300 likes | 755 Views
บทที่ 6. การบริหารสินค้าคงเหลือ. สินค้าคงเหลือหรือสินค้าคงคลัง ( Inventory ) หมายถึง วัสดุที่อยู่ในรูปของวัตถุดิบ วัสดุการผลิต อะไหล่ เชื้อเพลิง สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต และสินค้าสำเร็จรูปซึ่งโรงงานเก็บไว้ในโกดัง เพื่อรอการผลิต รอซ่อมบำรุง หรือรอการจำหน่าย หน้าที่ของสินค้าคงเหลือ
E N D
บทที่ 6 การบริหารสินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือหรือสินค้าคงคลัง (Inventory) หมายถึง วัสดุที่อยู่ในรูปของวัตถุดิบ วัสดุการผลิต อะไหล่ เชื้อเพลิง สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต และสินค้าสำเร็จรูปซึ่งโรงงานเก็บไว้ในโกดัง เพื่อรอการผลิต รอซ่อมบำรุง หรือรอการจำหน่าย • หน้าที่ของสินค้าคงเหลือ 1. เป็นการจำแนกประเภทสินค้าอย่างเป็นหมวดหมู่ 2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายหรือผู้ส่งมอบ (Supplier) กับผู้ผลิตและผู้ผลิตกับลูกค้า 3. ได้รับประโยชน์จากส่วนลด 4. ป้องกันปัญหาจากสภาวะเงินเฟ้อ และภาวการณ์ขึ้นราคาของสินค้า 5. ป้องกันปัญหาความไม่แน่นอนจากการส่งมอบ 6. ช่วยทำให้งานผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด
ประเภทของสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลัง (Inventory) ประกอบด้วย • วัตถุดิบ (Raw Material) • สินค้าระหว่างผลิต (Work in Process) • วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance/Repair/Operating Supplies) • สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) WIP Raw Material Finish Goods
ความสำคัญของสินค้าคงเหลือ แต่ละประเภท 1. สินค้าคงเหลือประเภทวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน มีความสำคัญ คือ 1.1 เป็นการป้องกันขาดแคลนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน 1.2 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต 2. สินค้าคงเหลือระหว่างผลิต มีความสำคัญ คือ 2.1 ช่วยให้การผลิตในแต่ละหน่วยผลิตสามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 2.2 ช่วยให้การผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอ
ความสำคัญของสินค้าคงเหลือ แต่ละประเภท (ต่อ) 3. สินค้าคงเหลือประเภทสินค้าสำเร็จรูป มีความสำคัญดังนี้ คือ 3.1 ช่วยป้องกันความผิดพลาดอันเกิดจากความต้องการสินค้าที่มีมากกว่าที่พยากรณ์ไว้ 3.2 ช่วยให้การผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลเหมือนความต้องการของผลิตภัณฑ์ และระดับการจ้างแรงงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
ข้อเสีย คือในด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น - จำเป็นต้องมีบริเวณหรือที่เก็บสินค้าเหล่านั้น มีคนคอยดูแลรักษา และทำบัญชีควบคุมปริมาณ - เงินทุนจมอยู่กับสินค้า
วัตถุประสงค์ของการบริหารสินค้าคงเหลือวัตถุประสงค์ของการบริหารสินค้าคงเหลือ 1. ราคาสินค้าอาจลดลง 2. สินค้าที่เก็บไว้เสื่อมคุณภาพ 3. รสนิยมและทัศนคติของผู้บริโภคเปลี่ยนไป แต่ละกิจการจะพิจารณาระดับสินค้าคงเหลือที่ควรจะมีไว้จากปัจจัยพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1. ปริมาณขายของกิจการ 2. ระยะเวลา และความยากง่ายของกระบวนการผลิต 3. ความคงทนและความล้าสมัยของสินค้า
วัตถุประสงค์ในการบริหารสินค้าคงเหลือมีหลัก 2 ประการคือ 1. เพื่อทำให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเก็บสินค้าคงเหลือมีค่าต่ำที่สุด 2. เพื่อทำให้ลูกค้าหรือผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจมากที่สุด (ได้รับผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่ต้องการตามเวลาที่กำหนด) ปัญหาการตัดสินใจในเรื่องการบริหารสินค้าคงเหลือมีอยู่ 2 ประการ คือ 1. จำนวนที่จะสั่งซื้อหรือผลิตในแต่ละครั้งว่าควรมีปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสมที่สุด 2. เวลาที่เหมาะสมในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต
ต้นทุนการบริหารสินค้าคงเหลือต้นทุนการบริหารสินค้าคงเหลือ 1. ต้นทุนในการสั่งซื้อ (ordering costs) 2. ต้นทุนในการสั่งผลิต (setup costs) 3. ต้นทุนในการเก็บรักษา (holding costs) 4. ต้นทุนสินค้าขาดแคลน (shortage costs)
ต้นทุน ต้นทุนรวม ต้นทุนการเก็บรักษา ต้นทุนรวมต่ำสุด ต้นทุนสินค้าขาดแคลน ต้นทุนการสั่งซื้อ ปริมาณการสั่งซื้อ/ครั้ง ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ภาพที่ 6.1 แสดงความสัมพันธ์ของต้นทุนต่าง ๆ ในการบริหารสินค้าคงเหลือ
ตัวแบบการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดตัวแบบการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด มีข้อสมมติฐาน ดังนี้ คือ 1. ปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้ามีอัตราคงที่ตลอดเวลา 2. ระยะเวลารอคอยสินค้า (lead time) หรือ ระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า มีความคงที่และแน่นอน 3. การสั่งหนึ่งครั้งจะมีการส่งมอบสินค้าให้เพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการทยอยส่งมอบ 4. ราคาของสินค้าที่สั่งซื้อมามีค่าเท่ากันไม่ว่าจะสั่งซื้อปริมาณเท่าใด 5. สินค้าคงเหลือที่ควบคุมมีเพียงชนิดเดียว 6. ไม่เกิดสินค้าคงเหลือขาดแคลน
ความสัมพันธ์ของปริมาณสินค้าคงเหลือเมื่อเทียบกับเวลาความสัมพันธ์ของปริมาณสินค้าคงเหลือเมื่อเทียบกับเวลา Quantity R = Reorder PointL = Lead Time Q = Order Quantity Q R Reorder Point Time Receiving Time L Reorder Time
ในการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด โดยใช้ตัวแบบ EOQ ซึ่งสามารถกำหนดตัวแปรต่าง ๆ ได้ดังนี้ Q (quantity) = ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (หน่วย/ครั้ง) D (demand) = ความต้องการใช้สินค้าต่อปี (หน่วย/ปี) O (ordering cost) = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าต่อครั้ง (บาท/ครั้ง) I (interest rate) = อัตราค่าเสียโอกาสในการเก็บรักษาสินค้าคงเหลือโดยทั่วไปนิยมคิดเป็นร้อยละของสินค้าต่อหน่วย (บาท/หน่วย/ปี) C (material cost) = ราคาสินค้าต่อหน่วย (บาท/หน่วย) TC (total cost) = ต้นทุนรวมต่ำสุด (บาท/ปี) จากตัวแปรดังกล่าวข้างต้น สามารถนำมาเขียนตัวแบบเพื่อคำนวณหาต้นทุนประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. การคำนวณหาจำนวนครั้งในการสั่งซื้อต่อปี สามารถหาได้จาก จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ / ปี = ความต้องการใช้สินค้าต่อปี ปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง หรือ = D Q 2. การคำนวณหาต้นทุนในการสั่งซื้อ/ปี สามารถหาได้จาก ต้นทุนในการสั่งซื้อ/ปี = ความต้องการใช้สินค้าต่อปีxค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง ปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง หรือ = DO Q
3. การคำนวณหาต้นทุนในการเก็บรักษาต่อปี สามารถหาได้จาก ต้นทุนในการเก็บรักษาต่อปี = ปริมาณสินค้าคงเหลือเฉลี่ย x ค่าใช้จ่ายใน การเก็บรักษาต่อหน่วยต่อปี หรือ = ICQ 2 ทั้งนี้ปริมาณสินค้าคงเหลือเฉลี่ย = ปริมาณสินค้าคงเหลือสูงสุด + ปริมาณสินค้าคงเหลือต่ำสุด 2 ดังนั้นปริมาณสินค้าคงเหลือเฉลี่ย = Q 2 4. การคำนวณการหาต้นทุนรวมต่ำสุดต่อปี สามารถหาได้จาก ต้นทุนรวมต่ำสุดต่อปี = ต้นทุนในการสั่งซื้อต่อปี + ต้นทุนในการเก็บรักษาต่อปี หรือ =DO + ICQ Q 2
เนื่องจากต้นทุนในการสั่งซื้อจะต้องมีค่าเท่ากับต้นทุนในการเก็บรักษา ดังนั้น จึงสามารถคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ได้ดังนี้ ต้นทุนในการสั่งซื้อ = ต้นทุนในการเก็บรักษา DO = ICQ Q 2 จากนั้นแก้สมการเพื่อหาค่า Q ดังต่อไปนี้ DO = IC(Q2) 2 Q2 = 2DO IC Q= √2DO IC
ตัวแบบการหาจุดสั่งซื้อ (reorder point) จุดสั่งซื้อ (reorder point) หรือ ROP หมายถึงระดับหรือจุดของสินค้าคงเหลือซึ่งต้องการทำการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติม เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งจะต้องเสียเวลานานพอสมควรกว่าจะได้รับสินค้ามา ระยะเวลาที่ต้องรอเพื่อให้ได้รับสินค้ามานี้เรียกว่า “lead time” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า LT ในการคำนวณหาจุดสั่งซื้อ มีข้อสมมติฐานว่าอัตราความต้องการสินค้าเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และสินค้าที่สั่งซื้อจะต้องมาตรงเวลาทุกครั้ง ซึ่งสามารถหาได้จาก จุดสั่งซื้อ = อัตราความต้องการสินค้าต่อวัน x ช่วงระยะเวลารอคอยสินค้า หรือ = d x LT หรือ d (LT) เมื่อ d = อัตราความต้องการหรืออัตราการใช้สินค้าต่อวัน (หน่วย) LT = ช่วงระยะเวลารอคอยสินค้า (วัน)
ส่วนการคำนวณหาอัตราการใช้สินค้าต่อวัน (d) สามารถหาได้จาก d = D W เมื่อ D = ปริมาณการใช้หรือความต้องการสินค้าต่อปี W = จำนวนวันทำงานทั้งหมดต่อปี ตัวแบบการหาจุดสั่งซื้อกรณีที่ต้องการให้มีสินค้าสำรอง (safety stock) ปัญหาสินค้าขาดแคลนนี้เกิดจากสาเหตุ 2 ประการคือ 1. อัตราความต้องการสินค้าสูงกว่าที่ธุรกิจคาดคะเนไว้ 2. ระยะเวลาที่ธุรกิจใช้ในการสั่งซื้อและขนสินค้า ไม่เป็นไปตามกำหนด เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องมีสินค้าจำนวนหนึ่งเพื่อสำรองไว้ซึ่งเรียกว่า สินค้าสำรอง หรืออาจเรียกว่า สินค้าเผื่อขาด
เมื่อธุรกิจต้องการมีสินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัยไว้จำนวนหนึ่งจึงสามารถ เมื่อธุรกิจต้องการมีสินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัยไว้จำนวนหนึ่งจึงสามารถ คำนวณหาจุดสั่งใหม่ได้ดังนี้ จุดสั่งซื้อ = (อัตราความต้องการสินค้าต่อวัน x ช่วงระยะเวลารอคอยสินค้า)+สินค้าสำรอง หรือ ROP = d (LT) + SS เมื่อ SS= จำนวนสินค้าสำรอง (safety stock) การหาปริมาณการสั่งซื้อในกรณีที่มีการลดราคา (quantity discounts) สามารถหาได้ 2 วิธี คือ 1. วิธีการหาส่วนลดโดยการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย เป็นวิธีที่ง่ายและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง 2. วิธีการหาส่วนลดจากการกำหนดราคาต่างกัน
ABC Theory ของวิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน • การจัดการสินค้าคงคลังแบบ ABC คือ การจัดกลุ่มสินค้าให้มีความสำคัญตามมูลค่าและปริมาณของสินค้า ในทางปฏิบัติจะพบเสมอว่า สินค้าที่มีปริมาณมากมักมีมูลค่าไม่สูง ในทางตรงกันข้ามสินค้าที่มีมูลค่าสูงจะมีปริมาณไม่มาก ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 Class คือ สินค้ากลุ่ม A เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงถึง 80% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมดในคลังสินค้าแต่มีปริมาณไม่เกิน 20% ของจำนวนรายการทั้งหมด สินค้ากลุ่ม B เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าประมาณ 15% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด แต่มีปริมาณในคลังประมาณ 30% ของจำนวนทั้งหมด สินค้ากลุ่ม C เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าน้อยที่สุด ประมาณ 5% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด แต่มีปริมาณสูงเกิน 50% ของจำนวนรายการทั้งหมด
ABC Diagram(Law of Significant few) 100 C 5% B 15% % of Valuable (%Dollar) A 80% 50 50-60% 15-20% 25-30% % of Items 0 20 50 100
ตัวอย่าง 6.1 บริษัท MINOR จำกัด มีความต้องการใช้จอภาพเพื่อผลิตเครื่อง คอมพิวเตอร์ปีละ 100,000 ตัว ราคาตัวละ 2,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อครั้ง ละ 500 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคิดเป็นร้อยละ 5 ของราคาจอภาพ อยากทราบว่า ก. บริษัทควรสั่งซื้อจอภาพครั้งละเท่าใดจึงจะทำให้ประหยัดต้นทุนมากที่สุด ข. บริษัทควรจะสั่งซื้อปีละกี่ครั้ง ค. บริษัทจะมีต้นทุนในการสั่งซื้อตลอดปีเป็นเงินเท่าใด ง. บริษัทจะมีต้นทุนในการเก็บรักษาตลอดปีเป็นเงินเท่าใด