1 / 34

โครงการ

โครงการ. ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรด้านการประมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ โดย สำนักงานประมง จังหวัดกระบี่. ความเป็นมาของโครงการ.

lane-lowery
Download Presentation

โครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการ ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรด้านการประมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ โดย สำนักงานประมง จังหวัดกระบี่

  2. ความเป็นมาของโครงการ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดเหตุธรณีพิบัติหรือ สึนามิ (Tsunami) ใน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวประมงอย่างมหาศาล กรมประมงได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวประมง กลุ่มเรือท่องเที่ยว และกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มกิจการแพปลา และกลุ่มเครื่องมือประมง รวมชาวประมง 6,693 ราย ใช้งบประมาณ 125,974,108 บาท เป็นการช่วยเหลือชดเชยสิ่งที่สูญเสียในการประกอบอาชีพประมงเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือในขั้นแรกนั้น พบว่าชาวประมงยังไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนเหมือนเดิมได้ เพระธรณีพิบัติได้ทำลายโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไปอย่างราบคาบ ไม่เหลืออะไรไว้นอกจากสิ่งปรักหักพัง กรมประมงจะเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพด้านการประมงไหม่ เพื่อให้ชาวประมงสามารถกลับมายืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้เหมือนเดิม แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือชาวประมงเป็นรายบุคคลได้ ด้วยงบประมาณอันจำกัดจึงจำเป็นต้องแบ่งการช่วยเหลือเป็นกลุ่มๆ โดยมีการช่วยเหลือเป็นลักษณะหมุนเวียนเงินทุนชาวประมงที่ได้รับการช่วยเหลือ ต้องส่งคืนเงินสามารถนำกลับไปขยายกลุ่มเพื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อระยะเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ชาวประมงจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงทุกราย

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อฟื้นฟูการใช้เครื่องมือประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายให้กับชาวประมง จำนวน 19 กลุ่ม รวมชาวประมง 475 ราย • สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ให้เป็นสมบัติของกลุ่มชาวประมง ประกอบด้วยโรงซ่อมเครื่องมือประมง รวม 1 แห่งรวมชาวประมง 50 ราย • ฟื้นฟูและส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 1 กลุ่ม รวมแม่บ้าน 50 ราย • อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการใช้เครื่องมือประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำให้แก่ชาวประมง • ฟื้นฟูและส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP  ให้กับชาวประมงจำนวน 41 กลุ่ม รวมชาวประมง 2,050 ราย

  4. เป้าหมายดำเนินการ จำนวนเกษตรกรผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในเขต 5 อำเภอ ได้แก่ • อำเภอเมืองกระบี่ • อำเภอเหนือคลอง • อำเภออ่าวลึก • อำเภอคลองท่อม • และอำเภอเกาะลันตา

  5. วิธีการดำเนินการ • รวมกลุ่มเกษตกรที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน • จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน จัดตั้งกลุ่มของชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิในจังหวัดกระบี่ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม โดยตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเงินทุนหมุนเวียนเมื่อกิจกรรมสำเร็จจะต้องใช้คืนกองทุนเพื่อหมุนเวียนใช้ในรอบต่อไป สำหรับชาวประมงรายต่อไป รวมทั้งมีการฝึกอบรมสมาชิกภายในกลุ่ม • สำนักงานประมงจังหวัด จัดสรรงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เข้าบัญชีเงินฝากกลุ่มเพื่อดำเนินการจัดหาปัจจัยการผลิต ตามกรอบหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 126 ลงวันที่ 7 กันยายน 2548 • กลุ่มเกษตรกรดำเนินการจัดซื้อวัสดุตามแนวทางระเบียบของราชการ โดยกำหนดรูปของปัจจัยการผลิตตามความต้องการของสมาชิก

  6. ขั้นตอนการดำเนินการ การคัดเลือกพื้นที่ / เงื่อนไข • เป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็กที่ประสบภัยพิบัติสึนามิและมีสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพเพาะลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีจำนวนครัวเรือนไม่น้อยกว่า 20 ครัวเรือน • องค์กรราษฎรในหมู่บ้าน มีการรวมกลุ่ม มีความพร้อมและยอมรับที่จะเข้ารวมกิจกรรม • ในหมู่บ้านมีการติดต่อคมนาคมได้สะดวก

  7. การจัดเตรียมองค์กร • การชี้แจงโครงการหน่วยงานฯ ผู้ดำเนินการเข้าชี้แจงโครงการฯให้แก่ราษฏรในพื้นที่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการฯ • การคัดเลือกสมาชิกหน่วยงานฯ ผู้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมหมู่บ้านจะทำการคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในแต่ละกิจกรรม

  8. คุณสมบัติของสมาชิก • เป็นครัวเรือนชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิ • เป็นเกษตรกรด้านการประมงที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ • เป็นผู้มีรายได้น้อย • เป็นผู้มีความประพฤติดี • เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ

  9. การจัดตั้งคณะกรรมการ กิจกรรมของแต่กลุ่ม คัดเลือกคณะกรรมการกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน รองประธาน 1 คน กรรมการ 3 คนเหรัญญิก 1 คน กรรมการและเลขานุการ 1 คน หน้าที่รับผิดชอบ • ร่วมปฏิบัติงานวางแผน ปรึกษาหารือประสานงานกับคณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแลสมาชิก • กำหนการบริหารสภาพพื้นที่ทำการเพาะเลี้ยง และจัดสรรรายได้ • กระตุ้นให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ร้านค้า ,กลุ่ม,กลุ่มกองทุน • สรุปผลการดำเนินงาน สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

  10. ประเภทความช่วยเหลือ • กลุ่มที่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเพื่อฟื้นฟูการทำการประมง • กลุ่มฟื้นฟูอาชีพประมง • กลุ่มฟื้นฟูอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • กลุ่มฟื้นฟูกลุ่มแม่บ้านการแปรรูปสัตว์น้ำ

  11. งบประมาณสนับสนุน

  12. สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน • โรงซ่อมเครื่องมือประมง 1 โรงเรือนมีสมาชิก 50 คน ดูแลเครื่องมือและช่วยเหลือชาวประมงให้มาซ่อมเครื่องยนต์และเครื่องมือการประมงในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐลงทุนให้ มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการให้บริการชาวประมงรายอื่นๆ ที่ต้องซ่อมแซมอุปกรณ์การทำอาชีพประมงภายในชุมชน และมีการอบรมเครื่องมือการประมง • สร้างโรงเรือนแปรรูปสัตว์น้ำ 1 โรงเรือนทำการแปรรูปสัตว์น้ำภายในกลุ่ม จำนวนสมาชิก 50 คน โดยจัดตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียนสำหรับการแปรรูปสัตว์น้ำ หมุนเวียนให้สมาชิกรายอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์โรงแปรรูปสัตว์น้ำ และมีการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปสัตว์น้ำให้กับสมาชิกกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ

  13. ประเภทการสนับสนุน 1. กลุ่มเลี้ยงหอยแครง 2. กลุ่มเลี้ยงหอยแมลงภู่ 3. กลุ่มเลี้ยงปลา 4. กลุ่มเลี้ยงปูดำ 5. กลุ่มเลี้ยงปูม้า 6. กลุ่มสนับสนุนการประมง 7. กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ 8. กลุ่มโรงซ่อมเครื่องมือประมง

  14. ในส่วนของจังหวัดกระบี่ ได้มีเกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการจำนวน  61  กลุ่ม จำนวนเกษตรกร    2,605   คน  ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabi

  15. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabiดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabi

  16. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabiดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabi

  17. การจัดการ ฐานข้อมูล สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ ได้จัดทำโปรแกรมสำหรับการจัดเก็บข้อมูลของเกษตรกร โดยเขียนโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ ชื่อโปรแกรมซีแคร์ (SEA CARE) เพื่อให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการบันทึกข้อมูล ได้จัดพิมพ์คู่มือเกษตรกรขึ้น แบ่งเอกสารเป็น 3 สำเนา - สำเนาแรก สำนักงานประมงเก็บมาเพื่อบันทึกไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ - สำเนาที่สอง ส่งไปยังกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สำเนาที่สาม เก็บเป็นต้นขั้วไว้ที่เกษตรกรเอง เพื่อจะได้เช็คสถิติ

  18. แบบฟอร์มที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำ

  19. โปรแกรมSea Care • แบ่งการทำงานเป็นหมวดหมู่ ชัดเจน • มีรหัสป้องกันการเข้าสู่โปรแกรม

  20. ลักษณะของโปรแกรมSea Care - การป้อนข้อมูลมีการป้องการความผิดพลาดในการใช้งาน สร้างความมั่นใจ ว่าข้อมูลที่ได้รับจะถูกต้อง, แน่นอน

  21. สามารถพิมพ์รายงานออกมาได้อย่างสวยงามสามารถพิมพ์รายงานออกมาได้อย่างสวยงาม

  22. เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์www.fisheries.go.th/fpo-krabiเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์www.fisheries.go.th/fpo-krabi

  23. ข้อมูลภายในเว็บไซต์

  24. เนื้อหาส่วนหนึ่งในเว็บไซต์รายละเอียดและข้อมูลการเลี้ยงหอยแมลงภู่เนื้อหาส่วนหนึ่งในเว็บไซต์รายละเอียดและข้อมูลการเลี้ยงหอยแมลงภู่

  25. เนื้อหาส่วนหนึ่งในเว็บไซต์ รายชื่อสมาชิกกลุ่มต่างๆ

  26. การนำเสนอผ่านเว็บไซต์การนำเสนอผ่านเว็บไซต์ • ประวัติความเป็นมาของโครงการ • เป้าหมายและวัตถุประสงค์ • ข้อมูลดำเนินการ • ข้อมูลสมาชิก • ผลสรุปของการเจริญเติบโตสัตว์น้ำและความคืบหน้า ของโครงการที่อัพเดทวันต่อวัน

  27. ภาพกิจกรรมจัดประชุมสัมนาและฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับด้านการประมงภาพกิจกรรมจัดประชุมสัมนาและฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับด้านการประมง

  28. การจัดเตรียมพันธ์สัตว์น้ำเพื่อมอบให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงการจัดเตรียมพันธ์สัตว์น้ำเพื่อมอบให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยง

  29. ระยะเวลาดำเนินการ เมษายน 2549 – กันยายน 254 หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ กลุ่มเกษตรกรแต่ละกิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ • เพิ่มผลการผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง • เพิ่มรายได้ให้ชาวประมงขนาดเล็ก • กระตุ้นให้ชาวประมงเกิดการรวมกลุ่ม • ส่งเสริมและเผยแพร่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

  30. รายละเอียดโครงการ • ผู้เขียนโครงการนายสาโรช   เรืองโฉม เจ้าพนักงานประมง 5 • ผู้เสนอโครงการนายโอภาส   นวลวิไลลักษณ์ ประมงจังหวัดกระบี่ • ผู้เห็นชอบโครงการนายชาย  พานิชพรพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ • ผู้อนุมัติโครงการนายสนธิ   เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่

  31. - จบการนำเสนอ - ติดตามและดูรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ www.fisheries.go.th/fpo-krabi/index.htm

More Related