30 likes | 241 Views
โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. ความเป็นมา.
E N D
โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ความเป็นมา อ่างเก็บน้ำห้วยไฟอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2525 เป็นเขื่อนดินสูง 14 เมตร ความจุเก็บกักน้ำ 700,000 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ไดรับประโยชน์ 3,000 ไร่ และได้จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นตามรูปแบบของกรมชลประทาน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532 หมายเลขทะเบียน 270304-32-20-0035 ปี พ.ศ.2549 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้จัดประกวดคัดเลือกผลงานการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี โดยมีกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ ได้รับรางวัลชนะเลิศในเขตภาคเหนือและได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับทราบว่า เกษตรกรบ้านทุ่งกระเทียม ได้ประสบกับปัญหาราคาผลผลิตกระเทียมตกต่ำ จึงทรงพระราชทานพระราชกระแสให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เข้ามาดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคากระเทียมตกต่ำให้กับราษฎรบ้านทุ่งกระเทียม สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้สนองพระราชดำริ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2550 พื้นที่ 57-1-36 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้แก่ เกษตรกร โดย ส.ป.ก. ได้เข้าร่วมดำเนินงานโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ.2552 ในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างแปลงต้นแบบการเกษตรสำหรับการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรบ้านทุ่งกระเทียม ทิศทางการดำเนินงาน - พัฒนาองค์ความรู้ โดยการฝึกอบรมศึกษาดูงานในพื้นที่ ที่ประสบความสำเร็จ - เกษตรกรได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในแปลงสาธิต - เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิต เพื่อดำเนินกิจกรรมเกษตร ผสมผสานในแปลงของตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายตามแนว ทางเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดรูปแบบการผลิตทางการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - สร้างแปลงต้นแบบการเกษตรสำหรับการเรียนรู้ โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีเป็นหลัก กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา จำนวน 70 ราย พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เนื้อที่จำนวน 57 ไร่ส.ป.ก. รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อจัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชหลังนา องค์ความรู้การจัดการ - จัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อเกษตรกรได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นแปลงต้นแบบ เน้นการทำเกษตรรูปแบบเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก - แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยดำเนินการขุดสระน้ำเพื่อการเกษตรขนาด 1,260 ลบ.ม. ให้แก่เกษตรกรเพื่อเลี้ยงปลา ปลูกผัก สำหรับบริโภคในครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง - ศึกษา ดูงาน ด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต
ผลการดำเนินงาน (ปี 2552 – 2554) จัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชหลังนา เนื้อที่ 1 ไร่ พัฒนาองค์ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตจำนวน 302 ราย (เกษตรกร 1 ราย อบรมมากกว่า 1หลักสูตร) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สระน้ำเพื่อการเกษตร ขนาด 1,260 ลบ.ม. 30 แห่ง ผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับ • เกษตรกรได้เรียนรู้การปลูกผักชนิดต่างๆ จากการปฏิบัติจริงในแปลงรวม ก่อนตัดสินใจนำไปปลูกในแปลงของตนเองเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก • เกษตรกรมีสุขภาวะของชีวิตที่ดีขึ้นไม่เจ็บป่วยไข้ เนื่องจากทำเกษตรอินทรีย์และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสารเคมีทุกชนิด • เกิดความสมดุลในแปลงเกษตรกรรมที่ทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะระบบนิเวศวิทยา ทำให้เกิดความหลากหลาย ทางชีวภาพของระบบพืช, สัตว์ และสิ่งแวดล้อม • เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนกับเกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์ • เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคในชุมชนจะมีความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน เนื่องจากทำการเกษตรอินทรีย์ที่มี ความปลอดภัยและมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อมด้วยการ ดูแลและเอาใจใส่ต่อการผลิตทั้งระบบ แผลการดำเนินงาน ปี 2555 งบประมาณ 926,200 บาท จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกผัก เพื่อเกษตรกรได้เรียนรู้การปลูกผักหลายชนิด เป็นการตัดสินใจนำไปปลูกในแปลงของตนเอง พัฒนาองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ตามความต้องการของเกษตรกร และสนับสนุนวัสดุการเกษตร 100 ราย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - ก่อสร้างถนนสายสันป่าก๋อย ระยะทาง 0.675 ก.ม.