1.19k likes | 2.69k Views
ฝายต้นน้ำ. เก็บน้ำไว้ในดิน . พระราชดำรัส “ ด้านฝายต้นน้ำ”. “ สำหรับต้นไม้ ที่ ขึ้นอยู่บริเวณ สองข้างลำ ห้วยนั้น จำเป็นจะต้อง รักษา ไว้ให้ดี เพราะจะ ช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตาม
E N D
ฝายต้นน้ำ เก็บน้ำไว้ในดิน
พระราชดำรัส“ด้านฝายต้นน้ำ”พระราชดำรัส“ด้านฝายต้นน้ำ” “สำหรับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างลำห้วยนั้น จำเป็นจะต้อง รักษาไว้ให้ดีเพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตาม ร่องน้ำและบริเวณที่มีน้ำซับ ก็ควรสร้างฝายเล็กๆ กั้นน้ำไว้ ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีน้ำจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากจึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑มีนาคม ๒๕๒๑ ณ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน “ให้พิจารณาสร้างฝายชุ่มชื้นขนาดเล็กราคาถูกเพิ่มเติมตามแนวร่องน้ำเป็นระยะๆ ลดหลั่นลงมา เพื่อเป็นการรักษาและแผ่ขยายความชุ่มชื้นออกไปในบริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติ” พระราชดำรัส ๒๔ มีนาคม ๒๕๒๔ ณ ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
“...การจะพัฒนาต้นน้ำโดยเฉพาะบนพื้นที่สูง จะต้อง พยายามขยายความชุ่มชื้นออกจากร่องน้ำทุกร่อง โดยการ ก่อสร้างฝายกั้นร่องดังกล่าว เพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับหล่อ พื้นที่สูงในแนวร่องน้ำเป็นระยะๆ ตลอดจนต่อท่อจ่ายน้ำ กระจายออกไปทั้งสองข้าง ทำให้ความชุ่มชื้นจะค่อยๆ แผ่ ขยายออกไปทีละน้อย แม้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่จะลด ค่าใช้จ่ายลงเป็นลำดับ ในขณะเดียวกันก็เร่งปลูกต้นไม้นานาชนิด รวมทั้งพืชคลุมดิน แซมเข้าไปในลักษณะป่าผสมผสาน โดยไม่จำเป็นต้องปลูกเป็นแถวเป็นแนวนอกจาก นั้นฝายดังกล่าวยังจะทำหน้าที่ดักตะกอนดินและทรายที่ถูกชะลงมาตามความลาดชันของพื้นที่ ไม่ให้ลงในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะทำให้ตื้นเขิน...” (สำนักงาน กปร., ๒๕๕๐ ข.) พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ณ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำดอยโตน จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงาน กปร. (๒๕๕๐ ก.) กล่าวว่า การพัฒนาและฟื้นฟูป่าด้วยฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือ Check Dam ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายว่า “...จะต้องสร้างฝายเล็ก เพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมือง ไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งจะทำให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นให้บริเวณนั้น...” และในการสร้างฝายได้พระราชทานพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็ก เป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บกักไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...”
และเพื่อให้การสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้พระราชทานพระ ราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “...ให้ดำเนินการสำรวจหาทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับสูงที่ใกล้ บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้อง ออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควร เป็นเวลานาน ประมาณ ๒ เดือน ...การเก็บกักน้ำสำรองไว้ได้นาน หลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำ ให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็ว ที่ใช้ ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบๆ ตัว ฝายจนสามารถตั้งตัวได้...”
“...ควรพิจารณาสร้างฝายต้นน้ำลำธารบนภูเขาในพื้นที่โครงการฯ และบริเวณ ใกล้เคียง ตลอดจนลำน้ำไปตามแนวสันเขา จะได้สามารถจ่ายน้ำลงไปตามไหล่เขาทั้ง สองด้าน ในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงๆ ในทำนอง “ฤดูฝนเทียม” ทั้งนี้เพื่อช่วยความชุ่มชื้น ให้กับป่าต้นน้ำลำธาร และช่วยฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับสมบูรณ์ได้โดยเร็ว เนื่องจาก สามารถจ่ายน้ำได้อย่างสม่ำเสมอได้ตลอดทั้งปี หากงานทดลองดังกล่าวได้ผลดี จะได้ นำทฤษฎีไปปฏิบัติในป่าเสื่อมโทรมแหล่งอื่นๆ ต่อไป นอกจากนั้นควรพิจารณาปลูก ไม้ชั้นล่างเสริม เพื่อช่วยลดความแรงของกระแสน้ำในฤดูฝน ซึ่งเคยทำความเสียหาย ให้กับนาข้าวราษฎรในบางพื้นที่มาแล้ว...” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
ฝายต้นน้ำ ฝายคือ สิ่งก่อสร้างขวาง หรือกั้น ทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้ สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการ ไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำ ตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีหนึ่ง ฝาย (Check dam)เป็นแนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ฝายต้นน้ำ ฝายคือ สิ่งก่อสร้างขวาง หรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีหนึ่ง
ฝายแบบผสมผสาน รูปแบบและลักษณะฝายต้นน้ำ (ตามแนวพระราชดำริ) ราคาประหยัด วัสดุราคาถูก หาง่ายในท้องถิ่น (ในระดับที่สูงใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุด) ชะลอการไหลของน้ำ เก็บกักตะกอน ร่องน้ำ ปริมาณน้ำน้อย ฝายขนาดเล็กเก็บกักน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น ปริมาณน้ำมาก เพื่อผันน้ำมาใช้ ในพื้นที่เพาะปลูก • เป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีหนึ่ง • ลักษณะของฝายจำเป็นต้องออกแบบใหม่ ตามความเหมาะสม ของสภาพพื้นที่
ประโยชน์ วัตถุประสงค์ บรรเทาอุทกภัย เก็บกักตะกอน ฟื้นตัวของระบบนิเวศเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ บรรเทาภัยแล้ง ชะลอการไหลของน้ำ ฝายต้นน้ำ ป้องกันไฟป่า เพิ่มความชุ่มชื้น การเกษตร แหล่งน้ำขนาดเล็ก อาหาร/สมุนไพรจากป่า ประปาภูเขา อุปโภค บริโภค ก่อสร้าง ฝายต้นน้ำ ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน ชุมชน ได้รับประโยชน์ การมีส่วนร่วม อนุรักษ์/ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ
= ชะลอการไหลของน้ำ สันฝาย 1 – 2 m. ทิศทางการไหลของน้ำ 1 : 3 ทิศทางการไหลของน้ำ 1 : 1 X 3X X
การควบคุมการชะล้างพังทลายและดินถล่มในสหรัฐอเมริกาการควบคุมการชะล้างพังทลายและดินถล่มในสหรัฐอเมริกา (Erosion and Landslide Control USA.) check dam ในสหรัฐอเมริกา สร้างในปี ค.ศ.1933
Debris-flow and flooding hazards caused by the December 1999 storm … Removal of recent debris-flow deposits on February 10, 1978 from behind debris basin in Shields Canyon in southern California following severe storms. Note emergency generator for lights at upper end of basin to allow continuous removal of material after dark (photograph by Los Angeles County Flood Control District).
Debris-flow and flooding hazards caused by the December 1999 storm … Upstream view of concrete crib-type check dam with low-flow center section in southern California. (photograph by Los Angeles County Flood Control District). การประชุมชี้แจงแผนงานและงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และแนวทางปฏิบัติงานของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ๑ กรมป่าไม้
ฝายต้นน้ำ ประเภทของฝายต้นน้ำ ๑. ฝายผสมผสาน ๒. ฝายผสมผสานกล่องตาข่าย(GABION) ๓. ฝายกึ่งถาวร ๔. ฝายถาวร
ฝายกึ่งถาวร ฝายถาวร ฝายกึ่งถาวร ฝายผสมผสานแบบตาข่าย (Gabion) ฝายผสมผสาน ฝายผสมผสาน ฝายผสมผสาน
Heede (1977) ได้ให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ความสูงของฝายหินทิ้ง (loose rock check dam) กับระยะห่างระหว่างฝายที่ ความลาดชันระดับต่างๆ Gully gradient 300 2% 270 240 210 180 4% 150 Dam spacing (meters) 120 6% 90 8% 10% 60 12% 14% 16% 18% 30 20% 22% 1.5 0.9 0.3 1.8 0.6 1.2 Effective dam height ( meters)
ระยะห่างระหว่างฝายต้นน้ำที่เหมาะสมกับความลาดชันต่างกันระยะห่างระหว่างฝายต้นน้ำที่เหมาะสมกับความลาดชันต่างกัน ความลาดชัน (%) ความลาดชัน (%) ระยะห่าง (เมตร) ระยะห่าง (เมตร) ๑๒ ๑๔ ๑๖ ๑๘ ๒๐ ๒๒ ๑๘ ๑๖ ๑๔ ๑๒ ๑๐ ๘ ๒ ๔ ๖ ๘ ๑๐ ๙๘ ๕๔ ๓๖ ๒๗ ๒๐ รูปแบบ/อัตราส่วน การก่อสร้างฝายชนิดต่างๆ ฝายแบบผสมผสาน ๙๐ แห่ง ( ๓๐ แห่ง) ฝายแบบกึ่งถาวร ๓ แห่ง ( ๑ แห่ง) ฝายแบบถาวร ๑ แห่ง
ระบบฝายต้นน้ำ ระบบขั้นบันได
ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ระบบฝายต้นน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ
ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน • เป็นฝายที่สร้างขึ้นเป็นการชั่วคราวเพื่อขวางทางเดินของน้ำในลำธารหรือร่องน้ำ • ความสูงของฝายประมาณ ๐.๖๐-๑.๐๐ เมตร (ลำน้ำกว้างไม่เกิน ๓ม.) • สามารถทำได้อย่างรวดเร็วด้วยวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นและราคาถูกได้แก่กิ่งไม้ใบไม้ • เสาไม้ก้อนหินกระสอบทรายผสมซีเมนต์หรือลวดตาข่ายหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน • สร้างบริเวณลำห้วยตอนบน (first order) • มีหลายรูปแบบ • งบประมาณ ๕,๐๐๐บาท/แห่ง
ฝายต้นน้ำแบบผสมผสานกล่องตาข่าย (Gabion) ลักษณะเป็นฝายที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย ปริมาณน้ำไหลไม่มาก และลำห้วยมีขนาดไม่กว้างมาก หรือบริเวณที่เรียกว่า FIRST ORDER STREAM ลักษณะจะใช้ตาข่ายอะลูมิเนียม กว้าง ๕๐ ซ.ม. สูง ๗๐ ซ.ม. ยาวตามความกว้างของลำห้วย แล้วเรียงหินใหญ่ – เล็ก ให้เต็ม จากนั้นเรียงหินทั้งหน้า - หลังฝาย ความสูงประมาณ ๕๐ ซ.ม. เพื่อเพิ่มความแข็งแรง (งบประมาณ๑๐,๐๐๐บาท/แห่ง)
ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร ลักษณะฝาย เป็นฝายชนิดหินก่อคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือก่ออิฐถือปูนเป็นฝายที่มีความมั่นคงแข็งแรงพอสมควร ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างบริเวณ SECOND ORDER STREAMลำห้วย กว้าง ๓-๕ม. สามารถเก็บกักน้ำได้บางส่วนในฤดูแล้ง (งบประมาณ๒๕,๐๐๐บาท/แห่ง) วัสดุอุปกรณ์ ๑.ปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ ๒.ปูนซีเมนต์ผสม ๓.หิน ทราย หินใหญ่ ๔.เหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด ๑๒ มิลลิเมตร เหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด ๙ มิลลิเมตร เหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด ๖ มิลลิเมตร ๕.ลวดผูกเหล็ก
ฝายต้นน้ำแบบถาวร ลักษณะเป็นฝายแบบถาวร เป็นฝายชนิดคอนกรีตเสริมเหล็กหรือก่ออิฐถือปูน มีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างในตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ ที่กว้างเกิน ๕ เมตร (งบประมาณ ๕๐,๐๐๐บาท/แห่ง) วัสดุอุปกรณ์ ๑. ปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ ๒. หิน ทราย ๓. เหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด ๑๒ มิลลิเมตร เหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด ๙ มิลลิเมตร เหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์ กลางขนาด ๖ มิลลิเมตร ๔. ไม้แบบก่อสร้าง ตะปู ๒ นิ้ว , ตะปู ๓ นิ้ว , ตะปู ๔ นิ้ว ๕. ท่อ PVC เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔ นิ้ว และวาล์ว ๖. ลวดผูกเหล็ก
คัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร เก็บกักตะกอน คำนึงถึงวัตถุประสงค์ ชะลอการไหลของน้ำ เก็บกักน้ำ ร่องน้ำ gully erosion ลักษณะลำธาร ลำธารขนาดเล็ก ลำธาร V-shape ง่ายต่อการกัดชะพังทลาย พื้นที่มีความลาดชัน ลักษณะภูมิประเทศ เกษตรกรรม ลักษณะการใช้ที่ดิน ป่าเสื่อมโทรม ป่าอุดมสมบูรณ์ การมีส่วนร่วมของชุมชน
คัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (ต่อ) ๑. บริเวณร่องน้ำ (gully) หรือลำห้วยขนาดเล็ก (first order) ความกว้างไม่เกิน ๓ เมตร เป็นห้วยแห้งไม่มีน้ำไหลในฤดูแล้ง ให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน เพื่อชะลอการไหลของน้ำ สร้างความชุ่มชื้นและกักเก็บตะกอน ๒. บริเวณตอนกลางของลำธาร (second order) ที่ความกว้างของลำธารไม่เกิน ๓ เมตร ที่มีน้ำซับหรือน้ำไหล จำเป็นจะต้องสร้างฝายให้มีความแข็งแรง ก็ให้พิจารณาสร้างฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร เพื่อชะลอการไหลของน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้น ดักตะกอน และกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้บางส่วน ๓. บริเวณตอนกลางหรือตอนปลายของลำธาร (second or third order) ที่มีความกว้างไม่เกิน ๕ เมตร ก็พิจารณาสร้างฝายต้นน้ำแบบถาวร เพื่อให้สามารถชะลอความรุนแรงของกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ได้มากขึ้น สำหรับทิศด้านลาด (aspect)โดยเฉพาะทางด้านใต้และตะวันตก ชนิดป่า พืชพรรณ และความชื้นจะน้อยกว่าทิศด้านลาด ด้านเหนือและตะวันออก ดังนั้นการสร้างฝายต้นน้ำลำธารจะต้องให้ความสำคัญกับ ทิศด้านลาดทางด้านใต้และตะวันตก มากกว่าทิศด้านลาดด้านเหนือ และตะวันออก เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของพื้นที่ให้มากขึ้น
คัดเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำที่เหมาะสมคัดเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำที่เหมาะสม • การเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำให้มีประสิทธิภาพและแข็งแรง ต้อง ก่อสร้างให้ตัวฝายตั้งฉากกับทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อให้ผลทางเศรษฐกิจมากที่สุด • กำหนดให้ฐานของฝายตัวบน จะอยู่ในระดับเดียวกับ สันของฝายตัวล่างที่อยู่ถัดลงมา (หัวจดตีน หรือ ขั้นบันได) • ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างฝายต้นน้ำจะมีความสัมพันธ์กับความลาดชันของร่องน้ำ (ความลาดชันน้อยระยะห่างของฝายจะห่างมากขึ้น) 90*
เลือกรูปแบบฝายต้นน้ำผสมผสานที่เหมาะสมเลือกรูปแบบฝายต้นน้ำผสมผสานที่เหมาะสม • พื้นที่ที่มีเศษซากพืช การชะล้างหน้าดิน และน้ำไหลบ่าหน้าดินมากควรก่อสร้าง ฝายแบบคอกหมูหินทิ้ง ซึ่งจะเป็น Porous Dam น้ำไหลผ่านได้ • ต้องขุดท้องลำน้ำลึก ๕๐ซ.ม. กว้างเท่ากับฐานของฝาย ยาวตลอดลำน้ำ และริมตลิ่งขุดลึกเข้าไป ๕๐ซ.ม. (หูช้าง) • ลำน้ำใดมีน้ำมากในฤดูฝนสันฝายควรก่อสร้างให้มีร่องระบายน้ำตอนกลางบนสันฝาย เพื่อลดแรงปะทะของน้ำ • ควรก่อสร้างเสริมชั้นด้านหลังฝาย เพื่อเสริมความแข็งแรง หรือเสริมไม้ค้ำยัน
ความจุฝายต้นน้ำแบบผสมผสานความจุฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน • ขนาดความกว้างลำห้วยน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๓ เมตร • ความสูงของฝายประมาณ ๑.๐๐ เมตร • วัสดุหาง่ายในพื้นที่ อาทิ หิน ดิน ทราย ไม้ไผ่ และเศษไม้ เป็นต้น • ความจุประมาณ ๓.๒๒ ลบ.ม. ที่ความลาดชันของลำธาร ๒๕ (๔๗%) • ความจุประมาณ ๔.๑๒ ลบ.ม. ที่ความลาดชันของลำธาร ๒๐ (๓๖%) และมีความยาว ๒.๑๔ และ ๒.๗๕ เมตร ตามลำดับ
ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร • ขนาดความกว้างลำห้วยประมาณ ๓-๕ เมตร • ความสูงของฝายประมาณ ๑.๕๐ เมตร • โครงสร้างทางวิศวกรรม วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กหรือก่ออิฐ • ความจุประมาณ ๑๒.๖๐ ลบ.ม. ที่ความลาดชันของลำธาร ๑๕ (๒๗%) และมีความยาว ๕.๖๐ เมตร
ฝายต้นน้ำแบบถาวร • ขนาดความกว้างลำห้วยประมาณ ๕ เมตร • ความสูงของฝายประมาณ ๑.๕๐ เมตร • โครงสร้างทางวิศวกรรม วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กหรือก่ออิฐ • ความจุประมาณ ๓๑.๙๐ ลบ.ม. ที่ความลาดชันของลำธาร ๑๐ (๑๘%) และมีความยาว ๘.๕๑ เมตร
แผนที่ แสดงจุดที่ตั้งฝายต้นน้ำในพื้นที่ ลุ่มน้ำปิง
การรายงานฝายต้นน้ำ รายงานรูปฝายเป็น JPEG Image ให้เปลี่ยนชื่อรูปเป็น หมายเลขลำดับฝาย และจุดพิกัดที่ก่อสร้างฝาย แสดงจุดพิกัดที่ก่อสร้างฝาย ลงในแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ลำดับ L ๑๐๑๗หรือ L ๑๐๑๘ 038 386092 E 1848750 N 158 387723 E 1849555 N 84 335473 E 1984576 N 24 458763 E 2813759 N
ป้ายฝายต้นน้ำ 40 ซ.ม. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ลำดับที่ 067 / 2552 ฝายต้นน้ำแบบ.......... พิกัด E 8500128 N 1985674 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่งัด / สบอ.16 ลำดับที่........../............. 30 ซ.ม. พิกัด E……….N………. หลังฝาย พื้นที่........................../........... ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ฝายต้นน้ำแบบถาวร ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร ลำดับที่ 067 / 2552 ลำดับที่ 069 / 2552 ลำดับที่ 068 / 2552 พิกัด E 8500128 N 1985674 พิกัด E 8500130 N 1985676 พิกัด E 8500129 N 1985675 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน / สบอ.13 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่งัด / สบอ.16 เขตรักษาฯดอยผาช้าง / สบอ.15
การบำรุงรักษาฝายต้นนํ้าลำธารการบำรุงรักษาฝายต้นนํ้าลำธาร เนื่องจากฝายแต่ละชนิดมีการใช้วัสดุและมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน วัสดุ แต่ละอย่างที่ใช้อาจเสื่อมสลายตามธรรมชาติ ฉะนั้นควรมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และเป็นปกติในแต่ละปีก่อนฤดูฝนจะมาถึง เช่น - ถ้าหากเป็นฝายเศษไม้ หรือฝายกระสอบทราย ควรมีการซ่อมแซมเสาหลักและเพิ่มเติมส่วนประกอบที่ชำรุด - ส่วนฝายกึ่งถาวรและฝายถาวรนั้น ควรหมั่นตรวจรอยรั่วซึมของน้ำบนตัวฝาย ตลอดจนสิ่งกีดขวางทางน้ำเป็นประจำ ทุกปี - ส่วนฝายที่มีวัตถุประสงค์ในการเก็บกักน้ำเพื่อประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าหากมีตะกอนทับถมมากควรมีการขุดลอกเพื่อให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำได้เพียงพอ ซึ่งในการนี้จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณในการบำรุงรักษาด้วย
ผลการดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำผลการดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำ ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๗ - ๒๕๕๑ ฝายแบบผสมผสาน๑๘๖,๒๘๕ แห่ง ฝายแบบกึ่งถาวร ๔,๗๗๐ แห่ง ฝายแบบถาวร ๒,๒๒๐ แห่ง รวม ๑๙๓,๒๗๕ แห่ง ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ งบกลางปี และมาตรการปรับแผนฯ ฝายแบบผสมผสาน๓,๙๐๐ แห่ง ตาข่าย (Gabion) ฝายแบบผสมผสาน๑๑๙,๖๐๐ แห่ง รวม ๑๒๓,๕๐๐ แห่ง รวมทั้งสิ้น ๓๑๖,๗๗๕ แห่ง
ช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงานก่อสร้างฝายต้นน้ำช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงานก่อสร้างฝายต้นน้ำ
ประโยชน์จากฝายต้นน้ำ ๑. ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำธาร ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น และแผ่ขยายกระจาย ออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งลำห้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดิน บางส่วนด้วย ๒. ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่าง ๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วย ยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
ประโยชน์จากฝายต้นน้ำ (ต่อ) ๓. ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และการทดแทนของสังคมพืชให้แก่พื้นที่โดยรอบ ๔. ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่าต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย ๕. ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่าในฤดูแล้ง ๖. ช่วยให้ชุมชนมีน้ำในการอุปโภค และบริโภค (ประปาภูเขา) ถังน้ำชุมชน
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับฝายต้นน้ำลำธารข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับฝายต้นน้ำลำธาร ด้านการช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำ จากการศึกษาที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงม่อนเงาะ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พบว่า การสร้างฝายต้นน้ำช่วยลดอัตรา การไหลสูงสุดของน้ำท่าจาก ๐.๙๔๒ ลบ.ม./วินาที เป็น ๐.๔๕๔๖ ลบ.ม./วินาที หรือลดลงประมาณ ๕๒ เปอร์เซ็นต์ (ชลาทร, ๒๕๔๖)
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับฝายต้นน้ำลำธาร (ต่อ) ช่วยขยายเวลาในการไหลของน้ำท่า จากการศึกษาที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อ.แม่แตง จ. เชียงใหม่ พบว่า การสร้างฝายต้นน้ำทำให้ระยะเวลาการเกิดน้ำท่าสูงสุด หลังฝนตกเพิ่มจาก ๒ ชม. เป็น ๕ ชม. หรือเพิ่มขึ้น ๒.๕ เท่า (ชลาทร, ๒๕๔๖) จากการศึกษาที่สถานีวิจัยต้นน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก จ.ระยอง พบว่า การสร้างฝายต้นน้ำทำให้น้ำไหลในลำธารช่วยฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้นจาก (๖.๒% เป็น ๘.๖% ของน้ำท่าที่ไหลตลอดปี) (พงษ์ศักดิ์, ๒๕๔๕)
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับฝายต้นน้ำลำธาร (ต่อ) ช่วยเพิ่มความชื้นในดิน จากการศึกษาของ ศูนย์พัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร พบว่า ภายหลังการสร้างฝายต้นน้ำ ๔ ปี การเจริญเติบโต ของไม้ในป่าดิบแล้งเพิ่มมากขึ้น ๐.๔๖ เท่า ในทำนองเดียวกันไม้ในป่าเต็งรัง จะมีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น ๐.๐๓ เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าป่าทั้งสอง ชนิดมีจำนวนและชนิดของกล้าไม้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย (ประดิษฐ์, ๒๕๔๗) ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับฝายต้นน้ำลำธาร (ต่อ) ฝายต้นน้ำช่วยชะลอการไหลและความขุ่นข้นของน้ำท่าในลำธาร ผลการศึกษาบทบาทของฝายต้นน้ำต่อการลดอัตราการไหล สูงสุดของน้ำท่าที่ไหลในลำธาร ที่ลุ่มน้ำอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ที่มีการสร้างฝาย ๑๒๕ ตัวในลุ่มน้ำ พบว่า ฝายต้นน้ำช่วยลด อัตราการไหลสูงสุดของน้ำที่ไหลในลำธารโดยเฉลี่ย ๕๔.๔๑ % ในขณะเดียวกันถ้าน้ำที่ไหลในลำธารมีปริมาณตะกอนที่แขวน ลอยอยู่ในน้ำเป็นจำนวน ๑.๒๓ กรัมต่อน้ำ ๑ ลิตร ฝายต้นน้ำจะช่วยลดความขุ่นข้นของตะกอน ได้ถึง ร้อยละ ๘๑.๐๓ ด้วยกัน ในส่วนของความ ชื้นในดินสองฟากฝั่งลำน้ำ พบว่าการสร้างฝาย ต้นน้ำช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในดินให้มากขึ้นตลอด ทั้งปี เฉลี่ย ร้อยละ ๔๓.๙๘ (พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และวารินทร์ จิระสุขทวีกุล, ๒๕๕๐)
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับฝายต้นน้ำลำธาร (ต่อ) ฝายต้นน้ำมีตะกอนเต็ม อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้สงสัยต่อไปอีกว่าหลังจากที่ฝายต้นน้ำเหล่านี้มีตะกอนตกอยู่เต็มแล้ว ฝายดังกล่าวยังคงทำหน้าที่ต่อไปได้อีกหรือไม่ ส่วนวิจัยต้นน้ำ ได้ทำการศึกษาวิจัยโดยอาศัยแบบจำลองการเกิดเหตุการณ์ (simulation model)เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลปรากฏว่าฝายต้นน้ำยังคงทำหน้าที่ต่อไปได้อีก โดยมีการทำงานตามหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๓๖ของฝายต้นน้ำที่สร้างขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำได้มีการศึกษานำข้อมูลจากงานวิจัยไปสนับสนุนและ กำหนดแผนและนโยบายในเรื่องการสร้างฝาย ตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ และเผยแพร่ให้กับ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ทุกสำนักใช้เป็นองค์ความรู้ให้กับประชาชน เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของฝายต้นน้ำ ที่ช่วยบรรเทาภัยแล้งและอุทกภัยเพื่อช่วยกัน สร้างฝายต้นน้ำแบบมีส่วนร่วม (พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และวารินทร์ จิระสุขทวีกุล ,๒๕๕๐)
ตัวอย่างนำเสนอ การหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้าง และจำนวนฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑. จัดหาแผนที่ และกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ขอบเขตลุ่มน้ำแม่สา สัญลักษณ์ _____ ขอบเขตลุ่มน้ำแม่สา _____ ขอบเขตปฏิบัติงานหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา
๒. กำหนดพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สา
๓. นำการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศมากำหนดปัจจัย ๑. ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
๔. นำการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศมากำหนดปัจจัย ๒. การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๔๙