1 / 20

บทที่ 7

บทที่ 7. ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย. ความเป็นมาของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย.

leo-fox
Download Presentation

บทที่ 7

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย อ. ชารวี บุตรบำรุง

  2. ความเป็นมาของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยความเป็นมาของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือในชื่อ Export Import Bank of Thailand หรือ EXIM Bank เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2536 กำหนดทุนประเดิมของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นจำนวน 2,500 ล้านบาท ต่อมาธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระทรวงการคลังจึงได้สมทบเงินทุนเพิ่มเติมให้อีกจำนวน 2,500 ล้านบาท ในเดือนเมษายน และจำนวน 1,500 ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม 2541 โดยพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้กำหนดขอบเขตอำนาจในการทำธุรกิจไว้อย่างกว้างขวาง อ. ชารวี บุตรบำรุง

  3. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงสามารถให้สินเชื่อได้ทุกรูปแบบ เช่น สินเชื่อระยะสั้นและสินเชื่อระยะยาว สินเชื่อในประเทศและสินเชื่อต่างประเทศโดยสามารถทำธุรกิจได้ทั้งที่เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทุกประเภททั้งในประเทศและต่างประเทศและออกตราสารทางการเงินระยะสั้นและระยะยาวขายแก่สถาบันการเงินและประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  4. การดำเนินงานของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 1. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตสินค้าส่งออก 1.1 สินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกเป็นสกุลเงินบาท ดอลลาร์สหรัฐฯและเยน ลักษณะวงเงินสินเชื่อเป็นวงเงินหมุนเวียนเพื่อให้ผู้ส่งออกนำไปใช้ในการจัดเตรียมสินค้าส่งออกโดยการส่งออกสินค้าทุกชนิด สินเชื่อนี้ ธสน.ให้กู้โดยตรงแก่ผู้ส่งออกเป็นสกุลเงินบาท หรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในกรณีที่ผู้ส่งออกกู้เป็นเงินดอลลาร์ เงินที่ได้รับจากการขายเอกสารการส่งออกสามารถนำไปใช้ชำระหนี้เงินกู้ได้โดยทันที โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาท อ. ชารวี บุตรบำรุง

  5. 1) หลังจากที่ ธสน. ได้กำหนดวงเงินและจัดทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้ส่งออกได้รับเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) และสัญญาซื้อขาย (contact) หรือคำสั่งซื้อ (P/O) ผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารเหล่านี้มาใช้ประเมินกู้จากวงเงินดังกล่าว 2) ในการเบิกเงินกู้แต่ละครั้ง ผู้ส่งออกจะออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เป็นสกุลเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาที่ทำกับ ธสน. เป็นจำนวนตามอัตราส่วนของมูลค่าในเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อ ระยะเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า โดยไม่เกิน 20 วัน อ. ชารวี บุตรบำรุง

  6. 3) เมื่อส่งสินค้าแล้ว ผู้ส่งออกสามารถส่งมอบเอกสารส่งออกมาขายที่ ธสน. และนำเงินที่ได้จากการขายเอกสารส่งออกมาชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เงินส่วนที่เหลือเป็นของผู้ส่งออก (ในกรณีที่ผู้ส่งออกทำสัญญากู้เงินเป็นเงินดอลลาร์ เงินเยน ธสน. จะจ่ายคืนส่วนที่เหลือนี้เป็นเงินบาทให้แก่ผู้ส่งออก) 4) เป็นวงเงินหมุนเวียน (revolving line of credit) ซึ่งหลังจากชำระเงินกู้ที่คงค้างอยู่แล้ว วงเงินนี้สามารถใช้รองรับการให้กู้ตามเอกสารการสั่งซื้อรายต่อๆ ไปได้ 5) ข้อมูลและเอกสารประกอบเพื่อใช้พิจารณาการให้สินเชื่อ ได้แก่ ประวัติการส่งออกและผลการดำเนินงาน เลตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อ รวมถึงหลักประกันและเอกสารของธุรกิจ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  7. 1.2 สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นวงเงินสินเชื่อสกุลเงินบาท เพื่อให้ผู้ส่งออกที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นำเงินไปใช้หมุนเวียนทั้งก่อนและหลักการส่งออก โดยสินเชื่อประเภทนี้จะคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกสกุลเงินบาท 1.3 สินเชื่อส่งออกทันใจ เป็นวงเงินหมุนเวียนเพื่อให้ผู้ส่งออกรายย่อยและรายใหม่ นำเงินไปใช้ในการจัดเตรียมสินค้าส่งออก โดยวงเงินสินเชื่อรายละ 2 ล้านบาท และมีหลักประกันเป็นการค้ำประกันส่วนบุคคลของกรรมการบริษัท อ. ชารวี บุตรบำรุง

  8. 1.4 สินเชื่อส่งออกเพิ่มค่า เป็นเงินทุนหมุนเวียนทั้งก่อนและหลังการส่งออก พร้อมให้สิทธิพิเศษในการใช้บริการประกันการส่งออก หากผู้ส่งออกมายื่นความประสงค์ขอใช้บริการประกันการส่งออกภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ลงนามในสัญญา เพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ส่งออกและสร้างความมั่นใจในการขยายการส่งออกไปสู่ผู้ซื้อใหม่หรือตลาดใหม่ รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดย ธสน. จะคุ้มครองความเสี่ยงในกรณีที่ไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศหรือธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจาก ธสน. ตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนด อ. ชารวี บุตรบำรุง

  9. 1.5 การบริการซื้อตั๋วสินค้าออก เป็นบริการที่ผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารส่งออกมาขายได้ในทันทีหลังจากมีการส่งสินค้าเพื่อให้ผู้ส่งออกนำเงินไปใช้หมุนเวียนในกิจการ โดยตั๋วสินค้าออกต้องมีระยะเวลาชำระไม่เกิน 180 วัน 1) ใช้ต่อเนื่องจากสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกได้ทันที ซึ่งหมายถึง เมื่อผู้ส่งออกได้ทำการส่งสินค้าแล้ว สามารถนำเอกสารการส่งออกมาขายกับ ธสน. เพื่อนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ ส่วนต่างจำนวนเงินที่เหลือคืนให้ผู้ส่งออก ในการนี้จะต้องมีการขอวงเงินก่อน 2) ใช้ต่อเนื่องจากการบริการประกันการส่งออก หมายถึง ผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือและมาแจ้งประกันแล้ว สามารถนำตั๋วส่งออกที่มีตราประทับรับประกันมาขายได้ทันทีตามวงเงินที่กำหนด อ. ชารวี บุตรบำรุง

  10. 2. สินเชื่อระยะกลางและระยะยาว 2.1 สินเชื่อเพื่อการขยายกำลังการผลิต เป็นเงินกู้เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถขยายกำลังการผลิตของกิจการ เช่น การลงทุนขยายกิจการ การซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่างๆ รวมทั้งการสร้างโรงงานใหม่ ทั้งนี้ต้องเป็นกิจการที่มีรายได้เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศหรือเป็นกิจการที่ผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า 2.2 สินเชื่อพาณิชย์นาวี เป็นสินเชื่อระยะยาวเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศซื้อหรือทดแทนเรือเก่า เป็นการสนับสนุนให้ใช้เรือไทยแทนการใช้บริการเรือจากต่างประเทศ เพื่อลดการขาดดุลการค้า โดยกิจการที่กู้ยืมต้องเป็นกิจการของคนไทย และต้องนำเงินกู้ไปลงทุนซื้อเรือใหม่แทนเรือเก่า อ. ชารวี บุตรบำรุง

  11. 3. บริการการสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศเป็นการให้บริการและคำปรึกษาเพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนกับนักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือนักลงทุนไทย 3.1 บริการการสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ 1) ธสน. ให้กู้แก่บริษัทผู้ดำเนินโครงการในต่างประเทศ (project company) ซึ่งมีนักลงทุนไทยหรือให้กู้แทนนักลงทุนไทยเพื่อใช้ในการลงทุนในโครงการต่างประเทศ และมีอายุโครงการลงทุนหรืออายุสินเชื่อไม่เกิน 7 ปี 2) หากโครงการมีความต้องการสินเชื่อมากกว่าที่ ธสน.จัดหาให้ได้ ธสน.อาจจะจัดหาเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่นๆ ให้ในลักษณะเงินร่วมให้กู้ (syndicated loan) อ. ชารวี บุตรบำรุง

  12. 3.2 บริการข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อให้บริการข้อมูลและลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยมุ่งเน้นที่ประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศไทย เช่น เวียดนาม กัมพูชาและประเทศจีน เป็นต้น และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พบในการลงทุนในประเทศเป้าหมาย 3.3 บริการสนับสนุนธุรกิจก่อสร้างในต่างประเทศ 1) เงินกู้หรือสินเชื่อระยะยาว เป็นเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเพื่อใช้ว่าจ้างผู้รับเหมาไทย การให้กู้ยืมไม่เกินร้อยละ 85 ของมูลค่างานก่อสร้าง โดยสามารถแบ่งเป็นการกู้ยืมสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่ธนาคารผู้ว่าจ้าง หรือให้กู้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯแก่ผู้ว่าจ้างโดยตรง (buyer’s credit) อ. ชารวี บุตรบำรุง

  13. 2) เงินกู้หรือสินเชื่อระยะสั้นและระยะกลาง เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการก่อสร้างในต่างประเทศ แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยที่ได้งานก่อสร้างในต่างประเทศ การกู้ยืมมีทั้งเงินสกุลบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ 3) การออกหนังสือค้ำประกันประเภทต่างๆ ตั้งแต่ประมูลงานจนถึงงานสำเร็จโดยหนังสือค้ำประกันประเภทต่างๆ เช่น ออกหนังสือค้ำประกันผู้รับเหมาก่อสร้างไทยให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยตรง และให้ธนาคารคู่ค้าออกหนังสือค้ำประกันผู้รับเหมาก่อสร้างไทยในแก่ผู้ว่าจ้าง โดย ธสน. ค้ำประกันธนาคารคู่ค้าอีกต่อหนึ่ง อ. ชารวี บุตรบำรุง

  14. 4. บริการประกันการส่งออก 4.1 บริการประกันการส่งออกภายใต้เงื่อนไขการชำระเงินแบบเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นการบริการประกันความเสี่ยงจากการไม่ชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่เปิดมาจากธนาคารทั่วโลก เช่น ธนาคารขนาดเล็ก ธนาคารที่มีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงที่ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิเสธการชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับเงินทดแทนจาก ธสน. ตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนด ซึ่งยึดแบบประเพณีและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตที่มีเอกสารประกอบ (UCP500) การประกันความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงของผู้ส่งออก อ. ชารวี บุตรบำรุง

  15. 4.2 บริการประกันการส่งออกภายใต้เงื่อนไขต่างๆ สำหรับผู้ที่ส่งออกภายใต้การชำระเงินแบบเป็นคำสั่งให้ธนาคารของผู้ซ้อมอบเอกสารให้ผู้ซื้อได้ ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (documents against payment : D/P) หรือแบบคำสั่งให้ธนาคารของผู้ซื้อมอบเอกสารให้แก่ผู้ซื้อได้ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงินที่มีระยะเวลาให้แก่ธนาคารเสียก่อน (documents against acceptance : O/A) ซึ่งคุ้มครองความเสี่ยงในการไม่ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อตามเงื่อนไขดังกล่าวจาก 130 ประเทศทั่วโลก จะได้รับเงินจากค่าสินไหมทดแทนจาก ธสน. ตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนด โดยธสน. รับประกันความเสี่ยง 2 ประเภท คือ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  16. 1) ความเสี่ยงทางการค้า เช่น ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการชำระเงิน หรือผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า ซึ่งจะคุ้มครองความเสี่ยงร้อยละ 85 ของความเสียหาย 2) ความเสี่ยงทางการเมือง การควบคุมการโอนเงินมายังประเทศไทย ผู้ซื้อไม่สามารถนำสินค้าเข้าไปในประเทศได้หรือเกิดสงคราม จลาจล ปฏิวัติ รัฐประหาร จะคุ้มครองความเสี่ยงร้อยละ 90 ของความเสียหาย อ. ชารวี บุตรบำรุง

  17. 4.3 บริการประกันตั๋วส่งออกรายย่อย (small export bill insurance) เป็นบริการที่ผู้ส่งออกสามารถนำตั๋วส่งออกมูลค่าไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ต่อผู้ซื้อ 1 ราย มารับประกันการส่งออกและขายลดตั๋วกับ ธสน.ได้ โดยวงเงินผู้ส่งออกรวมสำหรับผู้ส่งออกแต่ละรายต้องไม่เกิน 2.5 ล้านบาท เพื่อเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ส่งออก อ. ชารวี บุตรบำรุง

  18. 4.4 บริการประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อและธนาคารผู้ซื้อ (buyer risk assessment report) เป็นบริการที่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อหรือธนาคารผู้ซื้อในต่างประเทศจากข้อมูลขององค์กรข้อมูล (credit information agency) ในประเทศที่ผู้ซื้อหรือธนาคารผู้ซื้อประกอบกิจการเพื่อวิเคราะห์และประเมินผลให้แก่ผู้ส่งออก นำไปใช้ในประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจทำการค้าที่เหมาะสม อ. ชารวี บุตรบำรุง

  19. 5. บริการการค้าระหว่างประเทศ 5.1 บริการการส่งออก เป็นบริการให้คำปรึกษาในการแจ้งเปิด รวมถึงการยืนยันและบริการส่งเอกสารเรียกเก็บภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งผู้ส่งออกสามารถใช้บริการนี้ต่อเนื่องจากบริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกและบริการรับประกันการส่งออกรวมถึงการส่งเอกสารที่ ธสน.รับประกันการส่งออกไปเรียกเก็บยังธนาคารปลายทางและบริการรับซื้อเอกสารส่งออก 5.2 บริการการนำเข้า เป็นบริการเพื่อการติดต่อการค้าระหว่างประเทศ เช่น การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (trust receipt : TR) บริการเงินโอนขาออกเพื่อชำระค่าสินค้าบริการ รวมทั้งบริการเอกสารนำเข้าภายใต้เงื่อนไข คำสั่งให้ธนาคารของผู้ซื้อมอบเอกสารให้ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (documents against payment : D/P) และคำสั่งให้ธนาคารของผู้ซื้อมอบเอกสารให้แก่ผู้ซื้อได้ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงินที่มีระยะเวลาให้แก่ธนาคารเสียก่อน (documents against acceptance : D/A) อ. ชารวี บุตรบำรุง

  20. 5.3 บริการอื่นๆ เป็นบริการสนับสนุนการทำธุรกรรมและการค้าระหว่างประเทศอื่น เช่น การให้บริการการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บริการโอนเงินระบบบาทเน็ท บริการด้านบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ เพื่อชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการต่างประเทศ รวมทั้งบริการออกหนังสือค้ำประกัน เช่น เอกสารเพื่อการค้ำประกันที่ธนาคารเป็นผู้ออกตามคำขอของลูกค้า เป็นต้น อ. ชารวี บุตรบำรุง

More Related