1 / 18

แบ่งตามลักษณะของส่วนที่ใช้บรรจุแถบบันทึกเสียง

แบ่งตามลักษณะของส่วนที่ใช้บรรจุแถบบันทึกเสียง. แบบม้วนเปิด หรือ โอเพ่นรีล (Open Reel Tape Player /Recorder) มีขนาดโต เทอะทะ น้ำหนักมาก ใช้เฉพาะภายในอาคารสถานที่.

Download Presentation

แบ่งตามลักษณะของส่วนที่ใช้บรรจุแถบบันทึกเสียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แบ่งตามลักษณะของส่วนที่ใช้บรรจุแถบบันทึกเสียง • แบบม้วนเปิดหรือโอเพ่นรีล (Open Reel Tape Player /Recorder) มีขนาดโต เทอะทะ น้ำหนักมาก ใช้เฉพาะภายในอาคารสถานที่ • แบบคาร์ตริดจ์ (Cartridge Tape Player/Recorder) เป็นเครื่องเล่น-บันทึกเสียงที่ใช้ม้วนเทปบันทึกเสียงชนิดกล่อง (Cartridge) ลักษณะรูปร่างเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา มีกลไกไม่สลับซับซ้อนมากนัก และมักใช้ในรถยนต์

  2. แบบตลับขนาดธรรมดา(Cassette Tape Player/Recorder) เป็นเครื่องเล่น–บันทึกเสียงที่นิยมใช้กันทั่วไป ใช้กับแถบบันทึกเสียงชนิดตลับคาสเส็ต ซึ่งหาง่าย ราคาปานกลางและใช้ง่าย สะดวก • แบบตลับขนาดเล็ก (Mini Cassette or Micro Cassette Player /Recorder) เป็นเครื่องที่คล้ายกับแบบตลับขนาดธรรมดา แตกต่างกันที่ตลับเทปจะมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบา ขนาดเล็กเท่ากับซองบุหรี่ สามารถพกใส่กระเป๋าได้สะดวก มีทั้งแบบที่มีลำโพงในตัวและไม่มีลำโพงต้องใช้ร่วมกับหูฟัง (Earphone)

  3. ส่วนประกอบภายในของเครื่องเล่น-บันทึกเสียงส่วนประกอบภายในของเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • หัวแม่เหล็ก (Magnetic Head) มีลักษณะเป็นขดลวดไฟฟ้าพันอยู่รอบแกนเหล็กรูปเกือกม้าที่มีความไวต่อสนามแม่เหล็กสูง และทนทานต่อการเสียดสีของเนื้อเทปได้ดี ตรงจุดที่หัวแม่เหล็กสัมผัสกับเนื้อเทปจะมีช่องว่างเรียกว่า แก็ป (Gap)เพื่อให้มีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น และทำให้การบันทึกหรือการอ่านสัญญาณมีความคมชัดเจน

  4. หัวบันทึก(Recording Head)ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง จากเครื่องขยายเสียง แล้วนำมาเปลี่ยนให้เป็นคลื่นแม่เหล็กความถี่เสียง (Audio Frequency Magnetic Wave) บันทึกลงบนเนื้อเทป • หัวฟัง(Playback Head)ทำหน้าที่อ่านหรือรับคลื่นแม่เหล็กความถี่เสียงที่ถูกบันทึกไว้ในเนื้อเทป แล้วเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง • หัวลบ(Eraser Head)ทำหน้าที่ลบสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กบนเส้นเทปที่เคยถูกบันทึกมาแล้ว หรือทำหน้าที่ลบสัญญาณก่อนที่หัวบันทึกจะบันทึกสัญญาณ ดังนั้นตำแหน่งของหัวลบจะวางอยู่ด้านหน้าก่อนที่เส้นเทปจะถูกบันทึกเสมอ

  5. มอเตอร์ มอเตอร์ ฟลายวีล ระบบกลไกขับเคลื่อนเส้นเทป (Mechanism) • มอเตอร์ (Motor)เป็นต้นกำเนิดของพลังงานกลและถ่ายทอดกำลังไปสู่ระบบกลไกอื่น ๆ ให้สามารถทำงานได้ • สายพาน และลูกยาง เป็นตัวส่งแรงหมุนจากมอเตอร์ไปยังกลไกต่างๆ

  6. ชุดกลไกขับเคลื่อนเส้นเทปมีส่วนประกอบที่ร่วมกันทำงาน 4 ส่วน คือ • แกนบังคับเส้นเทป (Guide) ทำหน้าที่บังคับให้เส้นเทปจากล้อจ่ายให้เดินตรงทางหรือทำให้เส้นเทปตึงสม่ำเสมอ • แกนดึงเส้นเทป (Capstan)เป็นแท่งโลหะกลมยาวทำงานร่วมกับล้อยาง ด้านล่างต่อกับมอเตอร์หรือต่อกับล้อที่เรียกว่าฟลายวีลหรือมู่เล่ ทำหน้าที่ดึงเส้นเทปให้ผ่านหัวแม่เหล็กอย่างต่อเนื่องและมีความเร็วคงที่สม่ำเสมอ

  7. ล้อยาง มอเตอร์ มอเตอร์ ล้อฟลายวีล • ล้อยางกดเทป (Pressure Roller)มีลักษณะเป็นล้อยางกลม หน้ากว้างเท่ากับความกว้างของเส้นเทป ทำหน้าที่กดเส้นเทปให้แนบสนิทกับแกนดึงเส้นเทปเพื่อดึงให้เส้นเทปผ่านหัวแม่เหล็ก • มู่เล่หรือล้อฟลายวีล (Fly Wheel)มีลักษณะเป็นล้อโลหะกลมขนาดใหญ่ เพื่อให้มีน้ำหนักและแรงเฉื่อยในการหน่วงให้แกนดึงเส้นเทปหมุนด้วยความเร็วคงที่

  8. วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Circuit) • วงจรขยายการบันทึก (Recording Amplifier)ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้รับมาจากไมโครโฟนให้มีกำลังแรงขึ้น แล้วจึงส่งต่อไปยังหัวบันทึก เพื่อบันทึกลงบนแถบบันทึกเสียง • วงจรขยายการเล่นกลับ(Reproduction Amplifier or Playing Amplifier)ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้มาจากหัวฟัง (Playback Head)ให้มีกำลังแรงขึ้น แล้วจึงส่งต่อให้ลำโพงเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียง • วงจรลบสัญญาณแม่เหล็ก(Bias Oscillator)เป็นวงจรที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับความถี่สูงประมาณ 30 – 200 KHz เพื่อลบล้างสัญญาณแม่เหล็กที่บันทึกไว้บนเส้นเทปให้หมดไป • วงจรระบบดอลบี้(Dolby System) ใช้กำจัดสัญญาณรบกวน (hiss noise) และช่วยในการปรับปรุงค่า S/N ratio เพื่อให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นด้วย

  9. ส่วนประกอบภายนอกของเครื่องเล่น-บันทึกเสียงส่วนประกอบภายนอกของเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • ช่องบรรจุตลับเทป • ON/OFF หรือ AC POWER เป็นสวิตช์ใช้เปิด-ปิดการทำงานของเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • EJECT ปุ่มสำหรับเปิดฝาช่องบรรจุม้วนเทป • STOP เป็นปุ่มสำหรับหยุดการเดินของเส้นเทป ทั้งในการบันทึกและเล่นกลับ • PLAY หรือ FORWARD ปุ่มสำหรับการเปิดเทปฟังหรือเล่นกลับด้วยความเร็วปกติ • FAST FORWARD หรือ FAST WIND หรือ CUE หรือ F/F สำหรับเดินหน้าเส้นเทปด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ

  10. REWIND หรือ REVIEW ปุ่มสำหรับถอยหลังเส้นเทปด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ • RECORDเป็นปุ่มสำหรับบันทึกสัญญาณต่าง ๆ เมื่อต้องการบันทึกไว้ บางเครื่องต้องกดปุ่มนี้พร้อม ๆ กับปุ่ม PLAY จึงจะบันทึกได้ บางเครื่องกดเฉพาะปุ่ม RECORD นี้เพียงปุ่มเดียวก็บันทึกได้ เรียกว่า One Touch Record • PAUSE เป็นปุ่ม สำหรับหยุดการเดินของเส้นเทปบันทึกเสียงชั่วขณะ

  11. COUNTER RESET ใช้ปรับตั้งตัวเลขนับระยะของเส้นเทป • TAPE SELECTOR ใช้เลือกชนิดของแถบบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่อง เช่น Normal , Cro2 , Metal หรือ STD , Chrome , FeCr • RECORDING LEVEL ใช้ปรับแต่งระดับสัญญาณที่บันทึกลงในแถบบันทึกเสียง • OUTPUT LEVEL ใช้ปรับระดับสัญญาณที่ออกจากเครื่อง

  12. MICROPHONE LEVEL สำหรับปรับระดับของสัญญาณจากไมโครโฟนที่จะนำมาบันทึกลงในแถบบันทึกเสียง • DOLBY (ON/OFF) ปุ่มสำหรับเลือกใช้วงจรลดเสียงรบกวน • MICROPHONE INPUT (MIC) เป็นช่องสำหรับเสียบแจ็คไมโครโฟน • EARPHONE (EAR) หรือ HEADPHONE เป็นช่องสำหรับเสียบแจ็คหูฟัง

  13. LEVEL METER หรือ VU Meter เป็นหน้าปัทม์สำหรับบอกระดับความแรงของสัญญาณจากแหล่งกำเนิดเสียง • HEADPHONE LEVEL ใช้ปรับระดับสัญญาณที่ต่อเข้ามายังหูฟัง • TAPE SPEED SELECTOR ใช้เลือกความเร็วในการบันทึกหรือเปิดฟังโดยเฉพาะเครื่องแบบ Open Reel

  14. VOLUME CONTROL (VOL) ปุ่มสำหรับควบคุมความดังของเสียง • BALANCE CONTROL (BAL) ปุ่มปรับความสมดุลของเสียงทางซีกซ้ายและซีกขวากรณีเครื่องเล่น-บันทึกเสียงเป็นระบบสเตอรีโอ

  15. ช่องต่อสัญญาณด้านหลังช่องต่อสัญญาณด้านหลัง • AUXILIARY (AUX)เป็นช่องสำหรับต่อสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ๆ • LINE INเป็นปุ่มหรือจุดสำหรับต่อสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ๆ เหมือนกับ AUX นั่นเอง • LINE OUT เป็นปุ่มหรือจุดสำหรับต่อสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากเครื่องเล่น-บันทึกเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงหรือไปยังเครื่องบันทึกเสียงอื่นๆ • สายไฟ ACใช้ต่อกับแหล่งจ่ายไฟ

  16. 2 Play+Record Line in Line out 1 Play+Record Line in Line out play Master การสำเนาเทปบันทึกเสียง (Tape Duplication) • การสำเนาโดยใช้เครื่องเล่น-บันทึกเสียง 2 เครื่อง • ใช้ไมโครโฟน • ต่อพ่วงด้วยสาย RCA • การสำเนาโดยใช้เครื่องสำเนาเทปโดยเฉพาะ (Copy Tape) สามารถสำเนาได้ครั้งละจำนวนมากในเวลาเพียงสั้น ๆ บางเครื่องสำเนาได้ครั้งละ 1 สำเนา (1 : 1) บางเครื่องได้ 3 สำเนา (1 : 3) และบางเครื่องได้ 5 สำเนา (1 : 5) ส่วนเวลาที่ใช้ในแต่ละครั้งอาจจะใช้เวลาเพียง 1 –2 นาทีต่อครั้ง พร้อมทั้งถอยกลับ(REWIND)เองโดยอัตโนมัติ

  17. การบำรุงรักษาเครื่องเล่น-บันทึกเสียง การบำรุงรักษาเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • ศึกษาคู่มือการใช้งานจะทำให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีอายุการใช้งานได้นาน • เมื่อหัวแม่เหล็กสกปรก ทำให้เสียงเพี้ยนหรือแผ่วเบาลง ควรใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำยาเช็ดหัวแม่เหล็กในทิศทางตั้งฉากกับเส้นเทป หรือใช้น้ำยาชนิดสเปรย์ฉีด หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทำความสะอาด หรืออาจใช้ตลับเทปสำหรับล้างหัวแม่เหล็กโดยเฉพาะ(Head Cleaning Tape)ทำความสะอาด

  18. เครื่องที่ใช้งานนาน ๆ จะเกิดอำนาจแม่เหล็กตกค้างที่หัวแม่เหล็ก ทำให้มีเสียงรบกวนในการบันทึก ควรใช้หัวทำลายอำนาจแม่เหล็ก(Head Demagnetizer) เพื่อให้อำนาจแม่เหล็กที่ตกค้างหมดไป • หยอดน้ำมันหล่อลื่นในส่วนกลไกต่าง ๆ ตามที่คู่มือระบุ

More Related