690 likes | 3.47k Views
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา. โดย ม . จารุเดช เดชคำภู . กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2467 พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ.ศ. 2424 - 2468)
E N D
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา โดย ม. จารุเดช เดชคำภู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2467 พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2424 - 2468) พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริ ให้ใช้คำฉันท์ เป็นละครพูด อันเป็นของแปลก ในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยาก ยังไม่เคยมีกวีคนใด ได้พยายามแต่งมาแต่ก่อน อีกประการหนึ่ง ในทางภาษา ซึ่งปรุงชื่อตัวละคร และภูมิประเทศ ถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ อันจำนงให้เป็นตัวเรื่อง นับว่ารูปเรื่องปรุงดี จะแต่งได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และสุตาญาณ อันกว้างขวาง บทละครคำฉันท์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงพิษร้าย อันเนื่องมาจากความรัก ตรงตามความหมาย ของชื่อเรื่อง กล่าวคือ สุเทษณ์เทพ ผู้ทรงฤทธานุภาพ หลงรักมัทนาเทพธิดา แต่มัทนาไม่รักตอบ สุเทษณ์ผิดหวังและโกรธ ถึงกับสาปมัทนา ให้ไปเป็นดอกไม้ในโลกมนุษย์ เดือนหนึ่งเมื่อถึงวันเพ็ญ จึงกลายร่างเป็นมนุษย์ ที่สาวและสวยได้วันหนึ่ง ต่อเมื่อใดได้พบรัก โดยมีความรักกับบุรุษเพศ จึงจะเป็นมนุษย์ตลอดไป
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษา วิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยาม มงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุงด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ ตราพระราชบัญญัติ ประถมศึกษา ให้เป็น การศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดิน รถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ)เป็น พุทธศักราช (พ.ศ.)
พระองค์ได้ทรงปลูกฝัง ความรักชาติให้เกิดขึ้นใน หมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงาน ประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงเขียน หนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับ ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ในรัชสมัย ของพระองค์ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับ เยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้เป็นฝ่ายชนะ สงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก
ฉาก : ลานหน้าอาศรมของพระกาละทรรศิน. [คือฉากเดียวกันกับตอนที่ ๓ แห่งองก์ที่ ๒ นั้นเอง แต่หนังกวางที่ปูบนแทนศิลาใต้ต้นไม้นั้นเก็บไปเสีย : และสมมตว่าเปนเวลากลางคืน. มีแสงเดือนหงายแจ่มอย่างในวันเพ็ญ] (ท้าวชัยเสนออกทางหลืบซ้าย) [อินทะวิเชียร๑๑] ชัยเสน.
(ท้าวชัยเสนเลี่ยงเฃ้าไปแฝงอยู่หลังกอไม้ฃ้างซ้ายมัทนาเดิรออกมาจากอาศรมและ(ท้าวชัยเสนเลี่ยงเฃ้าไปแฝงอยู่หลังกอไม้ฃ้างซ้ายมัทนาเดิรออกมาจากอาศรมและ มายืนพิงเสาระเบียง, มองดูดวงเดือน) [อินทวงส์๑๒] มัทนา.
มัทนา. (ยังไม่เห็นท้าวชัยเสน, พูดคนเดียว)