1 / 80

มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน

มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน. พอพิศ วรินทร์เสถียร กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจในเด็ก. เนื้อหา.  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization).

larya
Download Presentation

มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีนมาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน พอพิศ วรินทร์เสถียร กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจในเด็ก

  2. เนื้อหา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน

  3. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(Immunization)การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(Immunization) เป้าหมายสูงสุด คือ การกวาดล้างโรคให้หมดไป หรือกำจัดโรคให้หมดไป จุดมุ่งหมาย ณ ปัจจุบันในการให้วัคซีนคือ การป้องกันโรคของบุคคลและกลุ่มคน รวมทั้ง ชุมชนนั้น ๆ ด้วย

  4. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง (Active Immunization)  การติดเชื้อตามธรรมชาติ (natural infection)  การฉีดวัคซีน (immunization) ภูมิคุ้มกันที่ได้รับมา (Passive Immunization) จากคน เช่น อิมมูโนโกบุลิน, พลาสมา  จากสัตว์ เช่น เซรุ่ม

  5. กลุ่มที่ 1 ท็อกซอยด์ (toxoid) ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากพิษ (toxin) ของเชื้อแบคทีเรีย  ผลิตโดยนำพิษของแบคทีเรียมาทำให้สิ้นพิษ แต่ยังสามารถ กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนคอตีบ วัคซีนบาดทะยัก ถ้าเคยฉีดมาแล้วหลายครั้ง หรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงอยู่ก่อนแล้ว อาจเกิดปฏิกิริยามากขึ้น ทำให้มีอาการบวม แดง เจ็บบริเวณที่ฉีดและมีไข้ได้

  6. กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated หรือ killed vaccine) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม คือ 2.1 วัคซีนที่ทำจากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว (wholecellvaccine หรือ wholevirionvaccine) วัคซีนที่ทำจากเชื้อแบคทีเรียมักจะทำให้เกิดปฏิกิริยา บริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีไข้ด้วย อาการมักจะเริ่มหลังฉีด 3-4 ชั่วโมงและจะคงอยู่ประมาณ 1 วัน บางครั้งอาจนานถึง 3 วัน

  7. กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated หรือ killed vaccine) ตัวอย่างของวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนไอกรน วัคซีนอหิวาตกโรค วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดน้ำ วัคซีนกลุ่มนี้มักจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามเก็บในตู้แช่แข็ง เพราะจะทำให้แอนติเจนเสื่อมคุณภาพ

  8. กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated หรือ killed vaccine) 2.2 วัคซีนที่ทำจากบางส่วนของแบคทีเรียหรือไวรัส ที่เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน (subunit vaccine) วัคซีนในกลุ่มนี้ มักมีปฏิกิริยาหลังฉีดน้อย วัคซีนในกลุ่มนี้เช่น วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนฮิบ (Haemophilusinfluenzae type b) วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ (acellularpertussis vaccine) วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดวีไอ (Vi vaccine) วัคซีนนิวโมคอคคัส

  9. กลุ่มที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) ทำจากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว เช่น วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีน MMR วัคซีนสุกใส วัคซีน BCG วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน เมื่อให้เข้าไปในร่างกายแล้วจะยังไม่มีปฏิกิริยาทันที มักมีอาการไข้ประมาณ วันที่ 5 ถึงวันที่ 12 หลังฉีด ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำตลอดเวลา (cold chain) เพราะถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเชื้อจะตาย การให้วัคซีนจะ ไม่ได้ผล

  10. ตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

  11. การให้วัคซีน HBกรณีเด็กคลอดจากแม่ที่เป็นพาหะ (HBsAg+ve) HB1 HB2 HB3 HB4 HB5

  12. หมายเหตุ : • วัคซีนทุกชนิดถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันทีที่พบครั้งแรก • วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัดให้วัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่

  13. กราฟแสดงการตอบสนองของภูมิต้านทานกราฟแสดงการตอบสนองของภูมิต้านทาน

  14. คำถาม ?หากท่านพบเด็กอายุ 3 ปี ครึ่ง มีประวัติได้รับวัคซีนเจอี 1 ครั้ง เมื่อ 2 ปี ผ่านมาแล้ว ท่านจะให้วัคซีน JE หรือไม่/อย่างไร

  15. คำตอบ  ฉีด JE เข็มที่ 2 ต่อได้เลย  ขนาดที่ใช้ขึ้นกับสายพันธุ์ที่ใช้ Beijing strain ฉีดครั้งละ 0.5 ml.  Nakayama strain ฉีดครั้งละ 1.0 ml. (เด็กรายนี้อายุ > 3 ปี จึงต้องใช้ขนาดผู้ใหญ่)  นัดฉีดเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 1 ปี

  16. การให้วัคซีนในเด็กนักเรียนการให้วัคซีนในเด็กนักเรียน

  17. นักเรียน ป.1 • วัคซีน MMR ทุกคน • วัคซีนบีซีจีมีข้อกำหนดในการให้ดังนี้ • ถ้าเด็กมีบันทึกประวัติการได้รับวัคซีนในอดีตระบุว่าได้รับวัคซีนบีซีจี (สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กหรือทะเบียน/บัญชีเด็ก) ไม่ต้องให้วัคซีนอีก (ถึงแม้จะไม่มีรอยแผลเป็นจากบีซีจี ก็ตาม) • หากตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนบีซีจี ในอดีตไม่ได้แต่เด็กมีรอยแผลเป็นบีซีจี ไม่ต้องให้วัคซีนอีก • ถ้าเด็กไม่มีรอยแผลเป็นจากบีซีจี และไม่มีบันทึกว่าได้รับวัคซีนบีซีจีในอดีตจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ต้องฉีดวัคซีนบีซีจี 1 ครั้ง • วัคซีน dT/OPV ให้สอบถามประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต

  18. ข้อพิจารณาในการให้ dT /OPV ป.1

  19. นักเรียน ป.6 วัคซีน dT ทุกคน

  20. คำถาม ? ในขณะที่เข้าไปให้บริการวัคซีนในโรงเรียนเทอมแรกท่านพบเด็ก ป.1 อายุ 7 ปี ไม่ทราบประวัติรับวัคซีน แต่พบมีรอยแผลเป็นบีซีจี ที่ต้นแขนซ้าย ท่านจะให้วัคซีนอะไรบ้าง กี่ครั้ง มีระยะห่างอย่างไร

  21. คำตอบ  ให้วัคซีน MMR • ฉีดวัคซีนdT หยอดOPV และเฝ้าระวัง AEFI(ครั้งที่ 1)  ถ้าไม่มีปัญหาตามไปให้ dT และ OPV อีก 1 ครั้ง (ครั้งที่ 2)โดยห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 1 เดือนและเฝ้าระวัง AEFI  ถ้าไม่มีปัญหาตามไปให้ dT และ OPV อีก 1 ครั้ง (ครั้งที่ 3) ในปีการศึกษาหน้าเมื่ออยู่ชั้น ป.2

  22. การให้วัคซีนในหญิงมีครรภ์การให้วัคซีนในหญิงมีครรภ์

  23. การได้รับวัคซีนป้องกัน dT จำแนกตามประวัติการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของวัคซีนบาดทะยัก (DTP-HB/DTP/dT/TT)

  24. การใช้ dT แทน TT ในหญิงมีครรภ์

  25. การศึกษา “ภูมิคุ้มกันโรคคอตีบในกลุ่มอายุ 10-19 ปี ในจังหวัดหนองคายปี 2540”วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ วีระ ระวีกุล ละมัย ภูริบัญชา และคณะ • กลุ่มอายุ 10-14 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถป้องกันโรคคอตีบ ร้อยละ 14.6 • กลุ่มอายุ 15-19 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถป้องกันโรคคอตีบ ร้อยละ 23.3

  26. การศึกษา “สภาวะของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบของประชากร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร 2540” พรศักดิ์ อยู่เจริญ และคณะ • กลุ่มอายุ 10-19 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถป้องกันโรคคอตีบร้อยละ 14.5 • กลุ่มอายุ 20-39 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถป้องกันโรคคอตีบ ร้อยละ 24.7

  27. ความปลอดภัยของ dT ในหญิงมีครรภ์ ? • Advisory Committee of Immunization Practice (ACIP-US) • แนะนำให้ใช้ dT ในหญิงมีครรภ์ที่ไม่มีประวัติได้รับวัคซีน TT มาก่อน • dTไม่ใช่ข้อห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ • Scientific Advisory Group of Experts (SAGE-WHO) • dT มีความปลอดภัยในประชากรทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งหญิงมีครรภ์ • dT สามารถให้ในหญิงมีครรภ์ได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์

  28. Arthus Reaction

  29. คำถาม ? หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งมาฝากครรภ์ที่สถานบริการของท่าน หญิงรายนี้มีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักในอดีตมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งสุดท้าย เมื่อ 3 ปี มาแล้ว ท่านจะให้วัคซีน dT หรือไม่/อย่างไร

  30. คำตอบ •  ฉีดวัคซีนดีทีให้ 1 ครั้ง ทันที • แล้วแนะนำให้กระตุ้นอีกครั้งในอีก 10 ปี ข้างหน้า

  31. คำถาม ?หญิงตั้งครรภ์อายุ 18 ปี ท้องแรกมาฝากครรภ์ใน เดือนนี้มีประวัติรับวัคซีนที่สถานบริการของท่านตั้งแต่แรกเกิด คือ ได้รับ DTP 5 ครั้ง และเมื่ออยู่ชั้น ป.6ได้ dT 1 ครั้ง ท่านจะให้ dT หรือไม่/อย่างไร

  32. คำตอบ  ไม่ต้องฉีดวัคซีน dT ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้แนะนำให้กระตุ้นอีกครั้งอีก 10 ปี ข้างหน้า

  33. วัตถุประสงค์ (2555) การกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไป กำจัดโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด ให้เหลือไม่เกิน 1 ต่อ 1,000 เด็กเกิดมีชีพรายอำเภอ กำจัดโรคหัดในผู้ป่วย ให้เหลือไม่เกิน 1 ต่อประชากรล้านคน ภายในปี 2563 ลดอัตราป่วย • คอตีบ < 0.02 ต่อประชากรแสนคน (8 ราย) • ไอกรน < 0.08 ต่อประชากรแสนคน (50ราย) • โรคไข้สมองอักเสบเจอี < 0.25 ต่อประชากรแสนคน (150 ราย) อัตราการเป็นพาหะโรคตับอักเสบบี ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี < ร้อยละ 0.5 1 2 3 4 5

  34. เป้าหมาย ประชากรเป้าหมาย ในพื้นที่รับผิดชอบได้รับวัคซีน • เด็กอายุ <1 ปี ได้รับ BCG HB3 DTP-HB3 OPV3 และหัด • เด็กอายุ 1 ปีครึ่ง ได้รับ DTP4 OPV4 และ JE2 • เด็กอายุ 2 ปีครึ่ง ได้รับ JE3 • เด็กอายุ 4 ปี ได้รับ DTP5 OPV5 • หญิงมีครรภ์ ได้รับ dT ครบชุดตามเกณฑ์ • นักเรียน ป.1 ได้รับ MMR • นักเรียน ป.6 ได้รับ dT

  35. มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีนมาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน

  36. มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีนมาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน กระบวนการให้บริการ เตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการ คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย วิธีการให้วัคซีน การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้รับบริการ การติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ การเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉิน การเตรียมการเพื่อกู้ชีพเบื้องต้นแก่ผู้รับวัคซีนกรณีเกิด anaphylaxis การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และยาที่จำเป็นในการกู้ชีพ

  37. มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีนมาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน • กระบวนการให้บริการ • เตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการ • คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย • วิธีการให้วัคซีน • การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้รับบริการ • การติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์

  38. กลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนกลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีน เด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มเป้าหมาย หญิงมีครรภ์ เด็กแรกเกิด เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

  39. เตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการเตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการ มีระบบการนัดกลุ่มเป้าหมายที่มารับวัคซีน (ทั้งในและนอกพื้นที่ที่รับผิดชอบ) - มีบัตรนัด, การนัดหมายในสมุดสีชมพู - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - การเตือนผู้ปกครองผ่านทางหอกระจายข่าว - มีรายชื่อให้ อสม. ช่วยนัด - ฯลฯ

  40. มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีนมาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน • กระบวนการให้บริการ • เตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการ • คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย • วิธีการให้วัคซีน • การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้รับบริการ • การติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์

  41. คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการ ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 1. ประมาณการจำนวนเป้าหมายที่นัดหมายมารับวัคซีน โดยใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ดังนี้ • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกข้อมูลการนัดหมายมารับวัคซีน • บัญชีรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่นัดหมายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่รับผิดชอบ • ทะเบียนติดตามการได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย (แบบ 0119 รบ 1 ก/3) • บัญชีรายชื่อผู้รับบริการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในนักเรียน

  42. คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการ ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 2. คาดประมาณกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ที่อาจมารับบริการ โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยผู้มารับบริการรายใหม่ 3 เดือนย้อนหลัง 3. รวบรวมเป็นข้อมูลจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่จะต้องให้บริการ

  43. วิธีการให้วัคซีน

  44. 1. การกิน (oral route) ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ในลำไส้นอกเหนือจากในเลือดได้ เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน

  45. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ : HB DTP-HB DTP dT TT ใช้เข็ม No.23-26 ยาว 5/8-1 ¼ นิ้ว ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (SC): MMR JE ใช้เข็ม No.26 ยาว ½ นิ้ว ฉีดเข้าในหนัง (ID): BCG ใช้เข็ม No.26 ยาว ½ นิ้ว

  46. 2. การฉีดเข้าในหนัง(intradermal หรือ intracutaneous route) โดยฉีดเข้าในหนัง ให้เป็นตุ่มนูนขึ้น ควรใช้เข็มขนาด 26G ยาว ½ นิ้ว การฉีดวิธีนี้ทำให้แอนติเจนเข้าไปทางระบบน้ำเหลืองได้ดี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์เป็นสื่อได้ดี (Cell-mediated immune response) เช่น วัคซีนวัณโรค วัคซีนพิษสุนัขบ้า

  47. เทคนิคการฉีดวัคซีนเข้าในหนังเทคนิคการฉีดวัคซีนเข้าในหนัง • แทงเข็มให้ปลายเข็มหงายขึ้นเกือบขนานกับผิวหนัง แล้วค่อยๆ ฉีดเข้าในชั้นตื้นสุดของผิวหนัง (จะรู้สึกมีแรงต้านและตุ่มนูนปรากฏขึ้นทันที มีลักษณะคล้ายเปลือกผิวส้ม) • หากฉีดลึกเกินไป จะไม่เห็นตุ่มนูนเปลือกผิวส้ม ให้ถอนเข็มออกแล้วฉีดเข้าใหม่ขนาด 0.1 มล. ในบริเวณใกล้เคียงกัน

More Related