150 likes | 373 Views
บทที่ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหา ความจริงหรือการคำนวณสำหรับ การหาค่าความจริง ปกติคือข้อมูลดิบ (Raw Data)
E N D
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหา ความจริงหรือการคำนวณสำหรับ การหาค่าความจริง ปกติคือข้อมูลดิบ (Raw Data) • สารสนเทศหรือสารนิเทศ (Information) คือ ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณหรือประมวลผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้สามารถนำไปใช้ได้ทันที • เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำความรู้ทางด้านฟิสิกส์มาประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า นำมาความรู้ทางด้านเคมีมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
ข้อมูล (Data) ประมวลผล (Processing) สารสนเทศ (Information) ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปที่ 1.1 แสดงกระบวนการเกิดสารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท คือ • ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System: TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) • ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence System / Expert System: AIS/ES) • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)
ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (TransactionProcessingSystem: TPS) ลักษณะเด่นของ TPS คือ ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบ TPS คือ • ช่วยลดจำนวนพนักงาน (เสมียน) • ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น • ช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) • คุณสมบัติของระบบ MIS ที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้ • สนับสนุนการทำงานของระบบ TPS และการจัดเก็บข้อมูลรายวัน • ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน (Share Database) และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กรช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ • มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับความต้องการข้อมูล และสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร • ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) คุณสมบัติของระบบ DSS ที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้ • ต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ • ถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนได้ • สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์ • มีรูปแบบการใช้งานแบบเอนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) (ต่อ) • เป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องอาศัยเลย • สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่าง ๆ • มีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว • สามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้ • ทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร • มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (ExecutiveInformation System : EIS)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ExpertSystem : ES ) ข้อดีที่แตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่น ๆ ดังนี้ • ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้นเมื่อผู้เชี่ยวชาญออกจากองค์กรหรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้ • ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆ กัน • สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก • ทำให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน • ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง • มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนอย่างมาก
EIS TOP (ผู้บริหารระดับสูง) DSS Middle (ผู้บริหารระดับกลาง) MIS OAS TPS Operation (ระดับปฏิบัติการ) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)
ผู้รับสารสนเทศ ผู้ส่งสารสนเทศ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สื่อกลางการสื่อสาร
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ เป็นต้น • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก • ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผลและเรียกใช้สารสนเทศ • ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น • ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยการใช้ระบบโทรศัพท์และอื่น ๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการเงินและการพาณิชย์ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการสื่อสาร • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
แบบฝึกหัด 1. จงอธิบายความหมายของคำว่าข้อมูล สารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. จงบอกข้อแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) และระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (DSS) 3. จงบอกลักษณะเด่นของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS) 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) เกี่ยวข้องกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างไร 5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) แตกต่างจากระบบประมวลผลทางธุรกิจ (TPS) อย่างไร 6. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่สาขาอะไรบ้าง 7. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถประยุกต์ใช้ในด้านใดได้บ้าง จงอธิบาย