530 likes | 752 Views
บทที่ 11 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. 11.1. ความสำคัญ. 11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค. 11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์. 11.4.กระบวนการเกิดโรค. 11.5.การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. 11.6.การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. 11.1.ความสำคัญ
E N D
บทที่ 11 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว
11.1.ความสำคัญ 11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค 11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์ 11.4.กระบวนการเกิดโรค 11.5.การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว 11.6.การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว
11.1.ความสำคัญ สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญและบ่อยครั้งเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียภายหลังการเก็บเกี่ยวคือ “โรค” ซึ่งเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์คือเชื้อราและแบคทีเรีย เช่นการเน่าเสียของผลลำไยและเงาะ ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้นในบทนี้จะบอกถึงลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผล เชื้อจุลินทรีย์ กระบวนการป้องกันตนเอง กระบวนการเข้าทำลายผลิตผลจนเกิดโรค และการป้องกันควบคุมโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว
11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค 11.2.1.โครงสร้าง 11.2.2.องค์ประกอบเคมี 11.2.3การตอบสนองของผลิตผลเมื่อเกิดบาดแผล 11.2.3.1.การตอบสนองทางเคมี 11.2.3.2.การตอบสนองทางกายภาพ
โครงสร้าง ที่ผิวของผลิตผลมีโครงสร้างที่สามารถป้องกันการเข้าทำลายจากศัตรูพืชได้แก่ epidermis และ periderm ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ epidermisมีชั้นของคิวติเคิลปกคลุม ในคิวติเคิลมีคิวตินและไขเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ผลิตผลทุกชนิดยังมีช่องเปิดตามธรรมชาติได้แก่ปากใบและเลนติเซลซึ่งใช้เป็นช่องทางในการระบายอากาศ แก๊สต่างๆ และน้ำผ่านเข้าออกได้เชื้อจุลินทรีย์จึงอาจเข้าทำลายช่องเปิดเหล่านี้ได้
องค์ประกอบเคมี ภายในชั้นคิวติเคิลและ suberin มีสารประกอบฟีนอลแทรกอยู่ด้วยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้ เมื่อผลิตผลยังไม่บริบูรณ์หรือยังไม่สุก มักมีปริมาณกรดสูงค่าphต่ำและมีปริมาณน้ำตาลต่ำ นอกจากนั้นยังมีสารประกอบฟีนอลสะสมอยู่ในแวคิวโอลซึ่งทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เจริญเข้าไปในเซลล์ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่เมื่อกระบวนการสุกเกิดขึ้น ความเป็นกรดจะลดลง สารประกอบฟีนอลลดลงทำให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโต ได้ดี
11.2.3 การตอบสนองของผลิตผลเมื่อเกิดบาดแผล เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดจะยังคงสามารถเจริญเติบโตได้ ผลิตผลจึงมักมีกระบวนการป้องกันตังเองแบบอื่นๆ ประกอบด้วย 11.2.3.1 การตอบสนองทางเคมี 11.2.3.2 การตอบสนองทางกายภาพ
การตองสนองทางเคมี การเกิดบาดแผลในพืชบางชนิดจะกระตุ้นให้มีการสร้างสารเคมีบางอย่างขึ้นในเซลล์ที่อยู่ใกล้กับบาดแผลหากมีการเข้าทำลายจากเชื้อจุลินทรีย์การกระตุ้นการสร้างสารเคมียิ่งเกิดขึ้นได้ดี สารที่ถูกสร้างขึ้นนี้เรียนว่า phytoalexin ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบฟีนอล ตัวกระตุ้นให้เกิดสารนี้เรียกว่า elicitor phytoalexin มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าทำลาย
การตอบสนองทางกายภาพ เมื่อผลิตผลเกิดบาดแผลเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของพืชสามารถรักษาหรือสมานแผลได้ในหลายๆรูปแบบเพื่อลดการสูญเสียน้ำและการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ ในบางกรณีเซลล์ที่อยู่ใกล้เซลล์ที่เกิดบาดแผลจะตายลงเอง เพื่อก่อให้เกิดเป็นแนวป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ผ่านเข้าไปเรียกการตอบสนองแบบนี้ว่าhypersensitive
11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อราและแบคทีเรียมีอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมของผลิตผล ทั้งในอากาศ น้ำ และดินส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสปอร์ซึ่งมีความทนทาน สามารถอยู่รอดได้ในอากาศที่ไม่เหมาะสม เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคกับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวส่วนมาอยู่ในclass Ascomycetesและimperfect fungiส่วนใหญ่ทั้งเชื้อราและแบคทีเรียจะเจริญได้ดีที่บรรยากาศปกติ ส่วนในสภาพที่มี……สูงจะช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียที่ได้รับความเข้มข้นสูงกว่า10% ภายหลังผลิตผลเน่าเสียไปแล้ว เชื้อราและแบคทีเรียยังสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้บนต้นพืชหรือเศษซากพืช หรือตกค้างอยู่ใต้ดิน อยู่ตามซอกมุมของโรงคัดบรรจุและสามารถแพร่ระบาดไปได้กับลม ละอองน้ำ แมลง นก หรือติดไปกับสัตว์ตลอดจนอุปกรณ์ตลอดจนอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ
11.4 กระบวนการเกิดโรค กระบวนการเกิดโรคนั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ3อย่างที่สอดคล้องกันเรียกว่า disease triangleได้แก่พืชอาศัย(host)เชื้อจุลินทรีย์(pathogen)และสภาพแวดล้อม(enviroment)ที่เหมาะสมเชื้อจุลินทรีย์แต่ละอย่างเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แม้แต่พืชชนิดเดียวกันแต่ต่างพันธ์กันการเกิดโรคก็ไม่เท่ากัน ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์แบ่งเป็น2ลักษณะดังนี้ 11.4.1 การเข้าทำลายผ่านทางชิองเปิด 11.4.2 การเข้าทำลายผ่านทางคิวติเคิล
ตารางที่ 11.2 เปรียบเทียบพันธ์มะม่วงกับการเกิดโรคขั้วผลเน่าจากเชื้อรา
การเข้าทำลายผ่านทางช่องเปิดการเข้าทำลายผ่านทางช่องเปิด เชื้อจุลินทรีย์สามารถเข้าสู่ภายในผลิตผลได้ตามช่องเปิดต่างๆตามธรรมชาติหรือตามบาดแผลที่อาจมีอยู่ แต่เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้อาจพักตัวและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในเนื้อเยื่อพืชยังไม่เหมาะสม
การเข้าทำลายผ่านทางคิวติเคิลการเข้าทำลายผ่านทางคิวติเคิล เมื่อสปอร์ตกลงบนผลิตผลและมีสภาพอุณหภูมิและความร้อนที่เหมาะสม สปอร์จะงอกภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงโดยงอกเป็นท่อเรียกว่าgermtubeและพัฒนาเป็นโครงสร้างที่มีผนังหนาเกาะติดแน่นกับผิวของผลิตผลโดยสารเมือก(mucilagenous material)ที่germ tubeสร้างขึ้นมาเรียกโครงสร้างทั้งหมดนี้ว่าappressorium หัวข้อหลัก ภาพที่11.1
11.5 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติทั้งทางด้านป้องกันและควบคุมนี้ยังอาศัยหลักการเดิมคือการขัดขวางไม่ให้สามเหลี่ยมของการเกิดโรคได้การป้องกันสามารถทำได้ดังนี้ 11.5.1 เข้าใจวงจรชีวิตและคอยเฝ้าระวัง(monitor)เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 11.5.2 การเขตกรรมที่ดี 11.5.3 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
สามเหลี่ยมของการเกิดโรคคือองค์ประกอบ3อย่างที่สอดคล้องกันเรียกว่า disease triangleได้แก่พืชอาศัย(host)เชื้อจุลินทรีย์(pathogen)และสภาพแวดล้อม(enviroment)ที่เหมาะสม
11.5.1 เข้าใจวงจรชีวิตและคอยเฝ้าระวัง(monitor)เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ควรเริ่มศึกษาธรรมชาติของโรคเสียก่อน ว่ามีวงจรชีวิตอย่างไร ชอบอุณหภูมิความชื้นแบบไหน อาศัยอยู่บนพืชใดบ้าง สืบพันธ์ ขยายพันธ์อย่างไรระยะเวลาใดที่มีสปอร์หรือชิ้นส่วนของเชื้อจุลินทรีย์มากโอกาศเกิดการเข้าทำลายก็มีมากเป็นพิเศษหรือต้องใช้ยามากเป็นพิเศษ เฝ้าระวังโดยการสุ่มอากาศ น้ำ และดินไปตรวจว่ามีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์มากน้อยเพียงใด
11.5.2 การเขตกรรมที่ดี การดูแลรักษาการดูแลรักษาผัก ผลไม้ขณะอยู่บนต้นและควบคุมกำจัดโรคภายในแปลงมีความสำคัญต่อการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยวเพราะการดูแลรักษาที่ดีจะทำให้ผลิตผลมีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูง 11.5.2.1 การจัดการเรื่องน้ำ ควรให้น้ำอย่างเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป 11.5.2.2 ธาตุอาหาร ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนมาก การเจริญทางvegetativeมีมากจะทำให้ผลิตผลบอบบาง การหายใจสูง อายุการเก็บรักษาสั้น ถ้าแคลเซียมมาก การยึดเกาะกันของโมเลกุลpectinอาจดีกว่า ทำให้ผนังเซลล์มีความแข็งแรงมากกว่า การเพิ่มแคลเซียมทำใหผลิตผลไม่บอบช้ำง่ายการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ลดน้อยลง
11.5.2.3 การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการลดวงจรชีวิตของเชื้อจุลินทรีย์ลง การเกิดโรคจะมีน้อยลงควรดูด้วยว่าพืชที่ปลูกสลับนั้นไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคจึงจะได้ผลดีขึ้น การจัดการน้ำและดิน ควรตากดินให้แห้งก่อนการปลูกพืชเพราะจะช่วยลดเชื้อจุลินทรีย์ได้
11.5.2.4 การใช้สารเคมีในแปลง การใช้สารเคมีในแปลงเพื่อลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่อาจติดไปกับผลิตผลลดน้อยลง โดยเฉพาะเชื้อที่เข้าทำลายขณะอยู่ในแปลง
11.5.2.5 การใช้สารเคมีอื่น ๆ การใช้สารเคมีอื่น ๆ ในระหว่างการเจริญเติบโตของผลิตผลมีผลต่อการเกิดโรคเช่นกัน เพราะเชื้อจุลินทรีย์ต่างชนิดกันทนต่อสารเคมีได้ไม่เท่ากันและทำให้ไม่ต้องแข่งกัน สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงอาจมีผลในแง่ลดพาหะที่จะนำเชื้อจุลินทรีย์มาให้ ลดการเกิดแผลเนื่องจากแมลง ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายได้น้อยลง ส่วนสารปราบวัชพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเองก็มีผลต่อการเกิดโรคเช่นกัน
11.5.3 การปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ควรเลือกผลที่มีความบริบูรณ์พอเหมาะ การเก็บเกี่ยว การคัดเลือกขนาดและคุณภาพ ต้องทำด้วยความประณีต ไม่ให้เกิดบาดแผลกับผลิตผล และควรลดขั้นตอนการจับต้องให้น้อยที่สุด การทำความสะอาดต้องพยายามไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ภาชนะที่ใช้บรรจุต้องไม่ทำให้เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำภายในภาชนะ เพราะจะทำให้ความชื้นสูงและเกิดการงอกเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ขึ้น สภาพโรงคัดบรรจุต้องดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อจุลินทรีย์และสร้างสปอร์ขึ้นในโรงคัดบรรจุ ส่วนอากาศภายในโรงคัดบรรจุก็ควรได้รับการถ่ายเทเอาอากาศใหม่เข้ามา ถึงการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ค่อนข้างสำคัญ เพราะช่วยให้คาดการณ์เวลาที่เหมาะในการควบคุมโรคให้ได้ผลด้วย
11.6 การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว แยกเป็นแนวทางปฏิบัติได้ 3 วิธีคือ 11.6.1 การควบคุมทางกายภาพ 11.6.2 การใช้สารเคมีในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว 11.6.3 การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยชีววิธี
11.6.1 การควบคุมทางกายภาพ 11.6.1.1 อุณหภูมิและความชื้น เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเกิดโรคของผลิตผล การเก็บรักษาควรลดอุณหภูมิให้ต่ำลงมากที่สุด เพื่อให้ผลิตผลมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพน้อยที่สุด การเก็บรักษาจึงไม่ควรให้สถานที่เก็บรักษาผลิตผลมีความชื้นสูงหรือต่ำมากเกินไป ในสถานที่เก็บรักษาควรจัดให้มีความผันแปรของอุณหภูมิให้น้อยที่สุด การใช้อุณหภูมิต่ำซึ่งเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อุณหภูมิสูงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ สามารถใช้ในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จากผลิตผลได้ เพราะองค์ประกอบเคมีในจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป ภาพที่ 11.3
11.6.1.2 การดัดแปลงบรรยากาศ หากบรรยากาศในการเก็บรักษา ผลิตผลมีองค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลถึงการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และทำให้เกิดโรคบนผลิตผลหลังเก็บเกี่ยวเปลี่ยนแปลงไปด้วย การปรับสภาพบรรยากาศเพื่อการควบคุมโรคจึงค่อนข้างจะมีผลเฉพาะเจาะจงกับผลิตผลและโรคแต่ละชนิดจำเป็นต้องได้รับศึกษาทดลองเป็นกรณี ๆ ไป เช่นการเพิ่มปริมาณ CO2 ให้ผลในการควบคุมโรคมากกว่าที่ระดับ CO2 10-20%พบว่าสามารถควบคุมเชื้อ Botrytis และ Rhizopus ในผลสตรอเบอรีหลังการเก็บเกี่ยวได้ เพราะ CO มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด และยังไปแย่งที่ O2 ในกระบวนการหายใจด้วย ภาพที่ 11.4
11.6.1.3 การฉายรังสี มีการทดลองใช้รังสีแกมมาจากโคบอลท์ 60 กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่ผิวผลิตผลและภายในผล ระดับรังสีที่ควบคุมโรคได้ คือประมาณ 5 kGy ขึ้นไป ผลิตผลเสื่อมสภาพเร็ว ศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ความร้อนร่วมกับรังสีในระดับต่ำ (0.5 kGy + ความร้อน 5 นาที) ได้ผลดีขึ้นแต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบันมีการใช้รังสีเพื่อชะลอการเกิดโรคและรักษาความสดกับเห็ดในประเทศเนเธอร์แลนด์ และกับสตรอเบอรีในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ผลพอสมควรและผู้บริโภคก็ยอมรับ
11.6.2 การใช้สารเคมีในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว การใช้สารเคมีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการควบคุมโรคเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนวิธีการอื่น ๆ เช่น การลดอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษาได้ 11.6.2.1 การเลือกใช้สารเคมี การเลือกใช้สารมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. เลือกชนิดที่เชื้อจุลินทรีย์มีความอ่อนแอต่อสารเคมีนั้น 2. สารเคมีสามารถผ่านเข้าไปทำลายยังบริเวณที่มีเชื้ออยู่ได้ดี 3. ผลิตผลทนทานต่อสารเคมีนั้น
11.6.2.2 ลักษณะการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้สารเคมี ในบรรดาสารเคมีที่มีใช้ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่แสดงในตารางที่ 11.4 นั้น สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะของการควบคุม ก. Sanitation หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นเส้นใย ส่วนขยายพันธุ์ หรือส่วนเจริญอื่นๆ ที่ติดมากับผิวของผลิตผล ข. Protection หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์หรือยับยั้งการเจริญของเส้นใยที่มีอยู่บนผลิตผลแต่ไม่ได้อยู่ในระยะที่พักตัว (quiescence)
ค. Suppression หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าแฝงตัวอยู่ในผลิตผลแล้วตั้งแต่ก่อนการเก็บเกี่ยว ง. Therapy หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อฆ่าทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่แฝงตัวอยู่ในผลิตผล
11.6.2.3 คุณสมบัติของสารเคมีที่ใช้กันมากในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว ก. คลอรีน ข. SO2 ค. สารเคมีที่ใช้ควบคุม storage fungi ง. benzimidazole จ. Imidazole ฉ. สารควบคุมเชื้อรา
ก.คลอรีน คลอรีนและไฮโปคลอไรท์ (sodium และ potassium hypochlorite) ราคาถูก ใช้ได้ผลดีในการฆ่าสปอร์และชิ้นส่วนของเชื้อราและแบคทีเรียที่ติดมากับผลิตผล ใช้ในการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการคัด – บรรจุผลิตผล ผลของคลอรีนในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ บนผลิตผลผันแปรได้มาก จึงควรเข้าใจคุณสมบัติทางเคมีบางประการของคลอรีนดังนี้ คลอรีนจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดังสมการ CL2 + H2O HOCL + CL- + H+
HOCl (hypochlorous acid) เป็นกรดอ่อน แตกตัวให้ OCl- และ H+และอยู่ในสมดุลกับOCl- lส่วน hypochlorite ในน้ำจะแตกตัวได้ตามสมการ NaOCl Na+ หรือ + H2O OCL- + หรือ CaOCl Ca+ ความเข้มข้นของคลอรีนมักใช้เป็นหน่วย ppm ของ available คลอรีน available คลอรีน หมายถึง น้ำหนักคลอรีน (Cl2) ที่จะเตรียมสารละลายให้ active คลอรีน (HOCl และ OCl-) ได้เท่าสารละลายนั้น การใช้คลอรีนหรือไฮโปคลอไรท์ให้ได้ผล จึงต้องระวังรักษาให้สารละลายมีความเข้มข้นของavailable คลอรีนตามที่ต้องการ
ข. SO2เป็นแก๊สที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีตัวหนึ่ง มีคุณสมบัติเป็น reducing agent มีคุณสมบัติในการฟอกสีและยังยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลในผลิตผลที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว SO2 เป็นแก๊สที่มีอันตราย ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ 1) บุคลากรต้องมีความรู้ 2) โครงสร้างของสถานที่ทำความสะอาดได้ง่าย 3) วิธีการรมควัน ค่อนข้างยุ่งยาก เร็วกว่า สะดวกกว่า ราคาแพงกว่า 4) อุปกรณ์สำหรับการเผากำมะถัน 5) ปริมาณหรือความเข้มข้นของ SO2
ค. สารเคมีที่ใช้ควบคุม storage fungi สารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ biphenyl , sec-butylamine , o-phenylphenol (OPP) และ sodium-O-phenylphenate (SOPP) มีใช้กันมากในต่างประเทศโดยเฉพาะกับผลไม้สกุลส้มในระหว่างการเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับส้มในต่างประเทศคือเชื้อ Penicillium ที่มีอยู่มากในห้องเก็บรักษาสามารถเข้าทำลายผลิตผลได้ทางบาดแผลและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
ง. benzimidazole สารในกลุ่มนี้ได้แก่ benomyl,thiabendazole,carbendazim และ thiophanatemethyl ได้ผลดีมากในการควบคุมเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยว แต่มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อ Penicillium ที่เข้าทางบาดแผลได้ไม่ดีนัก
จ. Imidazole ได้แก่ สารที่มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้าง ergosterol ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลส์ของเชื้อราได้แก่ imazalil,pro-chloraz และ etaconazole ฉ. สารควบคุมเชื้อรา Phytophthora metalaxyl และ fosetylaluminum เป็นสารเคมีที่ใช้กันมากสำหรับควบคุม Phytophthora
11.6.3 การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยชีววิธี นอกเหนือจากการใช้อุณหภูมิและการควบคุมบรรยากาศในการควบคุมโรคแล้ว การควบคุมโรคโดยชีววิธีกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ในที่นี้การควบคุมโรคด้วยชีววิธีจะหมายถึงทั้งการใช้จุลินทรีย์ตัวอื่น (antagonist) และการใช้สารที่ได้จากธรรมชาติในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว 11.6.3.1 antagonist ในทางปฏิบัติในแปลงปลูกมักได้ผลสำเร็จน้อย เพราะไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ antagonist เจริญเติบโตได้ดี แต่ในสภาพที่เก็บเกี่ยวมาแล้วเราสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างดี
สำหรับหลักการใช้ antagonist มีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกันคือ 1. antagonist ไปแย่งอาหารและพื้นที่ในการเจริญเติบโตกับเชื้อจุลินทรีย์ 2. antagonist สร้างสารเคมีที่มีผลยับยั้งการงอกของสปอร์และการสร้างสปอร์ของเชื้อจุลินทรีย์ 3. antagonist กระตุ้นให้ผลิตผลสร้างความต้านทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ขึ้น