1 / 21

วิกฤตการณ์ด้านทรัยากรธรรมชาติ

วิกฤตการณ์ด้านทรัยากรธรรมชาติ. ทรัพยากรน้ำ. ทรัพยากรน้ำ

lali
Download Presentation

วิกฤตการณ์ด้านทรัยากรธรรมชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิกฤตการณ์ด้านทรัยากรธรรมชาติวิกฤตการณ์ด้านทรัยากรธรรมชาติ ทรัพยากรน้ำ

  2. ทรัพยากรน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยน้ำ นอกจากนี้ น้ำยังเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการ โดยเฉพาะการผลิตในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ต้องใช้น้ำเป็น ปริมาณมาก แต่ทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ในโลกมีน้ำอยู่ประมาณ 1,234 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นน้ำจืดเพียงร้อยละ 5 และประมาณ 4 ใน 5 ของน้ำจืดที่มีอยู่ เป็นน้ำแข็งในเขตขั้วโลก นอกจากนี้ยังเป็นน้ำใต้ดินถึงร้อยละ 99 ของน้ำจืดที่เป็นของเหลว

  3. สถานการณ์ทรัพยากรน้ำ- ปริมาณน้ำฝน การพยากรณ์ความต้องการใช้น้ำ (ส่วนใหญ่เป็นความต้องการน้ำภาคเกษตร) ในปี พ.ศ. 25362539 และ 2549 พบว่าในปี พ.ศ. 2536 มีปริมาณความต้องการน้ำทั้งหมด 61,507 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 87,495 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะขาดแคลนน้ำประมาณ 12,560 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยลุ่มน้ำภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำสูงที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2536 มีความต้องการใช้น้ำ 36,137 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 45,613 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ในปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2549 ความต้องการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มขึ้นเป็น 47,336 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งคาดว่าจะขาดแคลนน้ำ 3,089 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (ตารางที่ 3) ทั้งนี้การความต้องการน้ำในปี พ.ศ. 2547 ของภาคต่างๆ ของประเทศ มีดังนี้ ภาคกลาง 28,540 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคเหนือ 12,772 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11,617 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออก 2,968 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคใต้ 11,334 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งสิ้น 67,231 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้ว่าในปัจจุบันปริมาณน้ำที่เก็บกักได้จะมีค่าสูงกว่าความต้องการใช้น้ำ แต่เนื่องจากประสิทธิภาพการส่งน้ำที่ต่ำ และมีระบบส่งน้ำเป็นระบบคลองเปิดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำในทุกพื้นที่ได้ นอกจากนั้นยังมีความผันแปรของปริมาณน้ำตามพื้นที่และตามฤดูกาลทำให้มีการขาดแคลนน้ำในหลายลุ่มน้ำ

  4. ความต้องการน้ำ การพยากรณ์ความต้องการใช้น้ำ (ส่วนใหญ่เป็นความต้องการน้ำภาคเกษตร) ในปี พ.ศ. 25362539 และ 2549 พบว่าในปี พ.ศ. 2536 มีปริมาณความต้องการน้ำทั้งหมด 61,507 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 87,495 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะขาดแคลนน้ำประมาณ 12,560 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยลุ่มน้ำภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำสูงที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2536 มีความต้องการใช้น้ำ 36,137 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 45,613 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ในปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2549 ความต้องการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มขึ้นเป็น 47,336 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งคาดว่าจะขาดแคลนน้ำ 3,089 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (ตารางที่ 3) ทั้งนี้การความต้องการน้ำในปี พ.ศ. 2547 ของภาคต่างๆ ของประเทศ มีดังนี้ ภาคกลาง 28,540 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคเหนือ 12,772 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11,617 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออก 2,968 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคใต้ 11,334 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งสิ้น 67,231 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้ว่าในปัจจุบันปริมาณน้ำที่เก็บกักได้จะมีค่าสูงกว่าความต้องการใช้น้ำ แต่เนื่องจากประสิทธิภาพการส่งน้ำที่ต่ำ และมีระบบส่งน้ำเป็นระบบคลองเปิดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำในทุกพื้นที่ได้ นอกจากนั้นยังมีความผันแปรของปริมาณน้ำตามพื้นที่และตามฤดูกาลทำให้มีการขาดแคลนน้ำในหลายลุ่มน้ำ

  5. น้ำบาดาล แหล่งน้ำบาดาลเป็นแหล่งกักเก็บกักน้ำตามธรรมชาติที่มีการสะสมมานาน เป็นแหล่งน้ำที่สามารถพัฒนานำมาใช้เสริม หรือทดแทนน้ำผิวดินได้ แต่อย่างไรก็ดี น้ำบาดาลมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณน้ำที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ได้ ซึ่งหากนำขึ้นมาใช้เกินปริมาณน้ำที่สามารถพัฒนามาใช้ได้โดยไม่เกิดผลกระทบ (Safe Yield) จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม เช่น การทรุดตัวของแผ่นดิน การแทรกซึมของน้ำทะเลเข้ามายังชั้นน้ำบาดาล จนอาจทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ เป็นต้น ปริมาณการใช้น้ำบาดาลส่วนใหญ่อยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูง และเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมอยู่มาก เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชียงใหม่ หาดใหญ่ เป็นต้น แต่การบริการด้านน้ำประปายังไม่เพียงพอ ซึ่งภาครัฐได้ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้น้ำบาดาลมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การประกาศเขตควบคุมการใช้น้ำบาดาล เขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล การเพิ่มอัตราค่าใช้น้ำบาดาล การเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการออกพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546

  6. ปัญหาเรื่องน้ำ การขาดแคลนน้ำ 1. ใช้น้ำฟุ่มเฟือย 2. ขาดการอนุรักษ์อย่างจริงจัง 3. ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล 4. แหล่งน้ำธรรมชาติถูกบุกรุกและตื้นเขิน 5. ความต้องการเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร 6. แหล่งเก็บกักน้ำไม่เพียงพอ 7. ประชานขาดจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากน้ำ

  7. น้ำท่วม 1. ฝนตกหนัก 2. สภาพท้องที่เป็นที่ลุ่ม 3. ป่าไม้ถูกทำลาย 4. ขาดแหล่งเก็บกักน้ำทางต้นน้ำ 5. ทางระบายน้ำไม่สะดวก

  8. น้ำเสีย 1. การทำนาเกลือ 2. น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปที่ไม่บำบัด 3. น้ำเสียจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย 4. น้ำเสียจากสถานบริการ

  9. ประโยชน์ของน้ำ น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่ • น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ • น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร • ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ • การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล • น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ • แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ • ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์

  10. ข่าว ข่าวน้ำท่วม จันทร์ที่ 16 ส.ค. 2010 ปากีสถานเตือนเหตุน้ำท่วมระลอกใหม่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) ทางการปากีสถานเตือนประชาชนให้ระวังภัยจากเหตุน้ำท่วมอีกระลอก หลังปริมาณน้ำในแม่น้ำอินดัสเอ่อล้นขึ้น เนื่องจากเกิดฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในฤดูมรสุม ซึ่งอาจส่งผลให้ประชาชนกว่า 20 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย การเตือนภัยน้ำท่วมครั้งใหม่ในรัฐปันจาบและรัฐซินดห์ มีขึ้นหลังจากที่นายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น

  11. ส.ค. - ต.ค. พายุใหญ่ถล่มไทย สมิทธ ฟันธงกรุงเทพฯ จมใต้บาดาล การออกมาแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ในการเสวนาเรื่อง "แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพ" ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานครทั้งนี้ ดร.สมิทธ กล่าวว่า จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติมาโดยตลอด พบว่า ภัยพิบัติที่จะกระทบ กทม.และปริมณฑล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว และภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นภัยที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อมนุษย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13 รอย และจากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งการเกิดรอยร้าวดังกล่าวทำให้อาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีโอกาสถล่มลงมาได้ขณะที่ในพื้นที่ กทม. อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากรอยเลื่อน 2 รอย คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี หากเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นมาอีก เชื่อว่าจะส่งผลให้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตก และทำให้น้ำปริมาณกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักเข้าสู่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ กทม. ข่าว

  12. "กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน เมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแล้ว ระยะสั่นสะเทือนจะขยายตัว 2-3 ริกเตอร์ ทำให้อาคารที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น อาจแตกร้าวและพังทลายลงมา ส่วนอาคารสูงไม่น่าเป็นห่วง เพราะวิศวกรได้ออกแบบอาคารไว้รองรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการรับมือกับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอาจทำให้เกิดความเสียหายมาก" ดร.สมิทธกล่าวอย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวต่อว่า ภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น จากสถิติไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าพายุที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียจะมีแรงลมสูงมากถึงขนาดเป็นไซโคลน แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้วคือพายุไซโคลนนาร์กีส ซึ่งมีความเร็วลมสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อขึ้นฝั่งในลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า แรงลมสูงสุดถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความรุนแรงถึงระดับ 4   "ผมขอทำนายว่าในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทย ทางด้านอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.เพชรบุรี เข้ามา ซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์สตรอม เสิร์ช (Strom Search) หรือน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาถึงบริเวณปากอ่าวเจ้าพระยา และเข้าท่วมพื้นที่ กทม. โดยกว่าจะไหลย้อนกลับสู่ทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 2 - 3 สัปดาห์ และหากท่วมเหนือคลองประปา จะทำให้ประชาชนไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค" ดร.สมิทธกล่าว ข้อมูลจาก

  13. อ้างอิง http://www.ryt9.com/tag/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1 http://hilight.kapook.com/view/24829 ภาพ http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8

  14. จัดทำโดย • นายกวิน ชมพูพงษ์ • นายพงษ์พรรณ เตวิยะ • นายจิรยุทธ จาคีเกษตร • นายณัฐสิทธ์ พันธ์กล่อม • นายชัยวัฒน์ ชมชัย • นายธนวัฒ บุญเพ็ญ

More Related