560 likes | 1.15k Views
ทฤษฎี แนวคิด ปรัชญา และอุดมการณ์ทางการเมือง. ทฤษฎีการเมือง (Political Theory). คือ ชุดของคำอธิบายที่มีต่อระบอบการเมือง ปรากฏการณ์ทางการเมือง ภายใต้หลักของเหตุผล ที่ผ่านการพิสูจน์หรือทดลองมาแล้ว แนวคิดทางการเมือง (Political Thoughts)
E N D
ทฤษฎี แนวคิด ปรัชญา และอุดมการณ์ทางการเมือง
ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) คือ ชุดของคำอธิบายที่มีต่อระบอบการเมือง ปรากฏการณ์ทางการเมือง ภายใต้หลักของเหตุผล ที่ผ่านการพิสูจน์หรือทดลองมาแล้ว แนวคิดทางการเมือง (Political Thoughts) คือ ความคิดความเข้าใจในเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน ที่แสดงออกมาเพื่อทำความเข้าใจว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร
ปรัชญาทางการเมือง (Political Philosophy) เป็นวิชาที่ว่าด้วย ความคิดเกี่ยวกับตีความ การสร้าง และกำหนดสิทธิ หน้าที่ ตลอดถึงความสัมพันธ์ตามแบบฉบับในการดำเนินชีวิตร่วมกันของมนุษย์ อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideologies) คือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อระบอบการเมือง หรือต่อผู้นำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่านิยม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคน หรือเป็นระบบความคิด ความเชื่อ หรือความศรัทธาของกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่งที่มีต่อระบบการเมือง การปกครอง ซึ่งระบบความเชื่อต่างๆ นี้จะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของการเมือง หลักการในการปกครอง วิธีดำเนินการปกครองของสังคมนั้น
ชัยอนันต์ สมุทรวณิช อธิบายว่า อุดมการณ์เป็นเรื่องของความเชื่อโดยไม่จำเป็นว่าความเชื่อนั้นจะเป็นความเชื่อที่ถูกต้องด้วยเหตุผล หรือสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงเสมอไป แต่ความเชื่อ (belief) โดยทั่วๆ ไปอาจไม่มีลักษณะเป็นอุดมการณ์ก็ได้ ความเชื่อที่จะเรียกว่าเป็นอุดมการณ์นั้นจะต้องเป็นระบบความคิดที่มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
ความเชื่อนั้นได้รับการยอมรับร่วมกันในกลุ่มชนความเชื่อนั้นได้รับการยอมรับร่วมกันในกลุ่มชน • ความเชื่อนั้นจะต้องเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญต่อกลุ่มชน เข่น หลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิต • ความเชื่อนั้นจะต้องเป็นความเชื่อที่คนหันเข้าหา และใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตัว และดำเนินชีวิตอย่างสม่ำเสมอและในหลายๆโอกาส • ความเชื่อนั้นต้องมีส่วนช่วยในการยึดเหนี่ยวในกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน หรือช่วยสนับสนุนหรือให้คนนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการทำกิจการต่างๆ ได้
อุดมการณ์มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการ • เพื่อธำรงรักษาระบบและสภาพการณ์เดิมของสังคมไว้ • เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในตัวระบบและการจัดระเบียบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง • เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพการณ์ใหม่อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น
ลักษณะบางประการของอุดมการณ์ลักษณะบางประการของอุดมการณ์ • อุดมการณ์ของบุคคลอาจเกิดมาจากปัจจัยหลายๆประการเช่น การศึกษา การเลี้ยงดูจากครอบครัว การกล่อมเกลาทางสังคม ฯลฯ • สำหรับอุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology)เป็นความเชื่อ แนวคิดและวิธีในการนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลทางด้านการเมืองทั้งกระบวนการ การใช้อำนาจของรัฐและความชอบธรรมแก่บทบาทของรัฐบาล
การปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองมักจะใช้วิธีการจูงใจและย้ำเตือนผ่านทางระบบการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม การใช้ระบบการส่อสารมวลชน หรือวิธีใดๆก็ได้ที่ทำให้ประชาชนยอมรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป • อุดมการณ์ทางการเมืองและลัทธิทางการเมืองจะมีความหมายคล้ายคลึงกันจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
หน้าที่และประโยชน์ของอุดมการณ์ทางการเมืองหน้าที่และประโยชน์ของอุดมการณ์ทางการเมือง 1. อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นตัวกำหนดบทบาทของบุคคลในระบบสังคมและการเมืองพร้อมทั้งวางแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในวิถีของระบบนอกจากนั้นอุดมการณ์ทางการเมืองยังทำหน้าที่นำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของมวลสมาชิกอีกด้วย 2. ทำให้ระบบการเมือง สังคมและเศรษฐกิจเป็นที่ยอมรับของสมาชิกเพราะว่าในการคงอยู่ของระบบสังคมจะขึ้นอยู่กับการยอมรับของสมาชิกซึ่งอุดมการณ์ทางการเมืองจะทำหน้าที่ดังกล่าว
3. อุดมการณ์ทางการเมืองทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการระดมพลเพื่อจุดมุ่งหมายในทางการเมืองหรือการพัฒนาประเทศ 4. เป็นการใช้พยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในอนาคตซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จริงหรือเป็นลักษณะที่เพ้อฝัน แม้ว่าอุดมการณ์ทางการเมืองจะมีอยู่หลายรูปแบบแต่ว่ารูปแบบที่จะศึกษาจะเป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลอยู่ในยุคปัจจุบันก็คือ เสรีนิยม สังคมนิยมและประชาธิปไตย
ประเภทของอุดมการณ์ทางการเมืองประเภทของอุดมการณ์ทางการเมือง กลุ่มที่ 1 เน้นเรื่องการใช้อำนาจรัฐ 1. เสรีนิยม (Liberalism) หมายถึง ความเชื่อและหลักในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายสูงสุดก็คือ “การรักษาเสรีภาพของบุคคลให้กว้างขวางมากที่สุด” เสรีนิยมมีจุดเริ่มต้นสำคัญในศตวรรษที่ 17 โดยจอห์น ล็อค (John Locke)นักปรัชญาชาวอังกฤษ
ลัทธิเสรีนิยมเป็นลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกซึ่งลัทธิเสรีนิยมนั้นยังมีรูปแบบที่แตกต่างภายในตัวเองอีกด้วยลัทธิเสรีนิยมเป็นลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกซึ่งลัทธิเสรีนิยมนั้นยังมีรูปแบบที่แตกต่างภายในตัวเองอีกด้วย เสรีนิยมหมายถึง ความเชื่อและหลักในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายสูงสุดก็คือ “การรักษาเสรีภาพของบุคคลให้กว้างขวางมากที่สุด” ลัทธิเสรีนิยมมีต้นกำเนิดมาจากวิวัฒนาการและทัศนะคติต่างๆของมนุษย์ที่มีต่อสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งการสะสมปัจจัยต่างๆทั้งความเจริญ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ช่วยให้ลัทธินี้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมได้เริ่มก่อตัวขึ้นในราวศตวรรษที่ 17-18 ที่ประเทศอังกฤษ ในระยะเริ่มปฏิรูปแนวคิดนี้มีความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ว่า บุคคลมีพลัง มีความสามารถในตัวเองและสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในหลังยุคปฏิรูปยังช่วยให้อุดมการณ์เสรีนิยมมีความมั่นคงยิ่งขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่า 1. เกิดสงครามขึ้นหลายครั้ง 2. นโยบายรัฐชาติสมัยใหม่ 3. ชนชั้นนำในสังคมมีแนวคิดที่เป็นมนุษย์ธรรมมากขึ้น
แนวคิดและหลักการของอุดมการณ์เสรีนิยมได้มีนักคิดหลายท่านที่ได้ให้แนวคิดและหลักการไว้ ซึ่งสามารถสรุปหลักการที่สำคัญๆได้ดังต่อไปนี้ 1. ให้คุณค่าในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี 2. มีความเชื่อถือและยึดมั่นว่าเสรีภาพเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถนำไปใช้ได้ 3. พยายามรักษานโยบายหรือสถาบันต่างๆในการรักษาและปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล 4. เสรีนิยมจะให้ความสำคัญต่อบุคคลแต่ก็ยังสนับสนุนความคิดแบบพหุนิยม
1.1 เสรีภาพส่วนบุคคล เน้นปัจเจกบุคคล 1.2 ธรรมชาติของมนุษย์ เชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีมีเหตุผล 1.3 เหตุผล ให้ความสำคัญต่อเหตุผล 1.4 ความก้าวหน้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนา 1.5 ความเท่าเทียมกัน 1.6 ความเป็นสากล ใช้ได้ทั่วโลก 1.7 รัฐบาล ต้องมาจากประชาชน 1.8 เสรีภาพทางเศรษฐกิจ รัฐต้องอำนวยความสะดวกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
2. อุดมการณ์ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย (Democracy) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำก็คือ “demos”ที่นิยมแปลกันว่า “ประชาชน” และ “Kratos” ที่หมายถึงอำนาจและการปกครอง สำหรับบางคนได้เรียนรู้คำว่าประชาธิปไตยมาจากประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่ท่านได้กล่าวว่าประชาธิปไตยคือ “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” ประชาธิปไตยในฐานะอุดมการณ์ทางการเมืองรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้นในครึ่งหลังของคริสตวรรษที่ 18 เมื่อเกิดสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองแบบที่ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง”
โดยเฉพาะเมื่อเกิดการปฏิวัติอเมริกาโดยในครั้งนั้นได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคมของยุโรปที่ได้รับการเผยแพร่จากนักคิดชาวอเมริกันที่ชื่อ โทมัส เจฟเฟอร์สัน ซึ่งเขาได้มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับจอห์น ล็อค นักปราชญ์ที่วางรากฐานแนวคิดของเสรีนิยมในประเทศอังกฤษที่เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์จะมี “เสรีภาพ มีความเสมอภาค และเป็นอิสระ” ซึ่งสังคมการเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ตามแนวความคิดของเจฟเฟอร์สันจะต้องมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยที่มีปัจจัยหรือองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างน้อย 4ประการด้วยกันก็คือ
1. การศึกษาสาธารณะ 2. การมีส่วนร่วมทางการเมือง ปัจจัยหรือองค์ 3. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ประกอบ 4. การมีตัวแทนจาก “อภิชนตามธรรมชาติ” สำหรับหลักการของอุดมการณ์ประชาธิปไตยมีอยู่มากมายแต่ที่หลักการที่สำคัญๆที่จะกล่าวถึงก็คือ 1. อำนาจเป็นของประชาชน 2. สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล 3. การปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่
4. รัฐบาลที่เปิดเผยและตรวจสอบได้ 5.สาธารณะประโยชน์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ว่าอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศยังมีความเข้ม แข็งน้อยมาก สำหรับจุดที่ต้องพิจารณาก็คืออุดมการณ์ทางการเมืองมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันก็คือ รูปแบบแรกเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่สร้างความเร้าใจและปลุกความตื่นตัวในการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียกได้ว่าเป็นแบบ “passive ideology”
รูปแบบที่สองก็เป็นรูปแบบที่ทำหน้าที่ในการปลุกเร้าใจเช่นเดียว กันแต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการอธิบายและให้เหตุผลรวมทั้งเป็นการอธิบายภาพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นแก่มวลชนอีกด้วยซึ่งเป็นอุดมการณ์แบบ “active ideology” ซึ่งประเทศไทยยังอยู่ในรูปแบบแรกเพราะฉะนั้นจึงควรที่จะมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบแรกและรูปแบบที่สองเข้าด้วยกัน โดยการกล่าวถึงแนวทางในการปฏิบัติ หลักการต่างๆ รวมทั้งบรรยายภาพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นให้กับบุคคลและสังคมได้ทราบร่วมกันเพราะถ้ามีแต่การปลุกเร้าอย่างเดียวโดยไม่มีแก่นสารในการปฏิบัติสิ่งดีๆที่ต้องการให้เกิดย่อมไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
3. อนุรักษ์นิยม (Conservatism) • แนวคิดอนุรักษ์นิยมมักถือกันว่าเป็นแบบ “หัวเก่า” หรือ “หัวโบราณ” คือชอบสภาวะเดิม และยึดถือขนบธรรมเนียมเก่าๆ อย่างมั่นคง อุดมการณ์นี้ตรงกันข้ามกับพวกเสรีนิยม พวกเสรีนิยมมักจะเรียกพวกอนุรักษนิยมว่า “คนที่ไม่เชื่อว่าจะมีอะไรที่ควรทำเป็นครั้งแรก” พวกอนุรักษ์นิยมได้รับชื่อว่าเป็นพวกฝ่ายขวา พวกปฏิกิริยา (reactionary) พวกระมัดระวัง (cautions) ทางสายกลาง (moderate) และเชื่องช้า (slow) ตามประวัติศาสตร์ พวกอนุรักษนิยมเกิดขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการต่อต้านอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศส
3.1 เน้นความมีระเบียบและความมีเสถียรภาพ 3.2 โดยธรรมชาติมนุษย์มีแก่นแท้ที่ไม่ดี มีความชั่วร้าย 3.3 ให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าเหตุผล 3.4 ให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป 3.5 เน้นเสรีภาพมากกว่าความเสมอภาค 3.6 เน้นความหลากหลายมากกว่าสากลนิยม 3.7 เน้นเสรีภาพแต่รัฐบาลยังเป็นสิ่งที่จำเป็น รัฐบาลควรให้เสรีภาพแก่เอกชน
ในศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์อนุรักษนิยมมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างมาก ถึงแม้ว่าแนวความคิดในเรื่องหลักๆ จะยังคงเหมือนเดิม แต่เรื่องแนวคิดเรื่องวิถีทางเศรษฐกิจของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป พวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservatism) จะมีแนวคิดคล้ายพวกเสรีนิยมเก่าในเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ โดยต้องการให้รัฐบาลถูกจำกัดอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจ • ปัจจุบันทั้งพวกอนุรักษนิยมใหม่และพวกเสรีนิยมใหม่มีความคาบเกี่ยวกันในหลายด้าน แม้กระทั่งในคนๆ เดียวกัน ในบางกรณีอาจเป็นอนุรักษนิยม ในบางกรณีอาจเป็นเสรีนิยม อุดมการณ์ทั้งสองประการจึงไม่สามารถถูกเรียกได้ว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดไป มันได้ถูกนำมาใช้อธิบายแนวความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
4. ฟาสซีสม์ (Fascism) • ฟาสซิสม์ถือกำเนิดในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยกลุ่มการเมืองที่รวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการยุติความเป็นกลางของอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสนับสนุนให้อิตาลีเข้าร่วมสงคราม แม้ว่าในตอนแรกกลุ่มนี้จะไม่มีเป้าหมายในการก่อตั้งองค์กรก็ตาม แต่เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini) ปัญญาชนสังคมนิยมก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของอุดมการณ์ฟาสซิสม์ในอิตาลี
ฟาสซิสม์เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดำเนินไปพร้อมๆ กันภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนำของผู้นำ ในแง่หนึ่งฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดจะช่วยถ่วงดุลการใช้อำนาจของผู้นำไว้ได้เลย ส่วนความหมายของคำว่าฟาสซิสม์ (fasism) นั้น ถูกนำมาใช้จากศัพท์ลาตินว่า Fasces ซึ่งแปลว่า การผูกไว้ด้วยกัน แต่ใช้ในความหมายว่า อำนาจที่มาจากความสามัคคี
หลักการสำคัญ 4.1 รัฐมีอำนาจเหนือปัจเจกชน 4.2 เน้นความเป็นชาตินิยม 4.3 ต่อต้านเสรีนิยม 4.4 ชื่นชอบลัทธิทหาร ส่งเสริมแสนยานุภาพกองทัพ 4.5 เชิดชูผู้นำ ปกครองโดยระบอบเผด็จการ 4.6 ต่อต้านคอมมิวนิสต์
กลุ่มที่ 2 เน้นเรื่องเศรษฐกิจ 1. ทุนนิยม (Capitalism) ลัทธิทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจ (ไม่ใช่ระบบการเมือง) ที่เกิดขึ้นและพัฒนามาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 องค์ประกอบของระบบทุนนิยมที่จะกล่าวต่อไปนี้ได้ปรากฏอยู่ในผลงานของอาดัม สมิท (Adam Smith) ที่เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม The Wealth of Nations
ลัทธินี้เกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้าน ลัทธิพานิชยนิยม (mercantilism) คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีความมั่นคงของรัฐขึ้นอยู่กับทองคำเงิน และโลหะอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งหมดเพื่อการหามาซึ่งโลหะมีค่า ซึ่งทั้งนี้ความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่ที่รัฐบาลและพันธมิตรของรัฐบาลเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น
หลักการสำคัญ 1.1 เป็นระบบเศรษฐกิจไม่ใช่ระบอบการเมือง 1.2 เน้นทรัพย์สินส่วนบุคคล เอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน 1.3 ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี (ระบบตลาด) 1.4 มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน
2. สังคมนิยม (Socialism) สังคมนิยมหมายถึง ระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มีแนวคิดในการสนับสนุนให้สังคมชุมชนครอบครองกรรมสิทธิ์ส่วนรวมร่วมกัน เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนโดยส่วนรวม ความเป็นมาของแนวคิดสังคมนิยมไม่อาจจะทราบถึงที่มาที่แน่ชัดได้ ซึ่งนักคิดบางท่านก็ได้กล่าวว่าการดำรงชีวิตแบบอุดมคติในหนังสือของเพลโตเรื่อง “The Republic” นั้นเป็นลักษณะของสังคมนิยม
อย่างไรก็ตามสังคมนิยมในฐานะที่เป็นระบบของเศรษฐกิจและสังคมเริ่มปรากฏอย่างชัดเจนจากการต่อต้านข้อเสียของระบบทุนนิยมแบบอุตสาหกรรมมาใช้ในทศวรรษที่ 19 นักคิดที่ต่อต้านแนวคิดของสำนัก Classic ได้เสนอแนวคิดที่ว่าต้องมีการคำนึงถึงสังคมส่วนรวมให้มากขึ้นลดการแข่งขันและแทนที่การแข่งขันด้วยการร่วมมือกัน นักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อ เจโลม บลังกิ ได้เรียกนักสังคมกลุ่มนี้ว่าสังคมนิยมยูโธเปีย (Utopia Socialism)
คำนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยโรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) ชาวอังกฤษ เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและได้กลายเป็นนักปฏิรูปสังคมและตั้งขบวนกาสหกรณ์ขึ้น เขาเสนอว่ากระบวนการผลิตและกิจการการผลิตควรให้ผู้ใช้แรงงานร่วมกันเป็นเจ้าของ ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในฝรั่งเศส และต่อมาก็แพร่หลายไปในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ระบบสังคมนิยมนี้ก็คือ ระบบนี้ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาเพื่อคัดค้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
เริ่มมีการใช้คำว่าสังคมนิยมเป็นครั้งแรกในภาษาอิตาเลี่ยน ในปีค.ศ.1803 ซึ่งความจริงแล้วความหมายของสังคมนิยมไม่ได้หมายถึงการโอนกิจการต่างๆเป็นของรัฐ อย่างไรก็ตามที่มาของสังคมนิยมอาจจะมาจากสาเหตุกว้างๆ รวมทั้งถือเอาประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่สังคมนิยมได้ก่อตัวอย่างชัดเจนโดยมี โรเบิร์ต โอเว่น เป็นคนแรกที่นำอุดมการณ์สังคมนิยมมาใช้
สรุปหลักการที่สำคัญของสังคมนิยมสรุปหลักการที่สำคัญของสังคมนิยม 1. หลักเหตุผลและหลักมนุษยธรรม 2. หลักจริยธรรมและหลักอุดมคติ 3. หลักของเฟเบียน 4. หลักเสรีนิยม
2.1 เน้นการวางแผนจากส่วนกลาง 2.2 เอกชนจะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตามส่วนเฉลี่ยของผลงาน 2.3 กิจการขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ รัฐบาลเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน
3. คอมมิวนิสต์ (Communism) ผู้วางรากฐานแห่งอุดมการณ์คอมมิวนิสต์คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
3. คอมมิวนิสต์(Communism) • ผู้วางรากฐานแห่งอุดมการณ์คอมมิวนิสต์คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ในระหว่างที่เป็นนักศึกษา มาร์กซ์ได้คุ้นเคยกับความคิดของ ฟรีดริค เฮเกล (Friedrich Hegel) เฮเกลได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนาสำนักปรัชญาอุดมคตินิยมยุคใหม่ (Modern Idealism) ซึ่งถือว่าความคิดเป็นโครงสร้างส่วนล่าง ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นไปของโครงสร้างส่วนบน อันได้แก่ สภาวะทางเศรษฐกิจ สภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งสภาวะทางด้านการเมืองการปกครอง
แต่มาร์กซ์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดบางอย่างของเฮเกิลกลับมองภาพกลับกัน กล่าวคือ มาร์กซ์เห็นว่า สภาวะทางวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราวทางเศรษฐกิจมีลักษณะเป็น โครงสร้างส่วนล่างซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อนานาประการอันเป็นโครงสร้างส่วนบน
สาระสำคัญเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์หรือทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist) คือ “วิภาษวิธีทางวัตถุ” หรือ “วัตถุนิยมเชิงวิภาษ” หรือ “วัตถุนิยมวิภาษวิธี”(Dialectical Materialism) ซึ่งมีความเห็นว่า สิ่งที่มีอิทธิพลเหนือชีวิตมนุษย์มากที่สุด คือ “วัตถุ” ส่วน “จิต” หรือ “ความคิด” จะได้รับอิทธิพลจากสภาวะทางวัตถุ ดังนั้นความดีหรือความชั่วในทฤษฎีของมาร์กซ์จะตีค่าออกมาในรูปของวัตถุ
ลัทธิวัตถุนิยมนี้ถือว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสุขก็คือ การมีปัจจัยทางเศรษฐกิจดี ดังนั้นสภาพทางเศรษฐกิจจึงมีบทบาทมากที่สุดในชีวิตมนุษย์ ส่วนอารมณ์ ความรู้สึก ความรัก จินตนาการ ปรัชญา ความเชื่อ หรือศรัทธามิได้มีความหมายสำคัญต่อมนุษย์ในสายตาของลัทธินี้ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับหลักการของศาสนาต่างๆ ที่เน้น “จิตนิยม” ไม่ใช่ “วัตถุนิยม”
มาร์กซ์ใช้ศัพท์ “วิภาษวิธี” ตามการใช้ของเฮเกิล ที่หมายถึง การอธิบายการเปลี่ยนแปลงหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยกระบวนการ 3 อย่าง ดังนี้ คือ • Thesis ได้แก่ สิ่งที่มีหรือเป็นอยู่แล้ว • Antithesis ได้แก่ สิ่งที่ตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกับสิ่งที่มีหรือเป็นอยู่แล้ว • Synthesis ได้แก่ ผลแห่งการปะทะกันของ 2 สิ่งแรก
ลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคอมมิวนิสต์ลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคอมมิวนิสต์ 1) การปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดระบบทุนนิยม 2) ต่อมาเกิดความสำนึกร่วมกันของชนชั้นกรรมชีพ ได้ทำการปฏิวัติ 3) ได้มีการก่อตั้งรัฐบาล โดยพรรคคอมมิวนิสต์ 4) รัฐบาลและรัฐจะสลายตัวไป สังคมอุดมคติ จุดประสงค์ของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์คือ มุ่งก่อตั้งสังคมไร้ชนชั้น โดยที่ปัจจัยการผลิต การกระจายจ่ายปัน และการแลกเปลี่ยนทุกชนิดจะเป็นของประชาคมรัฐ
มาร์กซ์เขียนหนังสือเรื่อง ถ้อยแถลงแห่งคอมมิวนิสต์ หรือ คำประกาศแห่งคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) เขียนร่วมกับเพื่อนสหายของเขาคือแองเกลส์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้นับได้ว่ามีอิทธิพลต่ออุดมการณ์และขบวนการคอมมิวนิสต์และมีอิทธิพลต่อการก่อตัวของการปฎิวัติในรัสเซียในปี 1917
ในถ้อยแถลงแห่งคอมมิวนิสต์ มีนโยบายระบุไว้ 8 ข้อ คือ • การยึดที่ดินเป็นของรัฐและการใช้ค่าเช่าจากที่ดินเหล่านั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐระหว่างที่ยังไม่บรรลุความเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ • ภาษีเงินได้เก็บในอัตราส่วนที่สูงขึ้นเมื่อมีรายได้สูงขึ้น หรือที่เรียกว่าภาษีก้าวหน้า (progressive tax) • ยกเลิกสิทธิในมรดก • ให้มีศูนย์กลางสินเชื่อ โดยการจัดตั้งธนาคารของรัฐ
กิจการขนส่งเป็นของรัฐกิจการขนส่งเป็นของรัฐ • ให้รัฐเป็นเจ้าของโรงงานมากยิ่งขึ้นและให้มีการแบ่งสรรที่ดินใหม่ • ให้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องทำงาน • ให้มีการศึกษาของรัฐแก่ทุกคนและไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก
แนวคิด เลนิน (Leninism) 1) ต้องปฏิวัติในแนวทางวิทยาศาสตร์ 2) ในกระบวนการปฏิวัติต้องอาศัยผู้นำในการโค่นล้มนายทุน แนวคิด สตาลิน(Stalinism) 1) ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน 2) มุ่งให้โซเวียตทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขต
แนวคิด ลัทธิเหมา (Maoism) มีแนวทางการปฏิวัติจีนไปเป็นคอมมิวนิสต์แบบก้าวกระโดด จากกสิกรรม คอมมิวนิสต์ โดยข้ามอุตสาหกรรมและสังคมนิยม