1 / 26

ตัวแสดงที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย

ตัวแสดงที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย. 1. รัฐบาล ( Government) ความหมายอย่างแคบ = ฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรี/ ประธานาธิบดี) ความหมายอย่างกว้าง = ฝ่ายบริหาร + ฝ่ายนิติบัญญัติ + ฝ่ายตุลาการ

Download Presentation

ตัวแสดงที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตัวแสดงที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยตัวแสดงที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย 1.รัฐบาล (Government) ความหมายอย่างแคบ =ฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรี/ ประธานาธิบดี) ความหมายอย่างกว้าง = ฝ่ายบริหาร+ฝ่ายนิติบัญญัติ+ฝ่ายตุลาการ รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย =อยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนเนื่องจากอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และรัฐบาลควรดำเนินนโยบายหรือกระทำการต่างๆให้เป็นไปในทางสอดคล้องและส่งเสริมประชาธิปไตยด้วย ดังที่ อมร รักษาสัตย์ กล่าวไว้ว่า “หน้าที่หลักของรัฐบาลคือการส่งเสริมปัจเจกชน เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพของพลเมือง”

  2. กลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน มาร่วมกันจัดตั้งองค์การด้วยความสมัครใจเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง โดยมีจุดประสงค์ที่จะเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม” (จักษ์ พันธ์ชูเพชร) 2.พรรคการเมือง (Political Party)

  3. สถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย • พรรคการเมืองเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างประชาชนกับรัฐบาล และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเชื่อมโยงให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง • พรรคการเมืองเป็นผู้รวบรวมผลประโยชน์ของประชาชนมาเขียนไว้ในนโยบายของพรรคการเมือง และเมื่อประชาชนเห็นพ้องกับนโยบายพรรคใด ก็จะเลือกพรรคนั้นเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนของตนในรัฐสภา 2.พรรคการเมือง (Political Party)

  4. Gabriel Almond (1955) “ ระบบการเมืองทุกระบบ จำเป็นต้องอาศัยพรรคการเมือง แม้แต่สังคมเผด็จการ ก็ยังต้องใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือแสวงหาเสียงสนับสนุนจากประชาชน ส่วนสังคมประชาธิปไตยนั้น พรรคการเมืองจะเป็นช่องทางสำหรับการแสดงออกหรือรวบรวมข้อเสนอต่างๆที่จะนำเข้าสู่ระบบการเมือง หรือในสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยน พรรคการเมืองจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อโยง (Agent)ที่ช่วยเสริมให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมทางการเมืองรูปแบบใหม่เกิดขึ้น”

  5. มีความสำคัญต่อเสถียรภาพและพัฒนาการประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อเสถียรภาพและพัฒนาการประชาธิปไตย • เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายร่วมกับรัฐบาล • เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นนโยบายต่างๆของรัฐ 3.กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอิทธิพล (Interest group and pressure group)

  6. กลุ่มผลประโยชน์คือ กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน มามีปฎิสัมพันธ์กันโดยความสมัครใจและพยายามกระทำการเพื่อให้ผู้มีอำนาจใน การตัดสินในทางการเมืองกระทำหรือไม่กระทำการอันใดเพื่อให้สอดคล้องกับผล ประโยชน์ของกลุ่มตน แต่ในขณะเดียวกันก็ปฎิเสธที่จะรับผิดชอบโดยตรงที่จะ ปกครองประเทศ

  7. 4.สื่อมวลชน (Mass Media): หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ โดยสื่อมวลชนจะเป็นตัวชี้วัดระดับเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยในสังคมนั้นๆ เสรีภาพของสื่อมวลชนของไทย ถูกระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 39 , 40 และ 41 บทบาทที่สำคัญ คือสะท้อนความเห็นของมวลชน,เป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาล, สื่อมวลชนมีการเปลี่ยนติมหาชน และสร้างความคิดเห็นของมวลชนได้ดี

  8. ปรากฏการณ์ประชาธิปไตยไร้เสรี (illiberal democracy) • Fareed Zakaria (ซาคาเรีย) ได้ตั้งข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ = ประชาธิปไตย + เสรีนิยม การที่ผู้ปกครองประเทศมีที่มาจากประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง การที่มีกฎหมายปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพต่างๆของประชาชน

  9. Zakariaตั้งข้อสังเกตว่า • บางประเทศเป็นเสรีนิยม ก่อน ประชาธิปไตย (การปกครองเป็นแบบเผด็จการ แต่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน) • บางประเทศเป็นประชาธิปไตย ก่อน เสรีนิยม (การปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย (มีการเลือกตั้ง) แต่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ) “ประชาธิปไตยไร้เสรี” (illiberal democracy)

  10. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประชาธิปไตยที่สามารถเข้ากันได้ทั่วโลก • นำไปสู่ การตั้งคำถามว่า “แนวคิดประชาธิปไตยนั้นมีความเป็นสากล (universality) มากถึงขนาดที่ต้องนำมาใช้ในทุกประเทศหรือไม่ และอันที่จริงแล้ว ในโลกนี้มีแนวคิดอะไรที่มีพลังมากถึงขนาดสามารถจูงใจให้คนทั้งโลกยอมรับและนำมาใช้ด้วยหรือ……….?????”

  11. Asian Values • ประชาธิปไตยแบบตะวันตกไม่เหมาะกับประเทศในเอเชีย • ดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีจึงไม่เหมาะสม ถ้าจะนำมาใช้ทั้งหมด

  12. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • กระแสต่อต้านการนำเอาประชาธิปไตยไปใช้ทั่วโลก • ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา แต่ หากนำมาใช้ในประเทศที่ “ยังไม่พร้อม” ก็จะเป็นปัญหาและจะล้มเหลวในที่สุด • ความพร้อม (ระดับการศึกษา, ระดับรายได้ ,ระดับการพัฒนาของประเทศ)

  13. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • การศึกษาของ Seymour Martin Lipset(ลิปเซ็ต) พบว่า ประเทศที่มีรายได้สูง มีโอกาสรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ได้มากกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำ • งานสำคัญชิ้นหนึ่งของ Adam Przeworski(เซเบอร์สกี้) และคณะ พบว่า ระดับการพัฒนาของประเทศมีความสอดคล้องกันอย่างมากกับระดับความเป็นไปได้ของประเทศนั้นที่จะรักษาประชาธิปไตยไว้

  14. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • จากงานทั้งสองชิ้นข้างต้น จะเห็นได้ว่า เป็นงานที่เน้นถึง ความเป็นไปได้ในการรักษาประชาธิปไตยไว้ในกรณีที่ประเทศมีประชาธิปไตยอยู่แล้ว แต่ ไม่ได้มีการกล่าวถึง ความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของประชาธิปไตยประเทศที่มีการปกครองในระบอบอื่น

  15. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • นอกจากนั้นแล้ว ผลงานทั้งสองชิ้น ยังชี้ให้เห็นว่า “ประเทศใดที่ยากจนและยังไม่เป็นประชาธิปไตยก็ควรรอให้ความเจริญทางเศรษฐกิจก่อน แล้วจึงค่อยนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตย หากนำประชาธิปไตยใช้เร็วเกินไป ก็จะทำให้มีปัญหาตามมาได้”

  16. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • แต่อย่างไรก็ตาม AmartyaSen(อมาตยา เซน) นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล แสดงความเห็นว่า “ความยากจนไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรนำประชาธิปไตยมาใช้ ตรงกันข้าม ประชาธิปไตยยิ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนจน เพราะประชาธิปไตยจะเป็นช่องทางสำคัญที่คนจนจะใช้สื่อความต้องการของตนเองออกมา เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความยากจนในที่สุด ประชาธิปไตยไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยที่จะต้องรอให้มีเงินก่อนถึงจะใช้ได้”

  17. การนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆการนำประชาธิปไตยไปใช้ในสังคมต่างๆ • แต่อย่างไรก็ตาม AmartyaSen(อมาตยา เซน) นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล แสดงความเห็นว่า “ถ้าให้คนจนเลือกระหว่างประชาธิปไตยกับระบอบอื่น แทบไม่มีหลักฐานเลยว่าคนจนจะปฎิเสธประชาธิปไตย”

  18. ประชาธิปไตยกับประเทศไทย และ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • ข้อถกเถียง เรื่อง ความเข้ากันได้ระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยกับ “ลักษณะเฉพาะตัว” บางประการของประเทศไทย -แนวคิดประชาธิปไตยคือสิ่งที่นำเข้าจากตะวันตกหรือเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับประเทศที่ความเชื่อและวัฒนธรรมเฉพาะตัว อย่างกรณีของประเทศไทย -ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอยู่ในภาวะล้มลุกคลุกคลานมาตลอดก็คือ กรอบที่คิดว่าประเทศไทยไม่สามารถนำประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้ได้นั่นเอง

  19. ประชาธิปไตยกับประเทศไทย และ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • ข้อถกเถียง เรื่อง ความเข้ากันได้ระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยกับ “ลักษณะเฉพาะตัว” บางประการของประเทศไทย -กลุ่มแนวคิดเช่นนี้ จึงมักให้ความสำคัญกับ “ความเป็นไทย”มากกว่าสิ่งอื่น หากมีสิ่งแปลกปลอมใดๆเข้ามาในประเทศแล้วมีผลบั่นทอนความเป็นไทย สิ่งนั้นก็ถือว่าไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง -ไม่เว้นแม้แต่ประชาธิปไตย ที่เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว ก็ควรได้รับการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างการเมืองและสังคมไทย -จึงมีการใช้คำว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” เพื่ออธิบายการนำหลักการบางอย่างของประชาธิปไตยมาใช้ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงโครงสร้างหรือลักษณะบางอย่างของจารีตไทยที่เข้ากันไม่ได้กับประชาธิปไตยเอาไว้

  20. ประชาธิปไตยกับประเทศไทย และ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • ข้อถกเถียง เรื่อง ความเข้ากันได้ระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยกับ “ลักษณะเฉพาะตัว” บางประการของประเทศไทย “ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของสังคมใดๆย่อมมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนสังคมอื่น ดังนั้นการกล่าวว่าประชาธิปไตยไทยไม่เหมือนของใครนั้นจึงไม่ผิด” (ธงชัย วินิจจะกูล) “แนวคิดประชาธิปไตย เมื่อได้กระจายและแพร่หลายออกไปนอกสังคมตะวันตก ก็ย่อมจะต้องเข้าไปผสมผสานกับโครงสร้างอำนาจ สถาบันสังคมการเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆที่ดำรงอยู่ในสังคม” (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์)

  21. ประชาธิปไตยกับประเทศไทย และ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • จึงนำไปสู่คำถามที่ว่า “หากเรายอมรับว่าไทยไม่จำเป็นต้องทำอะไรตามตะวันตกทุกอย่างแล้ว แล้วการทำตามตะวันตกมากเพียงใดจึงจะถือว่าเหมาะสม ?” “หากเราปฎิเสธองค์ประกอบบางอย่างของประชาธิปไตยแบบตะวันตก แล้วมีองค์ประกอบใดบ้างที่ไทยควรนำมาใช้ ?”

  22. ข้อวิพากษ์ต่อแนวคิด “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • ข้อวิพากษ์ของนักวิชาการส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งหลุดพ้นจากกรอบคิดเรื่องความเป็นไทย “หากเราไม่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งแล้ว เราไม่อาจจะมีประชาธิปไตยได้เลย เพราะว่า สถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเป็นบรรทัดฐานเชิงสถาบันขั้นต่ำสุดของระบบประชาธิปไตย” (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์) “การนำเอาคุณธรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของการเมืองว่าเป็นการปฎิเสธความชอบธรรมของเสียงข้างมาก และตั้งคำถามว่า คุณธรรมของอภิชนมีความสำคัญกว่าประชาธิปไตยอย่างนั้นหรือ” (ธงชัย วินิจจะกูล)

  23. ข้อวิพากษ์ต่อแนวคิด “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • ข้อวิพากษ์ของนักวิชาการส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งหลุดพ้นจากกรอบคิดเรื่องความเป็นไทย “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้นแท้จริงก็คือ ประชาธิปไตยที่มีองคมนตรีแทรกแซงทางการเมือง ประชาชนเป็นได้เพียงข้าแผ่นดินไม่ใช่พลเมือง รัฐบาลเสียงข้างมากต้องประนีประนอมกับอภิสิทธิ์ชน การเลือกตั้งไม่สำคัญ มีกองทัพเป็นผู้ดูแลการเมือง และเป็นประชาธิปไตยที่ปราศจากการตรวจสอบเอาผิด”

  24. ข้อวิพากษ์ต่อแนวคิด “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” • ข้อวิพากษ์ของนักวิชาการส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งหลุดพ้นจากกรอบคิดเรื่องความเป็นไทย “ท่านอาจได้ยินวาทะของบางคนว่าระบอบประชาธิปไตยในอนาคตของประเทศไทยนั้นจะต้องเป็น ประชาธิปไตยอย่างไทยๆ วาทะนี้ฟังดูแล้วน่าเลื่อมใส ถ้าผู้กล่าวปรารถนาอย่างจริงใจให้ระบอบการเมืองของไทยเหมาะสมแก่สภาพท้องที่กาลสมัยของมวลราษฎรไทย แต่ก็ควรพิจารณาว่าคำที่ว่าอย่างไทยๆนั้น ขออย่าให้เหมาะสมเพียงแต่เฉพาะคนไทยส่วนน้อยของสังคมเท่านั้น” (ปรีดี พนมยงค์ , 28 ก.ค. 2516)

More Related