1.89k likes | 3.46k Views
โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ. วิชาระเบียบแถวลูกเสือ. วัตถุประสงค์. เมื่อจบการฝึกอบรมนี้แล้วผู้เข้ารับการอบรมควรจะสามารถ. บอกความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้ สั่งการด้วยคำบอก ทำสัญญาณ นกหวีดได้อย่างถูกต้อง ระบุวิธีดำเนินการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้
E N D
โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือโครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ วิชาระเบียบแถวลูกเสือ
วัตถุประสงค์ เมื่อจบการฝึกอบรมนี้แล้วผู้เข้ารับการอบรมควรจะสามารถ • บอกความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้ • สั่งการด้วยคำบอก ทำสัญญาณ นกหวีดได้อย่างถูกต้อง • ระบุวิธีดำเนินการฝึกระเบียบแถวลูกเสือได้ • ใช้สัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากลได้อย่างถูกต้อง • อธิบายการจัดกองลูกเสือเกียรติยศและจัดการสวนสนามของลูกเสือได้
ความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือความมุ่งหมายของการฝึกระเบียบแถวลูกเสือ 1. โดยทั่วไป 1.1 เพื่อฝึกให้ลูกเสือเป็นผู้มีระเบียบวินัยอันดีงาม 1.2 เพื่อฝึกให้ลูกสือรู้จักฟังคำบอกคำสั่งและปฏิบัติตามได้ถูกต้อง 1.3 เพื่อฝึกให้ลูกสือเกิดความมานะอดทน
2. โดยส่วนตัว ทางร่างกาย : ทำให้ลูกเสือเป็นผู้มีร่างกาย แข็งแรงมีทรวดทรงสมส่วน มีท่าทางองอาจผึ่งผาย เป็นผู้มีประสาทตื่นตัว สามารถเคลื่อนไหวอิริยาบทได้คล่องแคล่วว่องไว ทางจิตใจ : ทำให้ลูกเสือเป็นผู้มีอุดมคติในการรักษาเกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
3. โดยส่วนรวม 3.1 การฝึกร่วมกัน ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและความพร้อมเพรียง ย่อมก่อให้เกิดความสามัคคี 3.2 สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยสง่างามสมเกียรติของลูกเสือ 3.3 ฝึกให้สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามได้เป็นอย่างดี
4. ประการสุดท้าย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องใส่ใจอบรมให้ลูกเสือรู้จักรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักหมู่คณะและเกียรติของตน จนสามารถเสียสละประโยชน์ตน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของลูกเสือให้สมบูรณ์
หมู่ลูกเสือ กองลูกเสือ กลุ่มลูกเสือ การจัดกำลัง 1.หน่วยลูกเสือ แบ่งเป็น
1.1 หมู่ลูกเสือ : • นายหมู่เป็นผู้บังคับบัญชา • รองนายหมู่เป็นผู้ช่วย • มีจำนวนลูกเสือตามประเภทลูกเสือ 1.2 กองลูกเสือ : • ผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้บังคับบัญชา • รองผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้ช่วย • มีจำนวนหมู่ลูกเสือตามประเภทลูกเสือ
1.3 กลุ่มลูกเสือ : • ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือเป็นผู้บังคับบัญชา • รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือเป็นผู้ช่วย • มีจำนวนกองลูกเสือตั้งแต่ 4 กองขึ้นไป กลุ่มลูกเสือที่สมบูรณ์ : ประกอบด้วยกองลูกเสือ 4 ประเภท ประเภทละ 1 กอง กลุ่มลูกเสือที่ไม่สมบูรณ์ : • ประกอบด้วยกองลูกเสือประเภทเดียว 4 กอง • ประกอบด้วยกองลูกเสือ 2-3 ประเภท ประเภทละ2-3 กอง
2. อาวุธประจำตัว 2.1 ลูกเสือสามัญ ใช้ไม้พลอง หมายเหตุ : ไม้พลองให้มีลักษณะกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซม. ยาว 150 ซม. ใต้หัวพลองลงมา 20 ซม.ให้เจาะรูร้อยเชือกสำหรับรวมกระโจมได้ ใต้รูเจาะร้อยเชือกลงมาอีก 5 ซม. ให้ขีดหมายเป็นเครื่องวัดตามมาตราเมตรติก ให้อ่านได้ทุกเซนติเมตร จนถึง 75 เซนติเมตร(ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อ 293)
2.2 ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ใช้ไม้ง่าม ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อ 295และข้อ 299 หมายเหตุ : ไม้ง่ามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ปลายงามทั้งสองยาว 5 เซนติเมตร ความสูงร่องง่ามเสนอแนวหัวไหล่ของลูกเสือแต่ละคน (ดังรูป)
2.3 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือตั้งแต่รองผู้กำกับลูกเสือ(ยกเว้นสำรอง) ขึ้นไปใช้ไม้ถือ (สีน้ำตาลแก่)ใช้ในโอกาสที่จัดแถวลูกเสือในพิธีใดๆที่ลูกเสือถือไม้พลองหรือไม้ง่ามทุกคน
ตัวไม้ถือมีลักษณะกลม หัวไม้ 1.8 ซม. กลางไม้ 1.5 ซม. ปลายไม้ 1.2 ซม. ปลอกทองเหลือง หุ้มทางด้านหัวไม้ยาว 6 ซม. หุ้มทางปลายไม้ยาว 4 ซม.
พู่ของไม้ถือ ให้มีพู่ 2 พู่ ผูกติดอยู่กับไม้และจากหัวไม้ลงมา 16 ซม. ให้มีปลอกทองเหลืองเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติหุ้มอยู่ (ลักษณะของพู่ เป็นด้ายหรือพรมถักเป็นเชือกผูกติดกับไม้ถือ ปลายเชือกยาวข้างละ 6 ซม. ต่อจากปลายเชือกแต่ละข้าง ทำเป็นพู่ยาวข้างละ 7 ซม.ขนาดโตพอสมควร)
ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญ เชือกและพู่เป็นสีเขียว ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เชือกและพู่เป็นสีเลือดหมู ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ เชือกและพู่เป็นสีแดง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เชือกและพู่เป็นสีม่วง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด เชือกสีม่วงข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งสีเหลือง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ตรวจการลูกเสือ เชือกสีม่วงข้างหนึ่ง เขตพื้นที่การศึกษา อีกข้างหนึ่งสีแดง
วิเคราะห์ศัพท์ ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้ฝึกและลูกเสือทราบและเข้าใจความหมายไปในทางเดียวกันทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ 1. แถวตอน คือแถวลูกเสือซึ่งจัดวางบุคคลซ้อนกันในทางลึกระยะห่างระหว่างคนหน้าและคนหลังเรียกว่าระยะต่อ (ระยะต่อ 1 ก้าว หรือ 1 ช่วงแขน) หลัง หน้า ระยะต่อ
2. แถวหน้ากระดาน คือแถวลูกเสือซึ่งอยู่เรียงเคียงเป็นแนวเดียวกันในทางกว้างระยะบุคคลจากศอกถึงศอกเรียงว่า “ระยะเคียง” หลัง ระยะเคียง หน้า
3. ขบวน คือหน่วยลูกเสือ จะจัดเป็นแถวหน้ากระดานหรือแถวตอนก็ได้ แถวหน้ากระดาน แถวตอน
ตับที่ 5 ตับที่ 2 ตับที่ 3 ตับที่ 4 ตับที่ 6 ตับที่ 7 ตับที่ 8 ตับที่ 1 4. ตับ คือส่วนของแถวตอนหรือแถวหน้ากระดานที่มีลูกเสือ 2,3 หรือ 4 คนเคียงกัน (ตับที่มีคนไม่ครบเรียกว่าตับขาด) แถวตอน
ตับที่ 1 ตับที่ 2 ตับที่ 3 ตับที่ 4 แถวหน้ากระดาน 5. คนหลัก คือ นายหมู่ลูกเสือ
เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนคำพูดและใช้ในการจัดรูปขบวนสวนสนาม เครื่องหมายต่างๆ ความมุ่งหมาย ลูกเสือถือป้าย ลูกเสือถือธงประจำกอง ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ นายหมู่ลูกเสือ รองนายหมู่ลูกเสือ ลูกเสือ
วิธีสั่งการ ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแจ้งความประสงค์ของตนแก่ลูกเสือและเพื่อให้ลูกเสือปฏิบัติโดยพร้อมเพียงกัน • คำบอก • ท่าสัญญาณ • คำบอกและท่าสัญญาณประกอบกัน • แตร • นกหวีด • คำสั่งด้วยปากหรือเขียน วิธีสั่งการ
1.คำบอก แบ่งออกเป็น • คำบอกแบ่ง • คำบอกเป็นคำๆ • คำบอกรวด • คำบอกผสม
(ก) คำบอกแบ่ง เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่งสำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะกำหนดไว้ให้ปฏิบัติได้เป็นจังหวะเดียวหรือแบ่งเป็นจังหวะๆโดยมีเครื่องหมาย – คั่นกลางไว้ ผู้ให้คำบอก จะต้องเปล่งเสียงบอกในคำแรกด้วยการลากเสียงค่อนข้างยาว แล้วเว้นจังหวะไว้เล็กน้อย ก่อนที่จะเปล่งเสียงออกในคำหลังด้วยการเน้นเสียงหนักและสั้น เช่น
ตรง หัน หัน แถว ขวา ซ้าย หัน หัน กลับหลัง กึ่งขวา “ แถว-ตรง ” “ ขวา-หัน ” “ ซ้าย-หัน ” “ กลับหลัง-หัน ” “ กึ่งขวา-หัน ”
เดิน เท้า หน้า ซอย หัน เดิน ทำ กึ่งซ้าย ครึ่งก้าว ซอยเท้า “ กึ่งซ้าย-หัน ” “ ครึ่งก้าว-เดิน ” “ หน้า-เดิน” “ ซอย-เท้า ” “ ซอยเท้า-ทำ ”
หยุด ตรง แถว แล ทำ ทำ วุธ แลขวา แลซ้าย วันทยา “ แถว-หยุด ” “ แลขวา-ทำ ” “ แลซ้าย-ทำ ” “ แล-ตรง ” “ วันทยา-วุธ ”
อาวุธ แบก อาวุธ เรียบ ทำ ทำ เลี้ยวขวา เลี้ยวซ้าย หน้าเดิน หน้าเดิน เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา “ แบก-อาวุธ ” “ เรียบ-อาวุธ ” “ เลี้ยวขวา-ทำ ” “ เลี้ยวซ้าย-ทำ ” “ เลี้ยวขวา-หน้าเดิน ” “ เลี้ยวซ้าย-หน้าเดิน ”
แทง ทำ แทง แทง ทำ เดิน แทงไกล ตรงหน้า ปัดขวา แทงเสย ปัดซ้าย แทงใกล้ “ ตรงหน้า-เดิน ” “ แทงไกล-แทง ” “ แทงใกล้-แทง ” “ แทงเสย-แทง ” “ ปัดขวา-ทำ ” “ ปัดซ้าย-ทำ ”
(ข) คำบอกเป็นคำๆ เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่งสำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่กำหนดให้ปฏิบัติแบ่งเป็นจังหวะไว้ โดยการใช้เครื่องหมาย , กั่นกลาง ผู้ให้คำบอก จะต้องเปล่งเสียงบอกทั้งในคำแรกและคำหลังด้วยการวางน้ำหนักไว้เท่าๆกัน โดยเว้นจังหวะระหว่างคำไว้เล็กน้อย(ไม่ต้องลากเสียงยาวในคำแรก) เช่น
“ ตามระเบียบ, พัก ” “ ตามสบาย, พัก ” “ คอน, อาวุธ ” “ เฉียง, อาวุธ ” “ เปลี่ยน, เท้า ” “ เฉียงขวา, ทำ ” “ เฉียงซ้าย, ทำ” “ ก้าวทางขวา, ทำ ” “ ก้าวทางซ้าย, ทำ” “ ก้าวทางขวา...ก้าว, ทำ ” “ ก้าวทางซ้าย...ก้าว, ทำ” “ ถอดหมวก, นั่ง ” “ นับตลอด, นับ”
“ นับ..., นับ ” “ ก้าวถอยหลัง, ทำ” “ ก้าวถอยหลัง...ก้าว, ทำ ” “ ตรงหน้า, วันทยหัตถ์” “ ทางขวา, วันทยหัตถ์” “ ทางซ้าย, วันทยหัตถ์” “ เลี้ยวขวา, กลับหลัง” “ เลี้ยวซ้าย, กลับหลัง” “ ลูกเสือเตรียมกล่าวคำปฏิญาณ, ตรง” “ หน้ากระดานแถวเดี่ยว, ปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสองแถว, ปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสามแถว, ปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า”
“ หน้ากระดานแถวเดี่ยว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสองแถว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ หน้ากระดานสามแถว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” “ แถวหนึ่ง, นับ” “ แถวสอง, นับ” “ แถวสาม, นับ” “ แถวสี่, นับ” “ ตอนเรียงหนึ่ง , มาหาข้าพเจ้า” “ ตอนเรียง... , มาหาข้าพเจ้า”
(ค) คำบอกรวด เป็นคำบอกเพื่อออกคำสั่งที่ไม่ยืดยาวหรือหลายพยางค์(ไม่ต้องแบ่งจังหวะหรือวรรคตอน) ผู้ให้คำบอก จะต้องบอกรวดเดียวจบ โดยการวางระดับเสียงเป็นระดับเดียว เช่น “ เดิน ” “ จัดแถว ” “ นิ่ง ” “ แยก ” “ พักแถว ” “ เลิกแถว ” “ พัก ” “ ตรง ” “ วันทยหัตถ์ ” “ มือลง ” “ นับ ” “ นับใหม่ ”
“ ถอดหมวก ” “ สวมหมวก ” “ สงบนิ่ง ” “ นั่ง ” “ ลุก ” “ หมอบ ” “ นับสอง ” “ นับสาม ” “ ขาดหนึ่ง ” “ แถวที่...นับ ” “ ซอยเท้า ” “ เดินตามสบาย ” “ เตรียมแทง ” “ แทงไกลแทง ” “ แทงใกล้แทง ” “ แทงเสยแทง ” “ บังตัว ” “ รวมอาวุธ ” “ ขยายอาวุธ ” “ รวมพลอง ” “ ขยายพลอง ” “ รวมไม้ง่าม ” “ ขยายไม้ง่าม ” “ ปรับขบวนสวนสนาม ” “ ลูกเสือเตรียมสวนสนาม ”
(ง) คำบอกผสม เป็นคำบอกที่มีลักษณะคล้ายคำบอกเป็นคำๆและมีคำบอกแบ่งผสมอยู่ในคำหลัง ผู้ให้คำบอก คำบอกแรกเป็นคำบอกเป็นคำๆ โดยใช้เครื่องหมาย , คั่น คำบอกหลังเป็นคำบอกแบ่งโดยใช้เครื่องหมาย - คั่นกลาง เช่น
“ ทางขวา, แลขวา - ทำ ” “ ทางซ้าย, แลซ้าย - ทำ ” “ ตรงหน้าระวัง, วันทยา - วุธ ” “ วิ่ง, หน้า - วิ่ง ” “ ทางขวาระวัง, วันทยา - วุธ ” “ ทางซ้ายระวัง, วันทยา - วุธ ” “ สวนสนาม, หน้า - เดิน ”
2.ท่าสัญญาณ • ใช้แทนคำบอก • เมื่ออยู่ห่างไกลจากลูกเสือ • กรณีต้องการความสงบ
(1) เตรียม คอยฟังคำสั่ง หรือหยุด เหยียดแขนขวาขึ้นตรงเหนือศีรษะ มือแบห้านิ้วชิดกัน หันฝ่ามือไปข้างหน้า • ลูกเสือหยุดการเคลื่อนไหว • หยุดการกระทำใดๆทั้งสิ้น • นั่งคอยฟังคำสั่ง โดยหันหน้าไปยังผู้บังคับบัญชา (ถ้าอยู่ในแถวยืนอยู่ในท่าตรง)
(2) รวม หรือกลับมา เหยียดแขนขวา มือแบ หมุนเป็นวงกลมเหนือศีรษะจากซ้ายไปขวา
(3) จัดแถวหน้ากระดาน เหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างเสมอแนวไหล่ ฝ่ามือแบไปข้างหน้าจัดแถวหน้ากระดานให้ทิศหน้าแถวหันตรงหน้าผู้ให้สัญญาณ
(4) จัดแถวตอน เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้าในแนวเดียวกับหัวไหล่แขนขนานกัน ฝ่ามือแบเข้าหากัน
(5) เคลื่อนที่ไปข้างหน้า, ทางขวา(ซ้าย),กึ่งขวา(ซ้าย),ไปข้างหลัง ผู้ให้สัญญาณหันหน้าไปยังทิศทางที่ต้องการ ชูแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะ ฝ่ามือแบไปข้างหน้าแล้วลดแขนลงข้างหน้าเสมอแนวบ่า
(6) หมอบหรือเข้าที่กำบัง แขนขวาเหยียดตรงไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ ฝ่ามือแบคว่ำลดแขนลงข้างหน้าแล้วกลับที่เดิมหลายๆครั้ง
(7) เร่งจังหวะหรือเร็วขึ้น แขนขวางอมือกำเสมอบ่า ชูขึ้นตรงเหนือศีรษะแล้วลดลงหลายครั้ง หมายเหตุ ก่อนจะให้สัญญาณแต่ละท่านั้น ให้ทำสัญญาณข้อ(1) ก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการเตือนให้รู้ว่าจะให้สัญญาณอะไร
3. แตรหรือนกหวีด • ใช้เมื่อลูกเสืออยู่รวมกัน ในกรณีพิเศษหลายกองอยู่ปะปนกับประชาชน • เมื่อไปเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม การใช้สัญญาณนกหวีด (1) หยุด, เตรียมตัว, คอยฟังคำสั่ง หวีดยาว 1 ครั้ง ( ____ )
(2) เดินต่อไป, เคลื่อนที่ต่อไป, ทำงานต่อไป หวีดยาว 2 ครั้ง ( ____ ____ ) (3) เกิดเหตุ หวีดสั้นหนึ่งครั้ง ยาวหนึ่งครั้ง ( _ ____ , _ ____ , _ ____ ) (4) เรียกนายหมู่ หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ( _ _ _ ____ , _ _ _ ____ )
(5) ประชุม, รวม หวีดสั้นติดต่อกันหลายๆครั้ง หมายเหตุ เมื่อจะใช้สัญญาณ (2) (3) (4) และ(5) ให้ใช้สัญญาณ (1) ก่อนทุกครั้ง ( _ _ _ _ _ _ _ _ ) (6) หมู่บริการชักธงลงเวลา 18.00 น. ณ.ค่ายพักแรม หวีดยาว 3 ครั้ง หวีดสั้น 1 ครั้ง ( ____ ____ ____ _ )
(4) คำสั่งด้วยปาก เป็นถ้อยคำที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะพึงสั่งลูกเสือให้ปฏิบัติตามความต้องการเป็นส่วนรวม เช่น “ ให้ทุกหมู่แยกทำการฝึกระเบียบแถวภายใน 10 นาที แล้วพัก ”
(5) คำสั่งเขียน ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ปฏิบัติตามความต้องการ โดยเขียนข้อความลงบนกระดาษ และนำไปให้แต่ละหมู่ได้ทราบ เช่น “ คืนนี้เวลา 23.00 น. แต่งเครื่องแบบครบชุดมาพร้อมกัน ณ ที่รวมพล ”