1 / 17

2.2 ประเภทของระบบปฏิบัติการ

lewis
Download Presentation

2.2 ประเภทของระบบปฏิบัติการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux เป็นต้น

  2. 2.1คุณสมบัติการทำงานระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงาน ดังนี้2.1.1 การทำงานแบบ Multi-Tasking สามารถทำงานได้หลายงานหรือหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน 2.1.2 การทำงานแบบ Multi-User สามารถทำงานกับผู้ใช้ได้หลายคนในขณะที่มี การประมวลผลของงานพร้อมกัน

  3. 2.2 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 2.2.1 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone OS) ให้บริการสำหรับผู้ใช้คนเดียวใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ประมวลผล และทำงานทั่วไป 2.2.2 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) มุ่งเน้นและให้บริการผู้ใช้หลายคน (multi-user)ใช้สำหรับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ 2.2.3 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก

  4. 2.2.1 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS) 2.2.1.1 DOS (Disk Operating System) 2.2.1.2 Windows 2.2.1.3 UNIX 2.2.1.4 Mac OS X รุ่น OS X (X คือ เลข 10 แบบโรมัน) 2.2.1.5 Linux

  5. 2.2.1.1 DOS (Disk Operating System) ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command-line ที่ต้องป้อนข้อมูลทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องทำงานตามคำสั่งนั้นได้ ผลิตครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS ใช้กับเครื่องของบริษัทไอบีเอ็ม ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์ได้สร้างระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเอง และเรียกชื่อใหม่ภายหลังว่า MS-DOS นั่นเอง

  6. 2.2.1.2 Windows บริษัทไมโครซอฟท์นำแนวคิดระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) มาใช้ใน ระบบ ปฏิบัติการตัวใหม่มีชื่อว่า Windows ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่ง ทีละบรรทัด ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่นเช่น Windows XP ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดที่พัฒนาและจำหน่ายได้ทั่วโลก เวอร์ชันต่อไปคาดว่าจะเป็น Longhorn

  7. 2.2.1.3 UNIX ระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้าน คอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของ ผู้ใช้ได้หลายคนพร้อมกัน (multi-user) มีความยืดหยุ่น ในการการปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ ได้ดี ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย

  8. 2.2.1.4 Mac OS X สร้างขึ้นใช้งานเฉพาะคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิลใช้งาน ด้านสิ่งพิมพ์ กราฟิกและศิลปะ ซึ่งรุ่นก่อนนี้จนถึง Mac OS 9 เป็นระบบปฏิบัติการแบบเฉพาะตัว แต่รุ่น OS X (X คือ เลข 10 แบบโรมัน)พัฒนาจากระบบปฏิบัติการแบบ UNIX แต่เป็นแบบ เฉพาะตัว คือเครื่องของบริษัทอื่น หรือที่ประกอบขึ้นมาเอง ไม่สามารถใช้ระบบปฏิบัติการนี้ได้ เนื่องจากใช้ระบบปฏิบัติการ ประมวลผลที่ต่างกัน ทั้งนี้รูปแบบและการทำงานของ Mac OS X มีระบบสนับสนุนแบบ GUI เหมือนกับระบบปฏิบัติการ Windows

  9. 2.2.1.5 Linux ระบบปฏิบัติการที่นิยม มีสำหรับผู้ใช้คนเดียว และสำหรับงานควบคุม เครือข่ายเช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการแบบ UNIX ซึ่งผู้ใช้สามารถพัฒนาและ แก้ไขชุดคำสั่งได้ฟรี ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้ เพื่อลดปัญหาการขาดดุลและปัญหาการไม่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ระบบ Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบUnix และ ใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบโอเพนซอร์ส (open source) ที่เปิดเผย โปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถพัฒนา/แก้ไขระบบได้เอง มีการผลิตมาหลายชื่อ ประเทศไทยมีการพัฒนาแล้ว เช่น Linux TLE ของศูนย์เทคโนโลยีอิเลค ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Centre) หรือ NECTEC

  10. 2.2.2 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) 2.2.2.1 Windows Server 2.2.2.2 OS/2 Warp Server 2.2.2.3 Solaris

  11. 2.2.2.1 Windows Server ระบบปฏิบัติการเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่าย มีรุ่นแรกชื่อว่า Windows NT ต่อมาพัฒนาเป็น Windows 2000 และรุ่น Windows Server 2003 ซึ่งผลิตมารองรับการใช้งานระดับองค์กรขนาดเล็ก และขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ส่วนใหญ่ จะติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (server)

  12. 2.2.2.2 OS/2 Warp Server ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่ออกแบบสำหรับ ใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กร พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุม เครื่องแม่ข่าย หรือ server เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบ ความสำเร็จและเลิกพัฒนาแล้ว

  13. 2.2.2.3 Solaris ระบบปฏิบัติการเครือข่ายตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix compatible) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถ รองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกัน

  14. 2.2.3 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง(Embedded OS) 2.2.3.1 Pocket PC OS (Windows CE เดิม) 2.2.3.2 Palm OS 2.2.3.3 Symbian OS

  15. 2.2.3.1 Pocket PC OS บริษัทไมโครซอฟท์สร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ชื่อว่า Pocket PC OS เดิมชื่อ Windows CE หรือ Windows Consumer Electronics แต่ใช้ชื่อใหม่ ตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก การทำงานเป็นลักษณะย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีความ สะดวกต่อการใช้งาน (scaled-down version) ทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกับ OS ตัวอื่น เช่น ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตไปได้พร้อมกับ การฟังเพลง หรือตรวจเช็คอีเมล์พร้อมกับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น ผู้ที่รู้จักระบบปฏิบัติการของ Windows มาแล้วจะใช้งานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้ายกัน ปัจจุบันพบเห็น ในโทรศัพท์มือถือ Smart phone บางรุ่นแล้ว

  16. 2.2.3.2 Palm OS ระบบปฏิบัติการที่นำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ที่เรียกว่าเครื่อง Palm ผลิตโดยบริษัทปาล์ม ที่ได้รับความนิยมมาก เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟท์ ปัจจุบันนำระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor ของค่ายแฮนด์สปริง ที่รวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์ม และ CLIE ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตแล้ว ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแบบเดียวกัน

  17. 2.2.3.3 Symbian OS ระบบปฏิบัติการสำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone ที่สนับสนุนการทำงานหลายงานในเวลาเดียวกัน (multi-tasking) ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถรับสายพูดคุยพร้อมกับ การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ส่งและรับอีเมล์ รวมถึงรับแฟกซ์ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดยบริษัทซิเบียน เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ได้เอา OS ชนิดนี้ไปใช้งานในโทรศัพท์มือถือ เช่น Sony Ericsson, Motorola, Nokia และ Samsung เป็นต้น.

More Related