1 / 39

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา โภชนาการ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา โภชนาการ. ส้มตีนวัว. จัดทำโดย. นางสาว ทิวาพร ยะ ไวย์ นายวีรชน บาดตาสาว นาย จักกฤษ อาศัย สงฆ์ นายศรัญญู นุรา นาย ศุภกร ขวัญ มา นายกิตติ พัฒน์ ศรีหนองห้าง นาย ความหวัง ไชย ผง นาย ณัฐ วุฒิ เร เรือง นาย วรวุธ ทอง ใบ นายอิทธินพ เสนสอน

liona
Download Presentation

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา โภชนาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขา โภชนาการ ส้มตีนวัว

  2. จัดทำโดย นางสาวทิวาพร ยะไวย์ นายวีรชน บาดตาสาว นายจักกฤษ อาศัยสงฆ์นายศรัญญู นุรา นายศุภกร ขวัญมา นายกิตติพัฒน์ ศรีหนองห้าง นายความหวัง ไชยผง นายณัฐวุฒิ เรเรือง นายวรวุธ ทองใบ นายอิทธินพ เสนสอน สาขาการศึกษาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

  3. เสนอ อาจารย์ภาวดี พันธรักษ์ อาจารย์สุวิมล คำน้อย

  4. บุคคลที่ให้ข้อมูล นางพิมพรกั้วพิจิตร (ยายน้อย) อายุ 54 ปี ที่อยู่ 66 หมู่ 2 บ.โพนสนุก ต.สีชมพู อ.นาแก จ.นครพนม ญาติพี่น้องทั้งหมด 6 คน ยายเป็นบุตรคนที่ 1 มีบุตร 3 คนคุณยายพักอาศัยกับบุตรคนโต เป็นคนจังหวัดนครพนมโดยแต่กำเนิด

  5. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2496 ได้มีราษฎรอพยพจากบ้านพิมานและบ้านเหล่าทุ่งหมู่ที่ 6 ต. พิมานจำนวน 11 ครัวเรือนได้อพยพมาทำนาโดยอาศัยที่โนนกกกอกซึ่งติดกับแหล่งนํ้าขนาดใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของบ้านสีชมพู โนนกกกอกนี้เป็นจุดนัดพบพ่อค้าวัวควาย และผู้ผ่านเดินทางไปมาทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างสนุกสนาน ต่อมาได้มีผู้อพยพติดตามมาเรื่อย ๆ จนเป็นชุมชนใหญ่และตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2518 เมื่อ พ.ศ. 2536 ได้แยกการปกครองออกเป็นตำบล สีชมพู จึงเปลี่ยนหมู่บ้านเป็นบ้านโพนสนุกหมู่ที่ 2 ปัจจุบันมี นายชาติ หึกขุนทด เป็นผู้ใหญ่บ้าน

  6. พื้นที่ ที่ตั้งและการคมนาคม บ้านโพนสนุก หมู่ที่ 2 ตำบลสีชมพู อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,320 ไร่ และมีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ 1 บ้านพิมานตำบล พิมาน ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ 1 บ้านสีชมพูตำบล สีชมพู ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าทุ่งตำบล สีชมพู ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 5 บ้านแสงสว่างตำบล พิมาน

  7. ภายในหมู่บ้านมีถนนลาดยาง จำนวน 1 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 6 สาย และถนนลูกรัง จำนวน1 สาย หมู่บ้านอยู่ห่างจากตัวอำเภอ 7 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 81 กิโลเมตร ใช้ เวลาเดินทางจากหมู่บ้านถึงตัวอำเภอ 20 นาที และใช้เวลาเดินทางถึงตัวจังหวัด 1.30 ชั่วโมง การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้านตำบล อำเภอและจังหวัดมีความสะดวกตลอดปี

  8. ลักษณะภูมิประเทศ หมู่บ้านนี้มีพื้นที่เป็นที่ราบเหมาะแก่การทำการเกษตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,320 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ อยู่อาศัย 46 ไร่ พื้นที่การเกษตร 1,229 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 45 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 คุ้ม อาชีพหลัก ทำนา อาชีพรอง รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ภาษาที่ใช้คือ ภาษาภูไท และลาวอีสาน

  9. เหตุผลที่ทำส้มตีนวัว เพื่อการทำมาหากิน และทำเป็นอาชีพเสริมจากอาชีพหลักคือการทำนา ที่มาของภูมิปัญญาจากปู่ย่า ตายาย สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ลักษณะเด่น วัตถุดิบเป็นเท้าวัวล้วน ๆ ไม่นำหนังส่วนอื่นหรือส่วนใดมาผสม ประเภทสินค้า เป็นสินค้าOTOPแต่ไม่สามารถขึ้นดาวได้เนื่องจากเป็นจ้าวแรกและจ้าวเดียวที่ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าOTOPทำให้ไม่มีสินค้าประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบ เป็นสินค้าจดทะเบียนรายเดียว

  10. กลุ่มลูกค้ากลุ่มลูกค้าทั่วไปกลุ่มลูกค้ากลุ่มลูกค้าทั่วไป สถานที่จำหน่าย ฝากขายตามร้านค้าข้างทาง จำหน่ายตามงานแสดงสินค้าOTOP หรืองานเทศกาล ราคาขาย กิโลกริมละ 100 บาท ถ้าขายเป็นถุงจะราคาขายถุงละ 50 บาท ที่มาของเท้าวัว โรงฆ่าสัตว์ ที่เรณูนคร ตามเขียงเนื้อทั่วไป (เป็นวัตถุดิบที่หายาก)

  11. วัตถุดิบ เครื่องปรุง

  12. กระเทียม ปกติราคากิโลกรัมละ 35 บาท แต่ช่วงราคาที่แพงจะกิโลกรัมละ 80-120 บาท

  13. เกลือ

  14. เท้าวัว

  15. ผงชูรส

  16. น้ำข้าว

  17. วัสดุอุปกรณ์

  18. มีด ใบมีดโกน

  19. เขียง

  20. ที่คีบเนื้อ

  21. เตาแก๊ส ถ่าน เตาถ่าน

  22. ถุงมือยาง ถุงมือผ้า

  23. เครื่องปั่น

  24. หม้อต้มน้ำ

  25. พัดลม

  26. ตู้แชร์เนื้อ

  27. วิธีการทำ 1)นำเท้าวัวที่ซื้อมาจากโรงฆ่าสัตว์ หรือที่ต่าง ๆ นำมาแช่น้ำประมาณ 20-30 น.เพื่อละลายน้ำแข็ง นำมาแช่น้ำอุ่นไม่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไปเพื่อให้สามารถขูดขนออกได้ง่าย

  28. 2) ลอกกลีบเท้า และอุ้งเท้า เพื่อให้เล็บหลุดออกโดยใช้ลิ่มแทงที่รอบขอบเล็บ (กลีบเท้าขายกิโลกรัมละ 2บาทเพื่อทำเป็นของตกแต่ง และสายม้วนเทป)

  29. 3) นำมาเผา พอประมาณ เพื่อให้ขนที่เล็กหลุดออกทั้งหมดจนเท้ามีลักษณะไหม้เกรียม

  30. 4) นำเท้าวัวที่เผามาแช่น้ำประมาณ 10-20 น. เพื่อให้ขูดง่าย จนมีลักษณะขาวเหมือนก่อนเผาอีกรอบ

  31. 5)นำเท้าไปต้มมีระยะเวลา 2-4 ชั่วโมง ตามแต่อายุของวัว 6)มาเลาะกระดูกแล้วหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กๆ (กระดูกสามารถนำไปขายไดในราคา กิโลกรัม ละ 1 บาท เพื่อนำไปทำปุ๋ยและอาหารสัตว์) 7)นำเนื้อที่หั่นแล้วไปต้มเพื่อละลายไขที่ติดตามเนื้อ จนไขละลายออกหมด

  32. 8) นำเนื้อที่ต้มไปล้างน้ำ ด้วยระบบน้ำไหลผ่านใช้เวลาประมาณ1ชั่วโมเพื่อให้ไขที่ติดกับเท้าวัวหลุดออก 9)หลังจากล้างน้ำแล้ว พักเท้าวัวไว้ในภาชนะที่น้ำไหลผ่านได้ เพื่อให้เสด็จน้ำ 10) ต้มน้ำข้าวแล้วปล่อยให้เย็นเพื่อนำเอามาเป็นส่วนผสมในส้มตีนวัว

  33. 11 )ปั่นกระเทียมและน้ำข้าวให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่น แล้วนำไปเทลงที่ เนื้อที่ต้มไว้จึงเทน้ำลงพอประมาณให้ท่วมเนื้อในหม้อแล้วไปชั่งเพื่อวัดความหนักของสัดส่วนชั่งน้ำหนักของเกลือและผงชูรสพอสมควรเทลงในหม้อ นำกระเทียมหั่นเทลงในหม้อตามลงไปเพื่อให้ดับกลิ่นคาวเนื้อ (เนื้อและน้ำในหม้อหนัก 10 กิโลกรัม ใช้เกลือ 2 ขีด และใส่ผงชูรส 1 ช้อนกลางตามสัดส่วนที่ยายน้อยได้กำหนดไว้)

  34. 12) บรรจุภัณฑ์ใส่ถุงให้เรียบร้อยพร้อมวางขายเองหรือ ขายตามปลีกส่ง

  35. แนวทางการอนุรักษ์ 1.ให้ความรู้แก่ลูกหลาน สืบทอดวิธีการทำของ ส้มตีนวัว คุณยายพิมพร ได้มอบภูมิปัญญาการทำส้มตีนวัวนี้ให้แก่ลูกสาวคนโตเป็นคนสืบทอดในการทำ 2.การอนุรักษ์ด้วยการเรียนรู้ขั้นตอนการทำ ตลอดจนสามรถนำไปใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน หรืออาจทำเป็นอาชีพได้

  36. 3.ภูมิปัญญาทุกอย่างล้วนแต่มีความสำคัญ แต่สิ่งที่จะทำให้ภูมิปัญญานั้นสามารถสืบทอดไปสู่รุ่นต่อไปได้ขึ้นอยู่กับตัวเราทุกคน การทำส้มตีนวัวก็เช่นเดียวกัน หากไม่มีคนสานต่อ หรือมีการอุดหนุน ก็ทำให้เจ้าของภูมิปัญญาไม่สามารถที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญา หรือทำต่อไปได้4.วิธีการทำส้มถือเป็นการถนอมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นส้มปลา ส้มผัก และส้มตีนวัว เราในฐานะที่เราเป็นนักศึกษาควรที่จะรู้และเข้าใจว่าการถนอมอาหารด้วยวิธีการนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้อาหารสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น แต่เป็นภูมิปัญญาการใช้ความคิดที่นำมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราจึงควรที่จะอนุรักษ์และหวงแหนสิ่งล้ำค่าของท้องถิ่นไว้ เพื่อเป็นมรดกสืบทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของเรา

  37. เบื้องหลังการถ่ายทำ

  38. กลุ่มส้มตีนงัว ขอบคุณครับ/ค่ะ

More Related