340 likes | 757 Views
ปรัชญาเบื้องต้น อ้างอิง : กีรติ บุญเจือ, ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มห้า โยสไตน์ กอร์เดอร์, สายพิณ ศุพุทธมงคล แปล, โลกของโซฟี , โครงการจัดพิมพ์คบไฟ เพื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เข้า google หรือ youtube แล้วพิมพ์ Sophie’s world. ปรัชญา. Philo แปลว่าความรัก Sophia แปลว่าความปราดเปรื่อง
E N D
ปรัชญาเบื้องต้นอ้างอิง: กีรติ บุญเจือ, ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มห้าโยสไตน์ กอร์เดอร์, สายพิณ ศุพุทธมงคล แปล, โลกของโซฟี, โครงการจัดพิมพ์คบไฟ เพื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เข้าgoogleหรือ youtubeแล้วพิมพ์ Sophie’s world
ปรัชญา • Philo แปลว่าความรัก • Sophia แปลว่าความปราดเปรื่อง • Philosophy แปลว่าความอยากรู้ อยากเรียน อยากฉลาด • ชญา แปลว่า รู้ เข้าใจ • ปร + ชญา แปลว่าความรอบรู้ • เรียนปรัชญาเพื่อให้รู้ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก • จงยกปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก
เนื้อหาของวิชาปรัชญา • อภิปรัชญา (metaphysics) พยายามค้นคว้าว่าความเป็นจริงคืออะไร • ญาณวิทยา (epistemology) พยายามตอบคำถามว่าเรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร • ตรรกวิทยา (logic) ช่วยให้รู้กฎเกณฑ์ของความคิด เพื่อนำไปคิดปัญหาปรัชญา • จริยศาสตร์ (ethics) คือวิชาว่าด้วยความประพฤติ พยายามตอบคำถามว่าความดีคืออะไร
กระบวนทัศน์ • กระบวนทัศน์ (paradign) แปลว่า ชุดของทฤษฎี ชุดของแนวคิด ค่านิยมการรับรู้และการปฏิบัติ ที่คนกลุ่มหนึ่ง ในยุคสมัยหนึ่งมีร่วมกัน และได้ก่อตัวเป็นแบบแผนความคิดเกี่ยวกับความเป็นจริงของคนกลุ่มนั้น • ประวัติความคิดเชิงปรัชญาของมนุษย์ อาจสรุปได้เป็นกระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์
5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์ 1. กระบวนทัศน์ดึกดำบรรพ์ มองว่าโลกไม่มีกฎ และอะไรก็ไม่มีกฎ ทุกอย่างเป็นไปตามน้ำพระทัยของเบื้องบน แต่น้ำพระทัยของเบื้องบนเองก็ไม่มีกฎ ผู้ถือกระบวนทัศน์แบบนี้หากมีคัมภีร์อ่านก็คงตีความตามตัวอักษร เฉพาะประโยค และเฉพาะตอน ซึ่งเบื้องบนอาจจะเปลี่ยนแปลงข้อความในคัมภีร์ได้ตามน้ำพระทัย ความหมายขัดแย้งไม่ถือว่าสำคัญสำหรับมนุษย์ดึกดำบรรพ์ เพราะมนุษย์ดึกดำบรรพ์จะเพ่งเล็งเฉพาะหน้าเท่านั้น ข้อความบางข้อความอาจจะมีมนต์ขลัง เป็นคาถาอาคมเฉพาะหน้าจนกว่าจะเสื่อมมนต์ขลัง ถ้าไม่มีคัมภีร์ก็ถือเรื่องผี หรือจิตวิญญาณ
5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์ 2. กระบวนทัศน์โบราณ มองว่าเอกภพมีกฎตายตัว กฎทุกกฎของเอกภพเป็นกฎนิรันดร จึงตายตัว แต่ยังไม่รู้วิธีการวิทยาศาสตร์ จึงไม่มีใครกล้ายืนยันว่า ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงกฎของเอกภพได้ด้วยตนเอง ในช่วงนี้จึงมีเจ้าสำนักเกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด ใครอยากได้ความจริงต้องยึดเจ้าสำนักที่ตนพอใจเป็นหลัก และหันหลังให้เจ้าสำนักอื่น ๆ ทั้งหมดผู้ถือกระบวนทัศน์แบบนี้ หากมีคัมภีร์ให้ตีความ ก็จะยึดหลักการตีความของเจ้าสำนักเป็นหลัก และปฏิเสธการตีความของสำนักอื่นทั้งหมด ใครเป็นศิษย์หลายสำนักถือว่าเลวมาก ถูกตำหนิว่าเหยียบเรือสองแคม ชายหลายโบสถ์ คบไม่ได้
5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์ 3. กระบวนทัศน์ยุคกลาง มองว่าเอกภพมีกฎตายตัวก็จริง แต่ให้เพียงความสุขเจือความทุกข์ จึงเชื่อตามศาสดาที่ยืนยันว่า ความสุขในโลกหน้าเท่านั้นที่เที่ยงแท้ถาวร และยินดีทำทุกอย่างเพื่อได้ความสุขในโลกหน้าตามที่ศาสดาสอนผู้ถือกระบวนทัศน์แบบนี้ หากมีคัมภีร์ให้ตีความ ก็จะตีความให้เข้าล็อคดังกล่าว มิฉะนั้นก็ไม่สนใจ และถือว่าเป็นประเด็นย่อยส่งเสริมประเด็นหลัก ถ้ามองไม่เห็นก็ทิ้งไว้ก่อนจนกว่าจะเห็น
5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์ 4. กระบวนทัศน์นวยุค มองว่าเอกภพมีกฎประสานกันเป็นระบบเครือข่ายที่รู้ได้ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์และเหตุผลผู้ถือกระบวนทัศน์แบบนี้ หากมีคัมภีร์ต้องตีความ ก็จะตีความให้สอดคล้องกับการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายของความจริง หากเรื่องใดตีความให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ไม่ได้จริง ๆ ก็จะอธิบายว่าเป็นเรื่องที่พระเจ้าแทรกไว้ในคัมภีร์เพื่อทดลองความเชื่อ ความวางใจ และความรักของผู้มีศรัทธาในพระองค์ เพื่อเป็นมาตรการคัดสรรมิให้ผู้ขึ้นสวรรค์มีมากนัก
5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์5กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์ 5. กระบวนทัศน์หลังนวยุค มองว่าเอกภพมีกฎเป็นระบบเครือข่ายที่ประกอบด้วยปมข่าย ใยข่าย และตาข่าย - ปมข่าย (netpoint) รู้ได้ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ - ใยข่าย (netline) รู้ได้ด้วยกฎตรรกะและกฎคณิตศาสตร์ - ตาข่าย (neteye) รู้ได้ด้วยการหยั่งรู้ เพ่งฌาณ หรือวิวรณ์(revelation)ผู้ถือกระบวนทัศน์นี้ หากมีคัมภีร์ต้องตีความ ก็มีแนวโน้มที่จะตีความแบบพหุนิยม (pluralism) ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่สนใจเจตนาของผู้เขียนเท่ากับเจตนาขององค์การศาสนาที่เลือกเอาตัวบทนั้นมาเป็นคัมภีร์ของตน และตนเองก็มีหน้าที่เข้าใจและตีความให้ได้คุณภาพชีวิตสูงสุดตามเป้าหมายของศาสนาโดยรวม คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างดีที่สุด อีกทั้งยึดถือนโยบาย Reread all, Reject none
กระบวนทัศน์ทับซ้อน • ความคิดของสังคมไทยประกอบไปด้วย กระบวนทัศน์ซึ่งผสมผสานกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง กล่าวคือมีกระบวนทัศน์ดึกดำบรรพ์ที่ถือผีถือโชคลาง กระบวนทัศน์ที่เชื่อว่ามีกฎเกณฑ์ทางโลก และที่เชื่อในกฎเกณฑ์ทางธรรม กระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์ และกระบวนทัศน์พหุนิยมตามหลักกาลามสูตรก็ปนเปกันไป • ความไม่ลงตัวเท่าที่ควรทางกระบวนทัศน์ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมหลวม ๆ หลายมาตรฐาน • ความขัดแย้งในเรื่องความคิดความเชื่อ ทำให้ระบบการเมืองการปกครองขาดเสถียรภาพ สังคมขาดสันติธรรม
คำถามมูลฐาน • ทุกอย่างที่มีอยู่ต้องมีจุดเริ่มต้นหรือไม่ • โลกมาจากไหน • พระเจ้ามีจริงไหม • มนุษย์คืออะไร • เราคือใคร เกิดมาทำไม มีอะไรเป็นเป้าหมายหรือไม่ • มีชีวิตหลังความตายหรือไม่
ตำนานทวยเทพ • อะไรคือความหมายของตำนานทวยเทพ • ตำนานทวยเทพอิงปรากฏการณ์ธรรมชาติหรืออิงจินตนาการของมนุษย์ • การเชื่อตำนานเป็นเพราะมนุษย์ในบุพกาลเชื่อว่าทวยเทพจัดระเบียบโลก หรือเชื่อว่าโลกไร้ระเบียบ (คล้ายกลีภพ) • ทำไมมนูษย์ในบุพกาลจึงประกอบพิธีกรรมโดยอิงตำนาน • ถ้าไม่พึ่งพิงตำนาน จะใช้อะไรดีในการอธิบายกระบวนการธรรมชาติ
นักปรัชญาธรรมชาติ • ถ้าสรรพสิ่งไม่อาจเกิดจากความว่างเปล่า บางอย่างเปลี่ยนจากธาตุมาเป็นสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร • อะไรคือปฐมธาตุที่เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง • ไม่มีอะไรที่สามารถเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ หรือทุกอย่างเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา • จริงหรือที่ทุกอย่างมีอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ทุกส่วน • จริงหรือที่ธรรมชาติประกอบด้วยอะตอมนานาชนิด ที่คงอยู่ตลอดไปและไม่อาจแยกย่อยลงไปได้อีก
นักปรัชญาเหตุผลนิยมรุ่นแรกนักปรัชญาเหตุผลนิยมรุ่นแรก • มโนธรรมที่คอยบอกว่าอะไรคือสิ่งถูกมีจริงไหม • จริงหรือไม่ว่าผู้ที่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีย่อมทำในสิ่งที่ดี • อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เลื่อนไหล • ความจริง ความงาม ความดีที่เที่ยงแท้มีอยู่ไหม • รูปแบบที่เที่ยงแท้มีอยู่ไหม
รัฐของเพลโต รัฐที่ดีขึ้นอยู่กับการปกครองด้วยเหตุผล รัฐดีรองลงมาปกครองด้วยกฎหมาย
คำถามของอริสโตเติล • อะไรมาก่อน ไก่ หรือรูปแบบของไก่ • ต้นไม้ สัตว์ และคนแตกต่างกันอย่างไร • ทำไมฝนจึงตก • ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตที่ดี
สองวัฒนธรรม • ยุโรปมีสองวัฒนธรรมคือ - วัฒนธรรมอินโด-ยูโรป (เน้นการมอง) - วัฒนธรรมเซไมต์ (เน้นการฟัง)
สามวัฒนธรรม • ในยุคกลาง อาณาจักรโรมันค่อย ๆ แตกออกเป็นสามวัฒนธรรม - วัฒนธรรมคริสต์แบบลาติน มีโรมเป็นศูนย์กลาง - วัฒนธรรมคริสต์แบบกรีก มีไบแซนติอุมเป็นศูนย์กลาง - วัฒนธรรมมุสลิม/อาหรับ ในแอฟริกาเหนือและเอเซียตะวันออกกลาง
นักบุญออกัสติน/นักบุญอไควนัสนักบุญออกัสติน/นักบุญอไควนัส • เวลาพระเจ้าสร้างโลก พระองค์มี “รูปแบบ” อยู่ในใจหรือไม่ • พระเจ้าตัดสินใจได้อย่างไรว่า มนุษย์คนไหนควรรอดพ้นจากนรก • ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเจ้า มนุษย์จะมีเจตจำนงเสรีได้อย่างไร • จริงหรือที่ประวัติศาสตร์คือการต่อสู้ระหว่าง “อาณาจักรของพระเจ้า” และ “อาณาจักรทางโลก” และพระเจ้ากำหนดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ไว้หมดแล้ว • จริงหรือที่หลักศรัทธาในศาสนาไม่ขัดกับหลักเหตุผล
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ • วัฒนธรรมอะไรช่วยทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ • อะไรคือสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้สังคมยุโรปออกจากยุคกลาง • ตลอดยุคกลางจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งคือพระเจ้า จุดเริ่มต้นเปลี่ยนมาเป็นอะไรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ • ท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับคำกล่าวที่ว่า “วัดทุกอย่างที่วัดได้ และทำทุกอย่างที่วัดไม่ได้ให้วัดได้”
ยุคเหตุผลในฝรั่งเศส: เดส์การ์ต • ท่านคิดอย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่” (หลักญาณทัสนะ) • ควรหรือไม่ที่จะแยกปัญหาเป็นหลายส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการเฉลย (หลักการวิเคราะห์) • ควรหรือไม่ที่จะจัดระบบความคิดเริ่มจากง่ายไปหาความซับซ้อน (หลักนิรนัย) • ควรหรือไม่ที่จะทบทวนทุกสิ่งให้ครบถ้วน เพื่อให้ได้ภาพรวม (หลักการสังเคราะห์)
ยุคประจักษ์นิยมในอังกฤษยุคประจักษ์นิยมในอังกฤษ • จริงหรือที่ว่า “ไม่มีอะไรในจิตของเรา นอกจากสิ่งที่เรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัส” • เราสามารถเชื่อถือสิ่งที่ประสาทสัมผัสบอกเราได้หรือไม่ • จริงหรือที่เราชอบสร้างมโนภาพเชิงซ้อนซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงกับวัตถุในโลกที่เป็นจริง • จริงหรือที่ไม่มี “ฉัน” หรือตัวตนที่ถาวรไม่เปลี่ยนแปลง
ยุคภูมิปัญญาของฝรั่งเศสยุคภูมิปัญญาของฝรั่งเศส • การคัดค้านอำนาจที่ครอบงำอยู่ • เหตุผลนิยม • ขบวนการในยุคภูมิปัญญา (สารานุกรม) • การมองโลกในแง่ดีทางวัฒนธรรม (การพัฒนานำไปสู่สิ่งที่ดี) • การหวนคืนสู่ธรรมชาติ (มนุษย์ดีงามอยู่แล้ว) • ศาสนาธรรมชาติ (เทวัสนิยมหรือ deism) • สิทธิมนุษยชน
คานต์ • “ประสาทสัมผัส” หรือ “เหตุผล” มีบทบาทสำคัญต่อการรับรู้เกี่ยวกับโลกของเราเพียงใด • การใช้เหตุผลจะบอกเราว่าพระเจ้ามีอยู่จริงได้หรือไม่ • การมีอยู่ของพระเจ้า และเจตจำนงเสรี มี “มูลบท” (สมมุติฐานที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้) ซึ่งสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติหรือไม่ • สมมุติฐานว่าพระเจ้ามีอยู่เป็นความจำเป็นทางศีลธรรมหรือไม่ • กฎทางศีลธรรมต้องตายตัวและเป็นกฎสากลหรือไม่
เฮเกล • ความคิดใดความคิดหนึ่งถูกตลอดกาล หรือถูก ณ จุดที่เรายืนอยู่ • ท่านคิดว่าความก้าวหน้าทางความคิดเกิดแบบวิภาษวิธี โดยมีสามขั้นตอนคือ ภาวะพื้นฐาน ภาวะแย้ง ภาวะสังเคราะห์ หรือไม่ • ท่านเชื่อไหมว่าประวัติศาสตร์จะตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด สิ่งที่ถูกต้องจะอยู่รอดได้
คีรเกกอรด์ • ท่านคิดอย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า “เรารับรู้การมีอยู่ของเรา เมื่อเราลงมือกระทำ หรือเมื่อเราตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ “ และ “ความจริงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล” • คีรเกกอร์ดคิดว่าคนเรามีชีวิตในสามรูปแบบ คือขั้นสุนทรียะ ขั้นจริยะ และขั้นศาสนา • ส่วนจะใช้ชีวิตอย่างไรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเรา
ชีวิตมีสารัตถะไหม • สารัตถะ (essence) มีอยู่จริงหรือ หรือว่ามีแต่การมีอยู่ของชีวิต (existence) • มนุษย์ต้องสร้างสารัตถะของเขา เพราะสิ่งนี้ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าจริงหรือ • จริงหรือที่มนุษย์รู้สึกแปลกแยกในโลกที่ปราศจากความหมาย • จริงหรือที่มนุษยถูกสาปให้มีเสรีภาพ • จริงหรือที่กลุ่มสังคมจะสร้างวาทกรรมเพื่อกำหนดสิ่งที่ตนรับรู้ว่าสำคัญให้แก่คนอื่น โดยหวังให้เป็นกระบวนทัศน์ครอบงำ • จริงหรือว่า เพื่อให้หลุดพ้นจากการครอบงำ เราจึงต้องรื้อและประกอบสร้างความคิด ความเชื่ออย่างรู้เท่าทันใหม่ตลอดเวลา