440 likes | 665 Views
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับการประกันคุณภาพการศึกษา. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนา เหมวงษา. หัวข้อการบรรยาย. ทำประกันคุณภาพทำไม ทำอย่างไร วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก รายละเอียดตัวบ่งชี้การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม.
E N D
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนา เหมวงษา
หัวข้อการบรรยาย • ทำประกันคุณภาพทำไม ทำอย่างไร • วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ • ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก • รายละเอียดตัวบ่งชี้การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ของการประเมินวัตถุประสงค์ของการประเมิน • เพื่อทราบระดับคุณภาพของสถานศึกษาในการดำเนินภารกิจด้าน ต่าง ๆ • เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง • เพื่อทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา • เพื่อรายงานระดับคุณภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก การประเมินตนเองของสถาบัน การปฏิบัติงานของสถาบัน รายงานผลการประเมิน การ ติดตาม รายงานประจำปี การตรวจเยี่ยม ติดตามตรวจสอบโดยต้นสังกัด ข้อมูลป้อนกลับ ข้อมูลป้อนกลับ
วงจรการบริหารงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมวงจรการบริหารงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม
นิยามศัพท์ ศิลปะ คือ งานสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมสร้างสุนทรีย์ ความงาม และความสุขแก่ผู้คน สภาพแวดล้อม และสังคม เพื่อพัฒนาการยกระดับความมีรสนิยม ความสุนทรีย์ เข้าใจคุณค่าและความสำคัญของศิลปะ ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงามของมวลมนุษย์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ก่อให้เกิดวัฒนธรรม โดยสามารถเห็นได้จากพฤติกรรมในวิถีชีวิตและสังคม รวมทั้งผลที่เกิดจากกิจกรรมหรือผลผลิตกิจกรรมของมนุษย์ วัฒนธรรมมีลักษณะเฉพาะและมีลักษณะสากล เปลี่ยนแปลงตามสมัยนิยม แต่มีรากฐานของวัฒนธรรมตนเองที่มีคุณค่า
วัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงความเป็นอุดมศึกษาที่ถือเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม มีความเจริญงอกงามทางปัญญา ความรู้ ความคิด ทัศนคติ และจิตใน การมีน้ำใจเสียสละและการมีส่วนร่วมกับสังคม สามารถเป็นผู้นำที่ดีและเป็นที่พึงของสังคม มีวัฒนธรรมในวิถีชีวิตมหาวิทยาลัยที่น่าศรัทธาเป็นที่ยอมรับ มีบทบาต่อการป้องป้องวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
การพัฒนาสุนทรียภาพ หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนที่เป็นระบบเกี่ยวกับความงามทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่มีผลกระทบต่อบุคคล สถาบัน สภาพแวดล้อม และสังคมในแนวทางที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ ผลการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสิ่งใหม่ต้องไม่เป็นการทำลายคุณค่าทางสุนทรีย์ของศิลปะและวัฒนธรรมเดิม
สุนทรียะทางศิลปะและวัฒนธรรม หมายถึง คุณค่าทางความงามของศิลปะและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้และความรู้สึก สามารถจรรโลงจิตใจให้มีความสุข มีรสนิยม ก่อให้เกิดวิถีชีวิตมนุษย์ที่งดงาม สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมที่เข้าใจและผูกพัน ตลอดจนการรับรู้ถึงคุณค่าที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมของศิลปะและวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์เพื่อการดำรงรักษ์สืบต่อไป
การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (สมศ.)(มี ๒ ตัวบ่งชี้)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม (เป็นตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพ นับตามปีการศึกษา) ประเด็นการพิจารณา • มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) • บรรลุเป้าหมายตามแผนประจำปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ • มีการดำเนินงานสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง • เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนภายใน/ภายนอก • ได้รับการยกย่องระดับชาติและ/หรือนานาชาติ จากสถาบันหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม เกณฑ์การให้คะแนน ๑ ปฏิบัติได้ ๑ ข้อ ๒ ปฏิบัติได้ ๒ ข้อ ๓ ปฏิบัติได้ ๓ ข้อ ๔ ปฏิบัติได้ ๔ ข้อ ๕ ปฏิบัติได้ ๕ ข้อ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม ข้อมูลประกอบ การพิจารณา ๑. นโยบาย แผน ระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๒. โครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรม ร่วมทั้ง ตัวบ่งชี้และเป้าหมายความสำเร็จ ๓. หลักฐานที่อธิบายรายละเอียดและแสดงกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลของการสรุปผลสำเร็จ เช่น ขั้นตอนและช่วงระยะเวลาการเก็บข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง แบบสำรวจหรือแบบสอบถามหรือแบบประเมิน วิธีการวิเคราะห์ผล เป็นต้น
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม ข้อมูลประกอบ การพิจารณา(ต่อ) ๔. รายงานสรุปผลหรือประเมินโครงการหรือกิจกรรม (ประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชน) ๕. รายงาน รางวัลที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง ระดับชาติและ/หรือนานาชาติ จากสถาบันหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณาข้อ ๑ • เขียนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ มีนโยบาย แผน ระบบและกลไกในการส่งเสริมสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น มหาวิทยาลัยมีแผนโครงการเกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งสิ้นเท่าใด งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้นเท่าใดซึ่งแต่ละโครงการได้ดำเนินการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยมีรายละเอียดดังนี้
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ๑ (ต่อ) มีการจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ (P) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงานโดยกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน คณะกรรมการมีการดำเนินงานตามแผนที่ได้กำหนดไว้ (D)
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ๑ (ต่อ) มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามการดำเนินงานเป็น ระยะ (C) ๖. มีการประเมินผลโครงการภายหลังการจัดกิจกรรม นำผลเข้าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ กรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้คณะกรรมการดำเนินงานจะมีการพิจารณาเสนอแนะแนวทางการแก้ไขในการจัดโครงการในปีต่อไป (A)
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๒ • เขียนให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ โดยในปีการศึกษานั้น ๆ มีแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมทั้งสิ้นเท่าใด และได้มีการดำเนินงานเท่าใด พร้อมรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรม รวมทั้งตัวบ่งชี้และเป้าหมายความสำเร็จ ต้องบรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๓ • เขียนให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดงบประมาณสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องทุกปีงบประมาณ และได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรม สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๔ • เขียนให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยฯ ได้มีการติดตามผลการดำเนินโครงการที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนที่เห็นเป็นรูปธรรม โดยมีรายงานสรุปผลหรือประเมินโครงการหรือกิจกรรม เช่น โครงการรักษ์พื้นถิ่นสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย พบว่าชุมชนที่ร่วมโครงการ คือ ชุมชนตลาดร้อยปี คลอง ๓ ได้นำแนวความคิดจากแบบในโครงการมาประยุกต์ใช้ในการปรับสภาพแวดล้อม ได้แก่ พื้นที่ลานริมน้ำ รั้วกันตกน้ำ สวนหย่อมขนาดเล็ก (พร้อมรูปถ่ายก่อน และหลัง)
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๕ รายงาน รางวัลที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง ระดับชาติและ/หรือนานาชาติ จากสถาบันหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ โดยรางวัลที่ได้รับจะต้องเป็นรางวัลที่ได้จากโครงการที่อยู่ในแผนของมหาวิทยาลัยฯ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม ประเด็นการพิจารณา • การมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถาบันที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ดี • สิ่งแวดล้อมด้านความปลอดภัยของอาคารสถานที่สะอาดถูกสุขลักษณะ และตกแต่งอย่างมีความสุนทรีย์ • ปรับแต่งและรักษาภูมิทัศน์ให้สวยงาม สอดคล้องกับธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม ประเด็นการพิจารณา (ต่อ) การจัดให้มีพื้นที่และกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เอื้อและส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ ระดับความพึงพอใจของบุคลากรและนักศึกษาที่เกี่ยวกับประเด็น ๑-๔ ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม เกณฑ์การให้คะแนน (เชิงคุณภาพ นับปีการศึกษา) ๑ ปฏิบัติได้ ๑ ข้อ ๒ ปฏิบัติได้ ๒ ข้อ ๓ ปฏิบัติได้ ๓ ข้อ ๔ ปฏิบัติได้ ๔ ข้อ ๕ ปฏิบัติได้ ๕ ข้อ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม ข้อมูลประกอบ การพิจารณา ๑. หลักฐานที่แสดงรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรมที่พัฒนาสุนทรียภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่สถาบันดำเนินการในแต่ละปี ๒. โครงการหรือกิจกรรมที่แสดงรายละเอียดที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สามารถประเมินได้ ๓. รายงานสรุปผลหรือประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมที่พัฒนาสุนทรียภาพทางศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม ข้อมูลประกอบการพิจารณา (ต่อ) ๔. หลักฐานที่อธิบายรายละเอียดและแสดงกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลของการสรุปผลสำเร็จ เช่น ขั้นตอนและช่วงระยะเวลาเก็บข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง แบบสำรวจหรือแบบสอบถาม หรือ แบบประเมิน วิธีการวิเคราะห์ผล เป็นต้น ๕. ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในประเด็นการพิจารณาในข้อ ๒ และข้อ ๓ เช่นภาพถ่ายก่อน และ หลังการดำเนินการ
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๑ • เขียนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนดให้บุคลากร ตลอดจนนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการเป็นประจำทุกปี และได้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารได้มีการกำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับกิจกรรมดังกล่าวที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๒ เขียนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยฯได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้านความปลอดภัยของอาคารสถานที่ สะอาดถูกสุขลักษณ์ และตกแต่งอย่างมีสุนทรีย์ เช่น Big cleaning day ๕ส. ฯลฯ เป็นต้น
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๓ เขียนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ ได้มีการปรับปรุงบริเวณรอบอาคาร เช่น จัดให้มีที่นั่งพักระหว่างรอเรียน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนจัดให้มีการปลูก ดูแล และบำรุงรักษาต้นไม้และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แหล่งน้ำบริเวณรอบอาคารต่าง ๆ ให้สะอาด เป็นต้น
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๔ เขียนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ มีพื้นที่และกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมที่เอื้อและส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมสำหรับแสดงผลงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม หอศิลปกรรมที่สำหรับแสดงผลงานด้านศิลปะให้บริการเผยแพร่ผลงานศิลปะทั้งภายในและภายนอก โดยจัดให้มีการจัดแสดงผลงานอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการเขียนผลการดำเนินงานแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพิจารณา ข้อ ๕ จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจที่เกี่ยวกับประเด็น ๑-๔ ของบุคลากร ๑ ชุด และนักศึกษา ๑ ชุด แยกออกจากกัน เพราะความพึงพอใจระหว่างบุคลากร และนักศึกษา ไม่เหมือนกัน โดยคะแนนต้องไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕
ขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่าน สวัสดีครับ