140 likes | 493 Views
โครงร่างงานวิจัย. หัวข้อการวิจัย The Effect of Preparation Processes and Drying Methods on Quality of Dried Chili cv.Jinda. ผลของกระบวนการเตรียมวัตถุดิบและวิธีการอบแห้งที่มีผลต่อคุณภาพของพริกขี้หนูอบแห้งพันธุ์จินดา. ผู้ดำเนินงาน 1. นายศรายุทธ อาวาส รหัส 4813119
E N D
โครงร่างงานวิจัย หัวข้อการวิจัย The Effect of Preparation Processes and Drying Methods on Quality of Dried Chili cv.Jinda ผลของกระบวนการเตรียมวัตถุดิบและวิธีการอบแห้งที่มีผลต่อคุณภาพของพริกขี้หนูอบแห้งพันธุ์จินดา
ผู้ดำเนินงาน 1. นายศรายุทธ อาวาสรหัส 4813119 2. นางสาวอัจฉรา อินตา รหัส 4813128 • อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิจัย อาจารย์ ดร. พิชญา บุญประสม
ทวนเอกสาร • “Drying of hot chilli using solar tunnel drier”; M.A. Hossain , B.K. Bala (www.sciencedirect.com) • “Optimisation of solar tunnel drier for drying of chilli without color loss”; M.A. Hossaina, J.L. Woodsb, B.K. Balac (www.sciencedirect.com) • “The drying kinetics of bird’s chillies in a fluidized bed dryer”S.M. Tasirin, S.K. Kamarudin *, K. Jaafar, K.F. Lee (www.sciencedirect.com)
ปัญหาที่ทำวิจัยและความสำคัญของปัญหาปัญหาที่ทำวิจัยและความสำคัญของปัญหา • ความต้องการใช้พริกแห้งมีมากขึ้นแต่ปริมาณและคุณภาพของพริกที่ผลิตได้ไม่สอดคล้องหรือสม่ำเสมอกับความต้องการใช้ของผู้บริโภค • เกษตรกรยังไม่มีวิธีการผลิตพริกขี้หนูแห้งให้มีคุณภาพดี สีสวยสด สะอาด สามารถเก็บไว้บริโภคได้นาน เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าและลดการนำเข้า
ปัญหาที่ทำวิจัยและความสำคัญของปัญหาปัญหาที่ทำวิจัยและความสำคัญของปัญหา • เกิดปัญหาผลิตผลล้นตลาดในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวทำให้มีรายได้จากผลิตน้อยไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของเกษตรกร • ค่าใช้จ่ายในการอบแห้งพริกด้วยพลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้นั้นเป็นพลังงานสะอาดจะ สามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิต
วัตถุประสงค์ • เพื่อหากระบวนการเตรียมวัตถุดิบที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง • เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของพริกขี้หนูอบแห้งพันธุ์จินดาที่ทำการอบแห้งโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบถาด และเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
ระเบียบวิธีวิจัย (โดยย่อ) • วางแผนการทดลองแบบ Factorial Design 32 * 2+1 • หาวิธีการเตรียม (pretreatment) ที่เหมาะสมโดยทำการเปรียบเทียบวิธีการนึ่งและการลวก (80 oC) ที่มีผลต่อคุณภาพพริก นำพริกมาล้างทำความสะอาดจากนั้นนำไปนึ่งหรือลวกเป็นเวลา 2, 3, และ 4 นาที จากนั้นบันทึกลักษณะปรากฏของพริกในทุก treatment เทียบกับ control (พริกสดที่ไม่ผ่านการนึ่งและลวก)
ระเบียบวิธีวิจัย (โดยย่อ) • นำพริกที่ได้จาก 2 ไปอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบถาดที่อุณหภูมิ 60 oC ความเร็วลม 0.5 m/sและเครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างขึ้น ด้วยความเร็วลม 0.5 m/s บันทึก - เวลาในการอบแห้ง คำนวณ - อัตราการอบแห้ง - ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (kWhr)ในการอบแห้ง - ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/กิโลกรัมสด) - อุณหภูมิและความชื้นภายในตู้อบ
ระเบียบวิธีวิจัย (โดยย่อ) 4. อบแห้งจนพริกมีความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 12% หรือต่ำกว่า 5. ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยจะทำการวิเคราะห์ทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ก. จุลชีววิทยา : จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ข. กายภาพ - ความชื้น (%) - water activity ( aw ) - สี (L* C* ho) - ลักษณะปรากฏ (9-point hedonic scale)
ระเบียบวิธีวิจัย (โดยย่อ) ค. เคมี : ปริมาณไวตามินซีและปริมาณสารเผ็ด (Capsaicin) 6. ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบหากระบวนการที่ดีที่สุด
ระยะเวลาการดำเนินงาน • ใช้เวลาการสืบค้นเอกสาร เก็บข้อมูลและทำการทดลอง ประมาณ 8เดือน
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ • ทราบกระบวนการเตรียมวัตถุดิบที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง • ทราบวิธีการอบแห้งที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง • เพิ่มมูลค่าให้พริกขี้หนูสดพันธุ์จินดา และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับกลุ่มเกษตรกร • นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากการทำงานวิจัยและมีประสบการณ์จริงเพื่อพร้อมจะทำงานเมื่อจบการศึกษา