100 likes | 319 Views
ประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทย. จัดทำโดย เด็กหญิงภัศธรินทร์ สงวนแก้ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / 1 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา. ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย. เขตการปกครองแบบ เมืองราชธานี ( หัวเมืองชั้นใน )
E N D
ประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทยประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทย จัดทำโดย เด็กหญิงภัศธรินทร์ สงวนแก้ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย • เขตการปกครองแบบเมืองราชธานี (หัวเมืองชั้นใน) • คือเมืองที่ตั้งนครหลวงอันได้แก่กรุงสุโขทัยมีตัวเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑลเรียกว่าเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานีไว้ทั้ง4ด้านระยะทางระหว่างเมืองลูกหลวงกับราชธานีนั้นมีหลักว่าจะต้องไม่เกินระยะที่จะเดินติดต่อถึงกันได้ภายในเวลา 2 วันทั้งนี้เพื่อให้การคมนาคมระหว่างเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงได้เป็นไปโดยสะดวกด้วยเหตุนี้วงเขตของราชธานีจึงไม่สู้กว้างใหญ่นักแต่การจัดระเบียบราชธานีดังว่านี้มีประโยชน์มากในทางยุทธศาสตร์สมัยนั้นเพราะทำให้รวมกำลังป้องกันราชธานีได้สะดวกและรวดเร็วเวลามีสงครามกำลังทั้งราชธานีและเมืองที่รายรอบก็รวมกันเป็นกองทัพหลวงเมืองที่อยู่ในวงราชธานีสมัยกรุงสุโขทัยถ้าระบุเมืองในครั้งนั้นก็คือ ก. เมืองสุโขทัยเป็นตัวราชธานีข. หัวเมืองชั้นในรอบเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้านคือด้านเหนือมีเมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก) • ด้านตะวันออกเมืองสองแคว (พิษณุโลก)ด้านใต้เมืองสระหลวง (พิจิตร)ด้านตะวันตกเมืองกำแพงเพชร
เขตการปกครองแบบเมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก) • คือเมืองใหญ่ๆนอกราชธานีออกไปเรียกว่าเมืองพระยามหานครเป็นหัวเมืองชั้นนอกเมืองหนึ่งๆมีเมืองเล็กๆขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างทำนองเดียวกับมณฑลในสมัยต่อมาซึ่งมีเมืองรวมอยู่หลายเมืองเจ้าเมืองเป็นเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เวลาเกิดศึกสงครามราษฎรในเมืองพระยามหานครเมืองหนึ่งๆก็รวมกันเข้าเป็นกองพลหนึ่งเมืองพระยามหานครสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีครั้งสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมีดังนี้ • ทิศใต้เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง)เมืองราชบุรีเมืองเพชรบูรณ์เมืองตะนาวศรีทิศเหนือเมืองแพร่ทิศตะวันออกเมืองหล่มเมืองเพชรบูรณ์เมืองศรีเทพเมืองในราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครโดยมีคนไทยเป็นเจ้าเมืองปกครองทั้งสิ้น
เขตการปกครองแบบเมืองประเทศราชเขตการปกครองแบบเมืองประเทศราช • คือเมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักรอันชาวเมืองเป็นชนต่างชาติมีเจ้าเป็นชาวพื้นเมืองนั้นซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งปกครองอย่างสิทธิ์ขาดเหมือนอย่างเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเองแต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามกำหนดและเวลาเกิดสงครามก็เกณฑ์กองทัพออกมาช่วยเท่านั้นเมืองที่เป็นประเทศราชครั้งสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราช • สันนิฐานตามประวัติศาสตร์มีดังนี้ • ทางทิศใต้เมืองนครศรีธรรมราช • เมืองมะละกาและเมืองยะโฮร์ • ทางทิศตะวันตกเมืองทะวาย • เมืองเมาะตะมะเมืองหงสาวดี • ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ • เมืองน่านเมืองเซ่า(คือเมือง • หลวงพระบาง) เวียงจันทร์เวียงคำ
ลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยา • การปกครองแบบจตุสดมภ์ • ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอมโดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครองการปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือขุนเมืองขุนวังขุนคลังขุนนาพร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและกฏหมายลักษณะอาญาราษฎรเพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรมการบังคับบัญชาในส่วนกลางแบ่งออกเป็น • ขุนเมืองทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้ายขวาและขุนแขวงอำเภอกำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง • ขุนวังทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียรและพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็นพนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไปและบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้าบรรดาข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไปมีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการมีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและต้องใช้ความรู้ความสามารถ
ขุนคลังทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงินซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวงขุนคลังทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงินซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง ขุนนามีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎรเป็นพนักงานจัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวงเป็นพนักงานทำนาตัวอย่างชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเอง เป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวง ไม่ให้เสียเวลาทำนานอกจากนั้น ยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนา และโคกระบือ
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปีมิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทยได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหาเมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติคืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้องจึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็นรากฐานในการปกครองปัจจุบัน การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทยดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการการปกครองดังกล่าวต่อไป