไล่เบี้ย ม. ๑๐ การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ม. ๑๑ ผู้เสียหายเรียกให้หน่วยงานพิจารณาชดใช้ค่าเสียหาย ม. ๑๒ หน่วยงานออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมฯ ม. ๑๓ ให้ ครม.มีอำนาจออกระเบียบให้เจ้าหน้าที่รับผิด ผ่อนชำระ ม. ๑๔จัดตั้ง “ศาลปกครอง” สิทธิร้องทุกข์ ครท. (ม. 11)ให้ถือเป็นสิทธิฟ้องคดี

  9. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบ ของข้าราชการในทางแพ่ง พ.ศ.2503

  10. เหตุผลในการตรา พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ • การนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่นั้นเป็นการไม่เหมาะสม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินกิจการของหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเอง ทั้งหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังมีผลให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด ต่อบุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่ได้เต็มจำนวน ทั้งที่ในบางกรณีการละเมิดเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย • การนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่ง มาใช้บังคับ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อื่นด้วย ซึ่งมุ่งแต่จะได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อเจ้าหน้าที่แต่ละคนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ด้วยเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ จนบางครั้งเป็นปัญหาเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการในหน้าที่ราชการของตน

  11. หลักความรับผิดทางละเมิดตาม ป.พ.พ. 1. เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งความเสียหายจากมูลละเมิดที่เกิดขึ้นเสมอไม่ว่าละเมิดนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หรือมีลักษณะของการกระทำละเมิดมีความร้ายแรงหรือไม่ 2. เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ไม่ว่าการละเมิดนั้นจะเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หรือในทางการที่จ้างหรือไม่ก็ตาม เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในผลแห่งละเมิด

  12. หลักความรับผิดทางละเมิดตาม ป.พ.พ. 3. ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องให้เจ้าหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรง และฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ร่วมรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนกับเจ้าหน้าที่ได้ 4. หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายแล้ว หน่วยงานของรัฐก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้ เต็มจำนวน เจ้าหน้าที่ไม่อาจยกข้ออ้างว่าหน่วยงานมีส่วนบกพร่องด้วยและนำมาหักออกจากความรับผิดของตนได้

  13. หลักความรับผิดทางละเมิดตาม ป.พ.พ. 5. เจ้าหน้าที่หลายคนร่วมกันทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สรุป เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในผลแห่งละเมิด ทุกกรณี

  14. หลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่หลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ • เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงเท่านั้น • แบ่งแยกความรับผิดของเจ้าหน้าที่แต่ละคนโดย ไม่นำ หลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ

  15. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.358-360/2549 เจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดมีความมุ่งหมายที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ต้องการให้นำ หลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาบังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่น ซึ่งมุ่งหมายแต่เพียงจะได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อเจ้าหน้าที่แต่ละคน อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และบั่นทอนขวัญและกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่จนกลายเป็นปัญหาในการบริหารงานราชการ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นกฎหมายที่มุ่งจะไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลละเมิดที่มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อตามกฎหมายเก่า หากแต่จะต้องรับผิดต่อเมื่อได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการที่จะให้รัฐเข้าไปรับผลที่เกิดขึ้นแทนเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด

  16. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2539) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์ การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

  17. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มี 15 มาตรา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มี 38 ข้อ

  18. 7 มาตรา 2 “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2539)” 1.หากเหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กฎหมายในส่วนที่ เป็นสารบัญญัติ เช่น ความรับผิดในทางละเมิด สิทธิไล่เบี้ย ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องละเมิดซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ ขณะกระทำความผิด2. หากเหตุละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.2539 เป็นต้นไป กฎหมายในส่วนที่เป็น สบัญญัติ เช่น ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง การพิจารณาของผู้มีอำนาจ สั่งการ การรายงานกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ การแจ้งผลการพิจารณา ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และระเบียบ นรฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เพราะหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามระเบียบเดิมถูกยกเลิกไปแล้วความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 680/2540 ,90/2541, 488/2545

  19. เหตุเกิดก่อน (สารบัญญัติ) บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -อายุความ เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 กฤษฎีกาเรื่อง 90/2541 ,735/2541,639/2543,276/2544 - รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมขอแบ่งส่วนไม่ได้ กฤษฎีกาเรื่อง 90/2541,845/2542 - รับผิดเสมอโดยไม่ต้องพิจารณาว่ากระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่กฤษฎีกาเรื่อง 811/2553

  20. เหตุเกิดก่อน (สบัญญัติ) บังคับตามความรับผิดทางละเมิด - การขอผ่อนชำระได้ กฤษฎีกาเรื่อง 845/2542 - ออกคำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกฤษฎีกาเรื่อง 844/2544

  21. มาตรา 4 “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะใด - ลูกจ้าง ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติงานประจำ และต่อเนื่อง มีการกำหนดอัตราเงินเดือน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การลงโทษทางวินัย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎหมาย กฎ ระเบียบ เป็นเจ้าหน้าที่ - ลูกจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นครั้งคราวเฉพาะงานไม่ว่าจะมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม ความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าวกับหน่วยงานของรัฐที่ว่าจ้าง ต้องบังคับตามกฎหมายแพ่ง

  22. มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย ในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง

  23. เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ - ฟ้องหน่วยงานของรัฐ - ฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ แต่ศาลอาจรับฟ้องแล้วยกฟ้องทีหลัง - ฟ้องผิดฟ้องใหม่ได้ภายใน 6 เดือน

  24. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2550 มาตรา5 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปฏิบัติงานในหน้าที่แล้วเกิด ความเสียหายแก่เอกชนให้ไม่ต้อง ถูกดำเนินคดีในชั้นศาล

  25. เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทั่วไปในลักษณะที่เป็นการกระทำทางกายภาพ หรือเป็นการกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

  26. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546 จำเลยเป็นครูพลศึกษาได้สั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม 3 รอบ ถือว่าเป็นการอบอุ่นร่างกายและเหมาะสม เมื่อนักเรียนวิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย จำเลยสั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ ถือว่าเป็นการลงโทษที่เหมาะสมแล้ว แต่เมื่อนักเรียนยังวิ่งไม่เรียบร้อยอีก จำเลยก็ควรหาวิธีลงโทษอื่น การสั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ นักเรียนก็ยังทำไม่เรียบร้อยอีก จำเลยก็สั่งให้วิ่งอีก 3 รอบ ซึ่งในช่วงเที่ยงวันมีแสงแดดร้อนแรง นับว่าเป็นการลงโทษที่ไม่เหมาะสมเพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 11-12 ปี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมิชอบและประมาทเลินเล่อการให้วิ่งตามจำนวนรอบที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เมื่อเป็นเวลานานย่อมเป็นอันตรายต่อหัวใจที่ไม่ปกติจนทำให้เด็กชายแดงซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วล้มลงในการวิ่งรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะระบบหัวใจล้มเหลว จึงเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าเด็กชายแดงเป็นโรคหัวใจก็ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชายแดงถึงแก่ความตาย • รร.รัฐบาล ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ + ถ้า รร.เอกชน ฟ้องนายจ้าง+ลูกจ้าง

  27. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2547 อาจารย์สอนวิชาสุขศึกษาสั่งลงโทษนักเรียน ให้ทำสก๊อตจัมพ์ ๑๐๐ ครั้ง ทั้งที่ทราบว่าป่วยเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาเหนื่อยง่าย ไม่สนใจดูแล อย่างใกล้ชิด ทั้งเมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้วก็ยังออกจากห้องเรียนไปโดยไม่สนใจ เป็นการลงโทษเกินกว่าเหตุ เมื่อนักเรียนหายใจไม่ออกและถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย รร.รัฐบาล ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ + ถ้า รร.เอกชน ฟ้องนายจ้าง+ลูกจ้าง

  28. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2550 10 วันเกิดเหตุฝนตกไม่มากและลมพัดไม่แรง การที่ต้นจามจุรีริมทางหลวงล้มทับผู้ตายขณะขับรถจักรยานยนต์ไปตามทางหลวงจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิใช่ เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความบกพร่องของ กรมทางหลวงจำเลยที่ไม่โค่นหรือปล่อยปละละเลยไม่สั่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไปโค่นต้นจามจุรีที่มีสภาพผุกลวงเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อันเป็นการกระทำละเมิดของกรมทางหลวงจำเลย กรมทางหลวงจำเลย จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

  29. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.140/2549 10 ผู้ฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนลงชื่อ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ซื้อและเป็นผู้จำนองห้องชุดพิพาท ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีมิได้เป็นผู้ซื้อและเป็นผู้จำนองห้องชุดดังกล่าว แม้จะฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้ง แต่การที่ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของคู่กรณีที่มาขอจดทะเบียนโดยละเอียดรอบคอบแต่กลับไม่ตรวจสอบบัตรประจำตัวข้าราชการต้นฉบับของ ผู้ฟ้องคดี ถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ดังนั้น กรมที่ดิน ในฐานะหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีในผลแห่งละเมิด

  30. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.70/2552 การขุดลอกขยายความกว้างของลำห้วยพะเนียง พร้อมทั้งก่อสร้างคันดินเป็นถนนเลียบตลอดแนวสองฝั่งลำห้วย ได้มีการลุกล้ำเข้ามาในที่ดินของ ผู้ฟ้องคดี โดยกรมชลไม่ได้มีการเวนคืนที่ดินหรือมีข้อตกลงซื้อขายที่ดิน จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อ ผู้ฟ้องคดี กรมชลประทานหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่

  31. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.292/2552 การตรวจค้น จับกุมและขังผู้ฟ้องคดี เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่กำหนดอำนาจไว้เป็นการเฉพาะ การที่ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับความเสียหายจาก การดำเนินการดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีต้อง ฟ้องหน่วยงานของรัฐ จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

  32. ป.พ.พ.มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ป.พ.พ.มาตรา 427 ตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนได้กระทำไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายนั้น - ตัวแทนโดยชัดแจ้ง แต่งตั้งมอบหมายให้ไปทำกิจการใดกิจการหนึ่ง - ตัวแทนโดยปริยาย ไม่มีการมอบหมาย แต่รู้ ๆ กันอยู่ ทำกันมาแล้วก็ไม่ว่าอะไร - ตัวแทนเชิด ไม่มีการแต่งตั้ง ไม่มีการมอบหมาย แต่มีบุคคลแสดงออกว่าเป็นตัวแทน ของตัวการ แต่ตัวการไม่เคยว่ากล่าวห้ามปราม - ตัวแทนที่ให้สัตยาบัน ตัวการมาให้สัตยาบันภายหลัง

  33. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2544 รถแท็กซี่คันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 2 และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยที่ 2 ปรากฏอยู่ข้างรถ  การที่จำเลยที่ 1 นำรถคันดังกล่าวออกมาขับรับผู้โดยสาร ย่อมเป็นการแสดงออกต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตว่า  จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2เจ้าของรถในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427,821

  34. พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 8“ข้อตกลง ประกาศ หรือคำแจ้งความที่ทำไว้ล่วงหน้า เพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาใน ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยของผู้อื่น อันเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลงผู้ประกาศ ผู้แจ้งความหรือของบุคคลอื่นซึ่งตกลงผู้ประกาศหรือ ผู้แจ้งความ ต้องรับผิดด้วย จะนำมาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้

  35. มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่ การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

  36. - กระทำการนั้นไปในการดำเนินชีวิตส่วนตัวโดยแท้- กระทำการนั้นไปในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่แต่ การกระทำนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่

  37. การกระทำละเมิดที่มิใช่จากการปฏิบัติหน้าที่การกระทำละเมิดที่มิใช่จากการปฏิบัติหน้าที่ คือการกระทำละเมิดที่มีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดแต่อย่างใด หรือกระทำการนั้นไปในระหว่างปฏิบัติหน้าที่แต่การกระทำนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่

  38. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.139/2545 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้แสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยการ รับเงินจากผู้ฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือในการบรรจุเข้า รับราชการ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้สัญญาไว้ ทั้งไม่คืนเงินที่รับไปให้แก่ผู้ฟ้องคดีการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยส่วนตัว มิใช่การกระทำอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น จึงไม่มีลักษณะเป็นคดีปกครอง

  39. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.186/2546 ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนได้ยืนฟ้อง นาง ก. (เจ้าหน้าที่) และการสื่อสาร ให้ชดใช้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เจ้าหน้าที่สื่อสารได้กู้ยืมเงินไปแต่ผิดนัดชำระหนี้ มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากสัญญากู้ยืมเงินระหว่างเอกชนกับเอกชน จึงเป็นกรณีพิพาททางแพ่ง ไม่ใช่การกระทำทางปกครองหรือการดำเนินการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัด

  40. มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้น เรียกเจ้าหน้าที่เข้ามาเป็นคู่ความในคดีหรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอให้ศาล ที่พิจารณาคดีนั้นเรียกหน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

  41. วรรคสองถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึง 6 เดือนนับแต่วันที่ คำพิพากษานั้นถึงที่สุด

  42. มาตรา 8 “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความ จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใด ให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากความรับผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น”

  43. จงใจ มีความหมายอย่างไรจงใจทางละเมิดแตกต่างกับเจตนาทางอาญา

  44. จงใจ แตกต่าง เจตนา “เจตนา” ตาม ป.อาญา ม.59 บัญญัติว่า “กระทำโดยเจตนา” ได้แก่การกระทำโดยรู้สำนึก ในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

  45. การกระทำที่เป็นละเมิดการกระทำที่เป็นละเมิด ป.พ.พ. มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายจนถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

  46. ในกรณีที่กระทำโดยสุจริต แต่เข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำโดยจงใจ จงใจทำให้เสียหาย เป็นการกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน ถ้ารู้ว่าการกระทำนั้น จะเกิดผลเสียหายแก่เขาแล้ว ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ ส่วนจะเสียหายมากหรือน้อยเพียงใดไม่สำคัญ

  47. จงใจ มีนักนิติศาสตร์ ได้อธิบายความหมายไว้กระทำด้วยความจงใจ หมายความถึง การกระทำโดยประสงค์ต่อผลคือ ความเสียหาย ถ้าไม่ประสงค์ต่อผลคือความเสียหายเช่นนั้นแล้ว แม้จะเล็งเห็นผลก็ไม่ใช่ จงใจกระทำอาจเป็นเพียงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอีกส่วนหนึ่งกระทำโดยจงใจ หมายความถึง กระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิด จากการกระทำของตน ถ้ารู้ว่าการกระทำนั้นจะเกิดจากความเสียหายแก่เขาแล้วก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ ส่วนผลเสียหายจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดไม่สำคัญ จงใจ หมายถึง การกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน และแม้ว่าผลเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยไปกว่าความคาดคิด ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ การกระทำโดยสุจริตแต่ใจผิดในข้อเท็จจริง แสดงว่าเป็นการกระทำโดยไม่รู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำให้เสียหายโดยจงใจ

  48. สำหรับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่นั้นเดิมใช้ หลักเกณฑ์เดียวกับการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ได้เต็มจำนวนของความเสียหายต่อมา มีการตราพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ไล่เบี้ยเฉพาะเจ้าหน้าที่กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง---------------------------------------------------------------------- เนื่องจากระบบกฎหมายไม่มีการนิยามความหมายของคำว่าประมาทเลินเล่อ และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไว้ จึงต้องศึกษาการอธิบายของนักนิติศาสตร์

More Related