1 / 11

โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช

โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช. จัดทำโดย. น.ส.รุ่งอรุณ โพนเวียง เลขที่ 19 น.ส. อรอนงค์ เหลี่ยมมณี เลขที่ 27 น.ส. ทิพากร พลอยคีรี เลขที่ 35 น.ส. ลลิ ตา อุตสาหะ เลขที่ 36. เสนอ. อาจารย์ ชนาธิป ปะทะดวง. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช.

leda
Download Presentation

โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช

  2. จัดทำโดย • น.ส.รุ่งอรุณ โพนเวียง เลขที่ 19 • น.ส. อรอนงค์ เหลี่ยมมณี เลขที่ 27 • น.ส. ทิพากร พลอยคีรี เลขที่ 35 • น.ส. ลลิตา อุตสาหะ เลขที่ 36

  3. เสนอ อาจารย์ชนาธิป ปะทะดวง

  4. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช • โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาได้เริ่มทำการศึกษาทดลอง • เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ • โดยทำการศึกษา และวิจัยร่วมกับภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก • ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง • เนื้อเยื่อพืช ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ พร้อมมีพระราชกระแสรับสั่งให้ • อนุรักษ์ต้นขนุนบริเวณหลังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง จึงเริ่มมีการ • อนุรักษ์พันธุ์พืชหายากที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ขนุนไพศาลทักษิณ มณฑา ยี่หุบ พุดสวน • และสมอไทย โดยการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช • นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หวาย ซึ่งเป็นพื้นฐาน • ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเริ่มจัดตั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕

  5. พ.ศ. 2503 ทรงพยายามปกปักยางนา • พ.ศ. 2503 ทรงพยายามปกปักยางนา • ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯ โดยรถยนต์ เมื่อเสด็จฯ ผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะ สงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่ สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนใน บริเวณนั้นมาก จะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้ • พ.ศ. 2504 ป่าสาธิตทดลอง • เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรง ทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้น ยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราช- บริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1,250 ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยังอนุรักษ์ ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา • ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่ว ประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

  6. พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช • พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช • ในวันพืชมงคล วันที่ 9 พฤษภาคม 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนัก ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง • ความสำเร็จของการใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขยายพันธุ์ขนุนไพศาล ทักษิณ นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ พระราชวังต่างๆ แล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้อีกหลายชนิด ได้แก่พุดสวน มณฑา ยี่หุบ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง และสมอไทยในพระที่นั่งอัมพรสถานมงคล ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ใน สภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลว มีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ 23 เปอร์เซ็นต์ • พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย • ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย

  7. พ.ศ. 2529 สวนพืชสมุนไพร • การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย • พ.ศ. 2529 สวนพืชสมุนไพร • ในปี พ.ศ. 2529 นอกจากมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์หวายแล้ว ยังได้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้นใน โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อรวบรวม พืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต และรวบรวมข้อมูลสรรพคุณ ตลอดจนการนำไป ใช้ประโยชน์กับทั้งให้มีการศึกษาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

  8. การเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายเกลียวทองการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายเกลียวทอง • ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนา โครงการ- • ส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ทำการศึกษาความเป็น • ไปได้ในการนำน้ำกากมูลหมัก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จาก • การผลิตก๊าซชีวภาพ มาทดลองเพาะเลี้ยงสาหร่าย- • เกลียวทอง เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร • สำหรับเลี้ยงปลา ต่อมาจากผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่ยืนยันว่า • สาหร่ายเกลียวทองมีโปรตีนสูง รวมถึงสารอาหารที่มี • ีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการพัฒนาปรับปรุงสูตรอาหาร • เพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองในน้ำสะอาด และนำ • มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับบริโภค ตั้งแต่ปี • พุทธศักราช ๒๕๓๒

  9. การเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายเกลียวทองการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายเกลียวทอง • การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง จะเริ่มจากการนำเซลล์สาหร่ายที่แข็งแรงจาก • ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มาเพาะเลี้ยงในบ่ออนุบาล จากนั้นจะย้ายมาเพาะ • เลี้ยงในบ่อซีเมนต์กลางแจ้ง ที่เติมน้ำสะอาด และสารอาหาร โดยมีการควบคุม • ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย เช่น แสงสว่าง การหมุนเวียนของน้ำ • และการปนเปื้อนจากสารปนเปื้อน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น • การเก็บเกี่ยว จะสามารถทำได้ภายในระยะเวลาประมาณ ๑๐ - ๑๕ วัน ถ้ามี • ปริมาณแสงแดดที่พอเหมาะ โดยจะทำการสูบน้ำที่มีสาหร่ายเกลียวทองจากบ่อ • ซีเมนต์ไปผ่านการกรองด้วยผ้าแพรลงก็ตอนเนต (plankton net) ที่มีความถี่ของ • ตาข่ายสูงมาก ล้างสาหร่ายที่กรองได้ แล้วนำไปอบ และบด ให้เป็นผงละเอียด • จากนั้นจึงนำสาหร่ายเกลียวทองที่เป็นผงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สาหร่าย • เกลียวทองผงบรรจุแคปซูล และข้าวเกรียบรสสาหร่ายเกลียวทอง

  10. ภาพกิจกรรม

  11. ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ค่ะขอบคุณค่ะขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ค่ะขอบคุณค่ะ

More Related