1 / 22

ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากร

ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากร มหาวิทยาลัย พ.ศ.2552. ประกอบด้วย. 1. อำนาจการออกข้อบังคับ 2. คำนิยาม 3. หมวด แบ่งเป็น 6 หมวด - หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ

Download Presentation

ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากร มหาวิทยาลัย พ.ศ.2552

  2. ประกอบด้วย • 1. อำนาจการออกข้อบังคับ • 2. คำนิยาม • 3. หมวด แบ่งเป็น 6 หมวด - หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ - หมวด 3 หลักเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 4 การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 5 การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ - หมวด 6 ความผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ • 4. บทเฉพาะกาล

  3. อำนาจการออกข้อบังคับ คำนิยาม • ประกอบด้วย “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช “สภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช • อำนาจการออกข้อบังคับ อาศัยอำนาจในมาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2549

  4. “บุคลากร” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ครองตำแหน่งทางวิชาการในสังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเต็มเวลาตามสัญญาจ้าง ซึ่งจัดทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย “ตำแหน่งทางวิชาการ” หมายความว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ “ก.พ.ว.” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ “หน่วยงาน” หมายความว่า สาขาวิชา สำนัก หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีภารกิจในด้านการสอนและวิจัย

  5. “ประกาศ ก.พ.อ.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2549 “เอกสารการสอน” หมายความว่า เอกสารการสอนชุดวิชา และ/หรือประมวลสาระชุดวิชาของมหาวิทยาลัย “เอกสารการสอนชุดวิชา” หมายความว่า ชุดวิชาที่ประกอบด้วยแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา คู่มือการศึกษาและแนวการประเมินผล โดยแต่ละชุดวิชาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 15 หน่วยๆ ละ 3-5 ตอน ความยาวประมาณหน่วยละ 40-90 หน้า มีค่าเท่ากับ 6 หน่วยกิต สำหรับปริญญาตรี “ประมวลสาระชุดวิชา” หมายความว่า ชุดวิชาที่ประกอบด้วยแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา แนวการศึกษาและแนวการประเมินผล โดยแต่ละชุดวิชาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 15 หน่วยๆ ละ 3-5 ตอน ความยาวประมาณหน่วยละ 30-60 หน้า มีค่าเท่ากับ 5 - 6 หน่วยกิต สำหรับปริญญาโท

  6. “คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีรายชื่อที่ ก.พ.อ.กำหนดไว้ในแต่ละสาขาวิชา หรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. “คณะกรรมการประจำหน่วยงาน” หมายความว่า คณะกรรมการประจำสาขาวิชา/สำนัก หรือคณะกรรมการประจำหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีภารกิจในด้านการสอนและวิจัย “คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอนทางไกล” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่ ก.พ.ว.แต่งตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัย

  7. หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) • ประกอบด้วย 1. องค์ประกอบของคณะกรรมการ มีดังนี้ 1.1 ประธานกรรมการ 1 คน ซึ่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย 1.2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 9 คน 1.3 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นเลขานุการ 1.4 ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ 2. วาระการดำรงตำแหน่ง 2.1 ให้ประธานมีวาระเท่ากับวาระของสภามหาวิทยาลัย หากยังไม่แต่งตั้ง ใหม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางๆ ก่อน 2.2 กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ก่อนวาระจะสิ้นสุดลง ไม่น้อยกว่า 60 วัน ให้คณะกรรมการประจำหน่วยงานเสนอรายชื่อตามบัญชี ผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ.อ. จำนวน 1-3 ชื่อ ต่อสภามหาวิทยาลัย

  8. หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) 2.3 หากประธาน + กรรมการพ้นวาระด้วยเหตุอื่น + และสภายังมิได้ แต่งตั้งประธาน/กรรมการ ให้ถือว่า ก.พ.ว.ประกอบด้วยประธาน กรรมการหรือกรรมการเท่าที่มีอยู่ 3. การประชุมและการลงมติ 3.1 การประชุมต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการ 3.2 การลงมติถือเสียงข้างมาก เว้นแต่มีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น 3.3 กรรมการ 1 คน มี 1 เสียง กรณีเสียงไม่เท่ากันให้ประธานออกเสียง ชี้ขาด 4. อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ว.

  9. 4. อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ว . 1. พิจารณาเสนอข้อวินิจฉัยเพื่อแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ต่อสภามหาวิทยาลัย 2. พิจารณาเสนอข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ ทางวิชาการและการถอดถอนบุคลากรออกจากตำแหน่งทางวิชาการต่อ สภามหาวิทยาลัย 3. พิจารณาเสนอข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนตามข้อบังคับนี้ต่อ สภามหาวิทยาลัย 4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการนับเวลาดำรงตำแหน่งและ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งการประเมินผลการสอน และการประเมินผลงานทาง วิชาการ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์อื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อการดำเนินการให้เป็นไป ตามข้อบังคับนี้ โดยจัดทำเป็นประกาศ ก.พ.ว.

  10. หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ • จำแนกออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 อาจารย์ประจำสาขาวิชา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือ เอกสารการสอนของ มสธ.ไม่น้อยกว่า 3 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีคุณภาพดี และทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ หรือเอกสารการสอนของ มสธ. ไม่น้อยกว่า 5 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว

  11. หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 1 อาจารย์ประจำสาขาวิชา (ต่อ) ตำแหน่งศาสตราจารย์เสนอได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งทุกผลงานต้องมีคุณภาพดีมาก และทันสมัย วิธีที่ 2 ผลงานวิจัย หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือ ผลงานแต่ง ตำรา หรือ หนังสือ ซึ่งทุกผลงานต้องมีคุณภาพดีเด่น และทันสมัย

  12. หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 2 อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือเอกสารการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อยกว่า 3 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตนรับผิดชอบตามภาระงาน อย่างน้อย 3 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่แล้ว

  13. หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 2 อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา (ต่อ) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ หรือเอกสารการสอน ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อยกว่า 5 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหา ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตน รับผิดชอบตามภาระงาน อย่างน้อย 5 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่ แล้ว ตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องเสนอผลงานทางวิชาการ เช่นเดียวกับ อาจารย์ประจำสาขาวิชา

  14. หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 3 อาจารย์ประจำสำนักทะเบียนและวัดผลการศึกษา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือเอกสารการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อย กว่า 3 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตนรับผิดชอบตามภาระงานอย่างน้อย 3 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่แล้ว

  15. หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 3 อาจารย์ประจำสำนักทะเบียนและวัดผลการศึกษา (ต่อ) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ หรือเอกสารการสอนของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อยกว่า 5 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมี ความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหา ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับ การตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตนรับผิดชอบตามภาระ งาน อย่างน้อย 5 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่แล้ว ตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องเสนอผลงานทางวิชาการ เช่นเดียวกับอาจารย์ ประจำสาขาวิชา

  16. หมวด 3 หลักเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ • ประกอบด้วย 1. การแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เป็นไปตาม ประกาศ ก.พ.อ. 2. หลักเกณฑ์และวิธีการนับระยะเวลาการประเมินผลการสอน และ การประเมินผลงานทางวิชาการ ให้เป็นไปตามประกาศ ก.พ.ว. 3. การดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นความลับ

  17. หมวด 4 การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเสนอคำขอตามแบบที่กำหนด ต่อหน่วยงานต้นสังกัด คณะกรรมการประจำหน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบคุณสมบัติ ให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามคำขอ แล้วส่งสำนักวิชาการ สำนักวิชาการรับเรื่อง และถือว่าวันรับเรื่องผู้ขอมีคุณสมบัติครบถ้วน สำนักวิชาการส่งเรื่องให้ ก.พ.ว. ก.พ.ว. รับเรื่องจากสำนักวิชาการ ก.พ.ว. แต่งตั้งอนุกรรมการประเมินผล การสอนทางไกล ก.พ.ว. แต่งตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินผลงานทางวิชาการ

  18. ก.พ.ว. แต่งตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ แบบปกติ แบบพิเศษ ก.พ.ว.แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3-5 คน กรณี ศาสตราจารย์ แบบปกติ วิธีที่ 2 ให้มี กรรมการ ก.พ.ว. หนึ่งคน เป็นประธาน และกรรมการอื่นอีก 5 คน การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก ก.พ.ว.แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีประธาน ก.พ.ว. เป็นประธาน 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 5 คน การลงมติที่ประชุมให้ถือเสียง 4 ใน 5 เสียง และตำแหน่ง ศ. เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ 1 เท่านั้น สำหรับคุณภาพผลงานทางวิชาการระดับ ผศ. รศ. ต้องมีคุณภาพระดับดีมาก ส่วน ศ. ต้องมีคุณภาพระดับ ดีเด่น หากข้อผลงานเพิ่ม ให้เสนอ ก.พ.ว. พิจารณาก่อน และดำเนินการภายใน 90 วัน หากไม่ทันขยายได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 90 วัน เมื่อพิจารณาเสร็จส่งผลการพิจารณา ให้ ก.พ.ว. หากข้อผลงานเพิ่ม ให้เสนอ ก.พ.ว.พิจารณาก่อน และ ดำเนินการภายใน 90 วัน หากไม่ทันขยายได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 90 วัน เมื่อพิจารณาเสร็จส่งผลการพิจารณาให้ ก.พ.ว.

  19. ก.พ.ว.พิจารณาความเห็น + วิเคราะห์ + ประมวลผลสรุป เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ทำคำสั่งแต่งตั้งตามข้อ 27 มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่สำนักวิชาการ รับผลงานครบถ้วน สภามหาวิทยาลัย พิจารณาผลการประเมิน อนุมัติ ไม่อนุมัติ แจ้งผู้ขอภายใน 15 วัน

  20. ประกอบด้วย • กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ตาม • ประกาศ ก.พ.อ. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการ • พิจารณาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอ • ทบทวนดังกล่าว แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบมติ • เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่องการขอทบทวนผลงานทางวิชาการแล้วให้ส่ง • คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการ • พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย • วินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัยเป็นที่สุด หมวด 5 การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ

  21. หมวด 6 ความผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ • ประกอบด้วย 1. การเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นจริง การลอกเลียนผลงาน ความประพฤติผิด จรรยาบรรณของวิชาชีพ กรณีตรวจพบ ให้ ก.พ.ว.เสนอเรื่องพร้อม ความเห็นให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณา 2. บุคลากรกระทำความผิดตามข้อ 27 ให้ยุติการขอตำแหน่ง และห้ามมิให้ ขออีกเป็นเวลา 5 ปี และหากพบหลังจากที่แต่งตั้งไปแล้วให้ถอดถอน กรณีของศาสตราจารย์ ให้สภามหาวิทยาลัยเสนอ ก.พ.อ. ดำเนินการ ต่อไป

  22. บทเฉพาะกาล • หากบุคลากรผู้ใดยื่นขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ต่อสภามหาวิทยาลัยก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ให้พิจารณาแต่งตั้งบุคลากรผู้นั้น ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นเรื่องดังกล่าวต่อไปจนแล้วเสร็จ

More Related