470 likes | 776 Views
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. รายได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีฯ. จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี. เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น. การยกเว้นตามมาตรา 42 การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) การยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา อาศัยมาตรา 3
E N D
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีฯ จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น • การยกเว้นตามมาตรา 42 • การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) • การยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา อาศัยมาตรา 3 • การยกเว้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน (พ.ศ. 2520)
การยกเว้นตามมาตรา 42 • ม.42(1) ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ป.59/2538 ฎ.1793/2519
กค 0706/2059 ลว. 1 มี.ค. 2547 เงินค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่พนักงานได้รับเนื่องจากเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว จะได้รับยกเว้นภาษี ต้องเป็นกรณีที่พนักงานได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการนั้น และหากพนักงานได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ให้ถือว่า ค่าเบี้ยเลี้ยงนั้นเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการนั้น จึงไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์และได้รับยกเว้นฯ ตาม ม.42(1) แต่ในส่วนค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราที่เป็นส่วนเกิน และไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น ต้องนำค่าเบี้ยเลี้ยงที่เกินอัตราดังกล่าวมารวมเป็นเงินได้
การยกเว้นตามมาตรา 42_2 • ม.42(2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดย พรฎ.ว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง • ฎ.10146/2539
การยกเว้นตามมาตรา 42_3 • ม.42(3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรกหรือในการกลับถิ่นเดิม เมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 360 วันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
การยกเว้นตามมาตรา 42_4 • ม.42(4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากัน โดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างในจำนวนเดียว เมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
การยกเว้นตามมาตรา 42_5 • ม.42(5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ • ม.42(6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล • ม.42(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการ หรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
การยกเว้นตามมาตรา 42_6 • ม.42(8) ดอกเบี้ย ดังต่อไปนี้ • (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก • (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ • (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท* ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
การยกเว้นตามมาตรา 42_7 • ม.42(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือ แพ • กค 0706/4268 ลว. 26 พ.ค. 2548
การยกเว้นตามมาตรา 42_8 • ม.42(10) เงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี • กค.0706(กม.06)/202 ลว 2 มี.ค. 2548 • กค.0706/ 1689 ลว. 25 ก.พ. 2548 • กค.0706/5662 ลว. 12 ก.ค. 2548 • ฎ.1680/2517, ฎ.1561/2524 • ฎ.1262/2520
การยกเว้นตามมาตรา 42_9 • ม. 42(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด • ม.42(12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอดหรือบำเหน็จตกทอด
กค.0706/1627 ลว. 24 กพ. 2548 พนักงานเทศบาล มิใช่ข้าราชการพลเรือนตามความหมายใน พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 เมื่อถึงแก่ความตาย เงินบำเหน็จบำนาญที่ได้รับจึงไม่เข้าลักษณะเป็นบำเหน็จตกทอดอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(12) เพราะบำเหน็จตกทอดอันจะได้รับยกเว้นภาษีนั้น ผู้ถึงแก่ความตายจะต้องเป็นข้าราชการและเป็นการจ่ายให้ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการเท่านั้น เงินบำเหน็จที่สำนักงานเทศบาลจ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)
การยกเว้นตามมาตรา 42_10 • ม.42(13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์ • ฎ. 2366/ 2516 ค่าเสียหายตามสัญญา เนื่องจากการผิดสัญญาไม่ได้รับยกเว้นภาษี • ม.42(14) เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม
การยกเว้นตามมาตรา 42_11 • ม.42(15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนหรือครอบครัวได้ทำเอง • ม.42(16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดกซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ • ม.42(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง • ม.42(18)รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย
การยกเว้นตามมาตรา 42_12 • ม.42(19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ • ม.42(20) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม • ม.42(21) เงินได้ของกองทุนรวม • ม. 42(22) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (1) เงินได้จากกิจการของโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนเอกชน ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน กค.0706/7572 ลว. 8 ก.ย. 2548
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_1 (2)เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล (3)เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงาน ในระหว่างเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าวซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนิสิตที่เข้ามาศีกษา ณ สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_2 (4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ (ก)ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ จำนวนเงินดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_3 (6) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้าน หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา (8)เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_4 (9)เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (10)รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_5 (12)เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (13) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับจ้างให้ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_6 (15)เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้ กค 0706/395 ลว 17 ม.ค. 2548
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_7 (16)เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนค่าจ้างและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก (ก)คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย (ข)รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_8 (17)เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000บาท ตลอดปีภาษีนั้น
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_9 (18)เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_10 (22)ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (23)เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร (29)เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_11 (32)เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใดๆที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_12 (34)เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ในจำนวนคนละไม่เกิน 2 ชุดต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกิน 1 ตัวต่อปี (35)เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 290,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_13 (36)เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ...เมื่อลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 52) กค 0706/5342 ลว. 30 พค. 2550
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_14 (37) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากกิจการเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมิได้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_15 (38)ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_16 (41) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) โดยจดทะเบียนการได้มาใน พ.ศ. 2540 และขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายหลังการจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2550
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_17 (43)เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_18 (44)เงินหรือประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากออกจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทนหรือตาย ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70)
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_19 (53) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 88
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_20 (55) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_21 (61) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษีสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000บาท แต่ไม่เกิน 40,000บาทเฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 112)
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_22 (62) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง การได้รับตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่า ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อน หรือนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_23 (65) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆที่ได้รับ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม (55)
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_24 (66) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทและต้องเป็นเงินได้ของบุคคลธรรมดา เท่านั้น ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 133)
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_25 (68) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคเพื่อการกีฬา... แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของ เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_26 (69) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท และผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี บริบูรณ์
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_27 (70) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น... แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2547
การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_28 (72) เงินได้ที่มีผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปี บริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาททั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548