330 likes | 719 Views
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. www.dgr.go.th. สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520.
E N D
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม www.dgr.go.th สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตน้ำบาดาลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินในเขต น้ำบาดาลนั้นหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มาตรา 36 ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ จะริบเครื่องมือเครื่องใช้ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล การประกอบกิจการน้ำบาดาล หมายถึง 1. การเจาะน้ำบาดาล 2. การใช้น้ำบาดาล 3. การระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล วิธีการและขั้นตอนการดำเนินการ - ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล (เจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาล) ให้ยื่นคำขอตามแบบ นบ.1 หรือ นบ.2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนด ต่อพนักงาน น้ำบาดาลประจำท้องที่ในเขตน้ำบาดาลนั้น สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล สถานที่ที่จะขออนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล 1. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือ 2. สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต หรือ 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอนการดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล 1. ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ 2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน / เก็บค่าธรรมเนียมคำขอ / จดทะเบียนคำขอ 3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่กำหนดในระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 4. พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณาดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผอ.สนง.ทสจ. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 5. กรณีอนุญาต แจ้งให้มารับใบอนุญาต / ชำระค่าธรรมเนียม 6. กรณีไม่อนุญาต ให้ทำหนังสือแจ้ง/แจ้งสิทธิ์ในการอุทธรณ์ สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 1 – ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล 1. คำขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล (แบบ นบ.1) 2. สำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือแสดงว่ามีสิทธิที่จะเจาะในที่ดินนั้นได้ 3. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอ ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้ให้ความยินยอม 4. แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ และตำแหน่งที่จะเจาะน้ำบาดาล 5. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล 6. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 7. แบบแปลนจัดสรร (กรณีเป็นหมู่บ้านจัดสรร) 8. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 1 – ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล 1. คำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (แบบ นบ.2) 2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอ ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้ให้ความยินยอม 3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล 4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท 5. สำเนาใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล 6. หนังสือยินยอมของผู้รับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล(กรณีขอรับใบอนุญาตในนามคนอื่น) 7. ตัวอย่างน้ำบาดาลเพื่อวิเคราะห์ ไม่น้อยกว่า 1.5 ลิตร(กรณีมีผลวิเคราะห์แล้วไม่ต้อง) 8. แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ตั้งบ่อน้ำบาดาล สิ่งปลูกสร้าง และบริเวณที่จะใช้น้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน / เก็บค่าธรรมเนียมคำขอ / จดทะเบียนคำขอ 1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ 2. เก็บค่าธรรมเนียมคำขอ (เจาะน้ำบาดาล / ใช้น้ำบาดาล จำนวน 10 บาท) 3. จดทะเบียนคำขอ โดยแยกประเภทขอเจาะน้ำบาดาล / ใช้น้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่กำหนดในระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล - ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ โดยให้ได้ข้อมูลคือ 1. สภาพแหล่งน้ำผิวดิน 2. สภาพบ่อน้ำบาดาล 3. สภาพสถานที่ 4. ปริมาณน้ำที่ต้องการ 5. ใช้น้ำในกิจการใด เพื่ออะไร ประเภทอะไร 6. รวมถึงข้อมูลการชำระค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่กำหนดในระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล(ต่อ) บริเวณสถานที่เจาะน้ำบาดาล 1. ต้องไม่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งมีน้ำเสีย หรือน้ำที่เป็นพิษกักขัง หรือไหลผ่าน หรือไหลจากผิวดินลงไปในบ่อหรือข้างบ่อได้ 2. อยู่ห่างจากชายคาไม่น้อยกว่า 1 เมตร และอยู่ห่างจากส้วมซึม หรือ ถังเกรอะ หรือร่องระบายน้ำโสโครกไม่น้อยกว่า 30 เมตร 3. กรณีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จะต้องจัดการป้องกันไม่ให้น้ำเสียไหลซึม ลงไปในบ่อน้ำบาดาลได้ - ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่กำหนดในระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล(ต่อ) การกำหนดปริมาณน้ำบาดาลในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล 1. เคหะสถาน ครัวเรือนละไม่เกิน 3 ลบ.ม./วัน 2. อพาร์ตเมนต์ ตึกแถว เรือนแถว ห้องละไม่เกิน 2 ลบ.ม./วัน 3. หอพัก ห้องละไม่เกิน 1 ลบ.ม./วัน 4. โรงแรม ห้องละไม่เกิน 1 ลบ.ม./วัน 5. โรงเรียน คนละไม่เกิน 50 ลิตร/วัน 6. โรงพยาบาล ตามความเหมาะสม - ตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 4 พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณา พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณา 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 3. ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต หลักเกณฑ์การพิจารณา - ให้เป็นไปตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 4 พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณา(ต่อ) พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณา 1. การอนุญาตให้ยึดหลักวิชาการคือไม่เกินปริมาณน้ำที่ยอมรับได้ (Safe Yield) และไม่กระทบแหล่งน้ำบาดาล อื่น ๆ 2. ขนาดบ่อน้ำบาดาลเหมาะสมหรือไม่ 3. ความลึกที่จะเจาะน้ำบาดาลเหมาะสมหรือไม่ 4. บริเวณที่จะเจาะบ่อถูกต้องหรือไม่ สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 4 พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณา(ต่อ) การกำหนดขนาดบ่อและประสิทธิภาพของบ่อ สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ประเภทการใช้น้ำบาดาล สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 5 กรณีอนุญาต แจ้งให้มารับใบอนุญาต / ชำระค่าธรรมเนียม พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ พิจารณา กรณีอนุญาต 1. เจ้าหน้าที่จัดทำใบอนุญาต ตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 2. แจ้งผู้ประกอบการมารับใบอนุญาต 3. จัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 500 บาท สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล ขั้นตอน 6 กรณีไม่อนุญาต ให้ทำหนังสือแจ้ง/แจ้งสิทธิ์ในการอุทธรณ์ กรณีไม่อนุญาต • เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือแจ้งการไม่อนุญาต และแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ด้วย สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล การประกอบกิจการน้ำบาดาล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 2. ระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ว่าด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล พ.ศ. 2554 3.ระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ว่าด้วย การจัดเก็บรายได้และการนำส่งรายได้ ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2554 สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาลส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล มีปัญหาปรึกษาหารือ สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล โทร. 0 2793 1075 ส่วนจัดการและควบคุมกิจการน้ำบาดาล โทร. 0 2793 1087-90 ฝ่ายบริหารทั่วไป โทร 0 2793 1079 สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล