1 / 39

พฤติกรรมนักท่องเที่ยว

พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. บทนำของวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว.

Download Presentation

พฤติกรรมนักท่องเที่ยว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พฤติกรรมนักท่องเที่ยวพฤติกรรมนักท่องเที่ยว

  2. บทนำของวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวบทนำของวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว คำว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวตรงกับภาษาอังกฤษว่า Tourist Behavior เป็นวิชาสำคัญในสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใด อาทิเช่น การโรงแรม การขนส่ง บริษัททัวร์ ภัตตาคาร ฯลฯ ก็ย่อมต้องเข้าไปสัมผัส หรือมีส่วนร่วมในการให้บริการนักท่องเที่ยว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ทั้งด้านภูมิหลัง (Back Ground) ทัศนคติ (Attitude) ของนักท่องเที่ยวเพื่อนำมาวางแผนพัฒนาและปรับปรุงทางการท่องเที่ยวให้เหมาะสมและเป็นที่พอใจของนักท่องเที่ยว

  3. บทนำของวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว (ต่อ) เมื่อเราทราบพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวแล้วก็สามารถนำมาวางแผนการตลาด เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้

  4. ความสำคัญของพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวความสำคัญของพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว การศึกษาภูมิหลังและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการทำงานในอุตสาหกรรมการบริการทั้งด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการทำงานด้านนี้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะบุคคลที่จะทำงานเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว ควรต้องมีความรู้เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ลักษณะนิสัย พฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งจะทำให้ได้แนวทางในการคิดถึงเหตุผลของการแสดงพฤติกรรมต่างๆของนักท่องเที่ยว การรู้จักและเข้าใจพฤติกรรมที่แปลกแยกและแตกต่างกันของนักท่องเที่ยวแต่ละชาติ ช่วยให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องสามารถปรับตัวและรู้ความ

  5. ความสำคัญของพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว (ต่อ) ต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการ อนึ่ง ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงว่าหน้าที่ของตนคือการให้บริการ การที่จะบริการให้ถูกใจและถูกต้องตามความประสงค์เพื่อให้เกิดความประทับใจนั้น ผู้ให้บริการต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการดีพอควร และพึ่งระลึกอยู่เสมอว่าผู้รับบริการคือบุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้กำหนดความสำเร็จในกิจการของตน เพราะผู้ประกอบธุรกิจบริการมีมากมายให้เลือก ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ แต่ผู้ให้บริการต้องพึ่งผู้รับบริการ เพราะฉะนั้นผู้ให้บริการควรยึดหลักต่อไปนี้เพื่อความสำเร็จในการทำงานของตน

  6. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยววัตถุประสงค์ของการศึกษาวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การศึกษาภูมิหลังและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานด้านการให้บริการ เพราะจะทำให้ • รู้และเข้าใจพฤติกรรมที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวแต่ละชาติ • รู้จุดอ่อนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับนักท่องเที่ยวได้ง่าย • นำมาวางแผนพัฒนาและปรับปรุงการบริการให้เหมาะสม • สามารถปฏิบัติงานและบริการได้เหมาะสมและเป็นที่พอใจและสนองความพอใจนักท่องเที่ยวได้สูงสุด

  7. ชุดวิชา พฤติกรรมนักท่องเที่ยว หน่วยที่ 2 ตอนที่ • แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยว • กระบวนการเกิดแรงจูงใจ • ทฤษฎีแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาหน่วยที่ 2 จบแล้ว นิสิตสามารถ • 1 .อธิบายความสำคัญในการเกิดแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยว • 2. อธิบายการเกิดและความสำคัญของกระบวนการเกิดแรงจูงใจ • 3. อธิบายแนวคิดทฤษฏีแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว

  8. หน่วยที่ 2แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยว • การจูงใจหรือแรงจูงใจ ( Motivation ) หมายถึง ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการถูกกระตุ้นหรือยั่วยุให้บุคคลเคลื่อนไหวหรือแสดงพฤติกรรม ไปยังจุดหมายปลายทางหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีแรงจูงใจเป็นแรงผลักดันให้พฤติกรรมแสดงออกมา เช่น แรงจูงใจในการแสวงหาอาหาร แรงจูงใจในการไปเดินทางพักผ่อน

  9. ลักษณะของแรงจูงใจ • แรงจูงใจเกิดเนื่องจากความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง • แรงจูงใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกระทำหรือแสดงพฤติกรรม • แรงจูงใจเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา • แรงจูงใจจะเป็นตัวลดความเครียดหรือความไม่สมดุล • แรงจูงใจจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและในเวลาที่เปลี่ยนแปลง

  10. ทฤษฎีแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว Travel Motivation • แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวมีทั้ง แรงผลัก Push Factors ความต้องการที่เกิดขึ้นจากสภาวะภายในที่ต้องการอยากเดินทางท่องเที่ยวและในขณะเดียวกันสิ่งที่ดึงดูดให้เลือกเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางใดนั้นขึ้นกับแรงดึง Pull Factors ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนเดินทางท่องเที่ยว

  11. แรงผลัก Push Factors • ความต้องการทางกายภาพ physical เช่น หากเราต้องทำงานหนัก ร่างกายก็ย่อมต้องการพักผ่อน การเดินทางท่องเที่ยวจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการพักผ่อน • หลีกหนีความจำเจ ความเครียด Escape เช่น การเดินทางไปทำงานและกลับบ้าน ทำงานเหมือนเดิมทุกๆ วัน การเจอสภาพรถติด ก็อยากหลีกหนีสิ่งเดิมๆ ไปในที่แปลกๆ ใหม่ๆ • ต้องการพบสิ่งใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ Novelty

  12. ความภูมิใจที่ได้ไปในสถานที่ใหม่ๆ Esteem / Presting • การเดินทางซึ่งเกิดจากความต้องการที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ชนชาติ การดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากที่อยู่เดิม To know and to understand / Educational Vacation • ความต้องการเดินทางเพื่อให้โอกาสในการเข้าสังคมและหาโอกาสที่จะติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ๆ Social interaction

  13. แรงผลักข้างต้นเป็นเพียงสาเหตุที่จุดชนวนความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยว ต่อจากนี้การตัดสินใจในการเลือกเดินทางไปยังที่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไป ณ จุดหมายปลายทางเหล่านั้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นปัจจันเหล่านี้คือ

  14. แรงดึง Pull Factors • แรงดึง คือ ปัจจัยที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกจุดหมายปลายทาง เช่นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การลดราคาโรงแรมช่วงหน้าฝน เทศกาล งานสำคัญต่างๆ ล้วนแต่เป็นเป็นแรงดึงสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทาง

  15. มูลเหตุจูงใจให้คนท่องเที่ยวมูลเหตุจูงใจให้คนท่องเที่ยว ซึ่งประกอบทั้งแรงผลักดันและแรงดึงดูด ได้แก่ • ต้องการหลีกหนีชีวิตประจำวันอันสับสนวุ่นวายชั่วระยะเวลาหนึ่ง • การเอาอย่างกัน คนอื่นนำมาเล่าให้เกิดความต้องการอยากท่องเที่ยว • ต้องการแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ • แสวงหาความสุขทางเพศรส • ฐานะทางเศรษฐกิจดี คนมีรายได้สูง ทำให้คนอยากท่องเที่ยวมากขึ้น • ต้องการความตื่นเต้น ผจญภัย • ต้องการพักผ่อนหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน • เยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ ความแปลกประหลาดและความงามของธรรมชาติ

  16. แรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่สำคัญ และกระตุ้นให้คนเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นได้แก่ • 1. แรงจูงใจด้านกายภาพ และจิตวิทยา (Physical and Psychological Motive) ได้แก่ ความต้องการการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อหลีกหนีจากความจำเจ และความยุ่งยากต่างๆ ไปหามุมสงบเพื่อรักษาสุขภาพ อาบน้ำแร่ รักษาโรคตามคำแนะนำของแพทย์ เล่นกีฬา ว่ายน้ำ เล่นสกี เล่นเรือใบ ตกปลา การเที่ยวชมธรรมชาติ การซื้อของ การท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความเพลิดเพลิน และได้พักผ่อนจิตใจของตนเองด้วย เช่น การไปทัวร์ “สมาธิ” (Meditation Tour)

  17. ดังตัวอย่างสถิตินักท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทย ปี 1996 มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพักผ่อนในวันหยุดถึง 87.49% • 2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรมและการศึกษา (Culture / Personal Education Motive) เป็น แรงจูงใจในความอยากรู้อยากเห็นอยากรู้จักคน สถานที่ และประเทศที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน สนใจอยากรู้เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ศิลปะพื้นบ้าน เทศกาล สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และเพื่อการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจว่าเชื้อชาติอื่นๆ มีความรู้ความเข้าใจว่าเชื้อชาติอื่นๆ มีความเป็นอยู่อย่างไรทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco-Tourism) อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

  18. แรงจูงใจทางด้านสังคมและความสำคัญระหว่างบุคคล (Social / Interpersonal / Ethnic Motive) ได้แก่ การไปพบปะ เยี่ยมญาติหรือเพื่อน เยี่ยมสถานที่เกิด ไปเป็นเพื่อนผู้อื่น การได้พบหรือรู้จักกับมิตรใหม่ ซึ่งอาจจะต่างเชื้อชาติ ศาสนากับตน เป็นการแสวงหามิตรภาพ ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยหลีกหนีจากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยเป็นการชั่วคราว จากการสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย ปี 2533 พบว่านักท่องเที่ยวชื่นชอบอัธยาศัยไมตรีของคนไทยมากที่สุดและตลาดนักท่องเที่ยวสูงอายุ ปี 2537 ประทับใจลักษณะอุปนิสัยของคนไทยมากที่สุดว่าคนไทยมีความเป็นมิตร น่ารักมีมารยาทและความเอื้ออาทร จึงนับว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลถึงแม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ก็เป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการเดินทาง เพื่อไปทำความรู้จักได้

  19. แรงจูงใจทางด้านการทำงานและธุรกิจ (Business / Work Related Motive) ได้แก่ การไป เจรจาติดต่อธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนการติดตามผล การเข้าร่วมประชุม สัมมนา การเดินทางไปโดยมีภาระงานเกี่ยวข้องเป็นบางส่วนด้วย หรือกึ่งทำงานกึ่งเที่ยว เช่น เป็นผู้สื่อข่าวงานกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ การติดต่อธุรกิจเนื่องจากจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว การได้พบปะพูดจาด้วยตนเองในสถานที่ของคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย่อมขยายผลความสำเร็จของธุรกิจออกไป กิจกรรมการท่องเที่ยวก่อนและหลังการประชุม (Pre and Post Tour) เป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ในการประชุมนานาชาติของโลก

  20. แรงจูงใจทางด้านการบันเทิงและสิ่งเพลิดเพลิน (Entertainment / Amusement / Pleasure / Pastime Motive) ได้แก่ การไปเที่ยวชมสวนสนุก(theme parks) สถานที่บันเทิงต่างๆ การได้ดูกีฬาและกิจกรรมบันเทิง ซึ่งให้ความเพลิดเพลิน เช่น ขบวนพาเหรดรถบุปผาชาติ การแสดงแสง – เสียง การแข่งรถ การได้ไปเที่ยวยามว่าง การแสวงหาสิ่งเพลิดเพลินของแต่ละบุคคลที่มีลักษณะหลากหลาย การได้ดูชมธรรมชาติ ชีวิตสัตว์ ยังเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมาก การพัฒนาอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวไว้ให้ดี จะเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวทุกตลาดหลักยังคงมาเที่ยวต่อไป และถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การท่องเที่ยวยั่งยืน

  21. แรงจูงใจในด้านศาสนา (Religious Motive) ได้แก่ การมีโอกาสได้ไปร่วมแสวงบุญ ศึกษาธรรมะ ฝึกสมาธิ เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนเคารพนับถือ การได้ไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การทำบุญทำทาน บริจาค ช่วยให้เกิดความสุขทางใจแก่นักท่องเที่ยว และถือว่าเป็นการพักผ่อนทางจิตใจด้าย • แรงจูงใจทางด้านสถานภาพและเกียรติภูมิ (Presetting and Status Motive) การเดินทางไปบางครั้งอาจสร้างชื่อเสียง ยกฐานะ และเกียรติภูมิของตนให้สูงขึ้น เช่น การเดินทางไปประชุมสัมมนา ติดต่อธุรกิจ หรือศึกษาต่อในต่างประเทศ ฯลฯ การได้มีโอกาสเดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เป็นคนมีเกียรติและสังคมดีขึ้น

  22. การเดินทาง ท่องเที่ยวอาจมิได้เกิดขึ้นเพราะแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดี่ยว แต่อาจเกิดจากแรงจูงใจหลายอย่างผสมผสานกันไป เช่น การไปศึกษาหาความรู้ และมีโอกาสได้รับสุขภาพในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่มีแรงจูงใจใดเป็นแรงกระตุ้นที่เด่นชัดที่สุด

  23. ความสะดวกเกี่ยวกับการจองตั๋วและการจัดบริการของบริษัทนำเที่ยว ซึ่งสามารถจัดได้ทั้งส่วนบุคคล เป็นหมู่คณะ และการจัดทัวร์แบบเบ็ดเสร็จ (Package) • การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว • ร่วมกิจกรรมกีฬา • ศึกษาค้นคว้าทางด้านวัฒนธรรมและโบราณคดี • การศึกษา • เยี่ยมญาติหรือเพื่อน • ธุรกิจ ประชุม สัมมนา

  24. นอกเหนือจาก แรงผลักและแรงดึงในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทาง นักท่องเที่ยวยังจะมีการประเมินผลประสบการณ์ที่ตนได้รับในการเดินทาง ถ้าในช่วงที่นักท่องเที่ยวพำนักอยู่สถานที่นั้นได้รับความพอใจและประทับใจในสิ่งต่างๆ ก็จะรู้สึกพอใจต่อการเดินทางและเป็นประสบการณ์ที่ดี แต่ถ้าไม่พอใจในสภาพแวดล้อม ผู้คนหรือการบริการจากสถานที่นั้น ก็จะมีส่วนทำให้การเดินทางครั้งนั้นไม่เป็นที่ถูกใจและอาจทำให้ผู้เดินทางนั้นนำประสบการณ์ที่ว่านี้มาพิจารณาประกอบในการเดินทางครั้งต่อไปหรืออาจนำประสบการณ์ดังกล่าวบอกต่อ ซึ่งมีผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวรายอื่น

  25. ประสบการณ์แบ่งได้ 2 แบบคือ • Positive Experience (ประสบการณ์บวก) ได้แก่ สิ่งต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวได้รับหรือสัมผัสในส่วนที่เป็นที่พอใจ ก่อให้เกิดความประทับใจ • Negative Experience (ประสบการณ์ลบ) ได้แก่ เหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวได้รับหรือสัมผัสในส่วนที่ไม่เป็นที่น่าพอใจไม่ว่าจะเป็นการบริการ การปฏิบัติตนของเจ้าของสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ

  26. ตัวอย่างประสบการณ์ของการท่องเที่ยวตัวอย่างประสบการณ์ของการท่องเที่ยว ให้อ่านแล้วจำแนกว่าข้อไหนเป็น positive experience หรือ negative experience พร้อมทั้งบอกประเภทของนักท่องเที่ยว 1. นักศึกษาหญิงชาวนิวซีเเลนด์ เดินทางมาพักอยู่กับครอบครัวของเพื่อนที่เป็นชาวไทย 3 วัน พ่อ แม่ของเพื่อนชาวไทยคนนั้นก็ให้การต้อนรับพูดคุยด้วยเป็นอย่างดี เธอเองก็ชอบอาหารไทยและก็ได้บอกเจ้าของบ้านด้วยว่าชอบอาหารมาก วันรุ่งขึ้นเธอได้ไปพูดคุยกับสาวใช้เกี่ยวกับอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ คืนนั้นเองเพื่อนคนไทยก็เลยต่อว่าและข้อร้องให้เธอออกจากบ้านเป็นการด่วน

  27. 2. นักท่องเที่ยวหนุ่มสาวแคนาดาได้แสดงทัศนของตนในการเดินทางท่องเที่ยวปารีส ดังนี้ ประสบการณ์การท่องเที่ยวของเจ้าภาพคือการได้ไปท่องเที่ยวที่หอเอฟเฟลเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าคิดว่าหอเอฟเฟลเป็นเสมือนสัญลักษณ์ระหว่างชาติ ข้าพเจ้ามีความรู้สึกเหมือนไม่ใช่ตัวของข้าพเจ้าขณะที่ยืนอยู่บนนั้น มันดูสะอาดกว่าที่คิดและมีคนมาเที่ยวไม่มาก นักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ส่งเสียงรบกวนบ้าง แต่ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเพราะเกิดความรู้สึกคุ้มค่าประทับใจกับทิวทัศน์รอบๆ ตัว ข้าพเจ้าใช้เวลาอยู่ที่นั้นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยไม่เบื่อหน่าย

  28. 3. นักท่องเที่ยวหญิงสูงอายุชาวอังกฤษได้เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ บรรยายความรู้สึกของตนที่ได้เยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ว่า “ฉันไม่ชอบสภาพที่สับสนจำเจ รถนำเที่ยวก็ร้อนมากและมัคคุเทศก์ก็พยายามหาผลประโยชน์ โดยการที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ไปซื้อของที่ร้านของเพื่อนตนเอง นอกจากนี้นักท่องเที่ยวคนอื่นก็มีส่วนทำให้ฉันประสาท พวกนี้จะ ไม่สนใจคนอื่นแย่งกันซื้อของและปล่อยให้คณะทัวร์รอนานกว่า 2 ชั่วโมง

  29. 4. นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน อายุ 54 ปี เป็นรองประธานของบริษัทที่ทำเกี่ยวกับงานวิจัยค้นคว้าแห่งหนึ่งได้ไปเที่ยวประเทศจีน ได้บรรยายประสบการณ์ของตนดังนี้ การที่กลุ่มชาวจีนให้ความสนใจและกระตือรือร้นที่จะรู้จักชาวอเมริกัน การไปไหนมีคนคอยตามมอง ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งวิเศษสุด การไปเมืองจีนคราวนี้จำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเหมือนเป็นคนที่มีชื่อเสียงทั้งๆ ที่ไม่ใช่เลย

  30. 5. นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน อายุ 37 ปี ทำงานเกี่ยวกับงานโฆษณา ได้บรรยายประสบการณ์ของเธอ ดังนี้ เดือนพฤษภาคม 1979 ฉันได้เดินทางจากฮ่องกงไปเที่ยวกวางตุ้งเป็นเวลา 4 วัน โดยไปกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีชาติต่างๆ และอายุต่างๆ กัน ถึงแม้ว่าฉันจะไม่เป็นชื่นชอบการไปไหนกับกลุ่มคนมาก แต่การทัศนาจรครั้งนี้ก็ทำให้ฉันสนุกได้ ฉันคิดว่าคนจีนให้บริการนักท่องเที่ยวดีเยี่ยม เห็นได้จากการพยายามที่จะเอาใจนักท่องเที่ยวทุกคน มัคคุเทศก์ก็ให้บริการและพยายามตอบคำถามทุกคน (ทั้งๆ ที่พูดภาษาอังกฤษไม่ใคร่ดี) เอาใจแม้กระทั่งนักท่องเที่ยวที่ทำความรำคาญให้คนอื่น

  31. 6. นักการธนาคารชาวอเมริกันได้เดินทางไปเยี่ยมน้าสะใภ้ที่สโมสรแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หลังจากที่ถูกแนะนำตัวแล้ว สมาชิกที่สโมสรก็เล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในประเทศอังกฤษ เช่น รักบี้ฟุตบอล การพนัน อาหาร และแฟชั่นเป็นต้น การพูดคุยหยอกล้ออย่างเป็นกันเอง มีการถกปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวกับฉัน ประเทศอเมริกาและอื่นๆ ฉันคิดว่าวิธีที่จะทำให้นักท่องเที่ยวกลับไปอีกก็คือ การให้ความเป็นเพื่อนเพราะนักท่องเที่ยวมีความรู้สึกต้องการความเท่าเทียมกัน ไม่อยู่โดดเดี่ยวหรืออยู่อย่างคนแปลกหน้า

  32. 7. นักศึกษาชาวแคนาดาได้รายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับเจ้าของประเทศ ประสบการณ์ที่ดีที่สุดของฉันเกิดขึ้นที่เมือง Antilles ประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นฉันได้พบกับสามีภรรยาชาวดัชท์ เขากระตือรือร้นและสนใจที่รู้จักพวกเรา เขากำลังจะไปมอลศิลาโลในวันรุ่งขึ้น และเขายินดีที่จะให้พวกเราร่วมเดินทางไปด้วย เรานั่งเบียดกันมากในรถของเขาและได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญและศึกษาเรื่องราวของประเทศนั้น ในระหว่างนั้นพวกเราพยายามทำความรู้จักกัน เป็นประสบการณ์อันวิเศษที่ได้รู้จักเขา และเขาปฏิเสธที่จะให้เราออกค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมัน

  33. 8. นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันหญิงสูงอายุได้เล่าประสบการณ์ไปอังกฤษของเธอ ดังนี้ ข้าพเจ้าเดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในมลฑลเวลล์ และมีโอกาสได้แวะดื่มน้ำชาที่ร้านแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าใช้เวลา 1 ชั่วโมง พูดคุยและรับประทานขนม ดื่มน้ำชากับเจ้าของร้านซึ่งเป็นสุภาพสตรีชรา 2 คน ทั้ง 2 คน ให้การต้อนรับจนข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับได้แวะเยี่ยมบ้านเพื่อนเก่า

  34. 9. นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันหญิงอายุ 30 ปี เดินทางไป Virgin Island ได้เล่าประสบการณ์ของตนดังนี้ ฉันรู้สึกไม่สบายใจมากที่เห็นความแตกต่างอย่างเป็นได้ชัดระหว่างชาวพื้นเมืองและกลุ่มนักท่องเที่ยว ทำให้ฉันรู้สึกมีความผิดที่มาหาความสนุก ในขณะที่เจ้าของประเทศเองอยู่ในสภาพที่เลวร้ายมากและไม่มีความสะดวกเอาซะเลย เพราะถูกพวกเรารุกสถานที่ทำมาหากินของเขา

  35. 10. นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด ได้เขียนเล่าประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับความยากจนที่ได้พบเห็นที่ ประเทศฟิลิปินส์ ดังนี้ ประสบการณ์อันแปลกประหลาดของฉันคือ การได้เห็นคนเป็นพันๆ คนอาศัยอยู่ในบ้านที่มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ทำด้วยกล่องกระดาษในมะนิลา ซึ่งห่างจากบริเวณนี้ 100 คูหา ที่จะเป็นบ้านส่วนตัวใหญ่โตหรูหราของคนมีเงิน ฉันรู้สึกเศร้าที่ฉันไม่สามารถจะช่วยเหลือคนเป็นพันๆ ที่อยู่ในสภาพที่หมดหวังในชีวิต ฉันเต็มใจที่จะให้เขาในสิ่งที่ฉันมี ถ้าฉันจะทำได้

  36. 11. นักธุรกิจชาวออสเตรเรียคนหนึ่งได้เดินทางมาประชุม ณ ประเทศไทยเป็นเวลา 5 วัน และได้พักอยู่ในโรงแรมที่มีชื่อแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเขารีบที่จะเข้าประชุมให้ทันเวลา จนกระทั่งลืมกระเป๋าเงิน ซึ่งมีเงินจำนวนมากและเอกสารสำคัญๆ ไว้ในห้องพัก เมื่อเขานึกได้ก็ กลับมายังห้องพักปรากฏว่าห้องพักได้ถูกจัดไว้เรียบร้อย และกระเป๋าเงินของเขาวางอยู่หน้ากระจกแต่งตัว โดยที่ทุกอย่างในกระเป๋าเงินอยู่ครบ ทำให้เขารู้สึกว่าพนักงานทำความสะอาดห้องเป็นคนซื่อสัตย์ ทั้งที่มีโอกาสแต่ก็ไม่ทำ

  37. 12. Mr. John นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันได้เดินทางมาเที่ยวในเมืองไทย โดยมาพักอยู่กับเพื่อนที่เป็นคนไทย เขาได้รับการต้อนรับจากเพื่อนชาวไทยเป็นอย่างดี เพื่อนชาวไทยพาไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ทำให้ Mr. John ได้เห็นศิลปะวัฒนธรรมของไทย รวมทั้งได้รู้จักกับคนไทยอีกหลายคน และรู้สึกประทับใจในความโอบอ้อมอารีและความมีน้ำใจของคนไทยเป็นอย่างมาก และกล่าวกับเพื่อนของตนว่าถ้ามีโอกาสจะมาเที่ยวเมืองไทยอีกและจะชวนเพื่อนมาด้วยและยินดีต้อนรับ ถ้าเพื่อนชาวไทยจะไปเที่ยวที่อเมริกา

  38. 13.นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งได้เดินทางมากับบริษัททัวร์ และมีโอกาสได้แวะชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขาเหล่านั้นรู้สึกตื่นตาตื่นใจในความงามอันอ่อนช้อยของศิลปกรรมของไทย และขณะที่กำลังช่วยกันถ่ายรูปก็ได้ยินตะโกนอย่างเกรี้ยวกราดของเจ้าหน้าที่ดูแลวัดบอกให้ถอยมาจากสถานที่นั้น เพราะเป็นเขตหวงห้าม นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นก็ปฎิบัติตามแต่โดยดีแต่ก็รู้สึกว่าไม่อยากเดินไปไหนต่อ

More Related