1 / 34

พระราชประวัติและผลงานของ รัชกาล ที่ ๑-๘แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชประวัติและผลงานของ รัชกาล ที่ ๑-๘แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. โดย...บุษบา อุดใจ เลขที่ 23 ชั้นม.3/1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช.

kumiko
Download Presentation

พระราชประวัติและผลงานของ รัชกาล ที่ ๑-๘แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชประวัติและผลงานของ รัชกาลที่ ๑-๘แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดย...บุษบา อุดใจ เลขที่ 23 ชั้นม.3/1

  2. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ตรงกับวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ได้รับราชการ ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นพระยาราชนรินทรในกรมพระตำรวจ เจ้าพระยาจักรีและสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกสมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายเมืองหลวงจาก กรุงธนบุรีมาเป็นกรุงเทพมหานครเริ่มสร้างพระบรม มหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เสร็จในปี พ.ศ. 2327 ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมา ตั้งแต่ปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรีและในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนา ได้โปรดให้มีการสังคายนา ชำระพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์

  3. ทางพระพุทธศาสนา และทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ทรงงาน ตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจาก จางวางและปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหารและพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูลทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆ อยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น

  4. ทางด้านผลงาน ด้านศาสนาและวัฒนธรรม • ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วซึ่งอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ ณ ที่วัดนี้ • ทรงโปรดเกล้าฯให้พระสงฆ์สังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดมหาธาตุ • ทรงโปรดเกล้าฯให้ออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยและพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท • ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง ฯลฯ • ทรงนำเอาการปกครองแบบสมัยอยุธยามาใช้ • โปรดเกล้าฯให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดสุทัศนเทพวราราม • ทรงโปรดเกล้าฯให้รื้อและสถาปนาวัดสระแกเป็นวัดสระเกศ

  5. ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ • ทรงทำสงครามกับพม่าที่สำคัญ คือสงคราม 9 ทัพ • ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่และช่วยไทยขับไล่พม่า • ทรงให้มลายูส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ไทยในฐานะประเทศราช • ทรงโปรดเกล้าฯให้เจ้านันทเสนไปปกครองเวียงจันทน์แต่กลับเป็นกบฏจึงให้เจ้าอินทรวงศ์ปกครองแทนเมื่อเจ้าอินทรวงศ์ถึงแก่พิราลัยจึงให้เจ้าอนุวงศ์ปกครองต่อมา • ทรงโปรดเกล้าฯให้นักองจัน(โอรสนักองเอง)เป็นกษัตริย์ปกครองเขมร ด้านการเมืองการปกครอง • ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี • ทรงนำเอาการปกครองแบบสมัยอยุธยามาใช้ • ทรงโปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฎหมายเก่าที่ใช้ในสมัยอยุธยา • ทรงโปรดเกล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกกฎหมายที่ชำระเรียบร้อยแล้วไว้ 3 ฉบับทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ตราราชสีห์ และตราบัวแก้วหรือที่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง

  6. สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 พระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ก่อนขึ้น ครองราชย์ ทรงดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์มีความสามารถทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดี ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดี กับสมเด็จพระราชบิดาไว้หลายเรื่อง ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลังซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิไชย ฯลฯ ด้านดนตรี ทรงเป็นเอตทัคคะในทาง สีซอสามสาย ด้านศิลปะ โปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฎที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อปฐมวัยได้ ทรงติดตามพระราชบิดาไปในงานสงครามแทบทุกครั้ง ตั้งแต่พระชมมายุได้ 8 พรรษา ทรงผนวช เมื่อ พระชนมายุ 22 พรรษา ทรงจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เป็นเวลา 1พรรษา ลาผนวชแล้ว ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด

  7. ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศโปรตุเกสและประเทศอังกฤษ ได้ส่งผู้แทนทางการทูต มาเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ คือได้ส่งมา เมื่อ พ.ศ. 2361และ พ.ศ. 2363 ตามลำดับ ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุงและออกกฎหมายต่างๆได้แก่ กฎหมายห้ามขายฝิ่นสัญญา เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน พินัยกรรม และกฎหมายอาญาอื่นๆเช่น ความผิดเกี่ยวกับการลงโทษ ทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร "สุนทรภู่ กวีเอกของไทย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในรัชกาลนี้"

  8. ทางด้านผลงาน ด้านความสัมพันธ์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้เจ้าราชบุตร(ราชบุตรของเจ้าอนุวงศ์)เป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์เพราะปราบกบฏจำปาศักดิ์ได้สำเร็จ เจ้าออนุวงศ์จึงมีอำนาจมากขึ้น • ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ คาร์ลอสมานูเอล ดา ซิลเวย์เป็นหลวงอภัยพานิชหลังโปรตุเกสเข้ามาตั้งกงสุลในประเทศไทยเป็นครั้งแรก • ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ โรเบิร์ตฮันเตอร์ เป็นหลวงอาวุธวิเศษหลังจากเป็นคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าในกรุงเทพฯ • ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ กัปตันเฮล เป็นหลวงภักดีราชกปิตันหลังจากนำปืนคาบศิลามาถวาย 500 กระบอกและเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่เข้ามาในไทย

  9. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม • ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งสมณทูตไปยังลังกา • ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามวัดแจ้งใหม่ว่าวัดอรุณราชวราราม • ทรงมีบทละครอิเหนาเป็นยอดบทละครและทรงเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม • ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดงานพระราชกุศลอย่างยิ่งใหญ่โตในวันวิสาขบูชา • ทรงจัดตั้งนิกายขึ้นใหม่ เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างสวนขวา • ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างเสร็จในรัชกาลที่3) ด้านสังคมและเศรษฐกิจ • ทรงประกาศใช้พระราชกำหนดสักเลก พระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น • ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดงานพระราชกุศลอย่างยิ่งใหญ่โตในวันวิสาขบูชา

  10. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชสมภพ เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 มี พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียบ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเคยว่าราชการ มาหลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และผู้ว่าความในศาลฎีกา ในรัชสมัยของพระองค์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง เป็นกบฏไปเข้ากับญวณ แล้วฉวยโอกาสยกทัพเข้าตี เมืองอุบล ร้อยเอ็ด ตัวเจ้าอนุวงศ์เองยกทัพจาก เวียงจันทร์ลงมาตี เมืองนครราชสีมาได้ แล้วให้ทัพหน้าเข้าตีสระบุรี พระองค์ได้ จัดทัพใหญ่เตรียมรับศึก ในกรุงเทพ ฯ ได้จัดการป้องกันพระนคร วางกำลัง รายรอบเมืองตั้งแต่ทุ่งบางเขน ถึงทุ่งหัวลำโพงจัดกำลังทหารไปตั้งรับที่สระบุรี ทัพเจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนผู้คนไปเวียงจันทร์ทุกวัน คุณหญิงโมภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้า รวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วยเจ้าอนุวงศ์จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทร์ โดยวางกำลังคอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และเมืองภูเขียว โปรดให้ กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับกองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไปบรรจบทัพใหญ่ ที่ เวียงจันทร์ กองทัพไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้ ในปี พ.ศ. 2371

  11. เสร็จศึกแล้วได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารีในรัชกาลของพระองค์ ประเทศไทยได้เริ่มเปิด ประเทศรับ ชาวยุโรป อย่างกว้างขวาง อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยการค้าขายกับ อังกฤษรุ่งเรืองมาก บางคราวมีเรือสินค้าเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 50 ทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาสอนศาสนา และนำเอาวิชาการแพทย์แผนใหม่ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ และสอนภาษาอังกฤษให้คนไทย ผู้ที่ควรได้รับเกียรติในผลงานนี้ คือ หมอบรัดเลย์ ทรงโปรดให้มีประกาศห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศ และให้เก็บฝิ่นที่มีอยู่ในประเทศ นำไปเผาทั้งหมด ด้านพระศาสนา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ 9 วัด บูรณะวัดเก่า 60 วัด โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระนอนใหญ่ที่วัดโพธิ์ และในรัชกาลนี้ได้มีกวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้น คือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์ วาสุกรี พระราช โอรสในรัชกาลที่ 1)

  12. ทางด้านผลงาน ด้านความสัมพันธ์ • ทรงทำสงครามกับญวนหลายครั้งและได้ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ลาวจึงเป็นประเทศราชของไทยภายหลังเสียให้ฝรั่งเศส • ทรงได้ทำสนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษโดยมีร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี มาเจรจา • ทรงโปรดเกล้าฯให้หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาคริสต์มาสอนในประเทศไทยโดยหมอบรัดเลย์ได้จัดตั้งโรงพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์และจัดพิมพ์หนังสือประถมก.กา ด้านศาสนาและวัฒนธรรม • ทรงโปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตและช่างทุกสาขามาช่วยกันชำระตำราในแขนงวิชาการแพทย์และวิชาการอื่นๆ • ทรงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ขึ้นใหม่แต่พยายามให้คงของเดิมไว้ • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเรือสำเภาจีนจำลองไว้ที่วัดยานนาวา • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดา

  13. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลาเมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือเจ้าฟ้าจุฬามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณีและอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชสมบัติ ระหว่างที่ทรงผนวช ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ภาษาบาลีและแตกฉานในพระไตรปิฎก นอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาติน และภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี ในรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมาขอทำสนธิสัญญาในเรื่อง สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนในบังคับของตน และสิทธิการค้าขายเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่งคณะทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทย นับต่อจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยไปยังประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส

  14. ทรงจ้างชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำรา ครูฝึกวิชาทางทหารและตำรวจ และงานด้านการช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วงและเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง ด้านการปกครอง ได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง

  15. ทางด้านผลงาน ด้านการเมืองการปกครอง • ทรงจัดตั้งตำแหน่งตุลาการคือตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตาจารย์และมหาราชครูมหิธร • ทรงยกเลิกทหารที่นำขบวนเสร็จและฟื้นฟูประเพณี “ร้องฎีกา” • ทรงร่วมดื่มน้ำในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้ราษฎรถวายฎีกาต่อพระองค์เดือนละ 4 ครั้ง ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ • ทรงได้ริเริ่มการฝึกทหารและอาวุธสมัยใหม่ตามแบบตะวันตก • ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งตำรวจพระนครบาล เรียกว่า โปลิศ ด้านสังคม ศ่าสนาและวัฒนธรรม • ทรงโปรดเกล้าฯให้สวมเสื้อเข้าเฝ้าและชาวต่างชาติไม่ต้องหมอบคลานเข้าเฝ้า • ทรงโปรดเกล้าฯห้ามให้บิดาขายบุตรเป็นทาสและสามีขายภรรยาเป็นทาส • ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนและโรงเรียนวัตนาวิทยาลัย

  16. ทรงโปรดให้ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัยทรงโปรดให้ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย • ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรที่จังหวัดนครราชสีมา ภายหลังย้ายไปตั้งที่จังหวัดนครปฐม • ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองภาษีเจริญและขุดคลองดำเนินสะดวก • ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างถนนเจริญกรุง สีลม หัวลำโพง • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างระบบชลประทาน • ทรงโปรดเกล้าฯให้ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ และชาร์เตอร์แบงก์ เข้ามาจัดตั้งตัวแทนดำเนินกิจการธนาคารในประเทศไทย ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ • ทรงให้จ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์ มาเป็นครูสอนภาษอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา • ทรงได้ทำสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษโดยส่ง เซอร์จอห์น เบาว์ริงมาเจรจา • ทรงให้เซอร์จอห์น เบาว์ริงเป็นเอกอัครราชทูตไทยในยุโรปและพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ • ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จต่างประเทศ โดยเฉพาะทวีปยุโรป

  17. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้าจัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้ รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ใน ปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมันเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442

  18. พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบควาเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆอย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช ด้านการพระศาสนาทรงทำนุบำรุงและจัดการให้เหมาะสมเจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาสและวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ

  19. ทางด้านผลงาน ด้านการเมืองการปกครอง • ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ • ทรงจัดตั้งกระทรวงแทนการปกครองแบบจตุสดมภ์ซึ่งมีทั้งหมด 12 กระทรวง • ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการเลิกทาสและให้มีสำมะโนประชากร • ทรงโปรดเกล้าฯให้มีพ.ร.บ.2448ให้เกณฑ์ทหารที่มีอายุ18ปีบริบูรณ์ • ทรงจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลในส่วนท้องถิ่นมีการจัดตั้งเทศาภิบาล • ทรงยกเลิกจารีตนครบาลและใช้กฎหมายลักษณะอาญา • ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองรังสิตและตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้มรพ.ร.บ.กรมพระคลังมหาสมบัติและมีธนาคารบุคคลัภย์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการทดลองการปกครองที่บางประอินโดยให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน • ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน • ทรงให้มีการปกครองแบบเทศาภิบาลโดยรวมเอาหัวเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลปกครองมณฑล(ต่อมาเปลี่ยนเป็นสมุหเทศาภิบาล) • ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งสุขาภิบาลที่กรุงเทพฯ และที่ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร

  20. ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ.2434 • ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้นในพ.ศ.2466 • ทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการมารวมกับกระทรวงกลาโหม • ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งพระราชโอรส พระบรมวงศานุวงศ์ และบุคคลสำคัญไปศึกษาวิชาทหารต่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อกลับมาพัฒนากองทัพไทย • ทรงเสด็จประพาสยุโรปเพื่อกระชับพระราชไมตรีกับประเทศยุโรปถึง 2 ครั้ง ด้านสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม • ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองรังสิตและตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ • ทรงสร้างรถไฟหลายสาย • ทรงมีการจัดตั้งใช้โทรเลขและการไปรษณีย์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้มีสภาอุณาโลมแดงและโอสถศาลาและโรงเรียนสอนทางการแพทย์ • ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวง ร.ร.มหาดเล็ก ร.ร.หลวงของราษฎร • ทรงจัดตั้งกรมการศึกษาและกระทรวงธรรมการและมีสอบชิงทุนไปเรียนยังต่างประเทศ

  21. ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างป้อมติดปืนใหญ่แบบสมัยใหม่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อป้องกันข้าศึกยกทัพเรือยึดกรุงเทพฯทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างป้อมติดปืนใหญ่แบบสมัยใหม่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อป้องกันข้าศึกยกทัพเรือยึดกรุงเทพฯ • ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองดุสิตและได้สร้างทางรถไฟอีกหลายสาย • ทรงจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในพ.ศ. 2416 • ทรงจัดตั้งธนาคารบุคคลัภย์หรือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ในปัจจุบัน • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพานและถนน เช่น ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลางถนนราชดำเนินนอก สะพานเช่น สะพานพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ฯลฯ • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างการโทรศัพท์ในพ.ศ.2424 • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างการประปา การไฟฟ้าและการสาธารณสุขเช่น ศิริราชพยาบาล ตั้งโอสถศาลา โรงเรียนการแพทย์ขึ้นในโรงศิริราชพยาบาล • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามและวัดต่างๆที่สำคัญ • ทรงให้เครื่องขัติราชอิสริยาภรณ์จักรีบรมราชวงศ์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท • ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังดุสิต • ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ

  22. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้๑๑ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการทหารมหาดเล็กดำรงพระยศพลเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุงด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ ตราพระราชบัญญัติ ประถมศึกษา ให้เป็น การศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ)เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.)

  23. พระองค์ได้ทรงปลูกฝัง ความรักชาติให้เกิดขึ้นใน หมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้เป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก

  24. ทางด้านผลงาน ด้านการเมืองการปกครอง • ทรงโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงกระทรวงโยธาธิการแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า กระทรวงคมนาคม และรวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทย • ทรงได้จัดตั้งกระทรวงขึ้นใหม่คือ กระทรวงมุรธาธร กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์ • ทรงปรับปรุงการปกครองของมณฑลและให้รวมมณฑลเป็นภาคเปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด • ทรงแยกมณฑลอีสานเป็น 2 มณฑลคือ มณฑลร้อยเอ็ดกับมณฑลอุบลราชธานี • ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง ดุสิตธานี เพื่อเป็นเมืองทดลองประชาธิปไตย • ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้นในพ.ศ.2466 • ทรงได้ริเริ่มนำเอาเครื่องบินมาใช้ในกิจการทหาร และจัดตั้งกองบินขึ้นสังกัดกองทหารทัพบก • ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่กลุ่มผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. 130

  25. ด้านสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯออกพระราชบัญญัติประถมศึกษาในวันที่1กันยายน 2464 • ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแห่งแรกคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ทรงโปรดเกล้าฯปรับปรุงธงชาติชาติเป็นธงไตรรงค์ • ทรงโปรดเกล้าฯให้กำหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี • ทรงโปรดเกล้าฯตราพระราชบัญญัตินามสกุล • ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก • ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งกายขึ้นใหม่ • ทรงเปลี่ยนแปลงวิธีนับเวลาให้เป็นไปตามสากลนิยม • ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงและแสดงเป็นนายมั่น ปืนยาว ในละครนั้นด้วย ด้านเศรษฐกิจ • ทรงส่งเสริมด้านการเกษตร เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำ และขุดลอกคูคลอง • ทรงจัดตั้ง สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ • ทรงจัดตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์และกระทรวงพาณิชย์ • ทรงจัดตั้งธนาคารออมสิน

  26. ทรงสร้างทางรถไฟสายแปดริ้ว – ปราจีนบุรี • ทรงเปลี่ยนมาตรการชั่ง ตวง วัดเป็นแบบเมตริกของฝรั่งเศส • ทรงขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาล จังหวัดลำปาง • ทรงสร้างเขื่อนพระราม 6 • ทรงสร้างสนามบินดอนเมือง • ทรงสร้างสถานีวิทยุ – โทรเลข ที่ศาลาแดง กรุงเทพฯ สงขลา พ.ศ.2456 • ทรงยกเลิกหวย กข. และสร้างสถานีรถไฟสามเสน พ.ศ.2454

  27. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็น พระราชโอรสพระองค์เล็กของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับประเทศไทย เข้ารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการในตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไขอย่างเต็มพระกำลังความสามารถจนประเทศไทย ได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้ ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ "

  28. สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ) วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขาที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"

  29. ทางด้านผลงาน ด้านการเมืองการปกครอง • ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีในพ.ศ.2468เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน • ทรงจัดตั้งเสนาบดีสภาเช่นเดียวกับรัชกาลที่ 5 • ทรงจัดตั้งเทศบาล • ทรงให้พระยาศรีวิสารวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ คิดร่างรัฐธรรมนูญ ได้เกิดการเปลี่ยนการปกครองโดยคณะราษฎรและมีการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยและพระสมเด็จพระปกเกล้าไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษพระองค์จึงขอให้รัฐบาลทำตามพระราชประสงค์บางประการแต่รัฐบาลไม่สามารถทำได้พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติ ด้านสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม • ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทยในพ.ศ. 2475 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองการดำเนินการต่างๆจึงเป็นของรัฐบาลเป็นส่วนมาก ในด้านเศรษฐกิจส่วนมากก็อยู่ที่รัฐบาลนั้นๆ

  30. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน

  31. พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจเพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง

  32. ทางด้านผลงาน เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 เมษายนพ.ศ.2489และอีกครั้งที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนี้ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนครพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 • วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต • ตั้งกรมศิลปกร พ.ศ.2478 • ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้ราชการแต่งกายแบบสากล กำเนิดโรงเรียนรัฐบาลพ.ศ.2478 • พ.ศ.2479 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ เริ่มโครงการก่อสร้างทางหลวง 5 ปีแรก • พ.ศ.2480เริ่มแก้ไขสนธิสัญญากับต่างชาติครั้งใหม่ เริ่มให้มีการอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์ • พ.ศ.2481ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองละสงวนป่า สร้างท่าเรือกรุงเทพฯ-คลองเตย • พ.ศ.2482ประกาศใช้รัษฎากรฉบับแรก เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

  33. สร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ จัดตั้งธนาคารแห่งชาติ ตราพระราชบัญญัติการทำสวนครัว • พ.ศ.2483 สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งบริษัทไทยเดินเรือทะเลและประมงไทย ก่อตั้งนิคมสร้างตนเองถิ่นแรก ที่ อ. พระพุทธบาท จ.สระบุรี เริ่มสร้างพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยครั้งแรก เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส • พ.ศ.2484 เริ่มใช้ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มจัดการศึกษาผู้ใหญ่ ห้ามนุ่งโจงกระเบน เริ่มใช้บรรดาศักดิ์ ญี่ปุ่นส่งกำลังเข้าประเทศไทย เมื่อ 8 ธันวาคม 2484ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น เกิดเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา • พ.ศ.2485 ประกาศสงครามอังกฤษและอเมริกา เปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปรับปรุงการใช้ภาษาไทย (ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ตั้งมหาลัยแพทยศาสตร์ ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม • พ.ศ.2486 ตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร • พ.ศ.2488 ประกาศพระราชบัญญัติครู เริ่มใช้ธนบัติ 1,000 บาท สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบประกาศว่าการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรเป็นโมฆะ • พ.ศ.2489ทำสัญญาสมบูรแบบกับอังกฤษ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

More Related