440 likes | 541 Views
ความรู้และทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี. ผศ.ดร. สมภพ อินท สุวรรณ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปัญหาการศึกษาไทย. ต้องปฏิรูปครูและโรงเรียนให้ได้. ปัญหาด้านครู. 1.ขาดแคลนครู 2.ครูสอนไม่ตรงวุฒิ 3.ครูไม่มีวุฒิ 4. ปัญหาด้านครู. ผล 1.ขาดความมั่นใจในการสอน 3.ขาดแรงจูงใจหรืออุดมการณ์ในการสอน
E N D
ความรู้และทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีความรู้และทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี ผศ.ดร. สมภพ อินทสุวรรณ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปัญหาการศึกษาไทย • ต้องปฏิรูปครูและโรงเรียนให้ได้
ปัญหาด้านครู • 1.ขาดแคลนครู • 2.ครูสอนไม่ตรงวุฒิ • 3.ครูไม่มีวุฒิ • 4. ..........
ปัญหาด้านครู • ผล • 1.ขาดความมั่นใจในการสอน • 3.ขาดแรงจูงใจหรืออุดมการณ์ในการสอน • 3.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ • ครูต้องเก่งจึงจะสร้างศิษย์ที่เก่งได้
ความรู้และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพครูความรู้และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพครู • 1.ต้องมีความรู้ด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์รวมทั้งธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • 1)รู้ลึกและรู้กว้าง ต้องหมั่นศึกษา ติดตามตลอดเวลา • 2)รู้สาระสำคัญของเนื้อหาที่เหมาะกับระดับช่วงชั้นและมาตรฐานการเรียนรู้ • 3)รู้จริงคือถูกต้องโดยไม่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
แบบทดสอบความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแบบทดสอบความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน • สาเหตุของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน?
ความรู้และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพครูความรู้และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพครู • 2.ต้องมีความรู้ด้านศาสตร์การสอนและศิลปะการสอน เช่น • 1)รู้ธรรมชาติและหลักการเรียนรู้(จิตวิทยา) • 2)รู้หลักการจัดการชั้นเรียน หลักการจัดการเรียนรู้ • 3)รู้หลักสูตรและกลวิธีการสอน
ความรู้และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพครูความรู้และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพครู • 3.ต้องรู้บริบทของการจัดการศึกษา เช่น • 1)แผนการศึกษาชาติ นโยบาย พรบ.การศึกษา แนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่21 • 2)สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน
ทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี • 1.ทักษะในการจัดทำแผนการเรียนรู้ • เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือเข็มทิศในการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและกรอบเวลาที่กำหนด อาจเป็นแผนรายคาบ รายหัวข้อหรือแผนรายสาระ • นิยมเขียนแผนแบบย้อนกลับ(backward design)
ทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี • องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ • 1)มาตรฐาน ตัวชี้วัด • 2)แนวความคิดหลัก • 3)ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน(ถ้ามี) • 4)จุดประสงค์การเรียนรู้(ทั้ง3ด้าน K-P-A)
แผนการจัดการเรียนรู้ • 5)สาระการเรียนรู้ • 6)หลักฐานหรือร่องรอยการเรียนรู้ • 7)การวัดและการประเมินผล • 8)การจัดกระบวนการเรียนรู้ • 9)สื่อ วัสดุ อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ • 10)กิจกรรมเสนอแนะ • 11)บันทึกผลหลังการสอน(ผล ปัญหา แนวทางแก้ไข)
การจัดกระบวนการเรียนรู้การจัดกระบวนการเรียนรู้ • ในสาระวิทยาศาสตร์ให้ใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้(inquiry)ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้น (5E) • 1)ขั้นสร้างความสนใจ(engagement) • โดยการกระตุ้นด้วยคำถาม สถานการณ์ ภาพ หรือสื่อต่างๆให้นักเรียนสนใจและอยากเรียนรู้
การสืบเสาะหาความรู้(ต่อ)การสืบเสาะหาความรู้(ต่อ) • 2)ขั้นสำรวจค้นหา(exploration) • ให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมสำรวจตรวจสอบ สังเกต ทดลอง รวบรวมข้อมูล • 3)ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป(explain) • ให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลหลักฐานที่รวบรวมได้ ร่วมกันวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ แปลความหมาย ลงข้อสรุปและสร้างคำอธิบายที่สอดคล้องกับข้อมูล
การสืบเสาะหาความรู้(ต่อ)การสืบเสาะหาความรู้(ต่อ) • 4)ขั้นขยายความรู้(elaboration) • ให้นักเรียนพิจารณาคำอธิบายของนักเรียนในขั้นที่3กับความรู้วิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ ปรับปรุงคำอธิบายให้เป็นแนวความคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
การสืบเสาะหาความรู้(ต่อ)การสืบเสาะหาความรู้(ต่อ) • 5)ขั้นประเมินผล(evaluation) • ให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น หรือยกตัวอย่างการใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันหรือคำถามใหม่ที่สงสัยอยากรู้ต่อไป
ทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี • 3.มีทักษะในการตั้งคำถาม • ครูวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ต้องมีความสามารถในการตั้งคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาความคิดระดับสูง คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์หรือสร้างสรรค์ • หรือเรียกว่าคำถามสร้างสรรค์(productive question) • ครูต้องฝึกการตั้งคำถามและอดทนอดกลั้นที่จะคอยคำตอบของนักเรียน ไม่รีบร้อนรวบรัดและกลายเป็นการถามเองตอบเอง
ทักษะการถาม • ประเภทของคำถามสร้างสรรค์ • 1.ถามเพื่อกระตุ้นความสนใจ • เช่น สังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร มีอะไรเกิดขึ้น • เพื่อชักจูงให้นักเรียนสังเกต สำรวจ ตรวจสอบและอยากเรียนรู้สิ่งใหม่
ทักษะการถาม • 2.ถามเกี่ยวกับการวัดและการนับ • ให้นักเรียนตรวจสอบปริมาณ ฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและความแม่นยำของการวัด
ทักษะการถาม • 3.ถามให้เปรียบเทียบ • ให้นักเรียนสังเกต วิเคราะห์แยกแยะว่ามีอะไรที่เหมือนกันหรือต่างกัน ฝึกจัดระบบจำแนก จัดกลุ่มหรือออกแบบตารางบันทึกข้อมูล • 4.ถามให้ลงมือปฏิบัติ • โดยให้คาดคะเนหรือตั้งสมมติฐานว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า.......
ทักษะการถาม • 5.ถามให้ตั้งปัญหา • ให้นักเรียนหาวิธีการหรือออกแบบการทดลอง เลือกวิธีการแก้ปัญหา ตรวจสอบความเป็นไปได้ คาดคะเนคำตอบและลงมือแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
ทักษะการถาม • 6.ถามให้อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น • โดยการถามด้วยคำถามว่า อย่างไร ทำไม
ทักษะการถาม • หลักในการถาม • 1.ถามคำถามปลายเปิดหรือคำถามที่มีคำตอบหลายแนว • 2.ถามอย่างมีเป้าหมายและต้องชัดเจน ตรงประเด็น • 3.ไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือประเมินคำตอบหรือคำถามของนักเรียนเพื่อให้กล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง แสดงเหตุผล
หลักการถาม • 4.สนใจคำตอบหรือคำถามของนักเรียน โต้ตอบอย่างมีชีวิตชีวาหรือชี้แนะแหล่งที่จะหาคำตอบ • 5.ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้(หาคำตอบ)ด้วยตัวเอง • 6.แสดงให้นักเรียนเห็นว่าคำถามหรือความคิดของนักเรียนมีคุณค่า นำไปใช้ประโยชน์ได้
หลักการถาม • 7.ยกย่อง ชมเชยคำตอบหรือคำถามที่แปลกจากคนอื่นๆ • 8.ใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง • 9.ใจเย็น คอยคำตอบจากนักเรียน • 10.ถามให้กระจาย
ทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี • 4.มีกลวิธีการสอนที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเรียกว่าการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือร่วมใจ(Cooperative learning) • โดยกลุ่มควรมีสมาชิก 4 คน • เหตุผล?
กลวิธีการสอน • กลวิธีการสอนที่แนะนำให้ครูวิทยาศาสตร์นำไปทดลองใช้ ได้แก่ • 1)การจัดระบบความคิดโดยใช้แผนผัง • ที่นิยมกัน ได้แก่การเขียนแนวความคิดหลัก(Concept map) แผนผังความคิด(Mind map)หรือแผนผังเวนน์(Venn diagram)
กลวิธีการสอน • ใช้สำหรับตรวจสอบความคิดหลักของนักเรียนก่อนเรียนหรือหลังเรียนว่าก่อนเรียนหรือหลังจากทำกิจกรรมต่างๆแล้ว นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง มีความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ โดยให้เขียนแผนภาพแสดงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของความคิดหลัก(Concept)จากกว้างไปแคบ • เป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์
กิจกรรมฝึกการใช้แผนผังเวนน์กิจกรรมฝึกการใช้แผนผังเวนน์ • 1.ฝึกเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ2สิ่ง • ใช้ไดอะแกรม .... วง • 3.ฝึกเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ3สิ่ง • ใช้ไดอะแกรม.....วง
กลวิธีการสอน(ต่อ) • 2)การสอนแบบ ทำนาย สังเกต อธิบาย(Predict Observe Explain = POE) • ใช้กระตุ้นให้นักเรียนสนใจ อยากรู้และตั้งใจทำการพิสูจน์ทดลอง โดยให้คาดคะเนผลไว้ก่อนโดยการวาดภาพหรือเขียนข้อความก่อนลงมือทำกิจกรรมเพื่อให้สังเกตอย่างละเอียดรอบคอบ • และนำผลจากการสังเกตมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดคะเนหรือทำนายไว้ก่อน
กิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOEกิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOE • 1.อุปกรณ์ • 1)ลูกอมชอกโกแลตMM 2 เม็ด สองสี • 2.จานแบน • 3.น้ำ • 4.สีไม้
กิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOEกิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOE • วิธีการ • 1.คาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อวางชอกโกแลตลงในจานที่ใส่น้ำ โดยวาดภาพและระบายสี • 2.ทำการทดลอง วางชอกโกแลตลงในจานที่ใส่น้ำ สังเกตผล • 3.วาดภาพปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวงภาพที่สอง เปรียบเทียบผล • 4.อธิบายผล
กิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOEกิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOE
กิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOEกิจกรรมฝึกกลวิธีสอนแบบPOE
กลวิธีการสอน(ต่อ) • 3)การสอนแบบใช้ตั๋วออก(Exit ticket) • เป็นกลวิธีการสอนที่ให้นักเรียนทำก่อนออกจากห้องเรียน โดยให้สรุปสิ่งที่เข้าใจหรือที่ได้รับจากการเรียนรู้และสิ่งที่ยังสงสัยหรืออยากเรียนรู้ต่อ เพื่อให้ครูประเมินว่านักเรียนเข้าใจอะไร อย่างไร แค่ไหน ยังไม่เข้าใจอะไร มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างไร และควรจะสอนอะไรเพิ่มเติม
ทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี • 5.ต้องมีเทคนิคและศิลปะในการวัดและประเมินผล • ครูต้องให้ความสำคัญกับการวัดแลประเมินผลเพื่อดูพัฒนาการของนักเรียน(Formative)มากกว่าการวัดและประเมินเพื่อตัดสินผล(Summative)โดยประเมินผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มตลอดเวลาและให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อให้เห็นพัฒนาการของตนเองโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
ทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องมี • และมีมาตรการจูงใจ ให้กำลังใจหรือซ่อมเสริมนักเรียนที่มีพัฒนาการน้อยหรือยังไม่ได้ตามเกณฑ์ • ครูต้องมีวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย ได้มาตรฐาน มีเกณฑ์ประเมินที่ชัดเจน ตรงตามตัวชี้วัด และที่สำคัญคือต้องประเมินให้ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป็นไปตามสภาพที่แท้จริง
กิจกรรมตั๋วออก • หลังจากที่ได้ฟังบรรยายเรื่องนี้จบลงแล้ว
กิจกรรมอื่น • 1.ฝึกทำแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบคนละ1แผน • 2.ฝึกกิจกรรมการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ ระดับประถม 2 กิจกรรม • 1)ชั้นประถมศึกษาปีที่1 เรื่อง การจำแนกพืชและสัตว์ • 2)ชั้นประถมศึกษาปีที่6 เรื่อง ระบบไหลเวียนเลือด • (ฝีกทำแบบจำลองหัวใจ)