240 likes | 434 Views
บทที่ 7 วิธีวิเคราะห์และวินิจฉัยธุรกิจฟาร์ม. บทนี้จะกล่าวถึง 2 เรื่องคือ
E N D
บทที่ 7 วิธีวิเคราะห์และวินิจฉัยธุรกิจฟาร์ม • บทนี้จะกล่าวถึง 2 เรื่องคือ • 1) การวิเคราะห์และวินิจฉัยผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจฟาร์ม โดยอาศัยการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งกับผลการดำเนินงานเฉลี่ยของหลายฟาร์ม หรือของกลุ่มฟาร์มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน การศึกษาแบบนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Comparative Analysis) • 2) การวัดผลการทำฟาร์มโดยพิจารณาผลที่ได้รับติดต่อกันหลายๆปี เพื่อดูแนวโน้มของผลการทำฟาร์มว่าดีขึ้นหรือเลวลง มีแนวโน้มเข้าสู่ระดับที่กำหนดเป็นเป้าหมายหรือไม่ เรียกการศึกษาแบบนี้ว่า การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)
การวัดและกำหนดขนาดของธุรกิจฟาร์มการวัดและกำหนดขนาดของธุรกิจฟาร์ม • สาเหตุที่ต้องมีการวัดขนาดของหน่วยธุรกิจฟาร์มเสียก่อนเพราะ • 1) มีส่วนช่วยในการกำหนดว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มนั้นมีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถทำรายได้เพียงพอแก่ตัวเกษตรกรและครอบครัวหรือไม่ และมีขนาดใหญ่พอที่จะแข่งขันกับหน่วยธุรกิจฟาร์มอื่นได้หรือไม่ • 2) นำมาใช้เลือกฟาร์มชนิดเดียวกันที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือมีขนาดและปริมาณของกิจการต่างๆใกล้เคียงกัน เพื่อให้การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบมีความหมายและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยธุรกิจฟาร์มมากยิ่งขึ้ • 3) เป็นพื้นฐานในการคำนวณตัววัดต่างๆ
ตัววัดที่นำมาใช้ในการกำหนดขนาดฟาร์มตัววัดที่นำมาใช้ในการกำหนดขนาดฟาร์ม • ปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น จำนวนที่ดินทั้หมด (ไร่) จำนวนเนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) จำนวนผลผลิตทั้งหมด (กก.) • ปัจจัยทางด้านการเงินและการคลัง เช่น มูลค่าของผลผลิต (บาท) มูลค่าเฉลี่ยของทรัพย์สินทุนทั้งหมดของฟาร์ม (บาท) • ปัจจัยทางด้านแรงงาน เช่น จำนวนแรงงานทั้งหมด (วันทำงาน) จำนวนผู้ทำงานได้เต็มเวลา (คน) จำนวนแรงงานวัดในรูปของ Person Equivalent (PE)
การวัดสถานภาพด้านการเงินและการคลังการวัดสถานภาพด้านการเงินและการคลัง • เป็นการวัดและวินิจฉัยถึงฐานะความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลทางด้านทรัพย์สินและหนี้สินที่จดบันทึกในสมุดบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน บอกถึงความสามารถในการชดใช้หนี้สินคืนด้วยการขายทรัพย์สินทุนที่มีอยู่ ช่วยประกอบการพิจารณาถึงจำนวนหนี้สินที่หน่วยธุรกิจฟาร์มต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยของหน่วยธุรกิจฟาร์มจากการล้มละลาย
Current ratio = Current assets Current liabilities • Current ratio (CR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีอยู่กับจำนวนหนี้สินระยะสั้นของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงหรือความสามารถของเจ้าของฟาร์มว่ามีจำนวนทรัพย์สินหมุนเวียนมีค่ามากพอที่จะชดใช้หนี้สินระยะสั้นได้หรือไม่ • CR > 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินหมุนเวียนอยู่ในเกณฑ์ดีและปลอดภัย • CR < 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีทรัพย์สินหมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินระยะสั้น ถึงแม้จะขายทรัพย์สินหมุนเวียนทั้งหมดก็ไม่สามารถชดใช้หนี้สินระยะสั้นที่มีอยู่ได้ ต้องหาเงินจากแหล่งอื่นมาเพิ่ม
Intermediate ratio = Current assets + Intermediate assets Current liabilities + Intermediate liabilities • Intermediate ratio (IR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินหมุนเวียนรวมกับทรัพย์สินประกอบการกับจำนวนรวมของหนี้สินระยะสั้นกับหนี้สินระยะปานกลางของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงหรือความสามารถของเจ้าของฟาร์มว่ามีจำนวนทรัพย์สินหมุนเวียนรวมกับทรัพย์สินประกอบการว่ามีค่ามากพอที่จะชดใช้หนี้สินระยะสั้นรวมกับหนี้สินระยะปานกลางได้หรือไม่ • IR > 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินอยู่ในเกณฑ์ดีและปลอดภัย • IR < 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงด้านการคลัง ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการกู้ยืมให้มากขึ้น
Net capital ratio = Total assets Total liabilities • Net capital ratio (NCR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดกับจำนวนหนี้สินทั้งหมดของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงหรือความสามารถของหน่วยธุรกิจฟาร์มได้ดีกว่า CR และ IR เพราะสามารถชี้บอกฐานะความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินโดยส่วนรวมทั้งหมดของฟาร์ม • NCR > 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินอยู่ในเกณฑ์ดีและปลอดภัย • NCR < 1 แสดงว่าความมั่นคงของหน่วยธุรกิจฟาร์มอยู่ในเกณฑ์ง่อนแง่น ไม่ควรกระทำการใดๆที่จะก่อให้เกิดการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น มิฉะนั้นอาจต้องเสี่ยงต่อการล้มละลาย
Debt/equity ratio = Total liabilities Net worth • Debt/equity ratio เป็นอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์ม เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจฟาร์มได้เช่นเดียวกับ CR IR และ NCR • Debt/equity ratio = 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มไม่มีหนี้สิน มีความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินดีมาก • Debt/equity ratio > 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มเริ่มมีหนี้สิน • Debt/equity ratio = 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีหนี้สินคิดเป็นมูลค่าครึ่งหนึ่งของทรัพย์สิน • Debt/equity ratio < 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
Equity/value ratio = Net worth Total assets • Equity/value ratio เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินทุนสุทธิของเจ้าของฟาร์มกับมูลค่าของทรัพย์สินรวมทั้งหมด จึงเป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงด้านทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • Equity/value ratio > 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินในเกณฑ์ดีและปลอดภัย เพราะมีทรัพย์สินทั้งหมดมากกว่าหนี้สินทั้งหมด • Equity/value ratio < 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินไม่ค่อยดี มีทรัพย์สินทั้งหมดน้อยกว่าหนี้สินทั้งหมด • Ratio นี้ยังบอกถึงการลงทุนของฟาร์มว่าใช้ทรัพย์สินทุนที่เป็นของฟาร์มเองมากน้อยแค่ไหน และกู้เงินลงทุนมามากน้อยแค่ไหน เช่น Equity/value ratio = 0.52 แสดงว่าเงินลงทุน 1 บาทเป็นเงินทุนของฟาร์มเอง 52 สตางค์ เป็นเงินกู้ 48 สตางค์
การวัดสถานภาพด้านรายได้และรายจ่ายการวัดสถานภาพด้านรายได้และรายจ่าย • Operating ratio = Total operating expenses Gross farm income • Operating ratio (OR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตฟาร์มกับรายได้รวมทั้งหมดของฟาร์ม (เฉพาะรายได้ที่ได้รับจากกิจการต่างๆของฟาร์ม) อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าในการดำเนินกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มจะเสียค่าใช้จ่ายในการประกอบการผลิตมากน้อยแค่ไหน และรายจ่ายที่เกิดขึ้นนี้เทียบเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้รวมของฟาร์ม เช่น ฟาร์มรักเกษตรมีค่า OR = 0.62 แสดงว่า ทุก 1 บาทของรายได้ฟาร์มจะเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบการ 62 สตางค์ ดังนั้นฟาร์มจะมีรายได้สุทธิเท่ากับ 38 สตางค์ทุกรายได้ 1 บาท
Fixed ratio = Total fixed expenses Gross farm income • Fixed ratio (FR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายคงที่ในการผลิตของฟาร์มกับรายได้รวมทั้งหมดของฟาร์ม อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าในการดำเนินกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มจะเสียค่าใช้จ่ายคงที่มากน้อยแค่ไหน และรายจ่ายที่เกิดขึ้นนี้เทียบเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้รวมของฟาร์ม เช่น ฟาร์มรักเกษตรมีค่า FR = 0.22 แสดงว่า ทุก 1 บาทของรายได้ฟาร์มจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 22 สตางค์
Gross ratio = Total expenses Gross farm income • Gross ratio (GR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของฟาร์มกับรายได้รวมทั้งหมดของฟาร์ม อัตราส่วนนี้สามารถใช้เป็นตัววัดที่แสดงถึงกำไรและขาดทุนของหน่วยธุรกิจฟาร์มได้ เช่น ฟาร์มรักเกษตรมีค่า GR = 0.72 แสดงว่า ทุกๆ 1 บาทของรายได้รวมของฟาร์มจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่ากับ 72 สตางค์ • ถ้า GR > 1 แสดงว่าการทำธุรกิจของฟาร์มนั้นประสบกับการขาดทุน • ถ้า GR < 1 แสดงว่าการทำธุรกิจของฟาร์มนั้นมีกำไร
ค่า OR และ FR สามารถนำมาใช้บอกถึงข้อจำกัดของหน่วยธุรกิจฟาร์มบางอย่างได้ เช่น ในการเปรียบเทียบระหว่างฟาร์มดินดี และฟาร์มน้ำชุ่ม ฟาร์มดินดีมีค่า FR สูงกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม และมีค่า OR ต่ำกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม แสดงว่าฟาร์มดินดีมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงค่าใช้จ่าย และมีปัญหาเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเงินมากกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม เพราะฟาร์มดินดีมีค่าใช้จ่ายคงที่สูงกว่า ค่าใช้จ่ายคงที่นั้นยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ลดลงได้ง่าย ไม่เหมือนกับค่าใช้จ่ายผันแปร เมื่อรายได้ของฟาร์มเปลี่ยนแปลงลดลง จะมีผลกระทบต่อกำไรของฟาร์มดินดีมากกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม
การวิเคราะห์การหมุนเวียนด้านการเงินของฟาร์มการวิเคราะห์การหมุนเวียนด้านการเงินของฟาร์ม • สาเหตุที่ทำให้การหมุนเวียนของรายรับและรายจ่ายของฟาร์มและครอบครัวไม่สมดุลกัน อาจจะมาจาก • 1) ฟาร์มมีขนาดของธุรกิจเล็กเกินไป ไม่สามารถทำรายได้อย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อรายจ่าย • 2) ฟาร์มมีรายจ่ายที่เป็นเงินสดในการดำรงชีพของครอบครัวสูง (อาจจะเกิดจากครอบครัวใหญ่ หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือย) • 3) มีกิจการฟาร์มบางกิจการที่ขาดทุน • 4) มีการใช้จ่ายในการลงทุนในทรัพย์สินบางอย่างมากเกินไป • 5) มีหมายกำหนดการในการชำระคืนเงินกู้ที่ค่อนข้างหนัก
การแก้ปัญหาความไม่สมดุลของรายรับและรายจ่ายการแก้ปัญหาความไม่สมดุลของรายรับและรายจ่าย • 1) หาทางเพิ่มและขยายขนาดธุรกิจฟาร์มให้มีมากขึ้นหรือใหญ่ขึ้น • 1.1) ทำกิจการฟาร์มแบบประณีต (Intensive farm) และบ่อยครั้งขึ้น • 1.2) ซื้อปัจจัยการผลิตมาเพิ่มขึ้นเพื่อขยายการผลิตให้มากขึ้น • 2) เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว เช่น ออกไปรับจ้างในฟาร์มและนอกฟาร์ม ฯลฯ • 3) ควบคุมและลดการใช้จ่ายเงินของครอบครัว พิจารณาจังหวะในการลงทุนซื้อทรัพย์สินทุน (ชะลอหรือเลื่อนการซื้อออกไป) • 4) คิดคำนวณหาจำนวนเงินกู้ระยะปานกลางที่หน่วยธุรกิจสามารถที่จะกู้และชำระคืนได้โดยไม่เดือดร้อน
จำนวนเงินกู้ระยะปานกลางหรือระยะยาวที่ฟาร์มควรจะกู้และชดใช้คืนได้ = (รายได้สุทธิจากกิจการต่างๆของฟาร์มที่เป็นเงินสด + รายได้สุทธิที่เป็นเงินสดที่ได้จากการขายทรัพย์สินทุน + รายได้สุทธิที่เป็นเงินสดจากกิจการอื่นๆที่ไม่ใช่กิจการฟาร์ม + รายได้สุทธิที่เป็นเงินสดจากการรับจ้าง) – (ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของครอบครัวและเงินออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน + รายจ่ายสุทธิจากการซื้อทรัพย์สิน + ภาษีต่างๆ) • จำนวนครั้งที่ควรจ่ายเงินกู้ = จำนวนเงินกู้ทั้งหมดที่ต้องการกู้ จำนวนเงินกู้ที่ควรกู้
การวัดผลกำไรและผลตอบแทนของหน่วยธุรกิจฟาร์มการวัดผลกำไรและผลตอบแทนของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นการวัดความสามารถของหน่วยธุรกิจฟาร์มในการทำฟาร์มและการจัดการฟาร์ม โดยการคำนวณหาผลตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น แรงงาน (ในฐานะผู้ประกอบการ ผู้จัดการฟาร์ม และแรงงานครอบครัว) และทุน • 1) รายได้สุทธิของฟาร์ม (Net farm income) = Gross farm income – Operating expenses – Fixed expenses • Net farm income เป็นตัววัดผลตอบแทนแก่แรงงานครอบครัว (unpaid family labor), แรงงานเจ้าของฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการ (Operator’s labor) และการจัดการ (management) ตลอดจนทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์ม (Net worth)
2) ผลตอบแทนแก่แรงงานเจ้าของฟาร์ม แก่การจัดการ และทุนสุทธิของเจ้าของฟาร์ม (Return to unpaid operator’s labor, management and capital : ROLCM) • ROLCM = Net farm income – unpaid family labor • ROLCM คำนวณโดยการนำเอาค่าแรงงานครอบครัวที่มาช่วยทำงานในกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มออกจาก Net farm income เพราะหากไม่มีแรงงานครอบครัวมาช่วยงาน หน่วยธุรกิจฟาร์มก็จำเป็นต้องแรงงานจ้างเข้ามาช่วย ในการคิดค่าจ้างให้แก่แรงงานครอบครัวนั้นจะคิดให้เท่ากับอัตราค่าจ้างที่จ่ายให้กับแรงงานจ้างที่ทำหน้าที่หรือกิจกรรมอย่างเดียวกัน
3) ผลตอบแทนแก่แรงงานเจ้าของฟาร์ม และการจัดการ (Return to operator’s labor and management : ROLM : Labor income) • ROLM = ROLCM – Assumed return on average net worth • Average net worth = (Net worth ต้นปี + Net worth ปลายปี) 2 • ROLM เป็นการคิดผลตอบแทนให้แก่แรงงานเจ้าของฟาร์มที่ทุ่มเทให้แก่กิจการต่างๆของฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการและผู้จัดการ เช่น ให้ Net worth ต้นปี = 190,140 บาท ให้ Net worth ปลายปี = 110,566 บาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน = 15% • ROLM = 0.15* (190,140 + 110,566)/2 = 22,552.95 บาท
4) ผลตอบแทนแก่การจัดการ (Management income) Management income = Labor income– ค่าแรงงานที่คิดให้ Operator’s labor • = ROLCM – ผลตอบแทนที่คิดให้แก่ average net worth • Management income เป็นการคิดคำนวณผลตอบแทนให้แก่การจัดการที่ใช้ในหน่วยธุรกิจฟาร์ม ใช้วัดความสามารถในการจัดการของเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม
5) ผลตอบแทนแก่ทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์มและการจัดการ (Return to operator’s capital and management : ROCM) • ROCM = ROLCM – ค่าจ้างที่คิดให้แก่แรงงานเจ้าของฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการ (assumed charge for unpaid operator’s labor) • PROCM = ROCM *100 average net worth • ROCM เป็นการคำนวณหาผลตอบแทนแก่ Net worth ที่ลงทุนในธุรกิจฟาร์มและการจัดการว่ามีมากน้อยแค่ไหน เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการลงทุนหรือใช้ทุนของเจ้าของฟาร์มว่าเป็นอย่างไร
6) ผลตอบแทนแก่ทุนทั้งหมดและการจัดการ (Return to total capital and management : RTCM) • RTCM = ROCM + ดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดที่จ่ายไป • PRTCM = (ROCM + ดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดที่จ่ายไป) * 100 average total asset • การวัดผลตอบแทนของการลงทุนหรือการใช้ทุนของหน่วยธุรกิจฟาร์มนั้น นอกจากจะดูได้จาก ROCM และ PROCM แล้ว ยังสามารถดูได้จากผลตอบแทนการลงทุนแก่ทุนทั้งหมด (Total asset = Net worth + Liabilities) และการจัดการ