390 likes | 590 Views
โครงการ ศึกษาข้อมูลบ้านทองหลาง หมู่ที่ 3 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. นางสาวจุฑารัตน์ จันทร์ ภักดิ์ รหัส 533130060105 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ หมู่ 1. บ้าน ทองหลาง หมู่ 3 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอ วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน.
E N D
โครงการ ศึกษาข้อมูลบ้านทองหลาง หมู่ที่3 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม นางสาวจุฑารัตน์ จันทร์ภักดิ์ รหัส 533130060105 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ หมู่ 1
บ้าน ทองหลาง หมู่ 3 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอ วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2013 หรือประมาณ 500 ปี มาแล้ว โดยมีผู้นำในการก่อตั้ง จำนวน 4 คน ได้แก่ พ่อหอมสมบัติ, พ่อทองหลอด, พ่อหลวง, พ่อขุนศรี เดิมอยู่บ้านผำใหญ่ เขตมณฑตร้อยเอ็ด เกิดความเหตุแห้งแล้งไม่อุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำในการทำนาปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้นำทั้ง 4 คน จึงได้อพยพพาลูกหลาน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านทองหลาง ตำบลดงใหญ่ ซึ่งปัจจุบันได้แยกตำบลใหม่ คือตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำล้อมรอบ เหมาะสำหรับทำการเกษตร ส่วนชื่อบ้านทองหลาง เป็นชื่อเดิมมาโดยตลอด เพราะว่ามีต้นทองหลางใหญ่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจึงได้ชื่อว่าบ้านทองหลางมาจนถึงปัจจุบันนี้ผู้นำซึ่งถือว่าเป็นคนกลุ่มแรกที่มาก่อตั้งหมู่บ้านและเป็นผู้นำต่อต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน(ต่อ)ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน(ต่อ) 1. พ่อหอมสมบัติ 2. พ่อทองหลอด 3. พ่อหลวง 4. พ่อขุนศรี 5. พ่อศรี ปะกิสังข์ 6. พ่อทองดี ช่างเหลา 7. พ่อเสาร์ ปะมาคะตัง 8. พ่อสิงห์ แผงบุดดา 9. นายประสงค์ ปะนัดเถดำรงตำแหน่งกำนันตำบลโคกสีทองหลางคนปัจจุบัน
อาณาเขต • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ บ้านหนองเหลือม หมู่ที่ 8 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านโคกแปะ และบ้านบูรพาพัฒนา หมู่ที่ 6,7 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านดงใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านทองหลาง หมู่ที่ 1,2 ตำบลโคกสีทองหลาง และบ้านหนองขาม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่โดยรอบ เป็นพื้นที่ใช้ในการทำการเกษตร มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หลายแห่ง และลำห้วยที่เป็นแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดปี ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลดงใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำการเกษตรประชากรส่วนใหญ่จึงยึดอาชีพในการเกษตรจนถึงทุกวันนี้
ลักษณะแหล่งน้ำ • ห้วย 1 แหล่ง ใช้ได้ ตลอดปี • คลอง 1 แหล่ง ใช้ได้ ตลอดปี • สระน้ำ 125 สระ ใช้ได้ ตลอดปี • ฝายกันน้ำ 3 แหล่ง ใช้ได้ ตลอดปี • บ่อบาดาล 1 บ่อ ใช้ได้ ตลอดปี
พื้นที่ภายในหมู่บ้าน พื้นที่ตั้งหมู่บ้านทั้งหมด 1,865 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ต่างๆดังนี้ • ที่อยู่อาศัย 360 ไร่ • ที่ทำการเกษตร 1,440 ไร่ โดยแยกดังนี้ - ทำนา 1,340 ไร่ - ที่สวน 100 ไร่ • ที่สาธารณประโยชน์ 65 ไร่
การตั้งถิ่นฐาน แยกออกเป็นคุ้ม 4 คุ้ม มีดังนี้ • คุ้มหนองสิม โดยมี นายโสมภณ นามเคน หัวหน้าคุ้ม • คุ้มห้วยฝาย โดยมี นายเพ็ง ประสังคะเต หัวหน้าคุ้ม • คุ้มกลาง โดยมี นายเชาว์วัศน์ หอมดวง หัวหน้าคุ้ม • คุ้มบูรพาพัฒนาโดยมี นายประทีป แผงบุดดา หัวหน้าคุ้ม
ครัวเรือนและประชากร ครัวเรือนและประชากร บ้านทองหลาง หมู่ที่ 3 มีจำนวน 124 ครัวเรือน จำนวนประชากร 728 คน แยกได้ดังนี้ - ชาย 356 คน - หญิง 372 คน
คำขวัญ ถั่วลิสงกล่าวขาน ข้าวโพดหวานปลอดสารพิษ พืชผักเศรษฐกิจ หมอนขิดสวยหรู เฟื่องฟูผ้าไหมพรม
ด้านประเพณี บ้านทองหลาง หมู่ที่ 3 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ทุกครอบครัวนับถือศาสนาพุทธ เป็นการสืบทอดประเพณีแต่โบราณ คือ ฮีต12 คลอง 14 มาโดยตลอด ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงาม เคารพผู้อาวุโส มีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตลอดจนอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิม
ประเพณีในรอบปีหนึ่งๆในหมู่บ้านจะประเพณีมีต่างๆดังนี้ประเพณีในรอบปีหนึ่งๆในหมู่บ้านจะประเพณีมีต่างๆดังนี้ เดือนมกราคม ทำบุญประเพณีขึ้นปีใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ ทำบุญประเพณีบุญข้าวจี่ เดือนมีนาคม ทำบุญประเพณีบุญผนวด, บุญมหาชาติ เดือนเมษายน ทำบุญประเพณีสงกรานต์ เดือนพฤษภาคม ทำบุญประเพณีบุญเบิกบ้าน เดือนมิถุนายน ทำบุญประเพณีบุญบวชนาค เดือนกรกฎาคม ทำบุญประเพณีบุญเข้าพรรษา เดือนสิงหาคม ทำบุญประเพณีบุญข้าวประดับดิน เดือนกันยายน ทำบุญประเพณีบุญข้าวสาก เดือนตุลาคม ทำบุญประเพณีบุญออกพรรษา เดือนพฤศจิกายน ทำบุญประเพณีลอยกระทง เดือนธันวาคม ทำบุญประเพณีบุญมหากฐิน
ผลิตภัณฑ์สินค้าOTOP ของบ้านทองหลาง หมู่ที่ 3 คือ ผ้าห่มไหมพรม
ประวัติความเป็นมา กลุ่มทอผ้าห่มไหมพรม เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ. 2540 จำนวนสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 30 คน ได้รับการจดทะเบียนกลุ่มอาชีพสินค้า OTOP ของอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 25 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ปัจจุบันสมาชิก 52 คน ทุนก่อตั้ง ครั้งแรก 20,000 บาท ปัจจุบันมีทุน 170,000 บาท มีคณะกรรมการ จำนวน 14 คน ซึ่งมี นางบัวทอง นามวิเศษ ประธาน
เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า ไม้หาบหูก ไม้หาบหูก เป็นไม้ที่สอดร้อยกับเชือกที่ผูกเขาด้านบน เพื่อให้หูกยึดติดกับกี่ไม้หาบหูก จะมีอันเดียวไม่ว่าจะใช้ฟืมที่มี 2 เขา, 3 เขา หรือ 4 เขา
ไม้นั่งทอผ้า ไม้นั่งทอผ้า ไม้กระดานหนาพอสมควรและมีความยาวกว่ากี่เล็กน้อย ใช้เวลานั่งทอผ้าไม้นี้จะใช้พาดระหว่างหลักกี่ข้างหน้ากับหลักม้วนผ้า
ฟืมใช้สำหรับแยกเส้นด้ายให้ขึ้นเพื่อเปิด ให้จังหวะของเส้นด้ายพุ่งสอดขัดกัน
กระสวย ใช้บรรจุหลอดไหมพุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้น พร่มไหมยืนต้นและปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย
อัก ใช้สำหรับกวักไหมออกจากกง
หลา เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับ 3.1 ใช้สำหรับปั่นหลอด (ไหม) จากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นทางต่ำ (เส้นพุ่ง) 3.2 เข็นหรือปั่นไหม 2 เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกันหรือเข็นคุบกัน ถ้าเป็นไหมคนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า มับไม 3.3 ใช้แกว่งไหม ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บปุ่ม ที่เรียกว่า ขี้ไหมออกจากเส้นไหม และยังทำให้เส้นไหมบิดตัวแน่นขึ้น ใช้ทำเป็นทางเครือ (เส้นยืน)
ก่อนจะทอผ้าห่มไหมพรมมีขั้นตอนการเตรียมไหมสำหรับทอ โดยมีวิธีการดังนี้ 1. นำเส้นไหมพรมที่ได้มากวักไหมจากกงมาใส่อัก 2. นำไหมจากอักมาใส่โบก 3. นำไหมพรมจากโบกมาใส่หลอดโดยใช้หลาเป็นเครื่องมือในการปั่นไหม 4. หลังจากได้หลอดด้าย(ไหม)โดยไหมที่เข็นได้นั้นใส่หลอดให้มีขนาดพอประมาณเพื่อนำมาใส่กระสวย 5. หลังจากได้หลอดไหมแล้วหลังจากนั้นนำมาใส่กระสวย 6. นำไหมพรมมาใส่ในกระสวย
ขั้นตอนและวิธีการทำ 1 การเก็บตระกรอ จะต้องเก็บด้านล่างก่อน เมื่อเก็บด้านล่างเสร็จแล้วจึงจะม้วนผ้าคืนเพื่อเก็บตะกอด้านบนตะกอทุกเส้นความตึงจะต้องเท่ากัน มิฉะนั้นเนื้อผ้าเนื้อผ้าที่ทอออกมาจะไม่เรียบ 2 การทอ การทอเป็นผืนผ้าจะต้องเหยียบเท้าทีละข้าง คือเหยียบข้างซ้ายแล้วโยกฟันหวีหาตะกอ เพื่อให้เส้นด้ายยืน ช่วงล่างแนบกับรางกระสวยแล้วกระตุก กระสวยให้นำเส้นพุ่งวิ่งจากข้างหนึ่ง ไปอีกข้างหนึ่งแล้วกระทบเข้าหาเนื้อผ้าเสร็จแล้วสลับเท้าจากซ้ายมาเป็นขวา เหยียบเท้า แล้วกระตุกกระสวยให้นำเส้นพุ่งวิ่งจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง แล้วเหยียบเท้าและพุ่งกระสวยกับไปมาจนกายเป็นผืนผ้า
ประวัติปราชญ์ชาวบ้าน นาย บุญศรี ปะสังคะเต เกิด 6 มิถุนายนพ.ศ. 2482 อายุ 73 ปี บิดาชื่อ นายโม่น ปะสังคะเต มารดาชื่อ นางสิงห์ ปะสังคะเต อยู่บ้านเลขที่ 74 หมู่ที่ 3 บ้านทองหลาง ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 44120 เบอร์ 043-901092 จบจากศูนย์โรงเรียนวัด ซึ่งเป็นการศึกษาชั้นสูงสุดในสมัยนั้น ประวัติปราชญ์ชาวบ้าน - ประสบการณ์ 50 ปี - เชี่ยวชาญด้านปรัชญา ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี - บายศรีสู่ขวัญ เช่น สูตรขวัญคู่บ่าวสาว สูตรขวัญเดี่ยว สูตรขวัญนาค - สะเดาะเคราะห์ เสียเคราะห์
การสู่ขวัญให้กับคู่บ่าวสาวการสู่ขวัญให้กับคู่บ่าวสาว
เป็นหมอสูตรพิธีขวัญนาค ในปี 2554 ที่ผ่านมา
สถานที่สำคัญภายในหมู่บ้านสถานที่สำคัญภายในหมู่บ้าน - วัดบ้านทองหลาง - ดอนปู่ตา - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทอง - โรงเรียนบ้านโคกสีทองหลาง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านทองหลาง - องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสีทองหลาง - ต้นทองหลาง(สัญลักษณ์ประจำหมู่บ้าน) - หนองฝาย - หนองบ่อแต้
วัดบ้านทองหลาง วัด 1 แห่ง วัดบ้านทองหลาง มีโบสถ์ 1 หลังพระ 5 รูป แม่ชี 3 คน
โรงเรียนบ้านโคกสีทองหลาง ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านทองหลางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านทองหลาง ต.โคกสีทองหลาง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทอง ต.โคกสีทองหลาง
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสีทองหลางองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
หนองฝาย เป็นแหล่งน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปาไว้ใช้ภายในหมู่บ้าน
หนองบ่อแต้ แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการทำการเกษตร ห่างจากหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร